ฌูล กาบรีแยล แวร์น (ฝรั่งเศส: Jules Gabriel Verne; 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1828 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1905) หรือที่รู้จักกันว่า จูลส์ เวิร์น เกิดที่เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นนักเขียนชาวฝรั่งเศส ผู้บุกเบิกการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์สมัยแรก ๆ แวร์นมีชื่อเสียงจากการเขียนเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยในอวกาศ ใต้น้ำ และการเดินทางต่าง ๆ ก่อนจะมีการประดิษฐ์เรือดำน้ำหรืออากาศยานจริง ๆ เป็นเวลานาน นวนิยายของเขามักใส่เนื้อหาวิทยาศาสตร์ที่สมจริง ซึ่งยังไม่คุ้นเคยกันในสมัยนั้นแต่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างดีในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเขาจะบุกเบิกงานด้านนิยายวิทยาศาสตร์ แต่มีสัดส่วนที่น้อยกว่าเนื้อหาแนวอื่น ๆ ที่เขาเขียน

ฌูล แวร์น
ภาพถ่ายฌูล แวร์น โดยเฟลิกซ์ นาดาร์
ภาพถ่ายฌูล แวร์น โดยเฟลิกซ์ นาดาร์
เกิดฌูล กาบรีแยล แวร์น
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1828(1828-02-08)
น็องต์ ฝรั่งเศส
เสียชีวิต24 มีนาคม ค.ศ. 1905(1905-03-24) (77 ปี)
อาเมียง ฝรั่งเศส
อาชีพนักเขียน
สัญชาติฝรั่งเศส
แนวนิยายวิทยาศาสตร์
ผลงานที่สำคัญแปดสิบวันรอบโลก,
ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์
The Lighthouse at the End of the World ถือเป็นนวนิยายที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งของเวทีวรรณกรรมของเวิร์น

บทประพันธ์ที่สำคัญได้แก่ แปดสิบวันรอบโลก, Five Weeks In a Balloon, ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ นิยายวิทยาศาสตร์ในยุคท้าย ๆ ของแวร์นจะเริ่มสะท้อนถึงการมองเห็นด้านมืดของเทคโนโลยีรวมถึงการนำเทคโนโลยีไปใช้อย่างผิดทาง เช่น The Clipper of the Clouds, The Master of the World แวร์นเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1905 (พ.ศ. 2448) ภายหลังเขาได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์โลก" ร่วมกับเอช. จี. เวลล์ (Herbert George Wells) นักเขียนชาวอังกฤษ ซึ่งนักเขียนทั้งสองคนนี้ได้มีอิทธิพลต่อนิยายวิทยาศาสตร์และวงการวิทยาศาสตร์มาจนถึงปัจจุบันนี้

ชื่อของฌูล แวร์น ได้รับการนำไปตั้งเป็นชื่อของยานขนส่งอัตโนมัติ (Automated Transfer Vehicle - ATV) ลำแรกขององค์การอวกาศยุโรป[1] ซึ่งจะทำหน้าที่ขนส่งพัสดุรวมทั้งต้นฉบับนิยายวิทยาศาสตร์ของเขาขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550[2]

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้