เอ็มทีวี (อังกฤษ: MTV) ย่อมาจาก Music Television เป็นสถานีโทรทัศน์สำหรับวัยรุ่น โดยมีบริษัทแม่อยู่ที่นิวยอร์ก แรกเดิมจะเน้นเปิดมิวสิกวีดีโอ ต่อมาเพิ่มความหลากหลาย สร้างเรียลลิตี้โชว์จำนวนมาก และงานอวอร์ดสต่างๆ โดยเอ็มทีวีได้กลายเป็น Pop Culture ของวัยรุ่นอเมริกัน และทั่วโลกในเวลาต่อมา

เอ็มทีวี
MTV
ประเทศสหรัฐ
สำนักงานใหญ่MTV Studios, One Astor Plaza, 1515 Broadway, Times Square, Manhattan, New York City, New York 10036, United States
แบบรายการ
ภาษาอังกฤษ
ระบบภาพ1080i HDTV
(downscaled to letterboxed 480i for the SDTV feed)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของไวอาคอมซีบีเอสโดเมสติกมีเดียเน็ตเวิร์ค
บุคลากรหลักPhilippe Dauman (CEO)
ช่องรอง
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ1 ธันวาคม ค.ศ. 1977 (1977-12-01) (ในชื่อ ไซท์ออนซาวด์)
1 สิงหาคม ค.ศ. 1981 (1981-08-01) (ในชื่อ เอ็มทีวี)
ชื่อเดิมมิวสิคเทเลวิชัน (ค.ศ. 1981–ค.ศ. 2010)[1]
ลิงก์
เว็บไซต์mtv.com
ออกอากาศ
เคเบิลทีวี
Available on most cable providersChannel slots vary on each service
ทีวีดาวเทียม
Orby TVChannel 270 (HD)
Dish NetworkChannel 160 (HD)
DirecTV
  • Channel 331 (East; SD/HD)
  • Channel 331-1 (West; HD)
ไอพีทีวี เครือข่าย เอดีเอสแอล
Verizon FiosChannel 210 (SD)
Channel 710 (HD)
AT&T U-verseChannel 502 (SD)
Channel 1502 (HD)
สื่อสตรีมมิง
FuboTVInternet Protocol television
PhiloInternet Protocol television
Sling TVInternet Protocol television
AT&T TVInternet Protocol television
YouTube TVInternet Protocol television

เอ็มทีวีออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1981 ตั้งแต่ที่เอ็มทีวีได้ออกอากาศ มีสโลแกน "I want my MTV" ที่เป็นที่จดจำ, คอนเซ็บของวีเจเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย,การแนะนำเพลงผ่านมิวสิกวิดีโอ, เป็นศูนย์กลางระหว่างแฟนเพลงและตัวศิลปิน รวมถึงเป็นศูนย์กลางของข่าวสารดนตรี เทศกาลดนตรี การประชาสัมพันธ์ เอ็มทีวีได้มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมดนตรีเป็นอย่างมาก

เอ็มทีวีถือเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลที่สุดจากบทสรุปของ BusinessWeek กลับยกให้ MTV ด้วยจำนวนผู้ชมสูงถึงกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก[2]

ประวัติ

แก้

เอ็มทีวีได้ออกอากาศตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา และได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อผู้ชมรายการเคเบิลทีวีโดยเฉพาะที่เป็นวัยรุ่น เอ็มทีวีมีชื่อเสียงในการผลิตรายการเรียลลิตี้โชว์ รายการอดีตที่ดังเช่น Real World ยังคงดึงดูดผู้ชมได้อยู่ขณะที่รายการใหม่ๆ อย่าง Cribs, Flipped, Diary and Dismissed ได้สร้างความสนใจให้แก่ผู้ชมในยุคปัจจุบัน

นอกจากจะเป็นรายการที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วยังมีรายการเช่น Total Request Live, MTV Jammed และ mtvICON ซึ่งผูกติดผู้ชมเข้ากับเพลงและศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบ ขณะนี้ สิ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลามไม่แพ้เอ็มทีวีก็คือสถานีเอ็มทีวี 2[3]

อิทธิพล

แก้

ปีเตอร์ ริชาร์ดสัน นักวิเคราะห์วัฒนธรรมของอเมริกันบอกว่า "Culture ตัวหนึ่งที่มีพลังมากในการเจาะ ทะลวงเอเชีย ได้ดีก็คือ เอ็มทีวี และในนิตยสาร culture club ของฝรั่งเศส มีการตั้งข้อสังเกตว่า ระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ชุดแต่งกายที่เคยเป็นทั้งประจำชาติ ไม่ว่าของจีน ญี่ปุ่นและตะวันออกกลาง ค่อย ๆ ถูกละลายด้วยภาพที่เห็นทางเอ็มทีวี และสื่อสะดวกอย่างยูทูบ"[4]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "MTV drops 'Music Television' from the network logo". Los Angeles Times. February 8, 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-06-21.
  2. แจ๊ค มินทร์ อิงธเนศ MTV มีดีกว่าที่คิด เก็บถาวร 2007-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ businessthai.co.th
  3. "เอ็มทีวี เคเบิลทรงอิทธิพลต่อวัยรุ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-05-25.
  4. นันทขว้าง สิรสุนทร และพันทิพย์ อศินธรรม. "คอลัมน์จุดประกาย". หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้