เย่ เจี้ยนอิง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เย่ เจี้ยนอิง (จีน: 叶剑英; อักษรโรมัน: Ye Jianying; 28 เมษายน ค.ศ. 1897 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 1986) เป็นผู้นำปฏิวัติและนักการเมืองคอมมิวนิสต์จีน หนึ่งในสิบจอมพลผู้ก่อตั้งของกองทัพปลดปล่อยประชาชน เขาเป็นผู้นำทางทหารระดับสูงในการรัฐประหาร ค.ศ. 1976 ซึ่งได้ล้มล้างแก๊งออฟโฟร์และยุติการปฏิวัติทางวัฒนธรรม รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของเติ้ง เสี่ยวผิง ในการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกับฮั่ว กั๋วเฟิง หลังจากเติ้งขึ้นสู่อำนาจ เย่ได้ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐจีนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1978 ถึง 1983
จอมพล เย่ เจี้ยนอิง | |
---|---|
叶剑英 | |
ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม 1978 – 18 มิถุนายน 1983 | |
ก่อนหน้า | ซ่ง ชิ่งหลิง (รักษาการ) |
ถัดไป | เผิงเจิน |
ประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะประธานสภาประชาชนแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 ตุลาคม 1976 – 12 กันยายน 1982 | |
ก่อนหน้า | ซ่ง ชิ่งหลิง (รักษาการ) |
ถัดไป | หลี่ เซียนเนี่ยน (ในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน) |
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม 1973 – 12 กันยายน 1982 | |
ประธาน | เหมา เจ๋อตง ฮั่ว กั๋วเฟิง หู เหย้าปัง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มกราคม 1975 – 26 กุมภาพันธ์ 1978 | |
หัวหน้ารัฐบาล | โจว เอินไหล ฮั่ว กั๋วเฟิง |
ก่อนหน้า | จอมพล หลิน เปียว |
ถัดไป | จอมพล สู เซี่ยงเฉียน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 เมษายน ค.ศ. 1897 อำเภอเจียยิ่ง มณฑลกวางตุ้ง จักรวรรดิชิง |
เสียชีวิต | 22 ตุลาคม ค.ศ. 1986 ปักกิ่ง ประเทศจีน | (89 ปี)
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน (ค.ศ. 1927–1985) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนการทหารหวงผู่ |
รางวัล | เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัยของการต่อต้านการรุกราน (ค.ศ. 1945) เหรียญอิสริยาภรณ์หนึ่งสิงหาคม (เหรียญชั้นที่ 1) (ค.ศ. 1955) เครื่องอิสริยาภรณ์เอกราชและเสรีภาพ (เหรียญชั้นที่ 1) (ค.ศ. 1955) เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งการปลดปล่อย (เหรียญชั้นที่ 1) (ค.ศ. 1955) รายละเอียด... |
ชื่อเล่น | 叶帅 (จอมพลเย่) 花帅 ("จอมพลเพลย์บอย") |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | พรรคคอมมิวนิสต์จีน สาธารณรัฐประชาชนจีน |
สังกัด | กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน หมู่กองทัพที่ 18 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน กองทัพแดงของกรรมกรและชาวนาจีน กองทัพที่ 1 และกองทัพที่ 4 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน |
ยศ | จอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พลโท กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน สาธารณรัฐจีน |
บังคับบัญชา | เสนาธิการ กองทัพที่ 4 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน เสนาธิการ กองทัพแดง เสนาธิการ หมู่กองทัพที่ 18 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน เสนาธิการ คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง |
เย่ เจี้ยนอิง | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 叶剑英 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 葉劍英 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อเกิด | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 叶宜伟 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 葉宜偉 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อทางการ | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 沧白 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 滄白 | ||||||||||||||
|
ชีวิต
แก้เขามีชื่อแรกเกิดคือเย่ อี๋เหว่ย (จีน: 叶宜伟) โดยเกิดในครอบครัวพ่อค้าแคะชาวคริสต์ที่ร่ำรวยในอำเภอเจียยิ่ง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเขตเหมย์เซี่ยน) มณฑลกวางตุ้ง ส่วนชื่อทางการของเขาคือชังไป๋ (จีน: 滄白) และพี่น้องส่วนใหญ่ของเย่ เจี้ยนอิง เสียชีวิตก่อนที่จะเป็นผู้ใหญ่เนื่องจากอาการป่วยหนัก[1]
หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการทหารยูนนานใน ค.ศ. 1919 เขาได้เข้าร่วมกับซุน ยัตเซ็น และก๊กมินตั๋ง (KMT) ซึ่งเขาได้สอนที่โรงเรียนการทหารหวงผู่ และใน ค.ศ. 1927 ได้เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์
ในปีนั้น เขาเข้าร่วมในการก่อการกำเริบหนานชางซึ่งล้มเหลว และถูกบังคับให้หนีไปฮ่องกง พร้อมกับผู้นำการก่อการกำเริบอีกสองคนคือโจว เอินไหล และเย่ ถิ่ง (ไม่มีความสัมพันธ์) โดยมีปืนพกเพียงคู่เดียวเท่านั้นที่จะแบ่งปันระหว่างพวกเขา ไม่นานหลังจากนั้น เขาได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างซื่อสัตย์ในระหว่างการก่อการกำเริบกว่างโจว แม้ว่าเขาจะถูกต่อต้านก็ตาม จากความล้มเหลวของการก่อการกำเริบนี้ เขาต้องหนีไปฮ่องกงอีกครั้งพร้อมกับเย่ ถิ่ง และเนี่ย หรงเจิน อย่างไรก็ตาม เย่ เจี้ยนอิง โชคดีกว่าเย่ ถิ่ง ผู้ซึ่งถูกทำให้เป็นแพะรับบาปสำหรับความล้มเหลวขององค์การคอมมิวนิสต์สากล และถูกบังคับให้ลี้ภัย โดยที่เย่ เจี้ยนอิง ไม่ได้ถูกกล่าวโทษ และต่อมาได้เข้าศึกษาวิทยาการทหารในมอสโก
หลังกลับสู่ประเทศจีนใน ค.ศ. 1932 เขาได้เข้าร่วมกับเจียงซีโซเวียต โดยทำหน้าที่เป็นเสนาธิการของกองทัพแนวหน้าที่สี่ของจาง กว๋อเต้า อย่างไรก็ตาม หลังจากที่นักรบของจางพบกับกองกำลังของเหมา เจ๋อตง ในช่วงการเดินทัพทางไกล ผู้นำทั้งสองไม่เห็นด้วยกับการกรีธาพลกองทัพจีนแดงในภายหลัง จางยืนกรานที่จะวกกลับไปทางใต้เพื่อสร้างฐานทัพใหม่ในภูมิภาคที่มีชนกลุ่มน้อยทิเบตและเชียงอาศัยอยู่ (ภายหลังพิสูจน์แล้วว่าเป็นหายนะ อย่างที่เหมาคาดไว้ โดยจางสูญเสียพลทหารไปกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ และล่าถอยกลับไปยังฐานคอมมิวนิสต์ที่มณฑลฉ่านซี) ในระหว่างความขัดแย้งของผู้นำทั้งสอง เย่ – แม้ว่าเขาจะเป็นเสนาธิการของจาง – ได้เข้าข้างเหมา และแทนที่จะสนับสนุนจางอย่างไม่มีเงื่อนไขเหมือนที่เคยทำในช่วงการก่อการกำเริบกว่างโจว เย่ได้หลบหนีไปที่สำนักงานใหญ่ของเหมาพร้อมกับคู่มือลงรหัสและแผนที่ของจาง เป็นผลให้การสื่อสารของจากกับองค์การคอมมิวนิสต์สากลถูกตัดออก ในขณะที่เหมาสามารถสร้างการเชื่อมทางวิทยุได้ ซึ่งนำไปสู่การยอมรับขององค์การคอมมิวนิสต์สากลต่อความเป็นผู้นำของเหมาในพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมาจะไม่มีวันลืมการมีส่วนร่วมของเย่ โดยการสังเกตในภายหลังว่า "เย่ เจี้ยนอิง ช่วยพรรคคอมมิวนิสต์ (จีน), กองทัพแดง (จีน) และการปฏิวัติ (จีน)"
หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เย่ได้รับมอบหมายให้ดูแลมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งทำให้เขาต้องสูญเสียอาชีพทางการเมืองภายใต้การปกครองของเหมา เย่เข้าใจว่าสภาพเศรษฐกิจในมณฑลนั้นแตกต่างอย่างมากจากพื้นที่อื่น ๆ ของจีน เนื่องจากเจ้าของที่ดินในมณฑลกวางตุ้งส่วนใหญ่เป็นชาวนาเองที่มีส่วนร่วมในการผลิตโดยไม่เอาเปรียบผู้เช่า ดังนั้น เขาจึงปฏิเสธที่จะขับไล่เจ้าของที่ดิน รวมถึงปกป้องธุรกิจและที่ดินของพวกเขาแทน อย่างไรก็ตาม นโยบายของเย่ขัดแย้งกับคำสั่งทั่วไปของการปฏิรูปที่ดินที่ได้รับคำสั่งจากพรรค ซึ่งเน้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น นโยบายของเขาถือว่านุ่มนวลเกินไป เย่และกลุ่มแกนนำท้องถิ่นของเขาถูกแทนที่ด้วยหลิน เปียว ทันที รวมถึงมีการใช้นโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น และเจ้าของที่ดินชาวกวางตุ้งหลายแสนคนถูกประหารชีวิต โดยอาชีพทางการเมืองของเย่สิ้นสุดลงอย่างมีผล
อ้างอิง
แก้- ↑ "叶剑英和叶道英的兄弟情 - 全网搜". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-28. สืบค้นเมื่อ 2022-12-28.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เย่ เจี้ยนอิง