โยโกฮามะ

นครและเมืองหลวงของจังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก Yokohama)

โยโกฮามะ (ญี่ปุ่น: 横浜โรมาจิYokohama) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองเรียงตามจำนวนประชากรของประเทศญี่ปุ่นรองจากโตเกียว เป็นเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดของญี่ปุ่น เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของจังหวัดคานางาวะ ด้วยจำนวนประชากรเมื่อ ค.ศ. 2020 ราว 3.8 ล้านคน โยโกฮามะตั้งอยู่บริเวณริมอ่าวโตเกียว ทางใต้ของโตเกียว ในภูมิภาคคันโตบนเกาะหลักฮนชู โยโกฮามะยังเป็นศูนย์กลางทางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของเขตมหานครโตเกียวและปริมณฑล

โยโกฮามะ

横浜
นครโยโกฮามะ • 横浜市
มินาโตมิไร 21
อุทยานอนุสรณ์สถานนิปปมมารุ
โยโกฮามะไชนาทาวน์
ย่านการค้าโมโตมาจิ
อุทยานซังเก
ฮาร์เบอร์วิวพาร์ก (โยโกฮามะ)
อุทยานยามาชิตะ และโยโกฮามะมารีนทาวเวอร์
ท่าเรือโอซัมบาชิ
จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา: มินาโตมิไร 21 ในช่วงพลบค่ำ, อุทยานอนุสรณ์สถานนิปปมมารุ, โยโกฮามะไชนาทาวน์, ย่านการค้าโมโตมาจิ, อุทยานซังเก, ฮาร์เบอร์วิวพาร์ก, โยโกฮามะมารีนทาวเวอร์มองจากอุทยานยามาชิตะ และท่าเรือโอซัมบาชิ
ธงของโยโกฮามะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของโยโกฮามะ
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของโยโกฮามะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดคานางาวะ
ที่ตั้งของโยโกฮามะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดคานางาวะ
โยโกฮามะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โยโกฮามะ
โยโกฮามะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°26′39″N 139°38′17″E / 35.44417°N 139.63806°E / 35.44417; 139.63806
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดจังหวัดคานางาวะ คานางาวะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีทาเกฮารุ ยามานากะ (山中 竹春)
พื้นที่
 • ทั้งหมด437.38 ตร.กม. (168.87 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มีนาคม ค.ศ. 2021)
 • ทั้งหมด3,761,630 คน
 • ความหนาแน่น8,534.03 คน/ตร.กม. (22,103.0 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
 • ต้นไม้คามิเลีย, ชินคาพิน, ซังโงจุ
ซาซันควา, แปะก๊วย, เซลโควา
 • ดอกไม้ดาห์เลีย, กุหลาบ
ที่อยู่1-1 Minato-chō, Naka-ku, Yokohama-shi, Kanagawa-ken
231-0017
เว็บไซต์www.city.yokohama.lg.jp
โยโกฮามะ
"โยโกฮามะ" เมื่อเขียนด้วยคันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
ชินจิไต横浜
คีวจิไต橫濱
ฮิรางานะよこはま
คาตากานะヨコハマ
การถอดเสียง
โรมาจิYokohama

ประวัติศาสตร์

แก้

การเปิดท่าเรือตามสนธิสัญญา (ค.ศ. 1859–1868)

แก้
 
กองเรือปืนสหรัฐของพลเรือจัตวาเพอร์รีเข้าเทียบท่าที่โยโกฮามะเพื่อเข้าพบกับข้าหลวงญี่ปุ่น กรกฎาคม 1853

โยโกฮามะเดิมเป็นหมู่บ้านประมงขนาดเล็ก จากนโยบายปิดประเทศของญี่ปุ่นทำให้มีการติดต่อกับชาวต่างชาติเพียงน้อยนิด[1] จุดเปลี่ยนผ่านสำคัญเกิดขึ้นระหว่างปี 1853–54 เมื่อกองเรือปืนของสหรัฐอเมริกานำโดย พลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี เดินทางมาถึงทางใต้ของโยโกฮามะ ได้กดดันให้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะซึ่งปกครองญี่ปุ่นอยู่ในขณะนั้นยอมลงนามในสนธิสัญญาคานางาวะ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นต้องเปิดท่าเรือหลายแห่งเพื่อการค้าขาย[2]

ข้อตกลงในขั้นต้นคือ จะต้องมีท่าเรือหนึ่งแห่งสำหรับเรือต่างชาติเปิดขึ้นที่คานางาวาจูกุ (ปัจจุบันคือเขตคานางาวะ) บนถนนสายโทไกโด ซึ่งเป็นเส้นทางหลักซึ่งเชื่อมระหว่างเอโดะ เกียวโต และโอซากะ อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลโชกุนติดสินใจว่าคานางาวาจูกุนั้นอยู่ใกล้กับโทไกโดมากเกินไป เพื่อความสะดวกจึงหันไปสร้างท่าเรือพาณิชย์ขึ้นบริเวณหมู่บ้านชาวประมงโยโกฮามะแทน ในที่สุดท่าเรือโยโกฮามะก็เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 มิถุนายน 1859[3] การเกิดขึ้นของท่าเรือพาณิชย์ ทำให้โยโกฮามะกลายเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว

 
เรือพาณิชย์ต่างชาติที่อ่าวโยโกฮามะ

ในปี 1862 ซามูไรหนุ่มคนหนึ่งได้ไปสังหารพ่อค้าชาวอังกฤษในเขตสึรูมิเข้าจนเกิดเป็นกรณีนามามูงิ ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับรัฐบาลโชกุนนั้นตึงเครียด และทางอังกฤษได้จัดตั้งกองทหารรักษาการณ์ของตนเพื่อปกป้องการค้าและผลประโยชน์ของอังกฤษในโยโกฮามะในปีเดียวกันนั้นเอง ในปีถัดมา ความตึงเครียดก็อุบัติเป็นสงครามอังกฤษ-ซัตสึมะซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อมอำนาจของโชกุน ในช่วงเดียวกันนี้ จำนวนพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาพำนักอยู่ในโยโกฮามะก็เพิ่มขึ้นจำนวนมาก[4]

โยโกฮามะยังเป็นแหล่งแผยแพร่แฟชั่นและวัฒนธรรมตะวันตกแก่ชาวญี่ปุ่นอีกด้วย ในปี 1861 มีการเกิดขึ้นของหนังสือพิงม์ภาษาอังกฤษในญี่ปุ่นฉบับแรก Japan Herald และในปี 1865 ก็มีการนำไอศรีมและเบียร์เข้ามาผลิตในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก[5] ตลอดจนมีการจัดตั้งสโมสรและสนามแข่งม้าแบบตะวันตกแห่งแรกในญี่ปุ่นในปี 1862 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในโยโกฮามะซึ่งได้ทำลายชุมชนของชาวต่างชาติไปเป็นจำนวนมากในเดือนพฤศจิกายน 1866 หรือตลอดจนการระบาดของไข้ทรพิษ แต่เมืองโยโกฮามะก็ยังเติบโตไปได้อย่างรวดเร็ว

ยุคเมจิและไทโช (ค.ศ. 1868–1923)

แก้
 
ทัศนียภาพเมืองโยโกฮามะในยุคเมจิ

ภายหลังการฟื้นฟูพระราชอำนาจในปี 1868 ท่าเรือโยโกฮามะก็ถูกพัฒนาเพื่อการค้าขายผ้าทอโดยมีอังกฤษเป็นคู่ค้าหลัก อิทธิพลและการส่งผ่านเทคโนโลยีของตะวันตกได้ช่วยให้เกิดหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของญี่ปุ่น (1870) โคมไฟส่องถนนพลังก๊าซ (1872) และทางรถไฟสายแรกของญี่ปุ่นระหว่างโยโกฮามะ–ชินางาวะมินาโตะในโตเกียว (1872) เป็นปีเดียวกันกับที่ ฌูล แวร์น ได้เขียนพรรณาเมืองฮิโรชิมะซึ่งเขาไม่เคยได้ไปเยือนมาก่อน ในตอนหนึ่งของหนังสือของเขา Around the World in Eighty Days ซึ่งสะท้อนถึงเมืองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นเมืองนานาชาติในดินแดนตะวันออก ในปี 1887 พ่อค้าชาวอังกฤษนาม ซามูเอล ค็อกกิง ได้สร้างโรงไฟฟ้าแห่งแรกของเมืองนี้ ซึ่งในช่วงแรกใช้เพื่อกิจการส่วนตัว โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้เองที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทไฟฟ้าและแสงสว่างโยโกฮามะ เดือนเมษายน 1889 เมืองโยโกฮามะทั้งสองเขตถูกรวมไปหนึ่งเดียวจากการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในเขตต่างชาติ

ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นยุคที่อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการจำนวนมากสร้างโรงงานบนที่ดินถมทะเลบริเวณทางเหนือของเมืองไปจนถึงเมืองคาวาซากิ ซึ่งในที่สุดพื้นที่นี้ก็กลายเป็นเขตอุตสาหกรรมเคฮิง การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นได้นำมาซึ่งความมั่งคั่ง และครอบครัวพ่อค้าที่ร่ำรวยจำนวนมากก็ได้มาตั้งรกรากที่นี่ ประชากรที่ไหลบ่าเข้ามาจากทั่วญี่ปุ่นและเกาหลีได้ส่งผลให้เกิดโคจิกิยาโตะซึ่งเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นขึ้น

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่และสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1923–1945)

แก้

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโตวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1923 ได้ทำลายเมืองโยโกฮามะลงอย่างกว้างขวาง ตำรวจโยโกฮามะรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตถึง 30,771 คนและผู้บาดเจ็บอีก 47,908 ราย ทั้งนี้ ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวโยโกฮามะมีประชากรทั้งสิ้น 434,170 คน[6] มีการก่อความไม่สงบและวินาศกรรมขึ้น ผู้ต้องหาส่วนมากเป็นชาวเกาหลีที่อาศัยอยู่ในสลัมโคจิกิยาโตะ[7] ขณะนั้น มีคนจำนวนมากที่เชื่อว่าเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่หลวงนี้เกิดขึ้นจากการใช้มนต์ดำโดยชาวเกาหลี จากความไม่สงบที่เกิดขึ้นทำให้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก แผ่นดินไหวครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดซากปรักหักพังมากมาย ซึ่งหลายบริเวณก็ถูกแปรสภาพเป็นสวนสาธารณะ อาทิ สวนสาธารณะยามาชิตะ

แม้เมืองจะได้รับการบูรณะและกลับมายืนหยัดอย่างรวดเร็ว แต่โยโกฮามะก็ถูกทำลายลงอีกครั้งจากการทิ้งระเบิดทางอากาศของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การทิ้งระเบิดเพลิงในเช้าวันที่ 29 พฤษภาคม 1945 ครั้งเดียวได้คร่าชีวิตผู้คนในโยโกฮามะไปกว่า 7-8 พันคน การทิ้งระเบิดครั้งนั้นเป็นที่รู้จักในชื่อ "การทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ที่โยโกฮามะ" ซึ่งใช้เวลาในการทิ้งระเบิด 1 ชั่วโมง 9 นาที โดยเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29[8]

การปกครอง

แก้
 
เขตทั้ง 18 ในนครโยโกฮามะ

นครโยโกฮามะแบ่งการปกครองออกเป็น 18 เขต ได้แก่

ประชากรแบ่งตามปี

แก้
ประชากรของนครโยโกฮามะ
ปีที่ทำสำมะโน ประชากร อันดับเมืองใหญ่ในญี่ปุ่น
1920 422,942 ที่ 6 (รองจาก โคเบะ เกียวโต นาโงยะ โอซากะ และโตเกียว)
1925 405,888 ที่ 6
1930 620,306 ที่ 6
1935 704,290 ที่ 6
1940 968,091 ที่ 5 (นำหน้าโคเบะ)
1945 814,379 ที่ 4 (ยุบนครโตเกียวในปี 1943)
1950 951,189 ที่ 4
1955 1,143,687 ที่ 4
1960 1,375,710 ที่ 3 (นำหน้าเกียวโต)
1965 1,788,915 ที่ 3
1970 2,238,264 ที่ 2 (นำหน้านาโงยะ)
1975 2,621,771 ที่ 2
1980 2,773,674 ที่ 1 (นำหน้าโอซากะ)[9]
1985 2,992,926 ที่ 1
1990 3,220,331 ที่ 1
1995 3,307,136 ที่ 1
2000 3,426,651 ที่ 1
2005 3,579,133 ที่ 1
2010 3,670,669 ที่ 1
2015 3,710,824 ที่ 1

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของนครโยโกฮามะ (ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 20.8
(69.4)
24.8
(76.6)
24.5
(76.1)
28.7
(83.7)
31.1
(88)
35.5
(95.9)
36.9
(98.4)
37.4
(99.3)
36.2
(97.2)
30.9
(87.6)
26.2
(79.2)
23.5
(74.3)
37.4
(99.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.9
(49.8)
10.3
(50.5)
13.2
(55.8)
18.5
(65.3)
22.4
(72.3)
24.9
(76.8)
28.7
(83.7)
30.6
(87.1)
26.7
(80.1)
21.5
(70.7)
16.7
(62.1)
12.4
(54.3)
19.7
(67.5)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 5.9
(42.6)
6.2
(43.2)
9.1
(48.4)
14.2
(57.6)
18.3
(64.9)
21.3
(70.3)
25.0
(77)
26.7
(80.1)
23.3
(73.9)
18.0
(64.4)
13.0
(55.4)
8.5
(47.3)
15.8
(60.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.3
(36.1)
2.6
(36.7)
5.3
(41.5)
10.4
(50.7)
15.0
(59)
18.6
(65.5)
22.4
(72.3)
24.0
(75.2)
20.6
(69.1)
15.0
(59)
9.6
(49.3)
4.9
(40.8)
12.5
(54.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -8.2
(17.2)
-6.8
(19.8)
-4.6
(23.7)
-0.5
(31.1)
3.6
(38.5)
9.2
(48.6)
13.3
(55.9)
15.5
(59.9)
11.2
(52.2)
2.2
(36)
-2.4
(27.7)
-5.6
(21.9)
−8.2
(17.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 58.9
(2.319)
67.5
(2.657)
140.7
(5.539)
144.1
(5.673)
152.2
(5.992)
190.4
(7.496)
168.9
(6.65)
165.0
(6.496)
233.8
(9.205)
205.5
(8.091)
107.0
(4.213)
54.8
(2.157)
1,688.8
(66.488)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 5
(2)
6
(2.4)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
12
(4.7)
ความชื้นร้อยละ 53 54 60 65 70 78 78 76 76 71 64 56 67
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 6.0 6.7 11.8 11.1 11.5 13.6 11.7 8.7 12.7 11.5 8.3 5.5 119.1
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 1.6 2.3 0.7 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.3 4.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 186.4 164.0 159.5 175.2 177.1 131.7 162.9 206.3 130.7 141.0 149.3 180.4 1,964.4
แหล่งที่มา 1: [10]
แหล่งที่มา 2: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [11] (รายงาน)

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
  • ศาลาอนุสรณ์ท่าเรือโยโกฮามะ (Yokohama Port Opening Memorial Hall) สร้างด้วยอิฐแดงสวยงาม สถานที่แห่งนี้รอดเงื้อมมือแผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1923 และระเบิดของสงครามโลกครั้งที่สองมาได้อย่างมหัศจรรย์ นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังเป็นสถานที่ราชการที่สำคัญอีกหลายแห่งรวมทั้งสำนักงานศุลกากรโยโกฮามะ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล
  • มารีนทาวเวอร์ (Marine Tower) หอคอยสูง 106 เมตร รูปทรงทันสมัยตั้งเด่นตระหง่าน ยามค่ำคืนจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาถ่ายรูปบริเวณนี้
  • สวนสาธารณะยามาชิตะ (Yamashita Park) ภายในสวนมีสิ่งน่าดูหลายอย่าง และยามค่ำคืนภายในสวนฤดูที่ท้องฟ้ากระจ่าง อาจได้ยินเสียงเพลงลอยมาไม่ไกลนักจากฝั่ง
  • ไชน่าทาวน์หรือชูกาไง (中華街) เป็นถิ่นชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเก่าแก่เกือบพอ ๆ กับย่านท่าเรือ มีอาหารให้เลือกรับประทานมากมาย ภัตตาคารอาหารมีอยู่ราว 150 ร้าน ร้านจำหน่ายขนมหวานที่นำเข้าจากจีน และสินค้าเบ็ดเตล็ดจากที่อื่น ๆ ในเอเชีย
  • พิพิธภัณฑ์ยามาเตะ (Yamate Museum) อยู่ไม่ไกลนักจากสุสาน จัดแสดงวิถีชีวิตชุมชนชาวต่างชาติในยุคแรก ๆ ของที่นี่ได้อย่างแปลกตา และพิพิธภัณฑ์ยังตั้งอยู่ใกล้โรงเบียร์แห่งแรกของญี่ปุ่นอีกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

โยโกฮามะ มีความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่น้อง กับ 11 เมืองดังต่อไปนี้:

อ้างอิง

แก้
  1. Der Große Brockhaus. 16. edition. Vol. 6. F. A. Brockhaus, Wiesbaden 1955, p. 82
  2. "Official Yokohama city website it is fresh". City.yokohama.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
  3. Arita, Erika, "Happy Birthday Yokohama!", The Japan Times, May 24, 2009, p. 7.
  4. Fukue, Natsuko, "Chinese immigrants played vital role", Japan Times, May 28, 2009, p. 3.
  5. Matsutani, Minoru, "Yokohama – city on the cutting edge", Japan Times, May 29, 2009, p. 3.
  6. Hammer, Joshua. (2006). Yokohama Burning: The Deadly 1923 Earthquake and Fire that Helped Forge the Path to World War II, p. 143.
  7. Hammer, pp. 149-170.
  8. "Interesting Tidbits of Yokohama". Yokohama Convention & Visitors Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2009. สืบค้นเมื่อ February 7, 2009.
  9. Osaka was once more populous than Yokohama is today.
  10. "過去の気象データ検索: 平年値(年・月ごとの値) ("Historical Climate data for Yokohama")". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น.
  11. "観測史上1~10位の値( 年間を通じての値)". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น.
  12. "Frankfurt am Main: Yokohama". 2011 Stadt Frankfurt am Main. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-24. สืบค้นเมื่อ 2011-12-22.
  13. "Partner Cities of Lyon and Greater Lyon". 2008 Mairie de Lyon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-07-17.
  14. "Vancouver Twinning Relationships" (PDF). City of Vancouver. สืบค้นเมื่อ 2009-07-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้