การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ

การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ (อังกฤษ: air assault) เป็นการเคลื่อนที่ของกองกำลังทางทหารภาคพื้นดินโดยอากาศยานบินขึ้นและลงในแนวดิ่ง (VTOL) — เช่น เฮลิคอปเตอร์ — เพื่อยึดและครองภูมิประเทศที่สำคัญซึ่งยังไม่ได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มที่ และสู้รบโดยตรงกับกองกำลังศัตรูหลังแนวข้าศึก[1][2] นอกเหนือจากการฝึกทหารราบตามปกติแล้ว หน่วยการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศมักได้รับการฝึกเรื่องการโรยตัวและการขนส่งทางอากาศ รวมถึงอุปกรณ์ของพวกเขาบางครั้งได้รับการออกแบบหรือดัดแปลง เพื่อให้การขนส่งภายในอากาศยานดีขึ้น

เฮลิคอปเตอร์ยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก ลำเลียงกองทหารเพื่อฝึกการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ

คู่มือภาคสนามของกองทัพสหรัฐเอฟเอ็ม 1-02 (เอฟเอ็ม 101-5-1) อธิบายถึง "ปฏิบัติการการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ" ในฐานะการปฏิบัติการซึ่งกองกำลังจู่โจม (การรบ, การสนับสนุนการรบ และการสนับสนุนการช่วยรบ) โดยใช้กำลังยิง, ความคล่องตัว และการบูรณาการโดยรวมของเฮลิคอปเตอร์ การดำเนินกลยุทธ์ในสนามรบภายใต้การควบคุมของภาคพื้น หรือผู้บังคับบัญชาการดำเนินกลยุทธ์ทางอากาศเพื่อสู้รบและทำลายกองกำลังของศัตรู หรือยึดและครองภูมิประเทศที่สำคัญซึ่งมักจะอยู่หลังแนวข้าศึก[3]

เนื่องจากข้อจำกัดในการโหลดลำเลียงของเฮลิคอปเตอร์ กองกำลังการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศจึงมักเป็นทหารราบเบา แม้ว่าจะมียานรบหุ้มเกราะบางอย่าง เช่น บีเอ็มดี-1 ของรัสเซียที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงหนัก ซึ่งช่วยให้กองกำลังจู่โจมสามารถผสานความคล่องตัวทางอากาศในระดับหนึ่งของการใช้เครื่องยนต์ภาคพื้น กองทหารจู่โจมแบบต่อเนื่องมักจะขึ้นอยู่กับการยิงสนับสนุนทางอากาศจากเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธ หรืออากาศยานปีกตรึงที่คุ้มกันพวกเขา

การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศไม่ควรสับสนความหมายกับการจู่โจมทางอากาศ (air attack), การโจมตีทางอากาศ (air strike) หรือการตีโฉบฉวยทางอากาศ (air raid) ซึ่งทั้งหมดอ้างถึงการโจมตีโดยใช้อากาศยานเพียงลำพัง (เช่น การทิ้งระเบิด, การยิงกราดจากเครื่องบิน ฯลฯ) นอกจากนั้น การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศไม่ควรสับสนความหมายกับการยุทธ์ส่งกำลังทางอากาศ (airborne assault) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพลร่ม และอาวุธกับเสบียงของพวกเขา ถูกทิ้งโดยร่มชูชีพจากอากาศยานขนส่ง ที่มักเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการยุทธศาสตร์เชิงรุก

การจัดหน่วยและภารกิจ แก้

 
คอมมานโดราชนาวิกโยธินเตรียมโรยตัวลงจากเฮลิคอปเตอร์ลิงซ์ของราชนาวิกโยธิน จากฝูงบินนาวี 847 (NAS) ซึ่งใช้ในการสนับสนุนอเนกประสงค์ของกองพลน้อยคอมมานโด 3 นอกจากนี้ ยังสามารถทำหน้าที่ในฐานะเฮลิคอปเตอร์โจมตีด้วยการเพิ่มจรวดต่อต้านรถถังนำวิถีแบบเส้นลวด โทว์ (TOW) อีกสี่ตัว

การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศและลำเลียงทางอากาศเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกัน อย่างไรก็ตาม การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศเป็นการส่งกำลังเข้าไปรบอย่างชัดเจนมากกว่าการขนส่งไปยังพื้นที่ใกล้เคียงกับการสู้รบ

หน่วยการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศอาจแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร การใช้เฮลิคอปเตอร์ไม่เพียงแต่ในการขนส่งเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการยิงสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด, เฮลิคอปเตอร์การส่งกลับสายแพทย์ และภารกิจการจัดหาจัดส่งอาวุธ ส่วนปืนใหญ่เคลื่อนที่ในอากาศมักถูกกำหนดให้ใช้ในการโจมตีทางอากาศ หน่วยมีขนาดแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นหน่วยขนาดกองร้อยหรือกองพลน้อย

หน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศได้รับการออกแบบและฝึกฝนสำหรับการสอดทางอากาศและการโอบแนวดิ่ง ("การเคลื่อนที่ซึ่งในกองทหาร ไม่ว่าจะหย่อนทางอากาศหรือเครื่องลงจอด, โจมตีด้านหลังและปีกของกองกำลัง โดยมีผลต่อการตัดหรือล้อมรอบกองกำลัง"[4] การส่งกำลังเพิ่มเติมทางอากาศ และการช่วยตัวประกันทางอากาศหากจำเป็น

หน่วยการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศประเภทหนึ่งที่เฉพาะเจาะจงคือทหารม้าอากาศของกองทัพบกสหรัฐ ซึ่งแตกต่างจากหน่วยการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศปกติเฉพาะในการปฏิบัติหน้าที่การลาดตระเวนทหารม้าแบบดั้งเดิมและบทบาทการตีโฉบฉวยโจมสั้น ๆ กองพลน้อยเคลื่อนที่ทางอากาศ 16 ของอังกฤษก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1999 หลังจากการรวมหน่วยของกองพลน้อยทหารราบที่ 5 (กองพลน้อยส่งกำลังทางอากาศ 5) และกองพลน้อยปีกหมุน 24 ซึ่งนำความคล่องตัวและการเข้าถึงของกองกำลังส่งกำลังทางอากาศเข้าด้วยกันด้วยความสามารถของเฮลิคอปเตอร์โจมตี[5] ในทำนองเดียวกัน กองพลส่งกำลังทางอากาศที่ 101 ของสหรัฐ เดิมได้รับการจัดประเภทเป็นการส่งกำลังทางอากาศ จากนั้นเป็นกองบินปีกหมุน และปัจจุบันเป็นการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ

ประวัติ แก้

การเคลื่อนที่ทางอากาศเป็นแนวคิดหลักในการปฏิบัติการรุกตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 แนวทางเบื้องต้นในการเคลื่อนที่ทางอากาศมุ่งเน้นไปที่กองส่งกำลังทางอากาศและเครื่องร่อน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมีการโจมตีหลายครั้งโดยเครื่องร่อนทางทหาร ซึ่งพลร่มส่งกำลังทางเครื่องร่อนฟัลเชียร์มเยเกอร์, บรันเด็นบัวร์เกอร์ส และกองพลทหารราบที่ 22 ของเยอรมันในยุคสงครามโลกครั้งที่สองได้เป็นรากฐานสำหรับการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศในปัจจุบัน[6][7] ใน ค.ศ. 1941 กองทัพบกสหรัฐได้นำแนวคิดการปฏิบัติการเชิงรุกนี้มาใช้อย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องร่อนไม้ก่อนการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์[8] หลังจากสงคราม อากาศยานที่เร็วกว่าได้นำไปสู่การละทิ้งเครื่องร่อนไม้ที่บอบบางโดยเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่เข้ามาแทนที่ โดยเฮลิคอปเตอร์วายอาร์-4บี สี่ลำได้ประจำการอย่างจำกัดในเขตสงครามจีนพม่าอินเดียร่วมกับกองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 1[9]

ใน ค.ศ. 1943 ทางเยอรมันได้ดำเนินการตีโฉบฉวยกรันซัสโซซึ่งใช้แนวคิดการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศหลายแง่มุม ส่วนอีกตัวอย่างหนึ่งคือการปฏิบัติการส่งทางเครื่องร่อนของบรันเดนบัวร์เกอร์เยอรมันที่อีเปนเบิร์กในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[10]

ใน ค.ศ. 1946 นายพลนาวิกโยธินสหรัฐ รอย เอส. กายเกอร์ ได้สังเกตการทดสอบระเบิดปรมาณูที่บิกีนีอะทอลล์ และรับรู้ได้ทันทีว่าระเบิดปรมาณูอาจทำให้การยกพลสะเทินน้ำสะเทินบกทำได้ยาก เนื่องจากมีกองทหาร, เรือ และยุทโธปกรณ์ที่ยึดหัวหาดหนาแน่น ในช่วงเวลานี้ ผู้บัญชาการเหล่านาวิกโยธิน อเล็กซานเดอร์ แวนเดกริฟต์ ได้เรียกประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เรียกว่าคณะโฮกาบูม คณะกรรมการนี้ได้แนะนำให้เหล่านาวิกโยธินสหรัฐพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ขนส่งเพื่อให้สามารถโจมตีแบบกระจัดกระจายบนชายฝั่งของศัตรู นอกจากนี้ ยังแนะนำให้เหล่านาวิกโยธินสหรัฐจัดตั้งฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ทดลอง เอชเอ็มเอกซ์-1 ได้รับหน้าที่ใน ค.ศ. 1947 พร้อมด้วยเอชโอ3เอส-1 ของซิคอร์สกี[11] ส่วนใน ค.ศ. 1948 โรงเรียนเหล่านาวิกโยธินได้ออกแอมฟิเบียสโอเปอเรชันส์—เอมพลอยเมนต์ออฟเฮลิคอปเตอส์ (เทนทาทีฟ) หรือฟิบ-31 ซึ่งเป็นคู่มือฉบับแรกสำหรับปฏิบัติยุทธการเคลื่อนย้ายทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์[12] ทั้งนี้ นาวิกโยธินได้ใช้คำว่ายุทธวิธีตีโอบแนวดิ่งแทนการเคลื่อนที่ทางอากาศหรือการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ ซึ่งเอชเอ็มเอกซ์-1 ได้ทำยุทธวิธีตีโอบแนวดิ่งครั้งแรกจากดาดฟ้าเรือบรรทุกอากาศยานในการฝึกเมื่อ ค.ศ. 1949

ต่อมา กองกำลังอเมริกันได้ใช้เฮลิคอปเตอร์ในการสนับสนุนและขนส่งเพื่อให้ได้ผลดีในช่วงสงครามเกาหลี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเฮลิคอปเตอร์อาจเป็นเครื่องมือทางทหารที่หลากหลายและทรงพลัง[13]

การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์ในยุคแรก แก้

เฮลิคอปเตอร์ขนส่งทางอากาศและภารกิจเฮลิคอปเตอร์โหลดสลิงลำแรกดำเนินการเมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1951 ระหว่างสงครามเกาหลี[14] ส่วน "ปฏิบัติการกังหันลมครั้งที่หนึ่ง" ดำเนินการโดยเหล่านาวิกโยธินสหรัฐเพื่อสนับสนุนกองพันที่กวาดล้างข้าศึกจากแนวสันเขารอบภูเขาไฟที่ดับแล้วที่เรียกว่า "เดอะพันช์โบวล์" ซึ่งเฮลิคอปเตอร์นาวิกโยธินเอชอาร์เอส-1 ทั้งหมด 7 ลำทำการบิน 28 เที่ยวบิน โดยส่งมอบเสบียง 8,550 กก. (18,848 ปอนด์) และอพยพผู้บาดเจ็บสาหัส 74 คน

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 หน่วยคอมมานโด 45 ของราชนาวิกโยธินได้ปฏิบัติการสอดแทรกเฮลิคอปเตอร์โจมตีครั้งแรกของโลก ด้วยการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศระหว่างการยกพลสะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการทหารเสือ ในสุเอซ ประเทศอียิปต์[15] โดยมีนาวิกโยธิน 650 นายและยุทโธปกรณ์ 23 ตันในเวสต์แลนด์เวิร์ลวินด์มาร์ก 2 สิบลำของฝูงบินกองการบินทหารเรือ 845 จากดาดฟ้าของเรือหลวงธีเซียส ตลอดจนเวิร์ลวินด์ รวมถึงบริสตอลไซคามอร์ เอชซี.12 และเอชซี.14 อย่างละหกลำจากหน่วยเฮลิคอปเตอร์ทดลองร่วม (JEHU) (กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร) ซึ่งได้จัดลงสู่เรือหลวงโอเชียน

แผนดังกล่าวคือใช้เฮลิคอปเตอร์หย่อนหน่วยคอมมานโด 45 ลงที่รัสวา ทางตอนใต้ของพอร์ตซาอิด เพื่อยึดสะพานสำคัญสองแห่ง ความกังวลในนาทีสุดท้ายเกี่ยวกับความเปราะบางต่อการยิงบนภาคพื้นหมายความว่าพวกเขาถูกแทนที่ด้วยบทบาทนี้โดยพลร่มฝรั่งเศสที่ปฏิบัติการทิ้งดิ่งลงสู่ระดับต่ำอย่างกล้าหาญในวันที่ 5 พฤศจิกายน เพื่อยึดสะพานหนึ่งในสองแห่งให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ส่วนหน่วยคอมมานโด 45 ได้รับการส่งขึ้นบกในวันรุ่งขึ้น โดยขึ้นฝั่งใกล้กับบริเวณฝั่งทะเลหลังการยกพลขึ้นบกที่ยึดพื้นที่ไว้ได้ และการใช้เฮลิคอปเตอร์ในการปฏิบัติการครั้งแรกของการยกพลขึ้นบกระหว่างยกพลขึ้นบกจู่โจมได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากเรือบรรทุกอากาศยานของพวกเขาอยู่ห่างจากชายฝั่งเป็นระยะทางเก้าไมล์ บรรดานาวิกโยธินจึงขึ้นฝั่งได้เร็วกว่าที่สามารถทำได้โดยใช้เรือระบายพล และโดยไม่จำเป็นต้องให้รองเท้าบูตเปียกน้ำ อย่างไรก็ตาม ... พวกเขาได้พานาวิกโยธินขึ้นบกในที่เดียวกับที่เรือระบายพลรูปแบบเก่าจะส่งไว้[16]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Air Assault Operations". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ October 12, 2013.
  2. Russ & Susan Bryant P.63
  3. https://www.scribd.com/doc/2513344/Army-FM1-02-Operational-Terms-and-Graphics
  4. Vertical Envelopment, encyclopedia.com, Retrieved 2009-12-03. Quotes "The Oxford Essential Dictionary of the U.S. Military").
  5. 16 Air Assault Brigade เก็บถาวร 2011-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. http://semo.edu/pdf/showmegold-AA-guide.pdf
  7. Ailsby P.18,19,91
  8. semo.edu/pdf/showmegold-AA-guide.pdf
  9. pp.49–51 Boyne, Walter J. How the Helicopter Changed Modern Warfare Pelican Publishing, 2011
  10. Ailsby P.91
  11. Rawlins, Eugene W. (1976). Marines and Helicopters 1946–1962. Washington, D.C.: United States Marine Corps History and Museums Division. p. 20.
  12. Rawlins, Marines and Helicopters 1946–1962, p. 35
  13. Helicopters at War เก็บถาวร 2010-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – US Centennial of Flight Commission
  14. Whirlybirds – US Marine Helicopters in Korea – Page 46
  15. 3 Commando Brigade
  16. Tim Benbow, British Naval Aviation: The First 100 Years, Ashgate Publishing, 2011, p. 161

แหล่งที่มา แก้

  • Arthur, Max, There Shall Be Wings, Hodder and Stoughton, 1994, ISBN 0-340-60386-0
  • Scales, Robert H. & Scales, Jr., Robert H., Certain Victory: The U.S. Army in the Gulf War, Brassey's, 1994
  • Ailsby, Christopher (2000). Hitler's Sky Warriors: German Paratroopers in Action, 1939–1945. Staplehurst, UK: Spellmount Limited. ISBN 1-86227-109-7.
  • Screaming Eagles 101st Airborne Division by Russ & Susan Bryant

อ่านเพิ่ม แก้

  • Burns, Richard R. Pathfinder: First In, Last Out. New York: Ballantine Books, 2002. ISBN 0804116024

แหล่งข้อมูลอื่น แก้