มรรคาศักดิ์สิทธิ์

มรรคาศักดิ์สิทธิ์ หรือ ทางสู่กางเขน (อังกฤษ: Stations of the Cross (ที่หมายสู่กางเขน) ; ละติน: Via Crucis (ทางสู่กางเขน) หรือ Via Dolorosa (ทางแห่งความเศร้า) หรือ เรียกง่ายๆ ว่า The Way - ทาง) คือภาพงานศิลปะศาสนาคริสต์บรรยายถึงช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตพระเยซู ตั้งแต่เดินทางสู่การตรึงกางเขนและหลังการตรึงกางเขน เรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” ทำขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงความทรมานและความเสียสละของพระองค์[1] ประเพณีนี้ปฏิบัติกันในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และ ลูเทอแรน มรรคาศักดิ์สิทธิ์จะปฏิบัติเมื่อใดก็ได้แต่มักจะทำกันระหว่างเทศกาลมหาพรต โดยเฉพาะทุกค่ำวันศุกร์ระหว่างช่วงเวลานี้ และวันศุกร์ประเสริฐก่อนเทศกาลอีสเตอร์

มรรคาศักดิ์สิทธิ์
Stations of the Cross

พระเยซูสิ้นพระชนม์บนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 12) ที่หมายนี้อยู่ในมหาวิหารนักบุญราฟาเอลที่ Dubuque, ไอโอวา

ประวัติ

แก้

วัตถุประสงค์ของการตั้งมรรคาศักดิ์สิทธิ์ก็เพื่อให้ผู้มีศรัทธาได้เดินรำพึงธรรมตามรอยพระบาทของพระเยซูจนสิ้นพระชนม์ พิธีนี้เป็นที่นิยมกันในบรรดาคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เฉพาะกลุ่มที่ปฏิบัติตามจารีตตะวันตก (Western Rite)

ที่หมายต่างของมรรคาศักดิ์สิทธิ์เป็นความพยายามที่จะสร้างเหตุการณ์วันที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนจากถนนสายที่เชื่อกันว่าเป็นถนนที่พระเยซูเดินไปสู่ที่การถูกตรึงกางเขนที่กรุงเยรูซาเลม ปัจจุบันเรียกว่าถนนกางเขน (Via Crucis) หรือ ถนนโดโลโรซา พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 การตั้งที่มรรคาศักดิ์สิทธิ์ก็เริ่มเผยแพร่ไปสู่โบสถ์คาทอลิกในยุโรปตะวันตกแต่ก็ไม่ได้สร้างกันเต็มที่จนมาถึงทางสู่อาราม การติดตั้งที่หมายเหล่านี้มิได้ทำกันจนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17

มรรคาศักดิ์สิทธิ์ บางครั้งจะใช้ติดตั้งภายในคริสต์ศาสนสถาน เป็นงานศิลปะสิ่งหนึ่งที่มักจะมองข้ามเมื่อเข้าชมโบสถ์ ส่วนใหญ่จะทำเป็นรูปขนาดประมาณหนึ่งตารางฟุตติดตั้งเป็นระยะๆบนผนังสองด้านที่นำไปสู่แท่นบูชาเอก แต่ละโบสถ์ก็จะมีรูปแบบแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้ทำ หรือแบบศิลปะที่ใช้ทำ บางชุดจะเป็นงานที่มีฝีมือดีและคุณค่าสูง นอกจะติดตั้งภายในโบสถ์แล้วบางครั้งก็จะตั้งเหมือนสักการสถานเป็นระยะๆก่อนจะถึงตัวคริสต์ศาสนสถานซึ่งมักจะเห็นได้จากทางสู่วัดแบบอาราม การติดตั้งที่หมายเหล่านี้มิได้ทำกันจนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17[2] นอกจากนั้นฉากจากมรรคาศักดิ์สิทธิ์ก็ยังใช้เป็นหัวข้อที่ใช้อย่างแพร่หลายในงานจิตรกรรมและประติมากรรม

แบบมรรคาศักดิ์สิทธิ์

แก้

ภาพหรือสิ่งก่อสร้างในชุดมรรคาศักดิ์สิทธิ์จะประกอบด้วยฉาก หรือ ที่หมาย 14 จุด แต่ละชุดจะคล้าย ๆ กัน มีแตกต่างกันบ้างก็เล็กน้อย การจะเลือกอะไรที่หมายในชุดก็แล้วแต่ศรัทธาของผู้ใช้ ชุดมรรคาศักดิ์สิทธิ์ที่นิยมกันก็มี

ชุดแรก

  1. พระเยซูถูกตัดสินประหารชีวิต
  2. พระเยซูได้ไม้กางเขน
  3. พระเยซูทรงล้มหนแรก
  4. พระเยซูพบพระนางมารีย์พรหมจารี
  5. ไซมอน แห่ง ไซรีน (Simon of Cyrene) ช่วยพระเยซูแบกไม้กางเขน
  6. นักบุญเวโรนีกาซับพระพักตร์พระเยซู
  7. พระเยซูทรงล้มหนที่สอง
  8. พระเยซูพบสาธุชนสตรีแห่งเยรูซาเลม (pious women of Jerusalem)
  9. พระเยซูทรงล้มหนที่สาม
  10. พระเยซูถูกถอดพระภูษา
  11. การตรึงพระเยซูที่กางเขน
  12. พระเยซูสิ้นพระชนม์บนกางเขน
  13. การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน
  14. ร่างของพระเยซูถูกวางไว้ในที่ฝัง

อีกชุดหนึ่ง

  1. พระเยซูตั้งพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์
  2. พระเยซูสวดมนต์ที่สวนเกทเสมนี (Gethsemane)
  3. พระเยซูปรากฏตัวที่ศาลแซนเฮดริน (Sanhedrin)
  4. พระเยซูถูกเฆี่ยนและใส่มงกุฏหนาม
  5. พระเยซูทรงแบกไม้กางเขน
  6. พระเยซูทรงล้มเพราะน้ำหนักของไม้กางเขน
  7. ไซมอน แห่ง ไซรีนช่วยพระเยซูแบกไม้กางเขน
  8. พระเยซูพบสาธุชนสตรีแห่งเยรูซาเลม
  9. พระเยซูถูกตรึงด้วยตะปูบนกางเขน
  10. พระเยซูยกโทษให้นักโทษสองคนที่ถูกร่วมตรึงกางเขนกับพระองค์
  11. พระเยซูสั่งฝากแม่และนักบุญยอห์นต่อกัน
  12. พระเยซูสิ้นพระชนม์บนกางเขน
  13. ร่างของพระเยซูถูกวางไว้ในที่ฝัง
  14. พระเยซูฟื้นจากความตาย

แบบมรรคาศักดิ์สิทธิ์ในปัจจุบัน

แก้

สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2เคยนำขบวนคริสต์ศาสนิกชนบนมรรคาศักดิ์สิทธิ์ทุก “วันศุกร์ประเสริฐ” ที่โคลอสเซียมเป็นประจำทุกปี แต่เดิมพระองค์เองจะเป็นผู้แบกไม้กางเขนจากที่หมายหนึ่งไปที่หมายหนึ่ง แต่ระยะหลังพระองค์ได้แต่นั่งเป็นประธานพิธีที่เนินปาเลไทน์ (Palatine Hill) ขณะที่ผู้ร่วมทำพิธีคนอื่นแบกไม้กางเขนแทน ว่ากันว่าเมื่อไม่กี่วันก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ก็ได้นั่งดูมรรคาศักดิ์สิทธิ์จากชาเปลส่วนพระองค์ที่วังวาติกัน

ทุกปีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 จะทรงเชิญให้คนเขียนบทภาวนา (meditation texts) สำหรับที่หมายแต่ละที่หมายบนมรรคาศักดิ์สิทธิ์ ผู้เขียนหลายคนที่ทรงเชิญมิได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และบางปีทีหมายที่ทรงเลือกในเส้นทางก็จะเปลี่ยนไปตามพระทัยซึ่งทำให้มีคาดกันว่าพระองค์จะเปลี่ยนมรรคาศักดิ์สิทธิ์ใหม่ เมื่อปีค.ศ. 2000 ทรงเขียนบทภาวนาด้วยพระองค์เองและใช้มรรคาศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีเดิม มรรคาศักดิ์สิทธิ์ของพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ประกอบด้วย

  1. พระเยซูคร่ำครวญต่อพระบิดาในสวนเกทเสมนี
  2. พระเยซูถูกทรยศและถูกจับ
  3. พระเยซูถูกประณามที่ศาลแซนเฮดริน
  4. นักบุญปีเตอร์หันหลังให้พระเยซู
  5. พระเยซูถูกตัดสินประหารชีวิตโดยปิลาต
  6. พระเยซูถูกเฆี่ยนและใส่มงกุฎหนาม
  7. พระเยซูทรงแบกไม้กางเขน

8. ไซมอน แห่ง ไซรีนช่วยพระเยซูแบกไม้กางเขน
9. พระเยซูพบสาธุชนสตรีแห่งเยรูซาเลม
10. พระเยซูถูกตรึงด้วยตะปูบนกางเขน
11. พระเยซูยกโทษให้นักโทษสองคนที่ถูกร่วมตรึงกางเขนกับพระองค์
12. พระเยซูสั่งฝากแม่และนักบุญยอห์นต่อกัน
13. พระเยซูสิ้นพระชนม์บนกางเขน
14. ร่างของพระเยซูถูกวางไว้ในที่ฝัง

การฉลองมรรคาศักดิ์สิทธิ์

แก้
 
ที่หมายที่ 10 - พระเยซูถูกเปลื้องเครื่องทรง ที่มหาวิหารซานติอาโก เดอ คอมโพสเตลล่า (Cathedral of Santiago de Compostela) ประเทศสเปน

การฉลองมรรคาศักดิ์สิทธิ์มักจะทำกันทุกค่ำวันศุกร์ระหว่างเทศกาลมหาพรต โดยเฉพาะ “วันศุกร์ประเสริฐ” ก่อนเทศกาลอีสเตอร์ การฉลองประกอบด้วยการร้องเพลงสวดและการสวดมนต์ เพลงสวดที่นิยมกันมากคือเพลงสวด (sequence) แบบที่เรียกกันว่า “Stabat Mater Dolorosa” ซึ่งเชื่อกันว่าริเริ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดย สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 และ จาร์คคาโพเน ดา โทดี (Jacopone da Todi) หลวงพ่อจากรัฐอุมเบรีย (Umbria) ในประเทศอิตาลี Stabat Mater Dolorosa เป็นเพลงสวดที่บรรยายความโศกเศร้าของพระแม่มารีย์ตอนที่พระเยซูถูกตรึงกางเขน เมื่อถึงที่หมายแต่ละจุดบางทีก็จะมีการร้องเพลงสวดที่เรียกว่า “Adoramus Te” สรรเสริญพระเยซู หรือบางทีก็ร้อง “Alleluia”

ในปัจจุบันมีผู้สนับสนุนให้เพิ่มฉากพระเยซูฟี้นจากความตายเป็นที่หมายที่ 15 เพราะถ้าพระเยซูไม่ฟี้นจากความตายพระองค์ก็ไม่สามารถทำภารกิจในการเป็นผู้ไถ่บาปของมวลมนุษย์ได้สำเร็จ เหตุผลอันเดียวกันนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้มีการฉลอง “อีสเตอร์ ทริดุม” (Easter Triduum หรือ Holy Triduum หรือ Paschal Triduum) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ค่ำ “วันพฤหัสบดึศักดิ์สิทธิ์” (Holy Thursday) และไปจบเอาค่ำวันอาทิตย์อีสเตอร์ (Easter Sunday) บางครั้งการฉลองมรรคาศักดิ์สิทธิ์ก็จะทำเพื่อให้ระลึกถึงเวลาที่พระเยซูทรงฟื้นขึ้นจากความตายและเมื่อทรงขึ้นสวรรค์

ภาพยนตร์เรื่อง The Passion of the Christ สร้างโดย เมล กิบสัน ใช้มรรคาศักดิ์สิทธิ์เป็นโครงเรื่อง แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับที่หมายที่ 14 และที่หมายสุดท้ายการฝังพระเยซูเมื่อเทียบกับที่หมายอีก 13 ที่ ซึ่งอาจจะตีความหมายได้ว่าพระเยซูกำลังออกจากที่ฝังศพและจะฟี้นจากความในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ประมวลภาพ

แก้