เทย์เลอร์ สวิฟต์
เทย์เลอร์ แอลิสัน สวิฟต์ (อังกฤษ: Taylor Alison Swift; เกิด 13 ธันวาคม ค.ศ. 1989) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เธอเป็นหนึ่งในศิลปินหญิงร่วมสมัยยอดนิยมที่เป็นที่รู้จักจากการแต่งเพลงเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวและเป็นที่สนใจของสื่ออย่างมาก สวิฟต์เกิดและเติบโตในเวสต์เรดิง รัฐเพนซิลเวเนีย เธอย้ายไปยังเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ขณะอายุ 14 ปี เพื่อหางานทำเกี่ยวกับเพลงคันทรี เธอได้เซ็นสัญญากับบริษัทโซนี/เอทีวีมิวสิกพับบลิชชิง ใน ค.ศ. 2004 และเซ็นสัญญากับค่ายเพลงบิกแมชีนเรเคิดส์ ใน ค.ศ. 2005 และออกอัลบั้มแรกในชื่อเดียวกับตนเอง ใน ค.ศ. 2006
เทย์เลอร์ สวิฟต์ | |
---|---|
สวิฟต์ที่งานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2023 | |
เกิด | เทย์เลอร์ แอลิสัน สวิฟต์ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1989 เวสต์เรดดิง รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | ค.ศ. 2003–ปัจจุบัน |
องค์การ | เทย์เลอร์สวิฟต์โปรดักชัน |
ผลงาน | |
ญาติ |
|
รางวัล | รายการทั้งหมด |
อาชีพทางดนตรี | |
ที่เกิด | แนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐ |
แนวเพลง | |
เครื่องดนตรี |
|
ค่ายเพลง | |
เว็บไซต์ | taylorswift |
ลายมือชื่อ | |
สวิฟต์ทำดนตรีคันทรีป็อปในอัลบั้มที่สองและสาม เฟียร์เลส (2008) และ สปีกนาว (2010) ความสำเร็จจากซิงเกิลในอัลบั้มที่สอง "เลิฟสตอรี" และ "ยูบีลองวิทมี" ในคลื่นวิทยุเพลงคันทรีและเพลงป็อปทำให้สวิฟต์เป็นศิลปินข้ามแนวเพลงที่โดดเด่น เธอยังได้ทดลองดนตรีแนวป็อป ร็อก และอิเล็กทรอนิกส์ในอัลบั้มที่สี่ เรด (2012) อัลบั้มทีห้า 1989 (2014) เปลี่ยนสถานะสวิฟต์จากศิลปินคันทรีเป็นป็อปสตาร์ โดยมีแรงสนับสนุนจากซิงเกิลอันดับหนึ่งบนบิลบอร์ดฮอต 100 ได้แก่ "เชกอิตออฟ" "แบลงก์สเปซ" และ "แบดบลัด" การที่สื่อให้ความสนใจในชีวิตส่วนตัวของเธอมากขึ้นบันดาลใจให้เกิดอัลบั้มที่หก เรพิวเทชัน (2017) ซึ่งดนตรีเปลี่ยนเป็นแนวเออร์เบินร่วมสมัย
หลังจากแยกทางกับค่ายบิกแมชีน แล้วเซ็นสัญญากับรีพับลิกเรเคิดส์ ใน ค.ศ. 2018 สวิฟต์ออกอัลบั้มที่เจ็ด เลิฟเวอร์ ใน ค.ศ. 2019 หลังจากประสบความสำเร็จในทศวรรษ 2010 เธอก้าวเข้าสู่ดนตรีแนวอินดีโฟล์กและออลเทอร์นาทิฟร็อกในอัลบั้มสองชุดที่ออกใน ค.ศ. 2020 คือ โฟล์กลอร์ และเอฟเวอร์มอร์ ซึ่งเนื้อเพลงได้รับแรงบันดาลใจจากการเก็บตัวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้รับคำชมในเรื่องการเล่าเรื่องที่คล้ายกัน เพื่อให้ได้สิทธิ์การครอบครองกลับคืนมา หลังเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับงานต้นฉบับของสวิฟต์ เธอออกอัลบั้มเพลงที่บันทึกเสียงใหม่ออกมาสองชุดใน ค.ศ. 2021 ได้แก่ เฟียร์เลส (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) และเรด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) ทั้งสองอัลบั้มได้รับคำชมในด้านดนตรีที่มีคุณภาพมากขึ้น และเสียงร้องที่พัฒนาขึ้นจากเดิม นอกจากดนตรี สวิฟต์ได้รับบทในภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น วาเลนไทน์เดย์ หวานฉ่ำ วันรักก้องโลก (2010) และแคตส์ (2019) เธอออกภาพยนตร์สารคดีอัตชีวประวัติเรื่องมิสอเมริกานา (2020) และภาพยนตร์มิวสิคัลที่เธอกำกับเอง ได้แก่ โฟล์กลอร์: เดอะลองพอนด์สตูดิโอเซสชันส์ (2020)และ ออลทูเวล: เดอะชอร์ตฟิล์ม (2021) และอื่น ๆ
สวิฟต์เป็นหนึ่งในศิลปินนักดนตรีที่ขายดีที่สุดตลอดกาล เธอขายอัลบั้มได้มากกว่า 400 ล้านชุดทั่วโลก เธอได้รับรางวัลแกรมมี 14 รางวัล (รวมรางวัลอัลบั้มแห่งปี 4 รางวัล) เอมมีอะวอดส์ 1 รางวัล รางวัลบิลบอร์ดมิวสิกอะวอดส์ 25 รางวัล รางวัลสมาคมเพลงคันทรี 12 รางวัล อเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 40 รางวัล (ศิลปินที่ได้รับมากที่สุด) และได้รับการบันทึกในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ 49 รายการ เธออยู่ในรายชื่อ 100 นักแต่งเพลงยอดเยี่ยมตลอดกาล จัดโดยนิตยสารโรลลิงสโตน เป็นอันดับที่แปดในรายชื่อศิลปินยอดเยี่ยมตลอดกาล จัดอันดับโดยบิลบอร์ด และอยู่ในการจัดอันดับอีกมากมาย เช่น ไทม์ 100 และคนดัง 100 คนของฟอบส์ บิลบอร์ดแต่งตั้งให้สวิฟต์เป็นสตรีแห่งทศวรรษ 2010 และอเมริกันมิวสิกอะวอดส์แต่งตั้งให้เป็นศิลปินแห่งทศวรรษ 2010 สวิฟต์เป็นที่จดจำในฐานะผู้สนับสนุนสิทธิและอำนาจสตรีในอุตสาหกรรมดนตรี
ชีวิตและการทำงาน
แก้ค.ศ. 1989–2003: ชีวิตช่วงแรก
แก้เทย์เลอร์ แอลิสัน สวิฟต์ เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1989 ที่เรดดิง รัฐเพนซิลเวเนีย[1] บิดาของเธอชื่อ สกอตต์ คิงสลีย์ สวิฟต์ เป็นที่ปรึกษาการเงิน ส่วนมารดาของเธอ แอนเดรีย การ์ดเนอร์ (สกุลเดิม ฟินเลย์) สวิฟต์ เป็นผู้รับจ้างทำงานบ้านที่เคยทำงานเป็นกรรมการบริหารกองทุนรวม[2] สวิฟต์มีน้องชายหนึ่งคนชื่อ ออสติน[3] สวิฟต์ใช้ชีวิตช่วงปีแรก ๆ ในไร่นาต้นคริสต์มาสทีพ่อซื้อต่อจากลูกค้าคนหนึ่ง[4][5] เธอเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาล และชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอัลเวอร์เนียมอนเทสซอรีสกูล เปิดสอนโดยแม่ชีคณะฟรันซิสกัน[6] ก่อนย้ายเข้าโรงเรียนวินด์ครอฟต์สคูล[7] ต่อมา ครอบครัวย้ายไปที่บ้านเช่าหลังหนึ่งในชานเมืองไวโอมิสซิง รัฐเพนซิลเวเนีย[8] เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนไวโอมิสซิงเอเรียจูเนียร์/ซีเนียร์ไฮสคูล[9]
เมื่ออายุ 9 ปี สวิฟต์เริ่มสนใจการละครเวที และแสดงในละครเวทีที่เบิกส์ยูธเธียเตอร์อะคาเดมี[10] เธอเดินทางไปบรอดเวย์เป็นประจำเพื่อเรียนร้องเพลงและการแสดง[11] ต่อมาสวิฟต์เริ่มเปลี่ยนความสนใจไปที่ดนตรีคันทรี เพลงของชะไนยา ทเวน ทำให้เธอ "อยากวิ่งรอบช่วงตึก 4 รอบและฝันกลางวันถึงทุกสิ่งทุกอย่าง"[12] เธอใช้เวลาสุดสัปดาห์แสดงตามงานเทศกาลในท้องถิ่น และอีเวนต์ต่าง ๆ[13][14] หลังจากชมสารคดีเกี่ยวกับเฟท ฮิลล์ สวิฟต์รู้สึกมั่นใจว่าเธอต้องการเดินทางไปสานฝันงานดนตรีที่แนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี[15] เมื่ออายุ 11 ปี เธอเดินทางไปแนชวิลล์กับแม่เพื่อส่งเดโมเพลง ซึ่งเป็นเพลงคาราโอเกะของดอลลี พาร์ตัน และดิกซีชิกส์ นำมาขับร้องใหม่[16] แต่เธอถูกปฏิเสธ ด้วยเหตุที่ว่า "ทุกคนในเมืองนั้นก็อยากทำสิ่งที่ฉันอยากทำเหมือนกัน ดังนั้น ฉันจึงกลับมาคิดกับตัวเองว่า ฉันต้องหาทางทำสิ่งที่แตกต่างออกไป"[17]
เมื่อสวิฟต์อายุ 12 ปี รอนนี เครเมอร์ ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์และนักดนตรี สอนเธอเล่นกีตาร์ 3 คอร์ด บันดาลให้เธอเขียนเพลงแรก "ลักกียู"[18][19] ใน 2003 สวิฟต์และพ่อแม่ของเธอเริ่มทำงานกับผู้จัดการดนตรี แดน ดิมโทรว์ ในนิวยอร์ก ด้วยความช่วยเหลือของดิมโทรว์ สวิฟต์เป็นแบบให้แก่บริษัทเอเบอร์ครอมบีแอนด์ฟิตช์ เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ "ไรซิงสตาส์" และมีเพลงต้นฉบับรวมในอัลบั้มรวมเพลงของตราสินค้าเมย์เบลลีน และเข้าร่วมประชุมกับค่ายเพลงหลักมากมาย[20] หลังจากแสดงเพลงที่งานมหรสพของสังกัดอาร์ซีเอเรเคิดส์ สวิฟต์ที่ยังเรียนอยู่ชั้นเกรด 8 ได้รับโอกาสให้เป็นนักร้อง และเริ่มเดินทางไปแนชวิลล์กับแม่ของเธอบ่อยขึ้น[21][22]
พ่อของเธอย้ายไปทำงานออฟฟิศของเมร์ริลลินช์ที่แนชวิลล์เพื่อช่วยส่งเสริมสวิฟต์ทำงานดนตรีคันทรี ขณะที่เธออายุ 14 ปี และครอบครัวย้ายที่อยู่ไปที่บ้านริมทะเลสาบในเฮนเดอร์สันวิลล์ รัฐเทนเนสซี[4][23] สวิฟต์เข้าเรียนที่โรงเรียนเฮนเดอร์สันวิลล์ไฮสคูล[24] แต่เรียนได้สองปี เธอก็ย้ายไปเรียนที่สถาบันแอรอนอะคาเดมี โรงเรียนคริสต์เอกชนที่มีบริการเรียนที่บ้านได้ เพื่อให้สะดวกต่อการทัวร์ และเธอจบการศึกษาเร็วกว่ากำหนดหนึ่งปี[25]
ค.ศ. 2004–2008 : เริ่มต้นอาชีพนักร้อง และอัลบั้ม เทย์เลอร์ สวิฟต์
แก้ที่แนชวิลล์ เธอร่วมงานกับนักแต่งเพลงย่านมิวสิกโรว์มากมาย เช่น ทรอย เวอร์จิส เบรตต์ บีเวอส์ เบรตต์ เจมส์ แม็ก แม็กอะแนลลี และเดอะวอร์เรนบราเธอส์[26][27] จนเธอได้สานสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานชื่อ ลิซ โรส[28] พวกเธอประชุมกันในคาบแต่งเพลงทุกวันอังคารตอนบ่ายหลังเรียน[29] โรสกล่าวว่า คาบแต่งเพลงนั้นเป็น "อะไรที่ง่ายที่สุดที่ฉันเคยได้ทำ พูดง่าย ๆ คือ ฉันเป็นบรรณาธิการของเธอ เธอจะเขียนเพลงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียนในวันนั้น เธอมีวิสัยทัศน์ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่เธอต้องการจะพูด และเธอจะคิดท่อนสร้อยที่น่าเหลือเชื่อได้เสมอ" สวิฟต์ได้เซ็นสัญญากับโซนี/เอทีวีทรีพับลิชชิง[30] แต่ลาออกจากสังกัดอาร์ซีเอเรเคิดส์เมื่ออายุ 14 ปี[14] เธอระลึกได้ว่า "ฉันรู้สึกว่าฉันกำลังหมดเวลา ฉันอยากเก็บความทรงจำในชีวิตของฉันหลายปีมานี้ไว้ในอัลบั้มสักอัลบั้ม ขณะที่ความทรงจำเหล่านั้นยังคงแทนสิ่งที่ฉันเคยผ่านมาได้อยู่"[31]
ณ งานมหรสพแห่งหนึ่งที่ร้านกาแฟบลูเบิร์ดคาเฟในเมืองแนชวิลล์เมื่อ ค.ศ. 2005 สวิฟต์เป็นที่ต้องตาต้องใจของสก็อตต์ บอร์เชตตา ผู้บริหารค่ายดรีมเวิกส์เรเคิดส์ที่กำลังเตรียมตัวก่อตั้งค่ายเพลงอิสระของตนในชื่อ บิกแมชีนเรเคิดส์ เธอเคยพบกับบอร์เชตตาแล้วใน ค.ศ. 2004[32] เธอได้เป็นหนึ่งในคนแรก ๆ ที่ได้เซ็นสัญญา โดยพ่อของเธอจ่ายเงินช่วยบริษัท 3% เป็นเงินจำนวนประมาณ 120,000 ดอลลาร์สหรัฐ[33][34]สวิฟต์เริ่มทำอัลบั้มแรกของเธอโดยตั้งชื่อเธอให้เป็นชื่ออัลบั้มไม่นานหลังเซ็นสัญญา สวิฟต์โน้มน้าวให้ค่ายบิกแมชีนจ้างโปรดิวเซอร์เพลงชื่อนาธาน แชปแมน ที่เธอรู้สึกว่ามีเคมีตรงกัน[14] สวิฟต์แต่งเพลงในอัลบั้มเอง 3 เพลง และร่วมแต่งเพลงที่เหลืออีกแปดเพลงกับนักแต่งเพลง เช่น โรส เอลลิส ออร์รอล ไบรอัน เมเฮอร์ และแอนเจโล เพทราเกลีย[35] อัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ ออกจำหน่ายในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2006[36] จอน คารามานิกา จากหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ พูดถึงอัลบั้มนี้ว่าเป็น "งานเล็ก ๆ ชิ้นเยี่ยมที่เป็นคันทรีผสมป็อป ทั้งเรียบง่ายและถากถาง รวมกันไว้ด้วยเสียงร้องที่อ้อนวอนและแน่วแน่ของคุณสวิฟต์"[37] อัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ขึ้นสูงสุดอันดับที่ห้าในชาร์ตบิลบอร์ด 200 และอยู่ในชาร์ตนาน 157 สัปดาห์ นานที่สุดในบรรดาอัลบั้มที่ออกในคริสต์ทศวรรษ 2000[38] นับถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 อัลบั้มขายได้มากกว่า 7.75 ล้านชุดทั่วโลก[39]
บิกแมชีนเรเคิดส์เพิ่งเปิดค่ายใหม่ ขณะที่ออกซิงเกิลนำ "ทิม แม็กกรอว์" ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006 สวิฟต์กับแม่ช่วยกัน "นำซีดีซิงเกิลใส่ซองจดหมายและส่งให้สถานีวิทยุ"[40] เธอใช้เวลาทั้ง ค.ศ. 2006 เดินสายส่งเสริมอัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ ตามสถานีวิทยุและรายการโทรทัศน์[41][42] บอร์เชตตากล่าวว่า การที่เขาตัดสินใจให้เด็กผู้หญิงอายุ 16 ปี เซ็นสัญญา แรกเริ่มทำให้เพื่อนร่วมวงการเป็นกังวล แต่สวิฟต์ก้าวเข้าสู่กลุ่มตลาดดนตรีที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือ กลุ่มวัยรุ่นสาวที่ฟังเพลงคันทรี[4] หลังจากออกซิงเกิล "ทิม แม็กกรอว์" มีซิงเกิลออกตามมาอีกสี่ซิงเกิลตลอด ค.ศ. 2007-2008 ได้แก่ "เทียร์ดรอปส์ออนมายกีตาร์" "อาวเวอร์ซอง" "พิกเชอร์ทูเบิร์น" และ "ชูดัฟเซดโน" ทุกซิงเกิลประสบความสำเร็จบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอตเพลงคันทรี "อาวเวอร์ซอง" และ "ชูดัฟเซดโน" ขึ้นอันดับหนึ่ง เพลง "อาวเวอร์ซอง" ทำให้สวิฟต์เป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่แต่งเอง ร้องเพลงคันทรีเอง และขึ้นอันดับหนึ่งได้[43] "เทียร์ดรอปส์ออนมายกีตาร์" กลายเป็นเพลงแนวป็อปที่ได้รับความนิยมระดับหนึ่ง ขึ้นอันดับ 13 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[44] สวิฟต์ยังออกอัลบั้มวันหยุด ได้แก่ ซาวส์ออฟเดอะซีซัน: เดอะเทย์เลอร์ สวิฟต์ฮอลลิเดย์คอลเล็กชัน เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 และอีพีชื่อ บิวตีฟูลอายส์ เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008[45][46] เธอส่งเสริมอัลบั้มแรกเพิ่มเติมด้วยการพบปะทักทายกับแฟนเพลง ร้องเพลงที่ได้รับความนิยม และเป็นศิลปินเปิดคอนเสิร์ตให้ศิลปินคนอื่น ๆ[47]
สวิฟต์ได้รับรางวัลจากอัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ หลายรางวัล เธอเป็นหนึ่งในผู้ที่รางวัลนักแต่งเพลง/ศิลปินแห่งปี โดยสมาคมนักแต่งเพลงแนชวิลล์ ใน ค.ศ. 2007 เป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลนี้[48] เธอยังได้รางวัลฮอไรซันอะวอร์ดสาขาศิลปินหน้าใหม่โดยสมาคมดนตรีคันทรี[49] รางวัลอะคาเดมีออฟคันทรีมิวสิกอะวอดส์ สาขานักร้องนำหญิงคนใหม่ยอดเยี่ยม[50] และรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ดสาขาศิลปินคันทรีหญิงคนโปรด[51] เธอยังได้เข้าชิงรางวัลแกรมมีสาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ค.ศ. 2008[52] ในเดือนกรกฎาคมปีนั้น เธอคบหากับโจ โจนาส แต่ความสัมพันธ์จบลงหลังจากนั้นสามเดือน[53][54]
ค.ศ. 2008–2010 : อัลบัมเฟียร์เลส และการแสดง
แก้สตูดิโออัลบัมที่สองของสวิฟต์ชื่อ เฟียร์เลส วางจำหน่ายวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008[36] ซิงเกิลนำ "เลิฟสตอรี" ออกจำหน่ายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 ขึ้นสูงสุดอันดับที่สี่บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[55] และอันดับหนึ่งในออสเตรเลีย[56] มีซิงเกิลออกจำหน่ายอีกสี่ซิงเกิลตลอด ค.ศ. 2008–2009 ได้แก่ "ไวต์ฮอร์ส" "ยูบีลองวิทมี" "ฟิฟทีน" และ "เฟียร์เลส" เพลง "ยูบีลองวิทมี" เป็นซิงเกิลที่ขึ้นอันดับสูงที่สุดในอัลบัม ขึ้นถึงอันดับที่สองบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[57] อัลบัมเปิดตัวที่อันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 เป็นอัลบัมที่ขายดีที่สุดในสหรัฐใน ค.ศ. 2009[58] สวิฟต์ออกทัวร์ของตนเองครั้งแรกส่งเสริมอัลบัมเฟียร์เลส ในทัวร์ชื่อเฟียร์เลสทัวร์[59] ทำรายได้ได้มากกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[60] ภาพยนตร์คอนเสิร์ต เทย์เลอร์ สวิฟต์: เจอร์นีย์ทูเฟียร์เลส ออกอากาศทางโทรทัศน์และจำหน่ายเป็นดีวีดีและบลูเรย์[61] สวิฟต์ยังแสดงรับเชิญในทัวร์ชื่อ เอสเคปทูเก็ตเทอร์เวิลด์ทัวร์ ของคีท เออร์เบิน[62]
ใน ค.ศ. 2009 มิวสิกวิดีโอเพลง "ยูบีลองวิทมี" ได้รางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ สาขาศิลปินหญิงยอดเยี่ยม[65] ขณะเธอกล่าวรับรางวัล แร็ปเปอร์ คานเย เวสต์ เข้ามาขัดจังหวะ[66] เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อบ่อยครั้ง ทำให้เกิดอินเทอร์เน็ตมีม[67] เจมส์ มอนต์โกเมอรี จากเอ็มทีวีเถียงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวและความสนใจจากสื่อทำให้สวิฟต์กลายเป็น "คนดังตามกระแสอย่างแท้จริง"[68] ในปีเดียวกันนั้น เธอได้รับรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 5 รางวัล รวมถึงรางวัลสาขาศิลปินแห่งปี และอัลบัมเพลงคันทรีชมเชย[69] บิลบอร์ดแต่งตั้งให้เธอเป็นศิลปินแห่ง ค.ศ. 2009[70] อัลบัมติดอันดับ 99 ในรายชื่ออัลบัมเพลงผู้หญิงยอดเยี่ยม จัดอันดับโดยเอ็นพีอาร์[71]
ใน ค.ศ. 2010 สวิฟต์ได้รับรางวัลมากมายจากอัลบัมเฟียร์เลส ในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 52 เฟียร์เลสได้รางวัลอัลบัมแห่งปี และอัลบัมเพลงคันทรียอดเยี่ยม ขณะที่เพลง "ไวต์ฮอร์ส" ได้รางวัลเพลงคันทรียอดเยี่ยม และการแสดงเพลงคันทรีหญิงยอดเยี่ยม เธอเป็นศิลปินที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลอัลบัมแห่งปี[72] ในงาน สวิฟต์ร้องเพลง "ยูบีลองวิทมี" และ "รีแอนนอน" กับสตีวี นิกส์ การแสดงของเธอได้รับคำวิจารณ์และปฏิกิริยาที่ไม่ดีจากสื่อ[68][73] จอน คารามานิกาจากเดอะนิวยอร์กไทมส์เห็นว่า "น่าชื่นใจที่เห็นคนบางคนมีพรสวรรค์จนบางครั้งก็มีผิดพลาดบ้าง" และพูดถึงสวิฟต์ว่าเป็น "ดาราป็อปคนสำคัญที่สุดคนใหม่ในรอบหลายปี"[74] สวิฟต์เป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่สมาคมดนตรีคันทรีแต่งตั้งเป็นผู้ให้ความบันเทิงแห่งปี[75] อัลบัมเฟียร์เลสได้รับรางวัลอัลบัมแห่งปีจากสมาคมดังกล่าวด้วย[76]
สวิฟต์ร้องเบื้องหลังให้เพลง "ฮาล์ฟออฟมายฮาร์ต" ของจอห์น เมเยอร์ เป็นซิงเกิลจากอัลบัมที่สี่ แบตเทิลสตัดดีส์ (2009)[77] เธอร่วมแต่งและอัดเพลง "เบสต์เดส์ออฟยัวร์ไลฟ์" กับเคลลี พิกเลอร์[78] และร่วมแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์แฮนนาห์ มอนทานา: เดอะมูฟวี สองเพลง ได้แก่ "ยูลออลเวส์ไฟนด์ยัวร์เวย์แบ็กโฮม" และ "เครซีเออร์"[64] สวิฟต์ร้องเพลงให้ซิงเกิล "ทูอิสเบ็ตเทอร์แดนวัน" ของบอยส์ไลก์เกิลส์ แต่งโดยมาร์ติน จอห์นสัน[79] เธอร้องเพลงประกอบภาพยนตร์วาเลนไทน์เดย์ หวานฉ่ำ วันรักก้องโลก หนึ่งในนั้นคือเพลง "ทูเดย์วอสอะเฟรีเทล" กลายเป็นเพลงแรกที่ติดอันดับหนึ่งบนชาร์ตคะเนเดียนฮอต 100 [80][81] ขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องวาเลนไทน์เดย์ หวานฉ่ำ วันรักก้องโลก ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 เธอเริ่มคบหากับนักแสดง เทย์เลอร์ เลาต์เนอร์ แต่เลิกรากันในปีเดียวกัน[82][83] ภาพยนตร์รักตลกเรื่องดังกล่างออกฉายในปีต่อมา เธอแสดงเป็นแฟนสาวทึ่มของหนุ่มบ้านนอกนักเรียนไฮสกูล บทบาทที่ลอสแอนเจลิสไทมส์มองเห็น "ศักยภาพที่ทำให้ดูตลกอย่างจริงจัง"[84] ในบทสัมภาษณ์บทหนึ่ง นิตยสารวาไรตีมองว่าเธอ "ไม่ได้ถูกชี้นำชัดเจน" และแย้งว่า "เธอต้องหาผู้กำกับที่มีความสามารถคอยจำกัดขอบเขตพลังการแสดงที่มีมากเกินไป"[85]
สวิฟต์เริ่มงานแสดงในซีรีส์ ซีเอสไอ: ไครม์ซีนอินเวสติเกชัน ทางช่องซีบีเอส ตอนหนึ่งใน ค.ศ. 2009 รับบทเป็นวัยรุ่นหัวรั้น[86] เดอะนิวยอร์กไทมส์กล่าวว่าตัวละครดังกล่าวทำให้สวิฟต์ดู "ซนเล็กน้อย และซนอย่างเหลือเชื่อ"[87] ในปีเดียวกันนั้น สวิฟต์เป็นทั้งพิธีกรและเป็นแขกรับเชิญตอนหนึ่งในรายการแซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์[88] เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลีพูดถึงเธอว่า "เป็นพิธีกรรายการแซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ที่ดีที่สุดในฤดูกาลนี้เลย" จากที่เธอ "ดูท้าทายอยู่เสมอ ดูเหมือนจะสนุกสนาน และทำให้นักแสดงที่เหลือเล่นมุกตลกได้หลายมุก" ในปีเดียวกันนั้น สวิฟต์คบหากับนักแสดง เจค จิลเลินฮาล เป็นช่วงสั้น ๆ[89]
ค.ศ. 2010–2014 : อัลบัมสปีกนาว และ เรด
แก้ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 สวิฟต์ออกเพลง "ไมน์" ซิงเกิลแรกจากอัลบัมที่สามชื่อ สปีกนาว เข้าชาร์ตที่สหรัฐอันดับที่สาม ทำให้สวิฟต์เป็นศิลปินคนที่สอง (ถัดจากมารายห์ แครี) ในประวัติศาสตร์ของชาร์ตฮอต 100 ที่เปิดตัวที่ห้าอันดับแรกถึงสองเพลงในปีเดียวกัน อีกเพลงหนึ่งคือ "ทูเดย์วอสอะเฟรีเทล"[90] สวิฟต์แต่งเพลงในอัลบัมเองและร่วมผลิตทุกเพลง[91] อัลบัมสปีกนาว วางจำหน่ายวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ เปิดตัวที่อันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ด 200 กลายเป็นอัลบัมที่ 16 ในประวัติศาสตร์สหรัฐที่มียอดขายถึง 1 ล้านชุดในสัปดาห์แรก[92] อัลบัมทำลายสถิติ "อัลบัมดิจิทัลที่ขายได้เร็วที่สุดโดยศิลปินหญิง" ด้วยยอดดาวน์โหลด 278,000 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ สวิฟต์จึงมีชื่อบันทึกในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ เธอยังได้รับบันทึกอีกหนึ่งหัวข้อหลังจากเพลงในอัลบัมสปีกนาว 10 เพลง เปิดตัวในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 เป็นศิลปินหญิงคนแรกที่ทำได้[93][94] ซิงเกิลสามซิงเกิล "ไมน์" "แบ็กทูดีเซมเบอร์" และ "มีน" ขึ้นถึงสิบอันดับแรกในแคนาดา[81]
เพลง "มีน" ชนะรางวัลเพลงคันทรียอดเยี่ยม และแสดงเดี่ยวเพลงคันทรียอดเยี่ยมในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 54[95] เธอยังแสดงเพลงนี้ในงานด้วย แคลร์ ซัดดาท จากนิตยสารไทม์รู้สึกว่าเธอ "กลับมาร้องเพลงตรงคีย์และเป็นการแก้ตัว"[96] และเจมี เดียร์เวสเตอร์จากยูเอสเอทูเดย์ กล่าวว่า คำตำหนิเธอเมื่อ ค.ศ. 2010 ทำให้เธอ "เป็นนักแต่งเพลงและนักร้องร้องสดที่ดีกว่าเดิม"[97] สวิฟต์ยังได้รับรางวัลอื่น ๆ กับอัลบัมสปีกนาว เช่น รางวัลนักแต่งเพลง/ศิลปินแห่งปี จากสมาคมนักแต่งเพลงแนชวิลล์ (2010 และ 2011)[98][99] ผู้หญิงแห่งปี จากนิตยสารบิลบอร์ด (2011)[100] และผู้ให้ความบันเทิงแห่งปี จากโรงเรียนดนตรีคันทรี (2011 และ 2012)[101] และสมาคมดนตรีคันทรีใน ค.ศ. 2011[102] สวิฟต์ได้รับรางวัลศิลปินแห่งปีและอัลบัมเพลงคันทรีชมเชยจากงานประกาศรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 2011[103] อัลบัมสปีกนาวรวมในรายชื่อ "อัลบัมเพลงผู้หญิง 50 อัลบัมยอดเยี่ยมตลอดกาล" ของนิตยสารโรลลิงสโตน เมื่อ ค.ศ. 2012 อยู่ในอันดับที่ 45 นิตยสารเขียนว่า "เพลงของเธออาจเปิดในคลื่นวิทยุเพลงคันทรี แต่เธอเป็นหนึ่งในร็อกสตาร์ที่แท้จริงไม่กี่คนที่เรามีในเวลานี้ ที่มีหูกำหนดสิ่งที่ทำให้เพลงมีคุณภาพอย่างไร้ตำหนิ"[104]
สวิฟต์เริ่มทัวร์ชื่อสปีกนาวเวิลด์ทัวร์ เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ถึงมีนาคม ค.ศ. 2012 และทำรายได้ได้มากกว่า 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[105] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 สวิฟต์ออกอัลบัมบันทึกการแสดงสด สปีกนาวเวิลด์ทัวร์: ไลฟ์[106] เดือนต่อมา สวิฟต์ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เกมล่าเกม "เซฟแอนด์ซาวด์" ร่วมแต่งและอัดเสียงกับเดอะซีวิลวอส์ และทีโบน เบอร์เน็ตต์ และเพลง "อายส์โอเพน" เพลง "เซฟแอนด์ซาวด์" ได้รับรางวัลแกรมมีสาขาเพลงที่แต่งประกอบสื่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[107] หลังจากร้องเพลง "โบทออฟอัส" ให้แก่บี.โอ.บี. ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012[108] สวิฟต์คบหากับทายาทนักการเมือง คอเนอร์ เคนเนดี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ค.ศ. 2012[109] ในเดือนสิงหาคม สวิฟต์ออกซิงเกิล "วีอาร์เนเวอร์เอเวอร์เกตติงแบ็กทูเกเตอร์" และเป็นซิงเกิลนำจากสตูดิโออัลบัมที่สี่ เรด ซิงเกิลประสบความสำเร็จในต่างประเทศ กลายเป็นซิงเกิลอันดับหนึ่งเพลงแรกในสหรัฐและนิวซีแลนด์[110][111] เพลงขึ้นอันดับหนึ่งบนไอทูนส์หลังเพลงออกได้ 50 นาที เป็น "ซิงเกิลที่ขายได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์เพลงดิจิทัล" บันทึกในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[112] จากนั้นสวิฟต์ออกซิงเกิลที่สอง "บีกินอะเกน" ในเดือนตุลาคม เพลงขึ้นอันดับที่เจ็ดในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[113] และได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี[113] ซิงเกิลอื่น ๆ จากอัลบัมออกตามมา ได้แก่ "ไอนูว์ยูเวอร์ทรับเบิล" "22" "เอเวอรีติงแฮสเชนจด์" "เดอะลาสต์ไทม์" และ "เรด" ซิงเกิล "ไอนูว์ยูเวอร์ทรับเบิล" ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ครั้งใหญ่[114] ขึ้นอันดับที่สองในสหรัฐ[113]
อัลบัมเรดเป็นจุดเปลี่ยนแปลงแนวเพลงของสวิฟต์[36] โดยเธอทดลองแนวเพลงฮาร์ตแลนด์ร็อก ดั๊บสเตป และแดนซ์ป็อป[12] อัลบัมออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 ประสบความสำเร็จในด้านคำวิจารณ์และเชิงพาณิชย์ อัลบัมเปิดตัวอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ด 200 ด้วยยอดขายสัปดาห์แรก 1.21 ล้านชุด เป็นยอดขายเปิดอัลบัมที่สูงที่สุดในทศวรรษ และทำให้สวิฟต์เป็นผู้หญิงคนแรกที่มีอัลบัมขายสัปดาห์แรกได้ถึงล้านชุดถึงสองอัลบัม บันทึกโดยบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[115][116] ในการส่งเสริมอัลบัม สวิฟต์เริ่มทัวร์ชื่อ เดอะเรดทัวร์ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 2014 และทำรายได้ได้มากกว่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[117] อัลบัมเรดได้รับรางวัลหลายรางวัล ได้แก่ เข้าชิงรางวัลแกรมมีในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 56 จำนวน 4 รางวัล[118] ซิงเกิล "ไอนูว์ยูเวอร์ทรับเบิล ได้รับรางวัลวิดีโอผู้หญิงยอดเยี่ยม" จากงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2013[119] สวิฟต์ได้ชื่อว่าศิลปินคันทรีหญิงยอดเยี่ยมในงานอเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 2012 และศิลปินแห่งปีในงานของ ค.ศ. 2013[120][121] สมาคมนักแต่งเพลงแนชวิลล์มอบรางวัลนักแต่งเพลง/ศิลปินให้สวิฟต์ติดต่อกันเป็นปีที่ห้าและหกใน ค.ศ. 2012 และ 2013 ตามลำดับ[122] สวิฟต์ยังได้รับรางวัล พินนาเคิลอะวอร์ด จากสมาคม สำหรับความสำเร็จระดับ "ไม่เหมือนใคร" สวิฟต์เป็นผู้รับรางวัลดังกล่าวเป็นคนที่สองถัดจากการ์ท บรุกส์[123]
ใน ค.ศ. 2013 สวิฟต์ร่วมแต่งเพลง "สวีเทอร์แดนฟิกชัน" กับแจ็ก แอนโตนอฟฟ์ ประกอบภาพยนตร์เรื่องขอสักครั้งให้ดังเป็นพลุแตก และได้เข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 71 สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม[124] เธอร้องรับเชิญให้แม็กกรอว์ ในเพลง "ไฮเวย์โดนต์แคร์" บรรเลงกีตาร์โดยคีท เออร์เบิน[125] สวิฟต์ร้องเพลง "แอสเทียส์โกบาย" กับเดอะโรลลิงสโตนส์ ที่ชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ในทัวร์ชื่อ 50 แอนด์เคาน์ติง[126] ต่อมาเธอกล่าวว่าวงนี้มีอิทธิพลหลักต่อภาพลักษณ์งานเพลงของเธอ[127] เธอแสดงกับฟลอริดาจอร์เจียไลน์ในงานคันทรีเรดิโอเซมินาร์ 2013 ในเพลง "ครูส"[128] นอกจากร้องเพลง สวิฟต์พากย์เสียงให้ออเดรย์ คนรักต้นไม้ ในภาพยนตร์แอนิเมชัน คุณปู่โลแรกซ์ มหัศจรรย์ป่าสีรุ้ง[129] ปรากฏในซิตคอม นิวเกิร์ล (2013)[130] เล่นบทรองในภาพยนตร์ พลังพลิกโลก (2014)[131] ในระหว่างนี้ เธอคบหากับนักร้องชาวบริติช แฮร์รี สไตลส์[132]
ค.ศ. 2014–2018 : 1989 และ เรพิวเทชัน
แก้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 สวิฟต์ย้ายมาอาศัยที่แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก[133] ช่วงนี้เธอกำลังทำสตูดิโออัลบัมที่ห้า 1989 ร่วมกับนักแต่งเพลง แอนโทนอฟฟ์ มาร์ติน เชลล์แบ็ก อิโมเจน ฮีป ไรอัน เท็ดเดอร์ และอาลี พายามี[134] สวิฟต์ส่งเสริมอัลบัมผ่านโครงการรณรงค์ต่าง ๆ รวมถึงการเชิญชวนแฟนเพลงให้มาฟังเพลงในอัลบัมแบบลับ ๆ เรียกว่า "1989 ซีเคร็ตเซสชัน" ด้วย[135] อัลบัมดูแตกต่างจากอัลบัมเพลงคันทรีชุดก่อนหน้า สวิฟต์ยกให้เป็น "อัลบัมแรกที่ถูกบันทึกให้เป็นอัลบัมเพลงป็อปอย่างเป็นทางการ"[136] อัลบัมวางจำหน่ายในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ได้รับคำวิจารณ์ด้านบวกมากมาย[36][137] อัลบัม 1989 ขายได้ 1.28 ล้านชุดในสหรัฐในสัปดาห์แรกที่วางจำหน่าย และเปิดตัวสูงสุดในชาร์ตบิลบอร์ด 200 ทำให้สวิฟต์เป็นศิลปินคนแรกที่มีอัลบัมที่ขายในสัปดาห์แรกเกินหนึ่งล้านชุดถึงสามอัลบัม ทำให้เธอได้รับการบันทึกในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[138][139] นับถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 อัลบัม 1989 ขายได้มากกว่า 10 ล้านชุดทั่วโลก[140] ซิงเกิลนำของอัลบัม "เชกอิตออฟ" จำหน่ายในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 และเปิดตัวที่อันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[141] ซิงเกิลอื่น ๆ ประกอบด้วยซิงเกิลอันดับหนึ่งได้แก่ "แบลงก์สเปซ" "แบดบลัด" (ร้องรับเชิญโดยเคนดริก ลามาร์) และซิงเกิลที่ขึ้นสิบอันดับแรก ได้แก่ "สไตล์" และ "ไวล์ดิสต์ดรีมส์" และมีซิงเกิล "เอาต์ออฟเดอะวุดส์" และ "นิวโรแมนติกส์"[142] "เชกอิตออฟ" "แบลงก์สเปซ" และ "แบดบลัด" ติดอันดันหนึ่งในออสเตรเลียและแคนาดาด้วย[56][81] หลังจากเพลง "แบลงก์สเปซ" ขึ้นอันดับหนึ่งในสหรัฐตามเพลง "เชกอิตออฟ" สวิฟต์กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่มีเพลงอันดันหนึ่งแทนที่เพลงของตนเองในประวัติศาสตร์ชาร์ตฮอต 100[143] มิวสิกวิดีโอเพลง "แบลงก์สเปซ" เคยเป็นวิดีโอที่มียอดผู้ชมขึ้นถึงหนึ่งพันล้านครั้งเร็วที่สุดในวีโว[144] "แบลงก์สเปซ" และวิดีโอเพลง "แบดบลัด" ได้รับรางวัลสี่รางวัลที่งานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2015 โดยเพลง "แบดบลัด" ได้รับรางวัลวิดีโอแห่งปี และเพลงร่วมขับร้องยอดเยี่ยมด้วย[145] ในทัวร์เดอะ 1989 เวิลด์ทัวร์ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม ค.ศ. 2015 ทัวร์ยังคงทำรายได้ต่อไปได้ถึง 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหนึ่งในทัวร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดในทศวรรษ[146]
ก่อนออกอัลบัม 1989 สวิฟต์เน้นเกี่ยวกับความสำคัญของอัลบัมเพลงที่มีต่อศิลปินและแฟนเพลง[147] และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 เธอลบเพลงทั้งอัลบัมออกจากสปอทิฟาย โดยแย้งว่าบริการฟรีที่มีโฆษณาสนับสนุนของบริษัทสตรีมมิงบ่อนทำลายบริการระดับพรีเมียมที่ให้ค่าลิขสิทธิ์กับนักแต่งเพลงมากกว่า[148] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 สวิฟต์ตำหนิแอปเปิลมิวสิกผ่านจดหมาย เนื่องจากไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์แก่ศิลปินระหว่างบริการสตรีมมิงในช่วงทดลองฟรีสามเดือน และกล่าวว่าเธอจะถอดอัลบัม 1989 ออกจากรายการ[149] วันถัดมา แอปเปิลประกาศว่าพวกเขาจะจ่ายเงินให้ศิลปินในช่วงทดลองฟรี[150] สวิฟต์จึงยอมให้สตรีมอัลบัม 1989 ในบริการสตรีมอีกครั้ง[151] บริษัทที่ดูแลการจัดการสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสวิฟต์ชื่อ ทีเอเอสไรส์แมเนจเมนต์ ฟ้องเครื่องหมายการค้า 73 รายการที่เกี่ยวข้องกับตัวนักร้องเองและมีมต่าง ๆ จากอัลบัม 1989[152] เธอกลับมาเพิ่มเพลงทั้งหมดมาใส่ในสปอติฟาย อเมซอนมิวสิก และกูเกิล เพลย์ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017[153]
สวิฟต์ได้เป็นผู้หญิงแห่งปีของนิตยสารบิลบอร์ดใน ค.ศ. 2014 กลายเป็นศิลปินคนแรกที่ได้ชื่อนี้ถึงสองครั้ง[154] ในปีเดียวกันนั้น เธอได้รับรางวัลดิก คลาร์ก อะวอร์ดสำหรับความดีเลิศที่งานประกาศรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอดส์[155] ที่งานประกาศรางวัลแกรมมี 2015 "เชกอิตออฟ" ได้เข้าชิงสามรางวัล รวมถึงรางวัลแผ่นเสียงแห่งปี และเพลงแห่งปี ขณะที่ในงานประกาศรางวัลบริตอะวอดส์ 2015 สวิฟต์ได้รับรางวัลบริตอะวอดส์สาขาศิลปินเดี่ยวหญิงต่างชาติ[156][157] สวิฟต์เป็นหนึ่งในแปดศิลปินที่ได้รับรางวัลครบรอบ 50 ปีของอะคาเดมีออฟคันทรีมิวสิกอะวอดส์ใน ค.ศ. 2015[158] ใน ค.ศ. 2016 สวิฟต์ได้รับรางวัลแกรมมีสามรางวัลจากอัลบัม 1989 ได้แก่ อัลบัมแห่งปี อัลบัมเพลงป็อปยอดเยี่ยม และมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม จากเพลง "แบดบลัด" เธอเป็นผู้หญิงคนแรกและเป็นศิลปินคนที่ห้าจากทั้งหมดที่ได้รับรางวัลอัลบัมแห่งปีถึงสองครั้ง[159]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 สวิฟต์เริ่มคบหากับดีเจและโปรดิวเซอร์เพลงชาวสก็อต แคลวิน แฮร์ริส[160] ก่อนเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 ทั้งคู่ได้รับการจัดให้เป็นคู่รักคนดังที่มีค่าตัวสูงที่สุดในรอบปีโดยนิตยสารฟอบส์ โดยมีรายได้รวมกันมากกว่า 146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[161] ในเดือนสิงหาคม สวิฟต์กล่าวว่าแม่ของเธอตรวจพบมะเร็ง และเชิญชวนให้ทุกคนเข้ารับการตรวจสุขภาพทั่วไป[162] ก่อนสวิฟต์กับแฮร์ริสประกาศจบความสัมพันธ์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016[163] ทั้งคู่ร่วมแต่งเพลง "ดิสอิสวอตยูเคมฟอร์" (ร้องรับเชิญโดยรีแอนนา) ซึ่งมีชื่อเธอระบุในนามแฝงว่า Nils Sjöberg[164] ในเดือนตุลาคม เธอแต่งเพลง "เบตเทอร์แมน" ให้วงลิตเทิลบิกทาวน์ ให้แก่อัลบัมที่เจ็ด เดอะเบรกเกอร์[165] สองเดือนต่อมา สวิฟต์และเซย์น แมลิก ออกซิงเกิลร่วมกันชื่อ "ไอโดนต์วอนนาลิฟฟอร์เอฟเวอร์" เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ ฟิฟตีเชดส์ดาร์กเกอร์ (2017)[166] เพลงขึ้นอันดับหนึ่งในประเทศสวีเดน และอันดับสองในสหรัฐ[167][168] ในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2017 ทั้งคู่ได้รับรางวัลร่วมขับร้องเพลงยอดเยี่ยมจากมิวสิกวิดีโอเพลงดังกล่าว[169] ต้น ค.ศ. 2017 สวิฟต์คบหากับนักแสดงชาวอังกฤษ โจ อัลวิน[170] ในเดือนสิงหาคม สวิฟต์ฟ้องร้องและชนะคดีแพ่งต่อเดวิด มูเอลเลอร์ อดีตนักจัดรายการวิทยุคลื่นไคโกเอฟเอ็ม ใน ค.ศ. 2013 สวิฟต์เคยชี้แจงหัวหน้าของมูเอลเลอร์ว่าเขาเคยล่วงละเมิดเธอโดยการลูบคลำตัวเธอในงานงานหนึ่ง หลังจากเขาถูกไล่ออก มูเอลเลอร์กล่าวหาเธอว่าโกหกและฟ้องร้องเธอจากเหตุที่ทำให้เขาตกงาน หลังจากนั้นไม่นาน สวิฟต์ฟ้องร้องกลับคดีละเมิดทางเพศ ผู้พิพากษาปฏิเสธข้อเรียกร้องของเขาและยกผลประโยชน์ให้สวิฟต์[171] ในเดือนเดียวกันนั้น สวิฟต์ล้างบัญชีสื่อสังคมของเธอทั้งหมด[172] และออกซิงเกิล "ลุกวอตยูเมดมีดู" เป็นซิงเกิลแรกจากอัลบั้มที่หก เรพิวเทชัน[173] เพลงขึ้นอันดับหนึ่งในออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[174][175] มิวสิกวิดีโอในยูทูบมีผู้ชมมากกว่า 43.2 ล้านครั้งในวันแรก ทำลายสถิติมิวสิกวิดีโอที่มีผู้ชมมากที่สุดภายใน 24 ชั่วโมง[176] ในเดือนตุลาคม สวิฟต์ออกซิงเกิลที่สองจากอัลบั้ม "เรดีฟอร์อิต"[177] เพลงขึ้นอันดับที่สามในออสเตรเลีย และอันดับที่สี่ในสหรัฐ[178][175]
อัลบั้มวางจำหน่ายในวันที่ 10 พฤศจิกายน และขายได้ 1.216 ล้านหน่วยภายในสี่วันในสหรัฐ กลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในประเทศใน ค.ศ. 2017 และขายได้ 2 ล้านชุดทั่วโลกในสัปดาห์แรก[179] ด้วยความสำเร็จนี้ ทำให้เธอเป็นศิลปินคนแรกที่มีอัลบั้มขายได้มากกว่าหนึ่งล้านอัลบั้มในสัปดาห์แรกในสหรัฐถึงสี่อัลบั้ม[180] อัลบั้มขึ้นอันดับหนึ่งในหลายประเทศ เช่น สหรัฐ สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลีย[181][182] หลังจากนั้น สวิฟต์แสดงเพลง "เรดีฟอร์อิต" และ "คอลอิตวอตยูวอนต์" ในรายการแซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์[183] "เอนด์เกม" ร้องรับเชิญโดยเอ็ด ชีแรน และฟิวเชอร์ ตามมาเป็นซิงเกิลที่สามในเดือนพฤศจิกายน และขึ้นสูงสุดที่อันดับ 18 ในสหรัฐ[184] ซิงเกิลอื่น ๆ จากอัลบั้ม ได้แก่ "นิวเยียส์เดย์" และ "เดลิเคต" เพลง "นิวเยียส์เดย์" ถูกเปิดตามสถานีวิทยุเพลงคันทรี[185]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2018 มีการยืนยันว่าสวิฟต์จะร้องรับเชิญในเพลง "เบบ" ของชูการ์แลนด์ จากอัลบั้ม บิกเกอร์ [a] สวิฟต์ทัวร์คอนเสิร์ตในชื่อ เทย์เลอร์ สวิฟต์ เรพิวเทชันสเตเดียมทัวร์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 เพื่อส่งเสริมอัลบั้มเรพิวเทชัน[187] ทัวร์ทำลายสถิติยอดผู้ชมและรายได้จากหลายสถานที่ในสหรัฐ ทำรายได้ได้ 266.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขายบัตรได้มากกว่าสองล้านใบ สวิฟต์ทำลายสถิติของตนเองในฐานะผู้หญิงที่ทัวร์ในประเทศได้รายได้สูงที่สุด รายได้ทั่วโลกอยู่ที่ 345.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[188] เป็นทัวร์คอนเสิร์ตที่มีรายได้สูงที่สุดอันดับสองของปี[189] ในงานประกาศรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด 2018 สวิฟต์ได้รับรางวัลทัวร์แห่งปีจากทัวร์ล่าสุด ศิลปินแห่งปี ศิลปินป็อป/ร็อกหญิงชมเชย และอัลบั้มเพลงป็อป/ร็อกชมเชยจากอัลบั้มเรพิวเทชัน จากจำนวนรางวัล 23 รางวัล สวิฟต์จึงเป็นผู้ชนะรางวัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอร์ด สถิติเดิมคือวิตนีย์ ฮิวสตัน[190]
ค.ศ. 2018–2020: เลิฟเวอร์, โฟล์กลอร์ และ เอฟเวอร์มอร์
แก้เรพิวเทชันเป็นอัลบั้มสุดท้ายที่ออกโดยสังกัดบิกแมชีนเรเคิดส์ เนื่องจากสัญญาอายุ 12 ปี หมดลง ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 เธอเซ็นสัญญากับค่ายยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุป ในสหรัฐ ผลงานลำดับถัดไปจะถูกส่งเสริมโดยประทับตราสังกัดรีพับลิกเรเคิดส์ สวิฟต์กล่าวว่าสัญญาของเธอจะรวมการเป็นเจ้าของต้นฉบับเสียง นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่มีการแบ่งผลประโยชน์ให้กับสปอทิฟาย ยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุปเห็นพ้องที่จะจ่ายรายได้ให้ศิลปินของตน และไม่รับรายได้นั้นคืนจากศิลปิน[191] ปลายเดือนพฤศจิกายน บิกแมชีนเรเคิดส์ออกรายการเพลงจากเทย์เลอร์ สวิฟต์ เรพิวเทชันสเตเดียมทัวร์ บนบริการสตรีม รายการเพลงบรรจุเพลงทุกเพลงที่แสดงบนเวทีบีในช่วงการทัวร์เรพิวเทชันสเตเดียมทัวร์[192] ในวันที่ 31 ธันวาคม ภาพยนตร์คอนเสิร์ตเรื่อง เรพิวเทชันสเตเดียมทัวร์ ออกฉายทางเน็ตฟลิกซ์[193]
ภายใต้สังกัดรีพับลิกเรเคิดส์เป็นครั้งที่สอง "มี!" เป็นซิงเกิลแรกจากสตูดิโออัลบัมที่เจ็ดชื่อ เลิฟเวอร์ ร้องรับเชิญโดยเบรนดอน ยูรี จากวงแพนิกแอตเดอะดิสโก เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2019[194][195] เธอร่วมแต่งเพลงกับโจล ลิตเทิล และยูรี เพลงเปิดตัวในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ที่อันดับที่ 100 หลังออกมาได้สามวัน แต่กระโดดขึ้นอันดับที่สองในสัปดาห์ถัดมา กลายเป็นการกระโดดขึ้นอันดับในสัปดาห์เดียวที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาร์ต[196] มิวสิกวิดีโอเพลง "มี!" ทำลายวีโวโดยมีผู้ชมรวม 65.2 ล้านครั้งในวันแรก[197] แต่เพลงได้รับคำวิจารณ์แบบผสมกัน และสวิฟต์ลบเนื้อเพลงท่อนที่ "ถูกวิพากษ์วิจารณ์" ท่อนหนึ่งออกจากอัลบัม[198] ในเดือนมิถุนายน เธอออกซิงเกิลที่สอง "ยูนีดทูคาล์มดาวน์"[199] เพลงเปิดตัวที่อันดับสองบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[200] เป็นเพลงเปิดตัวสูงสุดลำดับที่ 15 มากที่สุดในบรรดาศิลปินหญิง[201] ในเดือนกรกฎาคม เธอออกซิงเกิลโปรโมตอัลบัม "ดิอาร์เชอร์"[202] เพลงชื่อเดียวกับอัลบัมออกเป็นซิงเกิลที่สามในเดือนสิงหาคม เป็นเพลงที่ติดสิบอันดับสูงสุดบนชาร์ตฮอต 100 เพลงที่สามจากอัลบัม[203]
เลิฟเวอร์วางจำหน่ายในวันที่ 23 สิงหาคม ได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวก[204] และเปิดตัวอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 ด้วยยอดขายสัปดาห์แรก 867,000 หน่วย รวมถึงแผ่นอัลบัม 679,000 หน่วย ทำให้สวิฟต์เป็นศิลปินหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ที่มียอดขายหกอัลบัมแรกมากกว่า 500,000 หน่วยในสัปดาห์เดียว[205][206] อัลบัมทำยอดขายแผ่นได้มากกว่าอัลบัมอื่น ๆ 199 อัลบัมรวมกันในสัปดาห์นั้น[207] เพลงทั้งหมด 18 เพลงในอัลบัมเข้าชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ทำสถิติศิลปินหญิงที่มีเพลงเข้าชาร์ตพร้อมกันมากที่สุดในหนึ่งสัปดาห์[208] ในงานประกาศรางวัลเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2019 มิวสิกวิดีโอเพลง "มี!" และ "ยูนีดทูคาล์มดาวน์" ได้เข้าชิงสิบรางวัลสิบสองรางวัล "มี!" ได้รางวัลเอฟเฟกต์ภาพยอดเยี่ยม และ "ยูนีดทูคาล์มดาวน์" ได้รางวัลวิดีโอแห่งปี ทำให้สวิฟต์เป็นศิลปินคนที่สองและเป็นศิลปินหญิงคนแรกที่วิดีโอที่ตนร่วมกำกับได้รางวัลดังกล่าว[209] และได้รางวัลวิดีโอฟอร์กูด สวิฟต์แสดงในการเปิดงานประกาศรางวัลดังกล่าว[210] อัลบัมเลิฟเวอร์ได้เข้าชิงสามรางวัลในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 62 รวมถึง อัลบัมเพลงป็อปยอดเยี่ยม และเพลงแห่งปี สำหรับเพลง "เลิฟเวอร์"[211]
รับบทเป็นบอมบาลูรินา ในภาพยนตร์เพลงดัดแปลงเรื่อง แคตส์ (2019) ของแอนดรูว์ ลอยด์ เว็บเบอร์[212] แต่งและบันทึกเสียงเพลง "บิวตีฟูลโกสต์" ประกอบภาพยนตร์ และเพลงได้เข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ[213][214] นักวิจารณ์ให้คำวิจารณ์ภาพยนตร์ในด้านลบ แต่สวิฟต์ได้รับการตอบรับที่ดีในด้านการแสดงและการแสดงดนตรี สารคดี มิสอเมริกานา ฉายรอบปฐมทัศน์ในเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ฟิล์มเฟสติวัล 2020 และออกฉายในเน็ตฟลิกต์ในเดือนมกราคม[215][216] สารคดีเสนอเพลง "โอนลีเดอะยัง" ที่สวิฟต์แต่งไว้หลังช่วงเลือกตั้งใน ค.ศ. 2018[217] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 สวิฟต์เซ็นสัญญากับยูนิเวอร์แซลมิวสิกพับบลิชชิงกรุป หลังจากสัญญาอายุ 16 ปีกับโซนี/เอทีวี หมดลง[218]
ในเดือนมิถุนายน สกูตเตอร์ บราวน์ ผู้จัดการดนตรีซื้อค่ายเพลงเดิมของสวิฟต์ รวมถึงต้นฉบับของอัลบัมเพลงของเธอหกอัลบัมแรก[219] สวิฟต์แสดงความไม่พอใจผ่านโพสต์บนทัมเบลอร์ กล่าวว่าเธอเคยพยายามซื้อต้นฉบับมาหลายปี และพูดถึงบราวน์ว่าเป็น "ผู้รังแกจอมบงการไม่หยุดหย่อน" ในเดือนสิงหาคม สวิฟต์ประกาศแผนการอัดเพลงจากอัลบัมที่ถูกซื้อซ้ำทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020[220] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 สวิฟต์กล่าวว่าบราวน์และสก็อตต์ บอร์เชตตา ผู้ก่อตั้งสังกัดบิกแมชีนห้ามมิให้เธอแสดงเพลงเก่าในงานประกาศรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 2019 ซึ่งเธอได้รางวัลศิลปินแห่งทศวรรษจากงานนั้น รวมถึงห้ามนำงานเพลงเก่ามาใช่กับสารคดีเรื่อง มิสอเมริกานา ทางเน็ตฟลิกซ์[221] บิกแมชีนปฏิเสธการกล่าวหา และกล่าวหาสวิฟต์ว่าเธอติดหนี้ "มูลค่าหลักล้านดอลลาร์และสินทรัพย์มากมาย"[222][223] สวิฟต์โต้ตอบโดยตัวแทนของเธอออกจดหมายตอบกลับแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารบิกแมชีนปฏิเสธที่จะให้สิทธิ์ในการทำสารคดี และกล่าวว่าบิกแมชีนเป็นหนี้เธอค่าลิขสิทธิ์มูลค่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[224] วันที่ 18 พฤศจิกายน บิกแมชีนออกประกาศว่า "สังกัดได้อนุญาตให้สตรีมการแสดงของศิลปินในสังกัด และออกอากาศซ้ำบนแพลตฟอร์มที่เห็นพ้องกัน" ในงานประกาศรางวัลอเมริกันมิวสิกอะวอดส์ แต่ไม่ได้กล่าวถึงชื่อของสวิฟต์[225]
ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สวิฟต์ออกอัลบั้มเซอร์ไพรส์สองชุด ได้แก่ โฟล์กลอร์ ในวันที่ 24 กรกฎาคม และ เอฟเวอร์มอร์ ในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2020[226][227] อัลบั้มสองชุดนี้พาสำรวจแนวเพลงอินดีโฟล์กและออลเทอร์นาทิฟร็อกด้วยการผลิตที่เงียบสงบมากกว่า เมื่อเทียบกับเพลงป็อปที่มีจังหวะเร็วก่อนหน้า[228][229] สวิฟต์แต่งและบันทึกเสียงร่วมกับโปรดิวเซอร์ แจ็ก แอนโตนอฟฟ์ และแอรอน เดสเนอร์ จากวงเดอะเนชันแนล[230] อัลวินร่วมแต่งและผลิตเพลงบางเพลงภายใต้นามแฝง วิลเลียม บาวเวอรี[231] สามซิงเกิลประชาสัมพันธ์ในแต่ละอัลบั้ม ถูกส่งให้คลื่นวิทยุในสหรัฐ ทั้งวิทยุเมนสตรีม วิทยุเพลงคันทรี และวิทยุทริปเปิลเอ ซิงเกิลตามลำดับ ได้แก่ "คาร์ดิแกน", "เบตตี" และ "เอกไซล์" จากอัลบั้มโฟล์กลอร์ และ "วิลโลว์", "โนบอดี, โนไครม์" และ "โคนีไอส์แลนด์" จากอัลบั้มเอฟเวอร์มอร์[232] "คาร์ดิแกน" และ "วิลโลว์" เปิดตัวที่อันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 สัปดาห์เดียวกับที่อัลบั้มเปิดตัวที่อันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 ทำให้สวิฟต์เป็นศิลปินคนแรกที่มีซิงเกิลและอัลบั้มเปิดตัวบนชาร์ตในสหรัฐที่อันดับหนึ่งพร้อม ๆ กัน และเป็นศิลปินคนแรกที่ทำได้ถึงสองครั้ง[233] โฟล์กลอร์ เป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในสหรัฐใน ค.ศ. 2020 ด้วยจำนวน 1.2 ล้านชุด[234] และยังได้รางวัลอัลบั้มแห่งปีในงานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 63 ทำให้สวิฟต์เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าวสามครั้งด้วยกัน[235] ที่งานอเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 2020 เธอชนะสามรางวัล รวมถึงศิลปินแห่งปีเป็นครั้งที่สามติดต่อกัน[236] ตามข้อมูลของ บิลบอร์ด สวิฟต์เป็นนักดนตรีที่มีรายได้สูงที่สุดในสหรัฐใน ค.ศ. 2020 และเป็นนักดนตรีเดี่ยวที่มีค่าตัวสูงที่สุดในโลก[237]
ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน: การบันทึกเสียงใหม่, มิดไนส์ และดิเอราส์ทัวร์
แก้หลังจากเกิดข้อพิพาทเรื่องต้นฉบับเพลง สวิฟต์ออกอัลบั้มที่บันทึกเสียงใหม่สองชุดใน ค.ศ. 2021 โดยเพิ่มคำว่า "เทเลอร์เวอร์ชัน" ที่ท้ายชื่ออัลบั้ม อัลบั้มแรก เฟียร์เลส (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200 เป็นอัลบั้มบันทึกใหม่อัลบั้มแรกที่ทำได้[238] อัลบั้มนำด้วยเพลงสามเพลง ได้แก่ "เลิฟสตอรี (เทเลอส์เวอร์ชัน)" "ยูออลโอเวอร์มี" และ "มิสเตอร์เพอร์เฟกต์ลีไฟน์" ร้องกับแมเรน มอร์ริส[239] เพลง "เลิฟสตอรี (เทเลอส์เวอร์ชัน)" ทำให้สวิฟต์เป็นศิลปินคนที่สองที่มีเพลงฉบับดั้งเดิมและบันทึกใหม่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตฮอตเพลงคันทรีทั้งคู่[240] ถัดจากดอลลี ฟาร์ตัน อัลบั้มที่สอง เรด (เทย์เลอร์เวอร์ชัน) วางจำหน่ายในวันที่ 12 พฤศจิกายน[241] เพลง "ออลทูเวล (10 มินิตเวอร์ชัน)" มากับภาพยนตร์สั้นในชื่อเดียวกัน กำกับโดยสวิฟต์ เปิดตัวที่อันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 กลายเป็นเพลงที่ยาวที่สุดที่ขึ้นอันดับหนึ่ง[242] เธอเป็นนักดนตรีหญิงที่มีค่าตัวสูงสุดใน ค.ศ. 2021[243] อัลบั้มใน ค.ศ. 2020 และอัลบั้มบันทึกใหม่ของเธอติด 10 อันดับอัลบั้มขายดีที่สุดแห่งปี[244] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 สวิฟต์ได้รับรางวัลโกลบอลไอคอนจากงานบริตอะวอดส์ และรางวัลซองไรเตอร์ไอคอนจากสมาคมสิ่งพิมพ์ดนตรีแห่งชาติ[245]
สวิฟต์ออกเพลง "ไวลเดสต์ดรีมส์ (เทเลอส์เวอร์ชัน)" ในวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2021 และ "ดิสเลิฟ (เทเลอส์เวอร์ชัน)" ในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 เพลงปรากฏในตัวอย่างภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง สปิริต ม้าพยศหัวใจแกร่ง (2021) และซีรีส์ช่องแอมะซอนไพรม์วิดีโอ เรื่อง เดอะซัมเมอร์ไอเทินด์พริตตี (2022) ตามลำดับ[246][247] นอกจากอัลบั้มเพลงแล้ว เธอยังร้องรับเชิญในเพลงสี่เพลงในช่วง ค.ศ. 2021 ถึง 2022 ได้แก่ "เรเนเกด" และ "เบิร์ช" ของบิกเรดเมชีน[248] เพลง "แก๊สโซลีน" ฉบับรีมิกซ์ของไฮม์[249] และ "เดอะโจ๊กเกอร์และเดอะควีน" ของเอ็ด ชีแรน[250] สวิฟต์แต่งและบันทึกเสียงเพลง "แคโรไลนา" เพลงประกอบภาพยนตร์จากนวนิยาย ค.ศ. 2018 เรื่อง แวร์เดอะครอว์แดดส์ซิง ของเดเลีย โอเวนส์[251] เธอปรากฏในภาพยนตร์ย้อนยุคเรื่อง อัมสเตอร์ดัม ของเดวิด โอ. รัสเซลล์ ฉายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022[252]
สวิฟต์ได้รับรางวัลสามรางวัลในงานเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2022 ในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2022[253] ในขณะกล่าวรับรางวัลวิดีโอแห่งปี เธอกล่าวถึงสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สิบ คืนต่อมา เธอเปิดเผยชื่ออัลบั้มว่า มิดไนส์ วางจำหน่ายในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2022[254][255]
การเป็นศิลปิน
แก้อิทธิพล
แก้ความทรงจำเกี่ยวกับดนตรีเรื่องหนึ่งที่สวิฟต์จำได้คือขณะฟังยาย มาร์จอรี ฟินเลย์ ร้องเพลงที่โบสถ์[2] เมื่อตอนเป็นเด็ก สวิฟต์ชอบฟังเพลงประกอบภาพยนตร์ของดิสนีย์ "พ่อแม่ของฉันสังเกตว่า เมื่อใดที่ฉันหมดคำพูด ฉันจะคิดคำพูดของตัวเองขึ้นมา"[256] สวิฟต์เคยกล่าวว่าแม่ของเธอทำให้เธอมีความมั่นใจ แม่ช่วยเธอเตรียมตัวนำเสนอหน้าชั้นเมื่อเธอเป็นเด็ก[257] เธอยังกล่าวว่าแม่ทำให้เธอ "หลงใหลในการเขียนและเล่าเรื่อง"[258] สวิฟต์ชอบเล่าเรื่องเกี่ยวกับดนตรีคันทรี[259] และได้รู้จักแนวเพลงนี้จาก "ศิลปินคันทรีหญิงยุค 1990" เช่น ชะไนยา ทเวน เฟธ ฮิลล์ และดิกซีชิกส์[260][261] ทเวนเป็นทั้งนักแต่งเพลงและนักร้อง และเป็นอิทธิพลที่สำคัญที่สุดของสวิฟต์[262] ฮิลล์เป็นบุคคลตัวอย่างของสวิฟต์ในวัยเด็ก "ทุกอย่างที่เธอพูด ทำ ชุดที่เธอใส่ ฉันพยายามเลียนแบบทั้งหมด"[263] เธอชื่นชมทัศนคติที่ชอบท้าทายของดิกซีชิกส์ และการที่วงเล่นเครื่องดนตรีของตนเอง[264] เพลง "คาวบอยเทกมีอะเวย์" เป็นเพลงแรกที่สวิฟต์ใช้หัดเล่นกีตาร์[265] สวิฟต์ยังตามฟังเพลงของนักร้องคันทรีเก่า ๆ เช่น แพตซี ไคลน์ ลอเร็ตตา ลินน์[13] ดอลลี พาร์ตัน และแทมมี ไวเน็ตต์[13][266] เธอเชื่อว่าพาร์ตันเป็น "ตัวอย่างที่น่าเหลือเชื่อให้แก่นักแต่งเพลงหญิงทุกคน"[267] เธอยกย่องศิลปินออลเทอร์นาทิฟคันทรี เช่น ไรอัน แอดัมส์[268] แพตตี กริฟฟิน[269] และลอรี แม็กเคนนา[4]
สวิฟต์ยกให้พอล แม็กคาร์ตนีย์ เดอะโรลลิงสโตนส์[127] บรูซ สปริงส์ทีน เอมมีลู แฮร์ริส คริส คริสตอฟเฟอร์สัน และคาร์ลี ไซมอน เป็นบุคคลตัวอย่างในอาชีพของเธอ "พวกเขาได้ลองเสี่ยงหลายครั้ง แต่พวกเขาก็ยังเป็นศิลปินคนเดิมตลอดอาชีพของเขา"[4][270] แม็กคาร์ตนีย์ ทั้งในนามเดอะบีเทิลส์และศิลปินเดี่ยว ทำให้สวิฟต์รู้สึก "ราวกับว่าฉันได้เข้าไปอยู่ในหัวใจและจิตใจของเขา... นักดนตรีคนไหน ๆ ก็ฝันถึงสิ่งสืบทอดเหล่านั้นได้"[271] เธอชื่นชมสปริงสทีนเพราะเขา "ยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่งทางดนตรีแม้เวลาจะผ่านมานาน"[272] เธอต้องการเป็นอย่างแฮร์ริสเมื่อเธอแก่ตัวลง "มันไม่ได้เกี่ยวกับชื่อเสียง แต่มันเกี่ยวกับดนตรี"[273] สวิฟต์กล่าวว่า "[คริสตอฟเฟอร์สัน]โดดเด่นในเรื่องการแต่งเพลง เขาเป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มคนที่อยู่ในธุรกิจนี้มาหลายปี แต่คุณบอกได้ว่ามันไม่ได้ทำลายเขาเลย"[274] เธอชื่นชม "การแต่งเพลงและความซื่อสัตย์" ของไซมอน "เธอเป็นที่รู้จักว่าเป็นคนเจ้าอารมณ์แต่เป็นคนที่แข็งแกร่งด้วย"[275]
สวิฟต์ยังได้รับอิทธิพลจากศิลปินแนวอื่น ๆ อีกมากมาย ช่วงก่อนวัยรุ่น เธอฟังศิลปินแนวบับเบิลกัมป็อป เช่น แฮนสัน และบริตนีย์ สเปียส์ สวิฟต์เคยกล่าวว่าเธอได้ "อุทิศตนอย่างแนวแน่" ให้สเปียส์[276][277] ในช่วงไฮสกูล สวิฟต์ฟังวงดนตรีร็อกหลายวง เช่น แดชบอร์ดคอนเฟชชันเนิล[278] ฟอลเอาต์บอย[279] และจิมมีอีตเวิลด์[280] เธอยังแสดงความชื่นชมนักร้องและนักแต่งเพลงร่วมสมัย เช่น มิเชลล์ แบรนช์[280] อลานิส มอริสเซตต์[281] แอชลี ซิมป์สัน[282] เฟเฟ ดอบสัน[280] และจัสติน ทิมเบอร์เลก[283] สวิฟต์กล่าวว่าเธอ "หลงใหล" ศิลปินยุค 1960 เช่น เดอะชิเรลส์ ดอริส ทรอย และเดอะบีชบอยส์ด้วย[284][285] อัลบัมที่ห้าของสวิฟต์ 1989 ซึ่งเป็นแนวป็อป ได้รับอิทธิพลจากศิลปินเพลงป็อปยุค 1980 เช่น แอนนี เลนนิกซ์ ฟิล คอลลินส์ และ "มาดอนน่า ยุคที่มีเพลงไลก์อะเพรเยอร์"[286]
แนวดนตรี
แก้แนวเพลงของสวิฟต์เป็นแนวป็อป ป็อปร็อก และคันทรี[287] เธอตั้งตัวเองเป็นศิลปินคันทรีจนกระทั่งออกอัลบัม 1989 ใน ค.ศ. 2014 ซึ่งเธอบรรยายว่าเป็น "อัลบัมที่มีเพลงป็อปอยู่ติดกัน"[288] นิตยสารโรลลิงสโตนประเมินว่า "เพลงของ [สวิฟต์] อาจได้เปิดเพลงในสถานีวิทยุเพลงคันทรี แต่เธอเป็นร็อกสตาร์แท้ ๆ หนึ่งในไม่กี่คนที่เรามีในทุกวันนี้"[289] เดอะนิวยอร์กไทมส์กล่าวว่า "ในเพลงของสวิฟต์ไม่มีสิ่งใดบ่งบอกถึงความคันทรีมากนัก มีเพียงเสียงแบนโจ ใส่รองเท้าบูทคาวบอยคู่หนึ่งบนเวที และกีตาร์ที่ทำให้ตาลายตัวหนึ่ง แต่มีบางอย่างในการสื่ออารมณ์ที่มีเสน่ห์และบอบบางในตัวสวิฟต์ที่เป็นเอกลักษณ์กับแนชวิลล์"[290] เดอะการ์เดียนเคยกล่าวว่า สวิฟต์ "ทำเมโลดีออกมาเร็วด้วยประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมเพลงป็อปสแกนดิเนเวียนอย่างไร้ความสงสาร"[291]
เสียงร้องของสวิฟต์นั้น โซฟี ชิลลาชี จากเดอะฮอลลิวูดรีพอร์เตอร์ บรรยายว่า "หวาน แต่นุ่มนวล"[292] ในระหว่างการอัดเสียงในสตูดิโอ หนังสือพิมพ์ลอสแอนเจลิสไทมส์นิยามเสียงร้องของสวิฟต์ว่า "เส้นร้องที่ไหลลงเหมือนกับเสียงถอนหายใจด้วยความพอใจ หรือไหลขึ้นเหมือนตอนเลิกคิ้ว ทำให้ความเป็นวัยสาวที่น่ารักของเธอชวนให้คุ้นเคยได้ง่าย"[293] ในบทวิจารณ์อัลบัมสปีกนาว นิตยสารโรลลิงสโตนกล่าวว่า "เสียงของสวิฟต์ไม่กระทบอะไรมากพอถึงระดับที่จะปิดบังความมืออาชีพที่เธอเป็นในฐานะนักร้อง เธอลดเสียงลงขณะร้องท่อนที่ทุกคนร้องได้ในแบบคลาสสิกที่เด็กสาวขี้อายคนหนึ่งพยายามจะพูดให้กลัว"[294] ในบทวิจารณ์อัลบัมสปีกนาวอีกบท หนังสือพิมพ์เดอะวิลเลจวอยซ์กล่าวว่าก่อนหน้านี้ การใช้ถ้อยคำของเธอ "เคยฟังดูจืดและดูสับสน แต่มันเปลี่ยนไปแล้ว เธอยังฟังดูตึงและบาง และเสียงมักจะหลงไปอยู่ระดับเสียงที่ทำให้คนบางคนเป็นบ้าได้ แต่เธอเรียนรู้แล้วว่าจะสื่อสารความหมายของคำแต่ละคำได้อย่างไร"[295] เสียงร้องสดของเธอเคยถูกลดระดับลงเป็น "พอใช้ได้" แต่ไม่เคยเท่าเพื่อน ๆ ของเธอ[292] ใน ค.ศ. 2009 เคน ทักเกอร์ จากเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี พูดถึงเสียงร้องของสวิฟต์ว่ายังมีเสียง "ราบเรียบ บาง และบางครั้งไม่มั่นคงพอ ๆ กับคนไม่มีประสบการณ์"[296][297] แต่อย่างไรก็ตาม สวิฟต์ได้รับคำชมที่เธอไม่ได้ใช้ออโตทูนปรับระดับเสียงตนเอง[298]
ในบทสัมภาษณ์กับเดอะนิวยอร์กเกอร์ สวิฟต์ตั้งตนเองเป็นนักแต่งเพลงคนหนึ่ง "ฉันแต่งเพลง และเสียงของฉันเป็นแค่ทางเชื่อมเนื้อเพลงเหล่านั้น"[4][299] นักเขียนคนหนึ่งจากเดอะเทนเนสเซียนยอมรับใน ค.ศ. 2010 ว่าสวิฟต์ "ไม่ใช่นักร้องทางเทคนิคที่ดีที่สุด" แต่พูดถึงเธอว่าเป็น "นักสื่อสารที่ดีที่สุดที่เรามี"[300] เสียงร้องของสวิฟต์เป็นอะไรที่สัมพันธ์กับเธอ และเธอได้ "พยายามอย่างหนัก" เพื่อปรับปรุง[301] มีรายงานใน ค.ศ. 2010 ว่าเธอยังคงเข้าเรียนร้องเพลง[302] เธอเคยกล่าวว่าเธอจะรู้สึกกังวลเวลาแสดง "ก็ต่อเมื่อฉันไม่มั่นใจว่าผู้ฟังคิดอย่างไรกับฉัน เหมือนตอนงานประกาศรางวัล"[303]
การแต่งเพลง
แก้สวิฟต์ใช้ประสบการณ์ตรงเป็นแรงบันดาลใจในการแต่งเพลง[304] ในเพลงของเธอ สวิฟต์มักพูดถึง "คนนิรนามที่เธอแอบชอบในช่วงเรียนไฮสกูล" และคนดัง[305] สวิฟต์มักวิพากษ์วิจารณ์คนรักเก่าอยู่บ่อย ๆ[306] ซึ่งเป็นมุมมองการแต่งเพลงที่เดอะวิลเลจวอยซ์สบประมาทไว้ "การได้ฟังว่าสิ่งที่เพลงสื่อนั้นเหมือนกับมีศาสตราจารย์ที่วางมาด และมันเป็นภัยต่อการประเมินพรสวรรค์ของสวิฟต์ ซึ่งดูไม่เป็นการสารภาพ แต่ดูเหมือนละคร"[307] แต่นิตยสารนิวยอร์กเชื่อว่า การที่สื่อพินิจพิเคราะห์การตัดสินใจของเธอที่จะ "ขุดชีวิตส่วนตัวมาใส่ในเพลงนั้น [...] เป็นการแบ่งแยกเพศ เนื่องจากไม่ได้มีการขอเพื่อนผู้ชายเลย"[308] ตัวสวิฟต์เองเคยกล่าวว่า ไม่ใช่ทุกเพลงที่แต่งจากเรื่องจริง และบางครั้งเกิดจากการสังเกตการณ์[309] นอกจากคำบอกใบ้ของเธอในเพลง สวิฟต์พยายามไม่พูดถึงประเด็นของเพลงแบบเจาะจง "เพราะคนเหล่านี้คือคนจริง ๆ คุณพยายามหยั่งรู้ถึงพื้นเพที่คุณมาเป็นนักแต่งเพลง โดยไม่ต้องเสียเพื่อนจากความเห็นแก่ตัว"[310]
สำหรับผู้หญิงคนหนึ่งที่แต่งเพลงเกี่ยวกับความรู้สึกตัวเอง และถูกนำไปถ่ายทอดในฐานะแฟนสาวที่สิ้นหวัง ขาดสติ และติดกับผู้อื่น ที่ต้องการให้คุณแต่งงานและมีลูกกับเธอ ฉันคิดว่านั่นต้องใช้บางอย่างที่ต้องฉลอง นั่นคือผู้หญิงที่แต่งเพลงสารภาพความรู้สึกของตัวเอง นั่นจะเปลี่ยนมันเป็นอะไรที่แบ่งแยกเพศอย่างเปิดเผย
— สวิฟต์กล่าวตอบคำวิจารณ์เกี่ยวกับการแต่งเพลงของเธอ[311]
หนังสือพิมพิมพ์เดอะการ์เดียนยกย่องสวิฟต์เกี่ยวกับการเขียน "ระลึกความหลังโทนซีเปียด้วยความโหยหา" ในช่วงวัยรุ่น ตลอดสองอัลบัมแรก[291] นิตยสารนิวยอร์กกล่าวว่านักร้องนักแต่งเพลงหลายคนทำเพลงดี ๆ ไว้เมื่อครั้งเป็นวัยรุ่น แต่ "ไม่มีใครทำเพลงดี ๆ ที่เกี่ยวกับช่วงวัยรุ่นได้ชัดเจน" นิตยสารเปรียบเธอกับไบรอัน วิลสัน[312] สำหรับภาพนิยายปรัมปราบนปกอัลบัมเฟียร์เลส เธอได้ศึกษาความไม่เชื่อมโยงกันระหว่าง "นิทานปรัมปราและความเป็นจริงของความรัก"[313] อัลบัมถัดจากนั้นพูดถึงความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่มากขึ้น[270] นอกจากความโรแมนติกและความรักแล้ว เพลงหลายเพลงของสวิฟต์ยังพูดถึงความสัมพันธ์แบบพ่อแม่ลูก มิตรภาพ[314][315] ความห่างเหิน ชื่อเสียง และความทะเยอทะยานในการทำงาน[258] สวิฟต์มักใส่ "วลีที่คิดขึ้นฉับพลันเพื่อแสดงสิ่งที่ยิ่งใหญ่และจริงจังที่ไม่เข้ากับเพลง สิ่งที่เพิ่มหรือล้มล้างเรื่องเล่าในเพลง"[316]
โรลลิงสโตนยกให้เธอเป็น "นักปราชญ์แต่งเพลงที่มีพรสวรรค์ตั้งแต่เกิดในการแต่งเพลงตามโครงสร้าง เวิร์ส-คอรัส-บริดจ์"[317] จากข้อมูลของเดอะวิลเลจวอยซ์ สวิฟต์ใช้แต่งให้เนื้อเพลงพลิกแพลงในท่อนเวิร์สที่สามอยู่บ่อย ๆ[316] ในเรื่องของกระบวนการจินตภาพ สิ่งที่เห็นได้ชัดในการแต่งเพลงของสวิฟต์คือการกล่าวซ้ำ ในคำกล่าวของเดอะการ์เดียน กล่าวว่า "เธอใช้เวลาจูบกันท่ามกลางสายฝนมากจนดูเหมือนปาฏิหาริย์ที่เท้าของเธอไม่เคยเปื่อยเลย"[291] นิตยสารสแลนต์แม็กกาซีนเสริมว่า "สวิฟต์ศึกษาแนวเรื่องใหม่ตลอดการทำอัลบัม [ที่สี่ของเธอ]"[318] ขณะที่บทวิจารณ์งานเพลงของสวิฟต์เป็น "ด้านบวกแทบจะเป็นเสียงเดียวกัน" เดอะนิวยอร์กเกอร์กล่าวว่าเธอถ่ายทอด "ในฐานะนักเทคนิคผู้เชี่ยวชาญได้มากกว่าในฐานะนักคิดแบบดีแลน"[4]
ภาพลักษณ์ในที่สาธารณะ
แก้ชีวิตส่วนตัวของสวิฟต์เป็นประเด็นที่สื่อให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง[319] ใน ค.ศ. 2013 แอเบอร์ครอมบีแอนด์ฟิตช์ทำการตลาดโดยใช้คำโปรยเสื้อยืดโดยมีคำว่า "โสเภณีน่าอาย" (slut-shaming) ตั้งใจสื่อถึงเธอโดยตรง[320] เดอะนิวยอร์กไทมส์ยืนยันว่า "ประวัติการคบผู้ชายของสวิฟต์เริ่มทำให้เกิดจุดเริ่มต้นของการตอกกลับ" และตั้งคำถามว่าสวิฟต์กำลังตกอยู่ท่ามกลาง "วิกฤตในชีวิตช่วง 25 ปีแรกของเธอหรือไม่"[321] สวิฟต์เคยกล่าวว่าเธอไม่อยากเล่าถึงชีวิตส่วนตัวออกสื่อสาธารณะ[319] เนื่องจากเธอเชื่อว่า การพูดถึงมันอาจเป็น "จุดอ่อนในการทำงาน" ได้[322]
โรลลิงสโตนกล่าวถึงมารยาทที่เหมาะสมของสวิฟต์ว่า "ถ้านี่เป็นการเล่นหน้าเล่นตาของสวิฟต์ มันจะต้องเป็นดั่งรอยสัก เพราะมันจะไม่หลุดหายไป"[323] นิตยสารดังกล่าวยังสนใจ "การต้อนรับอย่างอบอุ่น" ของสวิฟต์ด้วย[33] นิตยสารเดอะฮอลลิวูดรีพอร์เตอร์ให้เธอเป็น "บุคคลยอดเยี่ยมนับตั้งแต่บิล คลินตัน"[324] ในขณะมอบรางวัลด้านมนุษยธรรมให้สวิฟต์ใน ค.ศ. 2012 มิเชล โอบามา กล่าวยกย่องเธอว่าเป็นคนที่ "ทะยานขึ้นจุดสูงสุดของอุตสาหกรรมดนตรีแต่เท้ายังติดดิน คนที่ทำลายมาตรฐานที่คาดไว้ของสิ่งที่คนอายุ 22 ปีจะทำสำเร็จได้"[325] สวิฟต์ยกให้โอบามาเป็นบุคคลตัวอย่างคนหนึ่ง[326] สวิฟต์เป็นหนึ่งในบุคคลที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในสื่อสังคม และเป็นที่รู้กันว่าเธอมีปฏิสัมพันธ์เป็นมิตรกับแฟนเพลง[327][328] เธอเคยส่งของขวัญวันหยุดให้แฟนเพลงผ่านทางจดหมาย และส่งให้ด้วยตนเอง เรียกของชิ้นนั้นว่า "สวิฟต์มาส" (Swiftmas)[329] เธอมองว่าเป็น "ความรับผิดชอบ" ที่ต้องตระหนักว่าเธอมีอิทธิพลต่อแฟนเพลงหนุ่มสาว[330] และเคยกล่าวว่าแฟนเพลงของเธอเป็น "ความสัมพันธ์ที่ยาวนานและดีที่สุดที่เธอเคยมี"[331]
สื่อมักเรียกสวิฟต์บ่อย ๆ ว่า "หวานใจของอเมริกา"[332] แต่สวิฟต์ยืนยันว่า "ฉันไม่ได้อยู่กับกฎแปลก ๆ แข็งกระด้างที่ล้อมกรอบฉัน ฉันแค่ชอบแบบที่ฉันรู้สึกและทำให้ฉันรู้สึกเป็นอิสระ" เธอปฏิเสธที่จะถ่ายแบบยั่วยวนทางเพศ[333] แต่บลูมเบิร์ก แอล.พี. มองสวิฟต์เป็นสัญลักษณ์ทางเพศคนหนึ่ง[334] ใน ค.ศ. 2011 เธอได้ชื่อว่าสัญรูปแห่งวิถีชีวิตอเมริกัน แต่งตั้งโดยนิตยสารโว้ก[335] ใน ค.ศ. 2014 เธออยู่อันดับหนึ่งในรายชื่อผู้แต่งตัวดูดีที่สุดประจำปีโดยนิตยสารพีเพิล[336] ใน ค.ศ. 2015 ที่งานแอลสไตล์อะวอดส์ เธอได้ชื่อว่า ผู้หญิงแห่งปี[337] และติดอันดับหนึ่งในรายชื่อคนฮอต 100 คนของนิตยสารแม็กซิม[338]
สวิฟต์ยังมีชื่อติดอยู่ในหลายรายชื่อ เธอเป็นหนึ่งใน 100 ผู้มีอิทธิพลที่สุดประจำปี ใน ค.ศ. 2010 และ 2015 จัดโดยนิตยสารไทม์ด้วย[339] ตั้งแต่ ค.ศ. 2011–2015 เธอเป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของผู้หญิงที่มีรายได้สูงสุดในวงการดนตรีจัดโดยนิตยสารฟอบส์ โดยเธอมีรายได้ 45 ล้าน, 57 ล้าน, 55 ล้าน, 64 ล้าน และ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ[340] ใน ค.ศ. 2015 เธอเป็นผู้หญิงอายุน้อยที่สุดที่อยู่ในรายชื่อผู้หญิงที่มีอิทธิพลที่สุดของฟอบส์ 100 คน อยู่ในอันดับที่ 64[341] ใน ค.ศ. 2016 สวิฟต์เป็นคนดังที่มีค่าตัวสูงที่สุด 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เธอยังอยู่ในสิบอันดับแรกใน ค.ศ. 2011, 2013 และ 2015[342] เธอเป็นหนึ่งในรายชื่อบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ ค.ศ. 2014[343] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 รายได้สุทธิของสวิฟต์ประมาณอยู่ที่ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[344] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 ฟอบส์ปรับปรุงรายได้สุทธิโดยประมาณของสวิฟต์อยู่ที่ 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[345]
กิจกรรมอื่น ๆ
แก้การกุศล
แก้กิจกรรมการกุศลของสวิฟต์เป็นที่จดจำจากรางวัลดูซัมทิงอะวอดส์ และบริการสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติที่เทนเนสซี[346][347] เธอยังได้รับรางวัลเดอะบิกเฮลป์อะวอร์ด จากที่เธอ "อุทิศตนช่วยเหลือคนอื่น ๆ" และ "บันดาลใจให้คนอื่นลงมือทำ"[348] และรางวัลริปเพิลออฟโฮป เนื่องจากเธอ "อุทิศตนช่วยเหลือตั้งแต่อายุยังน้อย เทย์เลอร์เป็นผู้หญิงประเภทที่เราอยากให้ลูกสาวของเราเป็น"[349] ใน ค.ศ. 2008 เธอบริจาคเงิน 100,000 ดอลลาร์ให้แก่หน่วยงานกาชาดเพื่อช่วยเหลือเหยื่อผู้ประสบอุทกภัยในรัฐไอโอวา ค.ศ. 2008[350] สวิฟต์แสดงในคอนเสิร์ตการกุศล เช่น ซาวด์รีลีฟที่ซิดนีย์[351] เธอยังอัดเพลงใส่อัลบั้มโฮปฟอร์เฮตินาวด้วย[352] จากเหตุอุทกภัยในรัฐเทนเนสซีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 สวิฟต์บริจาคเงิน 500,000 ดอลลาร์ระหว่างเทเลธอนจัดโดยช่อง WSMV[353] ใน ค.ศ. 2011 สวิฟต์ซ้อมคอนเสิร์ตสปีกนาวทัวร์รอบสุดท้ายในอเมริกาเหนือเพื่อหารายได้ให้เหยื่อทอร์นาโดครั้งล่าสุดในสหรัฐ รวบรวมรายได้ได้มากกว่า 750,000 ดอลลาร์[354] ใน ค.ศ. 2012 สวิฟต์ส่งเสริมเทเลธอนชื่อรีสโตร์เดอะชอร์ขององค์กรอาร์คิเท็กเชอร์ฟอร์ฮิวแมนิตี หลังเกิดพายุหมุนเขตร้อนแซนดี[355] ใน ค.ศ. 2016 เธอบริจาคเงินให้โครงการบรรเทาทุกข์อุทกภัยที่ลุยส์เซียนา และกองทุนอัคคีภัยดอลลี พาร์ตัน[356][357]
สวิฟต์เป็นผู้สนับสนุนศิลปะและได้บริจาคเงิน 75,000 ดอลลาร์ให้แก่โรงเรียนแนชวิลส์เฮนเดอร์สันวิลล์ไฮสกูล เพื่อช่วยปรับปรุงระบบแสงและเสียงในหอประชุมของโรงเรียน[358] ใน ค.ศ. 2012 เธอมอบเงิน 4 ล้านดอลลาร์เพื่อเป็นทุนก่อสร้างศูนย์การเรียนแห่งใหม่ที่หอเกียรติยศและพิพิธภัณฑ์ดนตรีคันทรีที่แนชวิลล์[359] ใน ค.ศ. 2012 สวิฟต์เป็นหุ้นส่วนกับบริษัทเช่าตำราเรียนชื่อ เชกก์ บริจาคเงิน 60,000 ดอลลาร์ให้แก่สาขาวิชาดนตรีในวิทยาลัยหกแห่ง[360] สวิฟต์ส่งเสริมการรู้หนังสือของเด็ก ๆ ด้วย ใน ค.ศ. 2009 เธอบริจาคเงิน 250,000 ดอลลาร์ให้แก่โรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศ[361] ความพยายามในการส่งเสริมการรู้หนังสืออย่างอื่น ได้แก่ ห้องสมุดสาธารณะเรดิง รัฐเพนซิลเวเนีย 6,000 เล่ม[362] ห้องสมุดสาธารณะแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี 14,000 เล่ม[363] หนังสือเรียน 2,000 เล่มมอบให้ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลเรดิง[364] และโรงเรียนหลายแห่งในนครนิวยอร์ก 25,000 เล่มเมื่อปี ค.ศ. 2015[365]
ใน ค.ศ. 2007 เธอออกโครงการรณรงค์ปกป้องเด็กจากผู้ร้ายออนไลน์ หุ้นส่วนกับสมาคมอธิบดีกรมตำรวจเทนเนสซี[366] ใน ค.ศ. 2009 สวิฟต์บันทึกเสียงโฆษณาประชาสัมพันธ์บริการสาธารณะให้ผู้ฟังตระหนักถึงความสำคัญของการฟัง "อย่างมีความรับผิดชอบ" เพื่อป้องกันหูหนวก[367] เธอเคยบริจาคเงินให้มูลนิธิการกุศลมากมาย ได้แก่ มูลนิธิโรคเอดส์เอลตันจอห์น ยูนิเซฟแทปโปรเจกต์ มิวสิแคส์ และฟีดิงอเมริกา[368] ใน ค.ศ. 2011 ในฐานะผู้ให้ความบันเทิงแห่งปีของโรงเรียนดนตรีคันทรี สวิฟต์บริจาคเงิน 25,000 ดอลลาร์ให้แก่โรงพยาบาลวิจัยเด็กเซนต์จูด รัฐเทนเนสซี[369] ใน ค.ศ. 2012 สวิฟต์ร่วมในเทเลธอนสแตนด์อัปทูแคนเซอร์ ร้องเพลง "โรแนน" ซึ่งเธอแต่งให้แก่เด็กชายอายุสี่ขวบคนหนึ่งที่เสียชีวิตจากนิวโรบลาสโตมา เพลงมีให้ดาวน์โหลด รายได้จากการดาวน์โหลดบริจาคให้แก่องค์กรการกุศลที่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง[370] ใน ค.ศ. 2014 เธอบริจาคเงิน 100,000 ดอลลาร์ให้แก่มูลนิธิ V เพื่อศูนย์วิจัยมะเร็ง[371] และ 50,000 ดอลลาร์ให้โรงพยาบาลเด็กฟิลาเดลเฟีย[372] สวิฟต์เคยแวะเยี่ยมผู้ป่วยและคอยช่วยเหลือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นการส่วนตัว[373] สวิฟต์เชิญชวนให้คนวัยหนุ่มสาวอาสาในชุมชนท้องถิ่นตนเองเป็นส่วนหนึ่งของวันบริการเยาวชนโลก[374] ในปี ค.ศ. 2018 เธอกับผู้หญิงอีก 300 คนในฮอลลิวูดก่อตั้งขบวนการไทมส์อัปเพื่อปกป้องผู้หญิงจากการกดขี่ข่มเหงและการกีดกัน[375]
การเมือง
แก้ระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 2008 สวิฟต์สนับสนุนการรณรงค์เอเวอรีวูแมนเคานส์ มีเป้าหมายให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการเมือง และเป็นหนึ่งในศิลปินคันทรีที่ได้บันทึกเสียงโฆษณาบริการสาธารณะให้โครงการโหวต (ฟอร์ยัวร์) คันทรี[376] เธอกล่าวว่า "ฉันคิดว่าฉันไม่ได้มีหน้าที่พยายามโน้มน้าวผู้คนว่าให้เลือกใคร"[13] หลังประธานาธิบดีโอบามากล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ เธอกล่าวกับโรลลิงสโตนว่าเธอสนับสนุนเขา "ฉันยังไม่เคยเห็นประเทศนี้มีความสุขกับการตัดสินใจทางการเมืองตั้งแต่ฉันเกิด ฉันดีใจที่นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของฉัน"[377]
ในบทสัมภาษณ์ ค.ศ. 2012 สวิฟต์กล่าวว่า แม้ว่าเธอจะยึดตัวเองเป็น "ผู้มีการศึกษาและมีความรู้มากเท่าที่จะเป็นไปได้" เธอไม่ขออภิปรายทางการเมือง โดยเกรงว่ามันอาจกลายเป็นอิทธิพลต่อคนอื่นได้[378] สวิฟต์เคยใช้เวลาอยู่กับครอบครัวเคนเนดี[379] และเคยกล่าวชื่นชมอีเทล เคนเนดี[274] เธอเป็นนักสิทธิสตรีด้วย[380] เธอต่อต้านการเหยียดรสนิยมทางเพศ หลังจากเหตุฆาตกรรมแลร์รี คิง ใน ค.ศ. 2008 เธอบันทึกเสียงโฆษณาบริการสาธารณะให้องค์กรเครือข่ายให้การศึกษาเกย์ เลสเบียน และรสนิยมต่างเพศ (GLSEN) เพื่อสู้กับอาชญากรรมความเกลียดชัง[381] หลังครบรอบการเสียชีวิตของคิงหนึ่งปี สวิฟต์กล่าวกับเซเวนทีนว่า พ่อแม่สอนไม่ให้เธอ "ตัดสินคนอื่นโดยมองว่าเขารักใคร สีผิวอะไร หรือศาสนาอะไร"[382] มิวสิกวิดีโอเพลง "มีน" ต่อต้านการกลั่นแกล้ง มีส่วนเกี่ยวข้องกับโฮโมโฟเบียในไฮสกูล วิดีโอได้เข้าชิงรางวัลกิจกรรมทางสังคมของเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ ใน ค.ศ. 2011 ด้วย[383][384] เดอะนิวยอร์กไทมส์เชื่อว่าเธอเป็นหนึ่งใน "คลื่นลูกใหม่ของผู้หญิง (รสนิยมต่างเพศ) วัยสาวที่ทำเพลงให้แก่แฟนคลับเกย์ที่ยอมรับตัวตนของตัวเองในเวลาที่มีประเด็นทางวัฒนธรรมที่ชวนสับสน"[383]
ก่อนการเลือกตั้งสหรัฐกึ่งวาระ ค.ศ. 2018 สวิฟต์ประกาศสนับสนุนผู้ลงเลือกตั้งพรรคเดโมแครตสองคน[385][386] ได้แก่ จิม คูเปอร์ สมาชิกรัฐสภา สำหรับการลงเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และอดีตผู้ว่าการรัฐเทนเนสซี ฟิล เบรเดเซน สำหรับลงเลือกตั้งวุฒิสภา เธอออกมากล่าวต่อต้านผู้คัดค้านเบรเดเซน มาร์ชา แบล็กเบิร์น สมาชิกวุฒิสภาหญิงของพรรครีพับลิกัน กล่าวว่าการโหวตของเธอ "ทำให้เธอกลัว" เธอออกมาแจ้งความประสงค์สนับสนุนสิทธิของ LGBT และความเท่าเทียมกันทางเพศและเชื้อชาติ และประนามการเหยียดชาติพันธุ์[387] โหวต.โออาร์จี กล่าวถึงโพสต์ของสวิฟต์ รายงานว่ามีคนลงเลือกตามโพสต์ของเธอถึง 65,000 คนใน 24 ชั่วโมง จำนวนผู้โหวตที่ไม่คาดคิดนี้ เกิดจากมีผู้สมัครมากขึ้นตามปกติเมื่อใกล้ถึงกำหนดเวลา[388][389] ระหว่างการประกาศรับรางวัลศิลปินแห่งปีในงานอเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 2018 เธอโน้มน้าวให้แฟนเพลงเลือกตั้งในการเลือกตั้งกึ่งวาระ 2018[190]
การสนับสนุนผลิตภัณฑ์
แก้ขณะส่งเสริมอัลบั้มแรก สวิฟต์เป็นหน้าตาให้แก่โครงการโมบายล์มิวสิกของบริษัทเวริซันไวร์เลส[390] ในยุคอัลบั้มเฟียร์เลส เธอออกสินค้าเสื้อผ้าซันเดรสให้บริษัทแอล.อี.ไอ. (l.e.i.) วางจำหน่ายที่วอลมาร์ต[391] และออกแบบบัตรให้บริษัทอเมริกันกรีทิงส์ และตุ๊กตาแจ็กส์แปซิฟิก[392][393] เธอเคยเป็นโฆษกให้ทีมแนชวิลล์พรีเดเตอร์ของเนชันแนลฮอกกีลีก (NHL) และกล้องดิจิทัล โซนี ไซเบอร์ช็อต[394][395] ในยุคอัลบั้มสปีกนาว เธอออกอัลบั้มรูปแบบพิเศษจำหน่ายผ่านทาร์เกต[396] สวิฟต์เคยเป็นโฆษกให้ยี่ห้อคัฟเวอร์เกิร์ล[397] ออกน้ำหอมเอลิซาเบธ อาร์เดน สองรุ่น ได้แก่ วันเดอร์สตรัก และวันเดอร์สตรักเอ็นแชนเทด[398]
ขณะส่งเสริมอัลบั้มที่สี่ เรด สวิฟต์ส่งเสริมอัลบั้มด้วยโปรโมชันเฉพาะผ่านทาร์เกต[399] พาพาจอนส์พิซซ่า[400] และวอลกรีนส์[401] เธอเคยเป็นโฆษกให้ไดเอตโค้ก และรองเท้ากีฬาเคดส์[402] ออกน้ำหอมเอลิซาเบธ อาร์เดนรุ่นที่สามชื่อ เทย์เลอร์ บาย เทย์เลอร์ สวิฟต์[403] และเป็นหุ้นส่วนกับโซนีอิเล็กทรอนิกส์ และอเมริกันกรีทิงส์[404][405] สวิฟต์ยังเคยเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทแอร์เอเชีย[406] และควอนตัส[407] ในระหว่างทัวร์เรดทัวร์ด้วย นับว่าเป็นสายการบินทางการในช่วงทัวร์ทวีปออสเตรเลียและเอเชีย และไอศกรีมคอร์เนตโตเป็นผู้สนับสนุนทัวร์ในทวีปเอเชีย[408] ในระหว่างส่งเสริมอัลบั้ม 1989 สวิฟต์โฆษณาให้ซับเวย์ เคดส์ ทาร์เกต และไดเอตโค้ก[409] ใน ค.ศ. 2014 สวิฟต์ออกน้ำหอมรุ่นที่สี่ชื่อ อินเครดิเบิลทิงส์[410]
ใน ค.ศ. 2016 สวิฟต์เซ็นสัญญาหลายปีกับเอทีแอนด์ที[411] จากนั้นสวิฟต์ได้ลงพาดหัวอีเวนต์ซูเปอร์แซเทอร์เดย์ไนต์ของไดเรกทีวี[412] ในคืนก่อนงานซูเปอร์โบวล์ 2017 ขณะส่งเสริมอัลบั้มเรพิวเทชัน สวิฟต์ออกชุดเบื้องหลังวิดีโอแสดงกระบวนการอัดเสียงลงอัลบั้มผ่านทางไดเรกทีวี[413] ใน ค.ศ. 2018 สวิฟต์ออกภาพยนตร์โฆษณาให้เอทีแอนด์ทีสองตัว[414][415] สวิฟต์หุ้นส่วนกับฟูจิฟิล์มในผลิตภัณฑ์กล้องอินสแต็กซ์รุ่นพิเศษที่เธอลงลายเซ็น มีโหมดถ่ายตัวเองและโหมดถ่ายภาพซ้อน วางจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018[416][417]
รางวัลและความสำเร็จ
แก้สวิฟต์ได้รับรางวัลและเกียรติยศมากมาย ได้แก่ รางวัลแกรมมี 12 รางวัล[418] อเมริกันมิวสิกอะวอร์ด 40 รางวัล[419] บิลบอร์ดมิวสิกอะวอร์ด 23 รางวัล[420] รางวัลสมาคมดนตรีคันทรี 12 รางวัล รางวัลอะคาเดมีออฟคันทรีมิวสิกอะวอดส์ 8 รางวัล[421] บริตอะวอดส์ 2 รางวัล[157] และครีเอทีฟอาร์ตเอ็มมีอะวอร์ด 1 รางวัล[422] ในฐานะนักแต่งเพลง เธอได้รับเกียรติจากสมาคมนักแต่งเพลงแนชวิลล์[48][423] และหอเกียรติยศนักแต่งเพลง[424] และถูกรวมในรายชื่อนักแต่งเพลงยอดเยี่ยมตลอดกาล 100 คน จัดอันดับโดยโรลลิงสโตนเมื่อ ค.ศ. 2015[425][426]
ก่อนต้น ค.ศ. 2016 สวิฟต์ขายอัลบั้มได้มากกว่า 40 ล้านอัลบั้ม ขายซิงเกิลดาวน์โหลดได้ 130 ล้านซิงเกิล และเป็นหนึ่งในห้านักดนตรีที่มียอดขายดิจิทัลสูงที่สุดทั่วโลก[140] สตูดิโออัลบั้มของสวิฟต์ เทย์เลอร์ สวิฟต์ เฟียร์เลส สปีกนาว เรด และ 1989 ขายได้มากกว่า 4 ล้านหน่วยในสหรัฐ[427] สวิฟต์เป็นศิลปินที่ขายซิงเกิลดิจิทัลได้มากเป็นอันดับสามในสหรัฐ โดยมียอดขายรวม 106.5 ล้านหน่วย ตามข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา[428]
ผลงานเพลง
แก้
สตูดิโออัลบั้ม
|
บันทึกเสียงใหม่
|
ผลงานการแสดง
แก้
|
ภาพยนตร์สารคดีและคอนเสิร์ต
|
คอนเสิร์ตทัวร์
แก้- เฟียร์เลสทัวร์ (2009–2010)
- สปีกนาวเวิลด์ทัวร์ (2011–2012)
- เดอะเรดทัวร์ (2013–2014)
- เดอะ 1989 เวิลด์ทัวร์ (2015)
- เรพิวเทชันสเตเดียมทัวร์ (2018)
- ดิเอราส์ทัวร์ (2023–2024)
หมายเหตุ
แก้- ↑ เดิมที เพลงแต่งโดยสวิฟต์และแพต โมนาฮาน นักร้องนำวงเทรน ลงอัลบั้มเรด[186]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Taylor Swift Biography: Singer (1989–)". FYI. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2016. สืบค้นเมื่อ April 9, 2015.
- ↑ 2.0 2.1 Jepson, Louisa (2013). Taylor Swift. Simon and Schuster. p. 1. ISBN 978-1-4711-3087-8. สืบค้นเมื่อ August 16, 2016.
- ↑ Roth, Madeline (May 19, 2015). "Taylor Swift's Brother Had The Most Epic Graduation Weekend Ever". MTV News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2016. สืบค้นเมื่อ July 25, 2016.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Widdicombe, Lizzie (October 10, 2011). "You Belong With Me". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2014. สืบค้นเมื่อ October 11, 2011.
- ↑ Raab, Scott (October 20, 2014). "Taylor Swift Interview". Esquire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ "Photos Students at Alvernia Montessori School sending Taylor Swift a valentine". Reading Eagle. February 13, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2013. สืบค้นเมื่อ February 25, 2013.
- ↑ Hatza, George (December 8, 2008). "Taylor Swift: Growing into superstardom". Reading Eagle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2012. สืบค้นเมื่อ April 17, 2012.
- ↑ Mennen, Lauren (November 12, 2014). "Taylor Swift's Wyomissing childhood home on the market for $799,500". Philadelphia Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2016. สืบค้นเมื่อ October 13, 2016.
- ↑ "Taylor Swift Returns to Reading Pennsylvania as Maid of Honor in Friend's Wedding". WCAU. February 22, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2016. สืบค้นเมื่อ August 26, 2016.
- ↑ "Taylor Swift, Age 12". New York Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2016. สืบค้นเมื่อ August 26, 2016.
- ↑ Cooper, Brittany Joy (April 15, 2012). "Taylor Swift Opens Up About a Future in Acting and Admiration for Emma Stone". Taste of Country. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2012. สืบค้นเมื่อ April 17, 2012.
- ↑ 12.0 12.1 MacPherson, Alex (October 18, 2012). "Taylor Swift: 'I want to believe in pretty lies'". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Rolling Stone Interview: The Unabridged Taylor Swift, December 2, 2008
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Morris, Edward (December 1, 2006). "When She Thinks 'Tim McGraw', Taylor Swift Savors Payoff: Hardworking Teen to Open for George Strait Next Year". CMT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2015. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ Diu, Nisha Lilia (April 3, 2011). "Taylor Swift: 'I won't do sexy shoots'". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2013. สืบค้นเมื่อ April 17, 2012.
- ↑ "News : CMT Insider Interview: Taylor Swift (Part 1 of 2)". CMT. November 26, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2015. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ "Taylor Swift: The Garden In The Machine". American Songwriter. May 2, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2012. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ Martino, Andy (January 10, 2015). "EXCLUSIVE: The real story of Taylor Swift's guitar 'legend'". New York Daily News (ภาษาอังกฤษ). New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2015. สืบค้นเมื่อ August 28, 2017.
- ↑ Martino, Andy (January 10, 2015). "Exclusive: The real story of Taylor Swift's guitar 'legend'". New York Daily News. New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2015. สืบค้นเมื่อ November 10, 2015.
- ↑ "americanbar.org PDF" (PDF). Americanbar.org. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2012. สืบค้นเมื่อ April 18, 2012.
- ↑ "On tour with Taylor Swift – Dateline NBC". MSNBC. May 31, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 5, 2013. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ Castro, Vicky (February 6, 2015). "How to Succeed as an Entrepreneur, Taylor Swift Style". Inc. Monsueto Ventures. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2016. สืบค้นเมื่อ February 9, 2015.
- ↑ Jo, Nancy (January 2, 2014). "Taylor Swift and the Growing of a Superstar: Her Men, Her Moods, Her Music". Vanity Fair. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2015. สืบค้นเมื่อ November 11, 2015.
- ↑ "News : Taylor Swift's High School Names Auditorium in Her Honor". CMT. September 23, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2014. สืบค้นเมื่อ April 18, 2012.
- ↑ Grigoriadis, Vanessa (March 5, 2009). "The Very Pink, Very Perfect Life of Taylor Swift". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2012. สืบค้นเมื่อ October 31, 2012.
- ↑ "Taylor Swift: The Garden In The Machine". American Songwriter. May 2, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 7, 2013. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ "Songwriter Taylor Swift Signs Publishing Deal With Sony/ATV". Broadcast Music, Inc. May 12, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2012. สืบค้นเมื่อ April 20, 2012.
- ↑ Kosser, Michael (June 3, 2010). "Liz Rose: Co-Writer to the Stars". American Songwriter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2011. สืบค้นเมื่อ April 19, 2012.
- ↑ Leahey, Andrew (October 24, 2014). "Songwriter Spotlight: Liz Rose". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2016. สืบค้นเมื่อ September 24, 2016.
- ↑ DeLuca, Dan (November 11, 2008). "Focused on 'great songs' Taylor Swift isn't thinking about "the next level" or Joe Jon as gossip". Philadelphia Daily News. p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2012. สืบค้นเมื่อ April 17, 2012.
- ↑ Preston, John (April 26, 2009). "Taylor Swift: the 19-year-old country music star conquering America – and now Britain". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2012. สืบค้นเมื่อ August 30, 2012.
- ↑ Rapkin, Mickey (July 27, 2017). "Oral History of Nashville's Bluebird Cafe: Taylor Swift, Maren Morris, Dierks Bentley & More on the Legendary Venue". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2017. สืบค้นเมื่อ July 28, 2017.
- ↑ 33.0 33.1 Hiatt, Brian (October 25, 2012). "Taylor Swift in Wonderland". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 31, 2016. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
- ↑ Greenburg, Zack O'Malley (June 26, 2013). "Toby Keith, Cowboy Capitalist: Country's $500 Million Man". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2016. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
- ↑ Taylor Swift (CD). Taylor Swift. Big Machine Records. 2006. BMR120702.
{{cite AV media notes}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 36.0 36.1 36.2 36.3 Solin, Jennifer (August 10, 2016). "Taylor Swift New Album Release Date Postponed; Is She Laying Low After Kim Kardashian, Kanye West Drama?". International Business Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 16, 2016. สืบค้นเมื่อ August 15, 2016.
- ↑ Caramanica, Jon (September 5, 2008). "A Young Outsider's Life Turned Inside Out". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2014. สืบค้นเมื่อ August 1, 2016.
- ↑ Trust, Gary (October 29, 2009). "Chart Beat Thursday: Taylor Swift, Tim McGraw Linked Again". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2013. สืบค้นเมื่อ November 8, 2016.
- ↑ "Taylor Swift Total Album Sales". Statistic Brain Research Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2016. สืบค้นเมื่อ 30 August 2016.
- ↑ Willman, Chris (February 5, 2008). "Taylor Swift's Road to Fame". Entertainment Weekly. p. 3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2015. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
- ↑ Cowling, Lauren (November 12, 2014). "5 of Taylor Swift's Most Country Performances". Country Outfitter Life. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ "Taylor Swift Joins Rascal Flatts Tour". CMT. October 18, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 7, 2015. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "Taylor Swift No. 1 on iTunes". Great American Country. December 19, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2015. สืบค้นเมื่อ July 5, 2010.
- ↑ "Teardrops on My Guitar – Taylor Swift". Billboard. สืบค้นเมื่อ December 15, 2010.
- ↑ "Taylor Swift owns top of country chart". Country Standard Time. July 23, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 31, 2008. สืบค้นเมื่อ December 26, 2008.
- ↑ "Wal-Mart "Eyes" New Taylor Swift Project". Great American Country. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2015. สืบค้นเมื่อ July 24, 2008.
- ↑ Rosa, Christopher (March 24, 2015). "Opening Acts Who Became Bigger Than The Headliner". VH1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2015. สืบค้นเมื่อ November 11, 2015.
- ↑ 48.0 48.1 "Taylor Swift Youngest Winner of Songwriter/Artist Award". Great American Country. October 16, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2015. สืบค้นเมื่อ February 2, 2015.
- ↑ "Photos : All Taylor Swift Pictures : Horizon Award Winner Poses in the Pressroom". CMT. September 7, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2012. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ "Photos : 43rd Annual ACM Awards – Onstage: Winners : Acceptance Speech". CMT. May 18, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2012. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ "Taylor Swift, Rascal Flatts, Carrie Underwood Score at 2008 AMA Awards" (Blog). Roughstock.com. November 24, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2014. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ "Amy Winehouse Wins Best New Artist, Kanye West Pays Tribute to Mom – Grammy Awards 2008, Grammy Awards". People. October 2, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2012. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ Caplan, David (September 8, 2008). "Scoop". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2016. สืบค้นเมื่อ March 6, 2012.
- ↑ Rizzo, Monica (November 24, 2008). "Scoop – Couples, Camilla Belle, Joe Jonas". People. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ March 6, 2012.
- ↑ "Love Story – Taylor Swift". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ 56.0 56.1 "Discography Taylor Swift". ARIA Charts. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 23, 2012. สืบค้นเมื่อ มกราคม 2, 2010.
- ↑ Ben-Yehuda, Ayala (August 13, 2009). "Black Eyed Peas, Jason Mraz Tie Records on Billboard Hot 100". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2013. สืบค้นเมื่อ March 13, 2010.
- ↑ Grein, Paul (March 16, 2012). "Chart Watch Extra: Top Albums Of Last 10 Years" (Blog). Yahoo! Music. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2015. สืบค้นเมื่อ June 10, 2011.
- ↑ Herrera, Monica (October 8, 2009). "Taylor Swift's "Fearless" Tour Returns March 2010". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ Mapes, Jillian (November 23, 2010). "Taylor Swift Announces 'Speak Now' World Tour". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2013. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ Weiss, Dan (December 12, 2011). "Taylor Swift: Journey To Fearless DVD". American Songwriter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 15, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ Ryan, Sarah (August 10, 2009). "Taylor Swift Pranks Keith Urban" (Blog). Great American Country. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2015. สืบค้นเมื่อ November 11, 2015.
- ↑ Akers, Shelley (June 9, 2008). "Taylor Swift to Appear in Hannah Montana Movie". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2017. สืบค้นเมื่อ October 27, 2017.
- ↑ 64.0 64.1 "Hannah Montana: The Movie (Original Motion Picture Soundtrack) by Hannah Montana". iTunes Store. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ "Kanye calls Taylor Swift after 'View' appearance". MSNBC. September 15, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2013. สืบค้นเมื่อ September 16, 2009.
- ↑ "Taylor Swift Thanks "Gracious" Beyonce for Inviting Her Onstage After Kanye Stunt at VMAs". Rolling Stone. September 14, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2012. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ Anderson, Kyle (September 16, 2009). "Kanye West's VMA Interruption Gives Birth To Internet Photo Meme". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2016. สืบค้นเมื่อ October 3, 2009.
- ↑ 68.0 68.1 Montgomery, James (กุมภาพันธ์ 2, 2010). "Why You Shouldn't Hate on Taylor Swift". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 8, 2014. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 15, 2012.
- ↑ Ditzian, Eric (2009). "Taylor Swift, Michael Jackson Big Winners at American Music Awards". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2014. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ "2009 Artists of the Year". Billboard. December 10, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2010. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
- ↑ "The 150 Greatest Albums Made By Women". NPR. July 24, 2017. สืบค้นเมื่อ September 2, 2017.
- ↑ Kreps, Daniel (February 1, 2010). "Beyonce, Taylor Swift Dominate 2010 Grammy Awards". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2012. สืบค้นเมื่อ February 13, 2012.
- ↑ Kreps, Daniel (February 4, 2010). "Taylor Swift's Label Lashes Out at Critics of Grammy Performance". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2013. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ Caramanica, Jon (February 1, 2010). "For Young Superstar Taylor Swift, Big Wins Mean Innocence Lost". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2012. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ Kaufman, Gil (November 12, 2009). "Taylor Swift Dominates CMA Awards". MTV News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2016. สืบค้นเมื่อ September 13, 2016.
- ↑ "Taylor Swift Wins Album of the Year at Academy of Country Music Awards". Big Machine Records. April 6, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2009. สืบค้นเมื่อ April 7, 2009 – โดยทาง PR Newswire.
- ↑ Vena, Jocelyn (November 6, 2009). "John Mayer Talks Taylor Swift Collaboration 'Half of My Heart'". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2014. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ "Kellie Pickler Has Her 'Best Days' Thanks To Taylor Swift". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2016. สืบค้นเมื่อ November 11, 2015.
- ↑ "Boys Like Girls Dish on Taylor Swift". Seventeen. December 15, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2016. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ Vena, Jocelyn (December 28, 2009). "New Taylor Swift Song Included In 'Valentine's Day' Featurette". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2016. สืบค้นเมื่อ November 11, 2015.
- ↑ 81.0 81.1 81.2 "Taylor Swift – Chart history on Canadian Hot 100". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ Park, Michael Y.; Sia, Nicole (December 29, 2009). "Taylor & Taylor Romance Was Overblown, Says Source". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2012. สืบค้นเมื่อ March 6, 2012.
- ↑ "Billboard Bits: Taylor Swifts Offers 'Apology' To Taylor Lautner, Christina Aguilera Confirms Split". Billboard. October 10, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ Sharkey, Betsy (February 12, 2010). "Review: 'Valentine's Day' – Page 2". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2012. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
- ↑ McCarthy, Todd (February 7, 2010). "Valentine's Day – Film Reviews". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2013. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
- ↑ Ryan, Joal (March 6, 2009). "Wild Card American Idol Holds Off Taylor Swift CSI". E!.
- ↑ Caramanica, Jon (March 6, 2009). "OMG! Taylor Swift Does 'CSI'!". The New York Times (Blog). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2011. สืบค้นเมื่อ May 7, 2012.
- ↑ Strecker, Erin (January 2, 2015). "Remember When Taylor Swift Shined as 'Saturday Night Live' Host?". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2015. สืบค้นเมื่อ January 15, 2015.
- ↑ Hammel, Sara (January 4, 2011). "Taylor Swift & Jake Gyllenhaal Break Up: Source". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2012. สืบค้นเมื่อ March 6, 2012.
- ↑ Pietroluongo, Silvio (August 11, 2010). "Taylor Swift Makes Sparkling Hot 100 Entrance". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2016. สืบค้นเมื่อ July 25, 2016.
- ↑ Caramanica, Jon (October 20, 2010). "Taylor Swift, Angry on 'Speak Now'". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2010. สืบค้นเมื่อ October 23, 2010.
- ↑ Kaufman, Gil (November 3, 2010). "Taylor Swift's Speak Now Tops 1 Million in First Week". MTV News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2016. สืบค้นเมื่อ August 8, 2016.
- ↑ "Fastest-selling digital album in the US by a female artist". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2015.
- ↑ "Most simultaneous US hot 100 hits by a female". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2015.
- ↑ Wyland, Sarah (February 12, 2012). "Taylor Swift Takes Home Two GRAMMYs at Tribute-Filled Show". Great American Country. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2015. สืบค้นเมื่อ February 13, 2012.
- ↑ Suddath, Claire (February 12, 2012). "Taylor Swift, "Mean" | The Best and Worst of the 2012 Grammys". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2012. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
- ↑ Deerwester, Jayme (February 12, 2012). "Adoration for Adele: 6 Grammys". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2012. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
- ↑ Shelburne, Craig (October 18, 2010). "Taylor Swift Named NSAI's Songwriter-Artist of the Year". CMT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2016. สืบค้นเมื่อ November 21, 2015.
- ↑ Smith, Hazel (October 24, 2011). "News : Hot Dish: Taylor Swift Sings Alan Jackson's Masterpiece at Nashville Songwriters Celebration". CMT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2014. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
- ↑ Roland, Tom (December 2, 2011). "Taylor Swift: Billboard's Woman of the Year". Billboard. p. 1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2013. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ "Taylor Swift wins ACM entertainer of the year". Yahoo!. Associated Press. April 1, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2016. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ "CMA Awards 2011: Taylor Swift wins entertainer of the year". CBS News. November 9, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2014. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ Kellogg, Jane (November 20, 2011). "AMAs 2011: Winners and Nominees Complete List". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2015. สืบค้นเมื่อ November 21, 2015.
- ↑ "Women Who Rock: The 50 Greatest Albums of All Time". Rolling Stone. June 23, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2016. สืบค้นเมื่อ July 15, 2017.
- ↑ Allen, Bob (March 29, 2012). "Hot Tours: Taylor Swift, George Strait, Cirque Du Soleil". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2013. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.
- ↑ "Taylor Swift News and Blog". Taylorswift.com. September 21, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2011. สืบค้นเมื่อ September 21, 2011.
- ↑ Herrera, Monica (March 15, 2012). "Taylor Swift, Arcade Fire Talk 'Hunger Games'". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2015. สืบค้นเมื่อ May 10, 2012.
- ↑ Horowitz, Steven J. (April 20, 2012). "B.o.B Explains Origins of Taylor Swift Collaboration "Both of Us"". HipHopDX. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2015. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
- ↑ Toomedy, Alyssa. "Taylor Swift and Conor Kennedy Breakup: Anatomy of a Split". E!. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2015. สืบค้นเมื่อ November 10, 2015.
- ↑ Trust, Gary (August 22, 2012). "Taylor Swift Scores First Hot 100 No. 1". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2013. สืบค้นเมื่อ August 22, 2012.
- ↑ "Discography Taylor Swift". New Zealand Charts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-29. สืบค้นเมื่อ July 26, 2016.
- ↑ Lynch, Kevin (September 4, 2013). "Calvin Harris trumps Michael Jackson feat to join Taylor Swift, Rihanna and One Direction in Guinness World Records™ 2014 book". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2015.
- ↑ 113.0 113.1 113.2 "Taylor Swift – Chart history". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2016. สืบค้นเมื่อ July 26, 2016.
- ↑ Apodaca, Joseph. "Billboard names Taylor Swift 2014's No. 1 music Money Maker — see who made the top 10". KABC-TV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2016. สืบค้นเมื่อ June 19, 2016.
- ↑ "Taylor Swift's 'Red' Sells 1.21 Million; Biggest Sales Week for an Album Since 2002". Billboard. September 14, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2013. สืบค้นเมื่อ November 7, 2012.
- ↑ Greenwald, David (September 6, 2013). "Taylor Swift, Rihanna, Justin Bieber Among 2014 Guinness Record-Setters". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2015. สืบค้นเมื่อ July 27, 2016.
- ↑ Allen, Bob (July 3, 2014). "Taylor Swift's Red Wraps as All-Time Country Tour". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ "Grammys 2014: The complete list of nominees and winners". Los Angeles Times. January 26, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2015. สืบค้นเมื่อ January 25, 2015.
- ↑ "VMAs: The 2013 Winner's List". Entertainment Weekly. August 25, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2016. สืบค้นเมื่อ August 25, 2013.
- ↑ Gregoire, Carolyn (November 19, 2012). "Taylor Swift AMA Awards 2012: Pop Star Performs 'I Knew You Were Trouble' (Video)". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2013. สืบค้นเมื่อ June 10, 2013.
- ↑ Payne, Chris (November 25, 2013). "Taylor Swift & Justin Timberlake Win Big at American Music Awards". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2015. สืบค้นเมื่อ November 21, 2015.
- ↑ "NSAI Songwriter/Artists of the Year". Nashville Songwriters Association International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ Caramanica, Jon (November 7, 2013). "Country Awards Hold Swift Close". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2013. สืบค้นเมื่อ April 3, 2014.
- ↑ Labrecque, Jeff (December 12, 2013). "'12 Years a Slave' and 'American Hustle' lead Golden Globe nominees". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2015. สืบค้นเมื่อ December 12, 2013.
- ↑ Bonaguro, Alison (January 25, 2013). "News : Offstage: Tim McGraw Wanted to Make Taylor Swift Duet an Event". CMT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2015. สืบค้นเมื่อ February 25, 2013.
- ↑ Blistein, Doyle (June 4, 2013). "Taylor Swift Joins Rolling Stones for 'As Tears Go By'". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 9, 2013. สืบค้นเมื่อ June 10, 2013.
- ↑ 127.0 127.1 The Rolling Stones (2013-06-04), The Rolling Stones & Taylor Swift - As Tears Go By - Live in Chicago, สืบค้นเมื่อ 2017-08-23
- ↑ "Taylor Swift Joins Florida Georgia Line Onstage for 'Cruise'". Taste of Country. March 2, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2013. สืบค้นเมื่อ March 29, 2013.
- ↑ Collin, Robbie (July 26, 2012). "The Lorax, review". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ Beard, Lanford (May 1, 2013). "Taylor Swift says 'I do' to 'New Girl'". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 8, 2016. สืบค้นเมื่อ August 4, 2016.
- ↑ Busis, Hillary (September 27, 2013). "Taylor Swift will co-star in long-awaited adaptation of 'The Giver'". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ "Taylor Swift's Boyfriend Timeline: 10 Relationships & Their Songs". Billboard. December 30, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2016. สืบค้นเมื่อ August 26, 2016.
- ↑ Peterson, Price (March 31, 2014). "Taylor Swift Moves into NYC Apartment Built Over Mysterious River of Pink Slime". The Atlantic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2016. สืบค้นเมื่อ July 31, 2016.
- ↑ 1989 (Compact disc liner notes). Taylor Swift. Big Machine Records. 2014. BMRBD0500A.
{{cite AV media notes}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Stutz, Colin (October 16, 2014). "Watch Taylor Swift's '1989' Secret Sessions Behind The Scenes Video". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ Mansfield, Brian (August 18, 2014). "Taylor Swift debuts 'Shake It Off,' reveals '1989' album". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2014. สืบค้นเมื่อ August 19, 2014.
- ↑ "1989 by Taylor Swift". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2016. สืบค้นเมื่อ August 15, 2016.
- ↑ Caulfield, Keith (November 4, 2014). "Taylor Swift's "1989" debuts with 1.287 million copies sold". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2014. สืบค้นเมื่อ November 4, 2014.
- ↑ Swatman, Rachel (August 31, 2015). "Taylor Swift enters Guinness World Records 2016 with yet another record-breaking achievement". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2015. สืบค้นเมื่อ July 31, 2016.
- ↑ 140.0 140.1 "Taylor Swift named IFPI Global Recording Artist of 2014". International Federation of the Phonographic Industry. กุมภาพันธ์ 23, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 18, 2015. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 24, 2015.
- ↑ Trust, Gray (สิงหาคม 27, 2014). "Taylor Swift's 'Shake It Off' Debuts At No. 1 On Hot 100". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 21, 2014. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 27, 2014.
- ↑ "Taylor Swift – Chart History: Hot 100". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 18, 2016.
- ↑ Trust, Gary (November 19, 2014). "Taylor Swift Makes Hot 100 History With 'Blank Space'". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2017. สืบค้นเมื่อ August 29, 2017.
- ↑ Strecker, Erin (July 6, 2015). "Taylor Swift's 'Blank Space' the Fastest Video to Reach 1 Billion Views on Vevo". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ Stutz, Colin (July 21, 2015). "2015 MTV Video Music Awards Nominees Revealed: Taylor Swift, Kendrick Lamar, Ed Sheeran & More". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ August 15, 2016.
- ↑ "Live Music's $20 Billion Year: The Grateful Dead's Fare Thee Well Reunion, Taylor Swift, One Direction Top Boxscore's Year-End". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2015.
- ↑ Weissmann, Jordan (July 7, 2014). "Taylor Swift Has Written an Op-Ed in the Wall Street Journal". Slate (Blog). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2015. สืบค้นเมื่อ January 23, 2015.
- ↑ Knopper, Steve (November 8, 2014). "Taylor Swift's Label Head Explains Spotify Removal". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ Peters, Mitchell (June 21, 2015). "Taylor Swift Pens Open Letter Explaining Why '1989' Won't Be on Apple Music". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2015. สืบค้นเมื่อ June 22, 2015.
- ↑ Halperin, Shirley (June 21, 2015). "Apple Changes Course After Taylor Swift Open Letter: Will Pay Labels During Free Trial". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2015. สืบค้นเมื่อ June 22, 2015.
- ↑ Rosen, Christopher (June 25, 2015). "Taylor Swift is putting 1989 on Apple Music". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2015. สืบค้นเมื่อ June 25, 2015.
- ↑ Daly, Thomas J. (January 13, 2016). "Taylor Swift's Trademark Play". The National Law Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2016. สืบค้นเมื่อ January 23, 2016.
- ↑ "Taylor Swift returns to Spotify on the day Katy Perry's album comes out". BBC News. June 9, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 9, 2017. สืบค้นเมื่อ June 9, 2017.
- ↑ "Taylor Swift: 2014 Billboard Woman of the Year". Billboard. October 10, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ Payne, Chris (November 23, 2014). "Taylor Swift Wins Dick Clark Award of Excellence at 2014, Presented by Diana Ross". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ Leight, Elias (February 8, 2015). "Taylor Swift Talks Nominated 'Shake It Off' on the Grammys Red Carpet". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ 157.0 157.1 Jonze, Tim (February 25, 2015). "Taylor Swift wins international female solo artist at Brit awards 2015". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2016. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ Betts, Stephen L. (March 25, 2015). "2015 ACM Award Milestone Winners Include Swift, Lambert". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ Lynch, Joe (February 19, 2016). "Taylor Swift Joins Elite Club to Win Grammy Album of the Year More Than Once: See the Rest". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2016. สืบค้นเมื่อ July 31, 2016.
- ↑ Lara, Maria Mercedes. "Calvin Harris Spends the Night at Taylor Swift's LA Home". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2016. สืบค้นเมื่อ May 24, 2015.
- ↑ Rhodan, Maya (June 25, 2015). "Taylor Swift and Calvin Harris Are the Highest-Paid Celebrity Couple". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2016. สืบค้นเมื่อ June 26, 2015.
- ↑ Schillaci, Sophie (August 18, 2015). "Taylor Swift Tearfully Addresses Mom's Cancer Battle as She Performs 'Ronan'". Entertainment Tonight. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2016. สืบค้นเมื่อ August 26, 2016.
- ↑ Chiu, Melody (June 1, 2016). "Taylor Swift and Calvin Harris Split After 15 Months Together". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-29. สืบค้นเมื่อ June 1, 2016.
- ↑ Spanos, Brittany (July 13, 2016). "Taylor Swift Co-Wrote Calvin Harris' Smash Hit 'This Is What You Came For'". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 30, 2016. สืบค้นเมื่อ July 31, 2016.
- ↑ Bailey, Alyssa (November 1, 2016). "Which Ex Is This New Taylor Swift Song "Better Man" About?". Elle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2016. สืบค้นเมื่อ November 1, 2016.
- ↑ Hunt, Elle (December 9, 2016). "Taylor Swift and Zayn Malik release surprise duet for Fifty Shades Darker soundtrack". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2016. สืบค้นเมื่อ December 9, 2016.
- ↑ "Discography Taylor Swift". Swedish Charts. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2012. สืบค้นเมื่อ July 11, 2014.
- ↑ Trust, Gary (February 21, 2017). "Ed Sheeran Tops Hot 100, Katy Perry Debuts at No. 4 & Bruno Mars, Rihanna & The Weeknd All Hit Top 10". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2017. สืบค้นเมื่อ February 22, 2017.
- ↑ France, Lisa Respers (August 28, 2017). "MTV Video Music Awards 2017: Winners list". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2017. สืบค้นเมื่อ August 28, 2017.
- ↑ Contreras, Cydney (September 19, 2018). "Joe Alwyn Dishes On Relationship With Taylor Swift For the First Time". E!. สืบค้นเมื่อ September 21, 2018.
- ↑ Gonzalez, Sandra; McLean, Scott; Weisfeldt, Sara; Gauk-Roger, Topher (15 August 2017). "Taylor Swift wins court case". CNN. สืบค้นเมื่อ 20 August 2017.
- ↑ "Speculation rife over Swift's social media disappearance". News.com.au. August 19, 2017. สืบค้นเมื่อ August 19, 2017.
- ↑ Aswad, Jem (August 24, 2017). "Taylor Swift's New Single, 'Look What You Made Me Do,' Arrives (Listen)". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 28, 2017. สืบค้นเมื่อ August 29, 2017.
- ↑ Peak positions:
"Taylor Swift Scores Fifth No. 1 Single". Australian Recording Industry Association. September 2, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2017. สืบค้นเมื่อ September 2, 2017.
"IRMA – Irish Charts". Irish Recorded Music Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2017. สืบค้นเมื่อ September 2, 2017.
"NZ Top 40 Singles Chart". Recorded Music NZ. September 4, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2017. สืบค้นเมื่อ September 1, 2017.
White, Jack (September 1, 2017). "Taylor Swift scores first Number 1 on the Official Singles Chart with 'LWYMMD'". Official Charts Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2017. สืบค้นเมื่อ September 1, 2017. - ↑ 175.0 175.1 Trust, Gary (September 11, 2017). "Taylor Swift at Nos. 1 & 4 on Billboard Hot 100, as Cardi B Moves Up to No. 2". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 21, 2017. สืบค้นเมื่อ October 30, 2017.
- ↑ Lewis, Randy (August 29, 2017). "Taylor Swift's 'Look What You Made Me Do' video bashes another YouTube record". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ August 29, 2017.
- ↑ "Top 40 Rhythmic Future Releases". All Access Media Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2017. สืบค้นเมื่อ October 23, 2017.
- ↑ "Taylor Swift holds No. 1 for second week". Australian Recording Industry Association. September 9, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2017. สืบค้นเมื่อ October 7, 2017.
- ↑ Levine, Robert (November 22, 2017). "Taylor Swift Schools the Music Industry Once Again, While Streaming Services Wring Their Hands". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2017. สืบค้นเมื่อ December 2, 2017.
- ↑ "Official: Taylor Swift's 'Reputation' Album Sells 1.2M Copies in US During First Week". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 29, 2018.
- ↑ Brandle, Lars (November 20, 2017). "Taylor Swift's 'Reputation' Rules Australia's Albums Chart". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 20, 2017. สืบค้นเมื่อ December 2, 2017.
- ↑ "Taylor Swift Chart History". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2017. สืบค้นเมื่อ December 2, 2017.
- ↑ Aswad, Jem (November 12, 2017). "Taylor Swift Strips Things Down for 'Saturday Night Live' Performances (Watch)". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2017. สืบค้นเมื่อ November 18, 2017.
- ↑ "Taylor Swift Chart History". Billboard. สืบค้นเมื่อ 7 April 2018.
- ↑ Trust, Gary. "Taylor Swift's 'New Year's Day' Goes to Country Radio: Is Country Ready for It?". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2017. สืบค้นเมื่อ April 13, 2018.
Braca, Nina. "Taylor Swift to Release 'Delicate' Music Video at iHeart Radio Music Awards". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2018. สืบค้นเมื่อ April 13, 2018. - ↑ Hudak, Joseph. "Sugarland Announce New Album 'Bigger,' Taylor Swift Collaboration". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2018. สืบค้นเมื่อ 13 April 2018.
- ↑ Stubblebine, Allison (November 13, 2017). "Taylor Swift Announces First Round of Reputation Stadium Tour Dates". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2017. สืบค้นเมื่อ November 18, 2017.
- ↑ Frankenberg, Eric (December 6, 2018). "Taylor Swift Closes Reputation Stadium Tour with $345 Million". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2018. สืบค้นเมื่อ December 22, 2018.
- ↑ McIntyre, Hugh (December 6, 2018). "These Are The 10 Highest-Grossing Tours of 2018". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2018. สืบค้นเมื่อ December 22, 2018.
- ↑ 190.0 190.1 Havens, Lyndsey (October 9, 2018). "Taylor Swift Breaks an All-Time AMA Record -- And Urges People to Vote In Midterm Elections". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2018. สืบค้นเมื่อ October 10, 2018.
- ↑ Wang, Amy X. (November 19, 2018). "Taylor Swift's New Record Deal Affects Thousands of Other Musicians". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ November 26, 2018.
Willman, Chris (August 27, 2018). "Taylor Swift Stands to Make Music Business History as a Free Agent". Variety. สืบค้นเมื่อ August 29, 2018.
Aswad, Jem; Willman, Chris (November 19, 2018). "Taylor Swift Signs New Deal With Universal Music Group". Variety. สืบค้นเมื่อ November 19, 2018. - ↑ Reitman, Shelby (November 30, 2018). "Taylor Swift Shares Reputation Stadium Tour 'Surprise' Songs Playlist". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ June 17, 2019.
- ↑ Stiernberg, Bonnie (December 31, 2018). "Taylor Swift's 'Reputation' Hits Netflix: Twitter Reacts". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ June 16, 2019.
- ↑ Coscarelli, Joe (26 April 2019). "Taylor Swift Releases 'Me!,' a New Song Featuring Brendon Urie". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
- ↑ O'Connor, Roisin (May 24, 2019). "Taylor Swift new album: Will TS7 be called Lover?". The Independent. สืบค้นเมื่อ June 13, 2019.
- ↑ Trust, Gary (May 6, 2019). "Lil Nas X's 'Old Town Road' Tops Billboard Hot 100 For Fifth Week, Taylor Swift's 'Me!' Vaults to No. 2". Billboard. สืบค้นเมื่อ June 14, 2019.
- ↑ McIntyre, Hugh (April 27, 2019). "Taylor Swift's 'Me!' Music Video Has Already Broken A Very Important YouTube Record". Forbes. สืบค้นเมื่อ June 14, 2019.
- ↑ Vanderhoof, Erin (August 23, 2019). "Taylor Swift's Lover Could Hold the Key to Pop Music's Survival". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ January 9, 2019.
- ↑ Aniftos, Rania (June 14, 2019). "Taylor Swift Releases 'You Need to Calm Down': Watch The Lyric Video". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2019. สืบค้นเมื่อ June 17, 2019.
- ↑ "Billboard Staffers Discuss Taylor Swift's No. 2 Hot 100 Debut For 'You Need to Calm Down'". Billboard. Jun 25, 2019. สืบค้นเมื่อ September 10, 2019.
- ↑ Trust, Gary (August 12, 2019). "Lil Nas X's 'Old Town Road' Leads Billboard Hot 100 for 19th Week, Ariana Grande & Social House's 'Boyfriend' Debuts in Top 10". Billboard. สืบค้นเมื่อ August 12, 2019.
- ↑ Jess Cohen (June 23, 2019). "Taylor Swift Drops New Song "The Archer"—Listen Now!". E!. สืบค้นเมื่อ June 23, 2019.
- ↑ Stiernberg, Bonnie (August 16, 2019). "Taylor Swift Releases 'Lover': Stream It Now". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 16, 2019. สืบค้นเมื่อ August 16, 2019.
- ↑ "Lover by Taylor Swift". Metacritic. สืบค้นเมื่อ September 4, 2019.
- ↑ Caulfield, Keith (September 1, 2019). "Official: Taylor Swift's 'Lover' Debuts at No. 1 on Billboard 200 Chart With 867,000 Units Earned in First Week in U.S." Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2019. สืบค้นเมื่อ September 2, 2019.
- ↑ Caulfield, Keith (September 1, 2019). "Official: Taylor Swift's 'Lover' Debuts at No. 1 on Billboard 200 Chart With 867,000 Units Earned in First Week in U.S." Billboard. สืบค้นเมื่อ September 1, 2019.
- ↑ Sisario, Ben (November 8, 2019). "Taylor Swift's 'Lover' Is No. 1, but Falls Short of a Million Sales". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2019. สืบค้นเมื่อ September 4, 2019.
- ↑ Trust, Gary (September 3, 2019). "All 18 Songs From Taylor Swift's New Album 'Lover' Chart On the Billboard Hot 100". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 10, 2019.
- ↑ Grein, Paul (August 26, 2019). "12 Records That Were Set at the 2019 VMAs". Billboard. สืบค้นเมื่อ January 11, 2020.
- ↑ "MTV VMAs 2019 Winners: See the Full List Here". Pitchfork. August 27, 2019. สืบค้นเมื่อ August 27, 2019.
- ↑ "Grammy Nominations 2020: See the List". The New York Times. November 20, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2019. สืบค้นเมื่อ December 14, 2019.
- ↑ "Look What the Cats Trailer Dragged In". GQ. July 18, 2019. สืบค้นเมื่อ August 27, 2019.
- ↑ Aniftos, Rania (November 15, 2019). "Taylor Swift Releases 'Beautiful Ghosts,' Co-Written With Andrew Lloyd Webber for 'Cats' Film". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 15, 2019.
- ↑ "Golden Globes 2020: full list of nominations". The Guardian. UK. December 9, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2019. สืบค้นเมื่อ December 20, 2019.
- ↑ Mamo, Heran (January 15, 2020). "Taylor Swift 'Miss Americana' Netflix Doc Has a Release Date & We're So Ready for It". Billboard. สืบค้นเมื่อ January 19, 2020.
- ↑ "Miss Americana (2020)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ February 2, 2020.
- ↑ Willman, Chris (January 21, 2020). "Taylor Swift: No Longer 'Polite at All Costs'". Variety. สืบค้นเมื่อ January 21, 2020.
- ↑ Willman, Chris (February 6, 2020). "Taylor Swift Moves to Universal Music Publishing Group with New Pact". Variety (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ February 6, 2020.
- ↑ Grady, Constance (September 1, 2019). "The Taylor Swift/Scooter Braun controversy, explained". Vox. สืบค้นเมื่อ August 23, 2019.
- ↑ "Taylor Swift wants to re-record her old hits". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). August 22, 2019. สืบค้นเมื่อ August 22, 2019.
- ↑ Aniftos, Rania (November 14, 2019). "Taylor Swift Says Scooter Braun & Scott Borchetta Won't Let Her Perform Her Old Songs at 2019 AMAs". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 15, 2019.
- ↑ Aswad, Jem (November 15, 2019). "Big Machine Records Denies Taylor Swift's Claims of Blocking Music Use". Variety. สืบค้นเมื่อ November 15, 2019.
- ↑ Monroe, Jazz (November 15, 2019). "Taylor Swift's Ex-Label Denies She's Banned From Playing Old Songs on TV". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ November 15, 2019.
- ↑ Blistein, Jon (November 15, 2019). "Big Machine, Taylor Swift Camp Spar Over American Music Awards, Netflix Controversy". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ November 15, 2019.
- ↑ Cirisano, Tatiana (November 18, 2019). "Taylor Swift Cleared by Big Machine to Perform Old Songs at AMAs". Billboard. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
- ↑ Opperman, Jeff (March 12, 2021). "Taylor Swift Is Singing Us Back to Nature". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2021. สืบค้นเมื่อ May 24, 2021.
- ↑ "Taylor Swift to release surprise ninth album 'Evermore' tonight". NME. December 10, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2020. สืบค้นเมื่อ December 10, 2020.
- ↑ Schaffer, Claire (December 18, 2020). "Aaron Dessner on How His Collaborative Chemistry With Taylor Swift Led to 'Evermore'". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2020. สืบค้นเมื่อ February 18, 2021.
- ↑ Barna, Alyssa (December 16, 2020). "These are the musicological reasons Taylor Swift's new album sounds dull". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2021. สืบค้นเมื่อ November 3, 2021.
- ↑ Lipshutz, Jason (July 24, 2020). "Taylor Swift's 'Folklore': There's Nothing Quiet About This Songwriting Tour De Force". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2020. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
- ↑ Atkinson, Katie (December 15, 2020). "Taylor Swift Isn't So Sure She & Joe Alwyn Would Have Made Music Together If It Weren't for Lockdown". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2021. สืบค้นเมื่อ February 18, 2021.
- ↑ Trust, Gary (January 28, 2021). "Taylor Swift's 'Coney Island' and 'No Body, No Crime' Debut on Airplay Charts, Joining 'Willow'". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 16, 2021. สืบค้นเมื่อ February 2, 2021.
- ↑ Trust, Gary (December 21, 2020). "Taylor Swift's 'Willow' Debuts at No. 1 on Billboard Hot 100". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2020. สืบค้นเมื่อ February 18, 2021.
- ↑ Caulfield, Keith (January 7, 2021). "Lil Baby's 'My Turn' Is MRC Data's Top Album of 2020, Roddy Ricch's 'The Box' Most-Streamed Song". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 7, 2021. สืบค้นเมื่อ January 7, 2021.
- ↑ Willman, Chris (March 14, 2021). "Taylor Swift Becomes First Woman to Win Album of the Year Grammy Three Times". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2021. สืบค้นเมื่อ March 15, 2021.
- ↑ Willman, Chris (November 23, 2020). "Taylor Swift Wins Three American Music Awards, Says She's MIA Because of 'Recording All of My Old Music'". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2021. สืบค้นเมื่อ November 25, 2020.
- ↑ Christman, Ed (July 19, 2021). "Billboard's U.S. Money Makers: The Top Paid Musicians of 2020". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2021. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.
• Christman, Ed (July 19, 2021). "Billboard's 2020 Global Money Makers: The 5 Top Highest Paid Musicians". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2021. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021. - ↑ Caulfield, Keith (April 18, 2021). "Taylor Swift's Re-Recorded 'Fearless' Album Debuts at No. 1 on Billboard 200 Chart With Year's Biggest Week". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 19, 2021.
- ↑ Shaffer, Claire (April 7, 2021). "Taylor Swift Releases New 'Fearless' Vault Song 'Mr. Perfectly Fine'". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2021. สืบค้นเมื่อ April 7, 2021.
- ↑ Asker, Jim; Trust, Gary (February 22, 2021). "Taylor Swift's 'Love Story (Taylor's Version)' Debuts at No. 1 on Hot Country Songs Chart: 'I'm So Grateful to the Fans'". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 22, 2021.
- ↑ Al-Heeti, Abrar (October 28, 2021). "Red (Taylor's Version): Release date, tracklist and why Taylor Swift is rerecording her albums". CNET. สืบค้นเมื่อ October 30, 2021.
- ↑ "Taylor Swift's 10-minute 'All Too Well' is longest song to reach No.1". Guinness World Records. November 26, 2021. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.
- ↑ "Nine of the 10 Highest-Paid Musicians of 2021 Were Men". Rolling Stone. January 14, 2022. สืบค้นเมื่อ January 14, 2021.
- ↑ Caulfield, Keith (January 6, 2022). "Dua Lipa's 'Levitating' Is Most-Streamed Song of 2021 In U.S., Morgan Wallen's 'Dangerous: The Double Album' Is MRC Data's Top Album". Billboard. สืบค้นเมื่อ January 17, 2022.
- ↑ "NMPA to honor Taylor Swift with Songwriter Icon Award among other 2021 annual meeting honorees". National Music Publishers' Association. May 24, 2021. สืบค้นเมื่อ May 24, 2021.
- ↑ "Swifties Are Freaking Out About 'Wildest Dreams (Taylor's Version),' But Wonder 'What Era Are We In?'". Billboard. สืบค้นเมื่อ September 18, 2021.
- ↑ Willman, Chris (May 5, 2022). "Taylor Swift Debuts 'This Love (Taylor's Version),' From '1989' Redo, in Amazon's 'The Summer I Turned Pretty' Trailer". Variety. สืบค้นเมื่อ May 5, 2022.
- ↑ Cohen, Jonathan (June 29, 2021). "Aaron Dessner, Justin Vernon Rev Up Big Red Machine With Help From Taylor Swift". Variety. สืบค้นเมื่อ February 10, 2022.
- ↑ Strauss, Matthew (February 19, 2021). "HAIM Enlist Taylor Swift for New "Gasoline" Remix". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ February 10, 2022.
- ↑ Dailey, Hannah (February 11, 2022). "Ed Sheeran & Taylor Swift Release 'The Joker and the Queen' Remix: Watch the Video". Billboard. สืบค้นเมื่อ February 11, 2022.
- ↑ Blistein, Jon (March 22, 2022). "Taylor Swift Teases New Song 'Carolina' in 'Where the Crawdads Sing' Trailer". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ March 22, 2022.
- ↑ Ryan, Patrick (April 27, 2022). "Taylor Swift brings the waterworks with Chris Rock in 'Amsterdam' film". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2022. สืบค้นเมื่อ April 28, 2022.
- ↑ Corcoran, Nina (August 28, 2022). "Taylor Swift Announces New Album Midnights, Breaks Record for Most Video of the Year Wins at 2022 VMAs". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ August 28, 2022.
- ↑ Martoccio, Angie (August 28, 2022). "Taylor Swift Announces Surprise 'Brand New Album' Coming in October". Rolling Stone (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ August 28, 2022.
- ↑ Corcoran, Nina (August 28, 2022). "Taylor Swift Announces New Album Midnights, Breaks Record for Most Video of the Year Wins at 2022 VMAs". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ August 28, 2022.
- ↑ Cairns, Dan (March 5, 2009). "Swift rise of the anti-diva". The Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2014. สืบค้นเมื่อ July 2, 2012.
- ↑ Bream, Jon (December 7, 2007). "Music: OMG! Taylor's senior year". Star Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2015. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ 258.0 258.1 Newman, Melinda (December 19, 2008). "Taylor Swift Sessions Interview". AOL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2012. สืบค้นเมื่อ March 25, 2011.
- ↑ "Swift starts world tour in Asia, pushes "Speak Now' in NY". Country Standard Time. October 23, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2012. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ "News : 20 Questions With Taylor Swift". CMT. November 12, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2014. สืบค้นเมื่อ April 18, 2012.
- ↑ McCafferty, Dennis (April 13, 2008). "Taylor's Swift rise". USA Weekend. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2012. สืบค้นเมื่อ April 17, 2012.
- ↑ "Interview with Taylor Swift". Time. April 23, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2013. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ "Taylor Swift Style: Singer Won't Take Her Clothes Off, Wants People To Focus On Music". The Huffington Post. October 23, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 4, 2015. สืบค้นเมื่อ January 4, 2015.
- ↑ "InStyle meets country singing sensation Taylor Swift". InStyle UK. October 26, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2013. สืบค้นเมื่อ May 29, 2012.
- ↑ Bonaguro, Alison (July 25, 2011). "News : Offstage: Taylor Swift Plays Dixie Chicks for a Dixie Chick". CMT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2012. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ Blender, April 2008, page 52
- ↑ Roland, Tom (December 2, 2011). "Taylor Swift: Billboard's Woman of the Year". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2013. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ "Taylor Swift Goes Record Shopping with EW". Entertainment Weekly. October 15, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2015. สืบค้นเมื่อ October 23, 2012.
- ↑ "Taylor Swift's Favorite Music". The Oprah Winfrey Show. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2016. สืบค้นเมื่อ October 23, 2012.
- ↑ 270.0 270.1 Mansfield, Brian (October 23, 2010). "Taylor Swift learns to 'Speak Now,' reveal her maturity". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2012. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ "Rolling in the Trophies? – Adele". People. February 6, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2012. สืบค้นเมื่อ July 3, 2012.
- ↑ "Taylor Swift Goes Record Shopping with EW". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ "Our Interview with Taylor Swift" (Blog). Channelguidemagblog.com. November 2, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2016. สืบค้นเมื่อ February 25, 2013.
- ↑ 274.0 274.1 Van Meter, Jonathan (January 17, 2012). "Taylor Swift: The Single Life". Vogue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2014. สืบค้นเมื่อ July 3, 2012.
- ↑ Adams, Cameron (May 16, 2013). "Taylor Swift is happy to be your break-up musician". News.com.au. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2013. สืบค้นเมื่อ June 10, 2013.
- ↑ Vena, Jocelyn (January 26, 2009). "Taylor Swift Blogs About 'Life-Changing' Cameo On 'CSI,' Britney Spears Poster". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Loves Hanson". Fox.com.au. May 9, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ "Taylor Swift Tweets Her Love of Dashboard Confessional". Taste of Country. April 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2013. สืบค้นเมื่อ October 23, 2012.
- ↑ Bonaguro, Alison (August 10, 2011). "News : Offstage: Taylor Swift Covers Fall Out Boy". CMT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2012. สืบค้นเมื่อ October 23, 2012.
- ↑ 280.0 280.1 280.2 "See Taylor Swift's List of Music You Should Hear". Amazon.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2014. สืบค้นเมื่อ October 23, 2012.
- ↑ "Taylor Swift talks about Red". Chicago Tribune. October 18, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2012. สืบค้นเมื่อ October 23, 2012.
- ↑ Us Weekly: Taylor Swift Inside My World, "What's on my iPod?", page 24
- ↑ Kaufman, Gil (April 4, 2016). "Taylor Swift Calls Justin Timberlake 'Hero' & 'All Time Fav' After iHeartRadio Music Awards". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2016. สืบค้นเมื่อ April 27, 2016.
- ↑ Rolling Stone, August 18, 2011, page 28, Q&A: Taylor Swift by Austin Scaggs
- ↑ Glock, Allison. "The Sweet, Charmed Life of Taylor Swift". Delta Air Lines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2015. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ Eells, Josh (September 8, 2014). "The Reinvention of Taylor Swift". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2016. สืบค้นเมื่อ June 8, 2016.
- ↑ "Taylor Swift Biography". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2012. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
- ↑ Cooper, Peter (October 26, 2014). "Taylor Swift reaches a turning point with '1989'". The Tennessean. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2016. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ "Women Who Rock: The 50 Greatest Albums of All Time: Taylor Swift, 'Speak Now'". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2014. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
- ↑ "Pop and Rock Listings July 22 – 28". The New York Times. July 21, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2012. สืบค้นเมื่อ July 12, 2012.
- ↑ 291.0 291.1 291.2 Petridis, Alexis (March 6, 2009). "Taylor Swift: Fearless". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2013. สืบค้นเมื่อ June 24, 2012.
- ↑ 292.0 292.1 Schillaci, Sophie A. (August 25, 2011). "Taylor Swift at Staples Center: Concert Review". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ Powers, Ann (October 25, 2010). "Album review: Taylor Swift's 'Speak Now'". Los Angeles Times (Blog). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2010. สืบค้นเมื่อ October 25, 2010.
- ↑ Sheffield, Rob (October 26, 2010). "Speak Now". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2011. สืบค้นเมื่อ June 15, 2012.
- ↑ Weber, Theon (November 3, 2010). "The Iceberg Songs of Taylor Swift". The Village Voice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2015. สืบค้นเมื่อ November 3, 2010.
- ↑ Serjeant, Jill (November 17, 2009). "Taylor Swift – "Fearless" or tone-less?". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2013. สืบค้นเมื่อ July 2, 2012.
- ↑ Tucker, Ken (November 12, 2009). "CMA Awards best and worst, starring Taylor Swift, the ghost of Kanye West, and Carrie Underwood's purple sequined hot-pants". Entertainment Weekly.
- ↑ Reed, James (October 24, 2010). "Swift's ascent continues with arrival of new album". Boston Globe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2016. สืบค้นเมื่อ August 23, 2016.
- ↑ DeLuca, Dan (November 11, 2008). "Focused on 'great songs' Taylor Swift isn't thinking about "the next level" or Joe Jonas gossip". Philadelphia Daily News. p. 3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-16. สืบค้นเมื่อ April 17, 2012.
- ↑ "Taylor Swift gets mixed reviews at Grammys". The Tennessean (Blog). February 1, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2015. สืบค้นเมื่อ June 24, 2012.
- ↑ Roland, Tom (October 15, 2010). "Taylor Swift: The Billboard Cover Story". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2010. สืบค้นเมื่อ July 3, 2012.
- ↑ Caramanica, Jon (October 20, 2010). "Taylor Swift Is Angry, Darn It". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2012. สืบค้นเมื่อ June 24, 2012.
- ↑ "Taylor Swift in Her Own Words: Teen Vogue Cover Shoot". Teen Vogue. August 2011. ISSN 1540-2215. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2016. สืบค้นเมื่อ July 29, 2016.
- ↑ Farley, Christopher John (October 22, 2010). "Taylor Swift's Solo Act". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2015. สืบค้นเมื่อ May 24, 2012.
- ↑ Caramanica, Jon (October 20, 2010). "Taylor Swift Is Angry, Darn It". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2012. สืบค้นเมื่อ July 2, 2012.
- ↑ "John Mayer: Taylor Swift's 'Dear John' Song 'Humiliated Me'". Rolling Stone. June 6, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2012. สืบค้นเมื่อ June 24, 2012.
- ↑ Weber, Theon (November 3, 2010). "The Iceberg Songs of Taylor Swift". The Village Voice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2015. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
- ↑ "Stop Asking Taylor Swift to Apologize for Writing Songs About Ex-Boyfriends – The Cut". New York. November 16, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2012. สืบค้นเมื่อ February 25, 2013.
- ↑ "Her Song: Talking Taylor Swift – Post Rock". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-12. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
- ↑ Dominus, Susan (November 16, 2012). "The Many Insecurities of Taylor Swift". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2016.
- ↑ "Cover Preview: Taylor Swift Fights Back About Her Love Life, the Hyannis Port House—and Has Words for Tina Fey and Amy Poehler". Vanity Fair. March 5, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ Willman, Chris (October 10, 2010). "Princess Crossover". New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2013. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ Kelly, James (August 26, 2009). "Taylor Swift writing her own songs and rules". The Atlanta Journal-Constitution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2014. สืบค้นเมื่อ July 30, 2012.
- ↑ Yuan, Jada (December 30, 2009). "Microwaving a tragedy: The marriage of romance and romanticism in '00s pop". Las Vegas Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2013. สืบค้นเมื่อ August 17, 2012.
- ↑ Rotman, Natalie (January 9, 2009). "Colbie Caillat has 'Breakthrough' with sophomore CD". Reading Eagle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2013. สืบค้นเมื่อ August 17, 2012.
- ↑ 316.0 316.1 Weber, Theon (November 3, 2010). "The Iceberg Songs of Taylor Swift". The Village Voice. New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2012. สืบค้นเมื่อ July 12, 2012.
- ↑ Rosen, Jody (November 13, 2008). "Fearless". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 15, 2012. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ Keefe, Jonathan (October 22, 2012). "Taylor Swift: Red". Slant Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2014. สืบค้นเมื่อ February 25, 2013.
- ↑ 319.0 319.1 Meddings, Jacqui (October 31, 2014). "Taylor Swift is our new cover goddess". Cosmopolitan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ "The Taylor Swift Slut-Shaming Continues – The Cut". New York. June 28, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2013. สืบค้นเมื่อ November 17, 2013.
- ↑ Chang, Bee-Shyuan (March 15, 2013). "Taylor Swift Gets Some Mud on Her Boots". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 22, 2013. สืบค้นเมื่อ June 10, 2013.
- ↑ "On the Road with Best Friends Taylor Swift and Karlie Kloss". Vogue. February 13, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2015. สืบค้นเมื่อ November 10, 2015.
- ↑ Grigoriadis, Vanessa (March 5, 2009). "The Very Pink, Very Perfect Life of Taylor Swift". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2016. สืบค้นเมื่อ August 12, 2016.
- ↑ Willman, Chris (October 17, 2012). "Taylor Swift Tapes VH1 'Storytellers'". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2012. สืบค้นเมื่อ February 25, 2013.
- ↑ Moss, Hilary (April 2, 2012). "Michelle Obama Honors Taylor Swift, Taylor Swift So Honored". New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2013. สืบค้นเมื่อ March 6, 2013.
- ↑ Pacella, Megan (April 15, 2012). "Taylor Swift Reflects on Meeting First Lady Michelle Obama". Taste of Country. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2012. สืบค้นเมื่อ April 15, 2012.
- ↑ Berg, Madeline (November 18, 2015). "Taylor Swift Vs. Katy Perry: Which Star Rules Social Media?". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2016. สืบค้นเมื่อ July 23, 2016.
- ↑ Strecker, Erin (January 27, 2015). "Read Taylor Swift's Sweet Message to Bullied Fan". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2015. สืบค้นเมื่อ January 31, 2015.
- ↑ Taylor Swift's Gift Giving of 2014. December 31, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2015. สืบค้นเมื่อ January 31, 2015 – โดยทาง YouTube.
- ↑ Stein, Jeannine (November 18, 2011). "Taylor Swift weighs in on being a role model". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2012. สืบค้นเมื่อ April 18, 2012.
- ↑ McKnight, Jenni (May 20, 2013). "Billboard Music Awards: Taylor Swift thanks her fans for being her 'longest and best relationship'". Metro. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2015. สืบค้นเมื่อ April 4, 2015.
- ↑ Jo Sales, Nancy; Diehl, Jessica (April 2013). "Taylor Swift's Telltale Heart". Vanity Fair. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2017. สืบค้นเมื่อ February 4, 2017.
- ↑ Nisha Lilia Diu (April 3, 2011). "Taylor Swift: 'I won't do sexy shoots'". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2012. สืบค้นเมื่อ February 4, 2017.
- ↑ Kessler, Zara (November 5, 2014). "Taylor Swift's Sexual Temptation". Bloomberg L.P. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2016. สืบค้นเมื่อ July 24, 2016.
- ↑ Holt, Emily (July 1, 2011). "American Idols: Icons of Stateside Style – Vogue Daily". Vogue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2014. สืบค้นเมื่อ June 15, 2012.
- ↑ "People's Best Dressed, Taylor Swift Best Dressed 2014". People. September 17, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2016. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
- ↑ Powell, Hannah Lyons (February 24, 2015). "Taylor Swift wins Woman Of The Year award – ELLE Style Awards 2015". Elle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2016. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
- ↑ Roy, Jessica (May 18, 2015). "Taylor Swift Tops the 2015 Maxim Hot 100". Maxim. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2015. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
- ↑ Nicks, Stevie (April 29, 2010). "The 2010 Time 100: Taylor Swift". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2013. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
Vena, Jocelyn (April 16, 2015). "Taylor Swift, Kanye West, Kim Kardashian Make Time's 100 Most Influential People List". Billboard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2016. สืบค้นเมื่อ September 1, 2016. - ↑ Greenburg, Zack O'Malley (December 14, 2011). "The Top-Earning Women In Music 2011". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2015. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
Greenburg, Zack O'Malley (December 12, 2012). "The Top-Earning Women In Music 2012". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2012. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
Greenburg, Zack O'Malley (December 11, 2013). "The Top-Earning Women In Music 2013". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2013. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
Greenburg, Zack O'Malley (November 4, 2014). "The Top-Earning Women In Music 2014". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2014. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
Greenburg, Zack O'Malley (November 4, 2015). "The World's Highest-Paid Women In Music 2015". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2015. สืบค้นเมื่อ November 5, 2015. - ↑ "#8 Taylor Swift". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2015. สืบค้นเมื่อ July 27, 2015.
- ↑ "Celebrity 100 2011". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2016. สืบค้นเมื่อ September 1, 2016.
Schumann, Rebecka (May 26, 2013). "Forbes Lists Top 100 Most Powerful Celebrities in 2013: Oprah Winfrey Takes Number One Spot [Full list]". International Business Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2016. สืบค้นเมื่อ September 1, 2016.
Greenburg, Zack O'Malley (June 29, 2015). "Celebrity 100: The World's Highest-Paid Superstars Of 2015". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2016. สืบค้นเมื่อ September 1, 2016.
Greenburg, Zack O'Malley (July 11, 2016). "Taylor Swift Is The World's Top-Earning Celebrity With $170 Million In 2016". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016. - ↑ Stampler, Laura (December 8, 2014). "This is the Shortlist for TIME's Person of the Year 2014". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2016. สืบค้นเมื่อ July 15, 2017.
- ↑ Greenburg, Zack O'Malley (June 5, 2017). "Taylor Swift's Net Worth: $280 Million In 2017". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2017. สืบค้นเมื่อ June 22, 2017.
- ↑ Hoffower, Hillary (August 18, 2018). "Taylor Swift is worth more than $300 million". Business Insider. สืบค้นเมื่อ August 28, 2018.
- ↑ Couch, Robbie (March 2, 2015). "Taylor Swift Named Most Charitable Celeb For Supporting Feminist Causes, Education, More". The Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2016. สืบค้นเมื่อ August 2, 2016.
- ↑ Pacella, Megan (June 13, 2012). "Taylor Swift Receives Star of Compassion Award". Taste Of Country. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2016. สืบค้นเมื่อ November 27, 2015.
- ↑ Cooper, Brittany Joy (March 27, 2012). "Taylor Swift to Receive 'Big' Honor From Michelle Obama at Kids' Choice Awards". Taste of Country. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2012. สืบค้นเมื่อ August 30, 2012.
- ↑ "Taylor Swift Honored With RFK Center's Ripple of Hope Award". PR Newswire. December 4, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2013. สืบค้นเมื่อ February 25, 2013.
- ↑ Lee, Ken (August 9, 2009). "Taylor Swift donates $100,000 to victims of Iowa Flood". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2009. สืบค้นเมื่อ September 9, 2009.
- ↑ Moran, Jonathon (March 8, 2009). "Kylie to play at Sound Relief with Coldplay, Midnight Oil". The Daily Telegraph (Australia). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2016. สืบค้นเมื่อ December 30, 2009.
- ↑ Vena, Jocelyn (January 26, 2010). "Better Than Ezra 'Honored' By Taylor Swift's Performance Of 'Breathless' At Haiti Telethon". MTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2014. สืบค้นเมื่อ August 30, 2012.
- ↑ Talbott, Chris (May 7, 2010). "Taylor Swift Donates $500,000 to Nashville Flood Relief". CNS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2015.
- ↑ Lewis, Randy (May 23, 2011). "Taylor Swift benefit concert raises more than $750,000 for tornado victims". Los Angeles Times (Blog). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2012. สืบค้นเมื่อ April 18, 2012.
- ↑ Sciarretto, Amy (November 13, 2012). "Taylor Swift Sends 'Love and Support' to Hurricane Sandy Victims, Asks Fans to Help 'Restore the Shore'". Taste of Country. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2014. สืบค้นเมื่อ April 21, 2014.
- ↑ "Taylor Swift gives $1m to help Louisiana flood relief efforts". The Guardian. August 17, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2016. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
- ↑ Muhammad, Latifah (December 9, 2016). "Taylor Swift Donates $100,000 to Dolly Parton Fire Fund". Entertainment Tonight. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2017. สืบค้นเมื่อ January 11, 2017.
- ↑ "Taylor Swift becomes namesake of Hendersonville High School auditorium". The Tennessean (Blog). September 23, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2015. สืบค้นเมื่อ May 29, 2011.
- ↑ McKinley, James C. (May 17, 2012). "Taylor Swift to Donate $4 Million to the Country Hall of Fame". The New York Times (Blog). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2012. สืบค้นเมื่อ July 1, 2012.
- ↑ Golden, Zara (October 1, 2012). "And The Taylor Swift VH1 Storytellers Contest Winner Is ... Harvey Mudd College! – | VH1 Tuner". VH1. สืบค้นเมื่อ April 21, 2014.
- ↑ Sanz, Cynthia (December 14, 2009). "Taylor Swift Gives Big as She Turns 20 – Good Deeds, Taylor Swift". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2012. สืบค้นเมื่อ May 29, 2012.
- ↑ Urban, Mike (October 14, 2011). "Taylor Swift donates 6,000 books to Reading Library". Reading Eagle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2012. สืบค้นเมื่อ May 29, 2012.
- ↑ Cooper, Brittany Joy (February 2, 2012). "Taylor Swift Donates 14,000 Books to Nashville Public Library". Taste of Country. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2012. สืบค้นเมื่อ May 29, 2012.
- ↑ "Taylor Swift, Scholastic donate books to Reading Hospital | Regional: Berks – Home". Wfmz.com. January 18, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2013. สืบค้นเมื่อ February 25, 2013.
- ↑ Zhu, Danielle (November 17, 2015). "Taylor Swift partners with Scholastic to donate 25,000 books". Entertainment Weekly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2016. สืบค้นเมื่อ August 3, 2016.
- ↑ "Taylor Swift Helps With 'Delete Online Predators' Campaign". Nash Country Weekly. September 18, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2016. สืบค้นเมื่อ November 29, 2015.
- ↑ "Sound Matters – Taylor Swift". Sound Matters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2012. สืบค้นเมื่อ November 29, 2015.
- ↑ "19th Annual Elton John AIDS Foundation Academy Awards Viewing Party". PR Newswire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2015. สืบค้นเมื่อ November 10, 2015.
"Taylor Swift Teams Up With UNICEF Tap Project Initiative". Taste of Country. March 17, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2013. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
"Taylor Swift Among Participants in MusiCares Back To School Charity Auction". Rttnews.com. July 28, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2013. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
"Feed America With George Clooney's Bowl". Looktothestars.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2012. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012. - ↑ "Taylor Swift and ACM Lifting Lives present $50,000 donation to St. Jude". The Tennessean (Blog). June 13, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2015. สืบค้นเมื่อ May 29, 2012.
- ↑ "New and Hot Video: Taylor Swift Debuts 'Ronan' at Stand Up To Cancer Benefit". Rolling Stone. September 8, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2012. สืบค้นเมื่อ September 14, 2012.
- ↑ Knight, Joey (May 17, 2014). "Dick Vitale holds annual fundraiser for pediatric cancer". Tampa Bay Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2014. สืบค้นเมื่อ July 30, 2014.
- ↑ "Taylor Swift donates $50K to CHOP to help teens with cancer". The Business Journals. สืบค้นเมื่อ June 5, 2014.
- ↑ Von Dobeneck, Monica. "South Middleton girl gets toys for fellow patients at St. Jude Children's Research Hospital". The Patriot-News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2012. สืบค้นเมื่อ August 30, 2012.
Ryan, Kiki (August 27, 2010). "Swift's soldier visit". Politico. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2012. สืบค้นเมื่อ August 30, 2012.
"Taylor Swift performs at Vanderbilt children's hospital, in pictures". Th