กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (อังกฤษ: Royal Thai Air Force Special Operations Regiment) หรือ คอมมานโด กองทัพอากาศไทย (อังกฤษ: Air Force Commando) เป็นหน่วยในฝูงบินปฏิบัติการรบพิเศษของหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน ซึ่งมีอยู่ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2519 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย[2] ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง และเตรียมความสามารถในการต่อต้านการจี้เครื่องบิน[3][4]

กรมปฏิบัติการพิเศษ
หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
เครื่องหมายหน่วย
ประจำการกรมปฏิบัติการพิเศษ (2539–ปัจจุบัน)
กองปฏิบัติการพิเศษ (2528–2539)
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ (ต.ค. 2520 – ธ.ค. 2520)
กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ (2519–ต.ค. 2520, 2520–2528)
ประเทศ ไทย
ขึ้นต่อหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
ทางยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองบัญชาการกองทัพไทย
เหล่าFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
รูปแบบหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
คอมมานโด
ทหารราบและกองกำลังพิเศษกองทัพอากาศ
บทบาทการปฏิบัติการพิเศษ
ทหารราบเบา
การรวบรวมข่าวกรอง
ภารกิจลาดตระเวน
การปฏิบัติภารกิจโดยตรง
การรับกลับกำลังพล
ผู้ควบคุมอากาศยานหน้า
การค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ
การสงครามนอกแบบ
การต่อต้านการก่อการร้าย
เวชศาสตร์สนาม
การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ
กองกำลังส่งกำลังทางอากาศ
กำลังรบ3 กองพัน
ขึ้นกับหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
กองบัญชาการฐานทัพอากาศดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
สมญาคอมมานโด[1]
วันสถาปนา30 ธันวาคม พ.ศ. 2520 (46 ปี)
ปฏิบัติการสำคัญสงครามเย็น

การจี้เครื่องบินการูดาอินโดนีเซีย เที่ยวบินที่ จีเอ 206 (ปฏิบัติการวอยลา) ค.ศ. 1981
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้

ปฏิบัติการโปเชนตง
เว็บไซต์https://sor.rtaf.mi.th/index.php/page-main (ไทย)

ประวัติ แก้

กรมปฏิบัติการพิเศษ มีจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2519 จากหลักสูตรที่กองทัพอากาศได้ตั้งขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเหลือนักบินและผู้ปฏิบัติงานในอากาศที่ถูกยิงตกโดยศัตรู หรือต้องร่อนลงฉุกเฉินด้วยเหตุต่าง ๆ รวมไปถึงการตอบสนองเหตุการณ์การปล้นยึดอากาศยานทั้งของรัฐและเอกชน และการก่อการร้ายสากล จึงได้ก่อตั้งหน่วยงานขึ้นมาครั้งแรกในระดับกองร้อย ชื่อว่า กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ สังกัดกองพันสารวัตรทหารอากาศที่ 2 สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง และบรรจุเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในด้านของการค้นหาและช่วยชีวิตเข้าในหน่วย ต่อมาในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ได้มีการชื่อหน่วยเป็น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ ประกอบด้วยกำลังชุดแรกจำนวน 17 นาย

จากนั้นวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ได้มีคำสั่งกองทัพอากาศ ให้จัดตั้ง กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ จึงถือว่าวันนี้เป็นวันสถาปนาหน่วย โดยได้บรรจุข้าราชการทหารอากาศที่ผ่านหลักสูตรการจู่โจม การโดดร่ม การดำรงชีพในป่า และการปฐมพยาบาลเข้าทำงานในกองร้อยนี้

ด้วยความต้องการกำลังพลเจ้าหน้าที่ที่มากขึ้น ทำให้ในปี พ.ศ. 2521 ได้มีการเปิดฝึก หลักสูตรปฏิบัติการพิเศษ ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อฝึกเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษให้มีศัพยภาพมากขึ้น และมีมาตรฐานเดี่ยวกับระดับสากล และปรับหลักสูตรการฝึกเพื่อสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอด

ในปี พ.ศ. 2528 กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งเดิมอัตรานาวาอากาศตรี ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กองปฏิบัติการพิเศษ เป็นอัตรานาวาอากาศโท ขึ้นตรงกับกรมอากาศโยธิน ประกอบด้วยหน่วยงานภายในคือ กองบังคับการ กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ กองร้อยรถเกราะ กองร้อยสุนัขทหาร กองร้อยสนับสนุน และมีการปรับอัตราขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2534 ขึ้นเป็น นาวาอากาศเอกพิเศษ ขึ้นตรงต่อหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน มีหน่วยงานภายในประกอบไปด้วย กองบังคับการ กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ กองร้อยค้นหาช่วยชีวิตและควบคุมการรบ กองร้อยรถเกราะ กองร้อยส่งทางอากาศ กองร้อยสุนัขทหาร และแผนกสนับสนุน

ในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการปรับฐานะ จากกองปฏิบัติการพิเศษ เป็น กรมปฏิบัติการพิเศษ ขึ้นตรงต่อหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ มีหน่วยงานภายในประกอบไปด้วย กองบังคับการ, กองพันปฏิบัติการพิเศษ 1, กองพันปฏิบัติการพิเศษ 2, กองร้อยรถเกราะ กองร้อยสุนัขทหาร, แผนกสนับสนุน และฝ่ายส่งทางอากาศ และเปลี่ยนมาขึ้นตร่งต่อหน่วยบัญชาการอากาศโยธินในปี พ.ศ. 2552

ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 กรมปฏิบัติการพิเศษได้ขยายอัตรากำลังภายใน แบ่งการบังคับบัญชาออกเป็น 4 หน่วย ประกอบไปด้วย กองบังคับการ, กองพันปฏิบัติการพิเศษ 1, กองพันปฏิบัติการพิเศษ 2, กองพันปฏิบัติการพิเศษ 3 และใช้งานจนถึงปัจจุบัน[5]

องค์กร แก้

 
คอมมานโด
 
ทีมกรมปฏิบัติการพิเศษที่ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา ปี พ.ศ. 2545

กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศไทย แก้

  • ศูนย์บัญชาการกองทัพอากาศไทย
    • กองพันปฏิบัติการพิเศษ 1
      • กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ 1 (คอมมานโด)
    • กองพันปฏิบัติการพิเศษ 2 (พลร่มกู้ภัย)
    • กองพันปฏิบัติการพิเศษ 3 (ชุดควบคุมการรบ CCT)[6][7]
  • กองร้อยสนับสนุนการส่งทางอากาศ
  • ศูนย์การค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ (พลร่มกู้ภัย) กองทัพอากาศไทย (CSAR)

ยานพาหนะภาคพื้นดิน แก้

แบบ ที่มา ชนิด จำนวน หมายเหตุ
คาดิลแลคเกจคอมมานโด สหรัฐ รถเกราะ 12 คัน ร่วมกับปืนกลขนาด 12.7 มม. และ 7.62 มม.
ค็อนดอร์ ประเทศเยอรมนี รถเกราะ 18 คัน ร่วมกับปืนกลขนาด 20 มม. และ 7.62 มม.

อ้างอิง แก้

  1. "เครื่องหมายแสดงความสามารถปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน - กรมการทหารช่าง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-25. สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  2. นักรบปฏิบัติการพิเศษ S.O. ชายชาติทหารที่แพ้ไม่เป็น!! - เดลินิวส์
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2020-04-06.
  5. "ประวัติความเป็นมา". sor.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.
  6. "การฝึกกระโดดร่มกลางคืน ( ช่วงดวงอาทิตย์กำลังตก ) - Whisky Tactical". Facebook.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. นาคพุ่ม, เอกพล (2020-12-06). "AAG_th บันทึกประจำวัน: การแสดงสาธิตการใช้กำลังทางอากาศในพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี ๒๕๖๔ กองทัพอากาศไทย". AAG_th บันทึกประจำวัน.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)