แบดบลัด (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)

ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์ ร้องรับเชิญโดยเคนดริก ลามาร์ ค.ศ. 2015

"แบดบลัด" (อังกฤษ: Bad Blood) เป็นเพลงของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ จากสตูดิโออัลบั้มที่สี่ 1989 (2014) เพลงฉบับซิงเกิล ร้องรับเชิญโดยเคนดริก ลามาร์ ออกจำหน่ายในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 โดยสังกัดรีพับลิกเรเคิดส์ เป็นซิงเกิลที่สี่จากอัลบั้ม เพลงฉบับที่มาจากอัลบั้ม เขียนโดยสวิฟต์ แมกซ์ มาร์ติน และเชลล์แบ็ก และในฉบับรีมิกซ์มีท่อนที่เขียนโดยลามาร์ เนื้อเพลง "แบดบลัด" เล่าเรื่องการทรยศของเพื่อนสนิทคนหนึ่ง

"แบดบลัด"
Cover artwork of "Bad Blood" by Taylor Swift featuring Kendrick Lamar
ภาพปกเคนดริก ลามาร์รีมิกซ์
ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
จากอัลบั้ม1989
วางจำหน่าย17 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 (2015-05-17)
สตูดิโอ
  • เอ็มเอ็กซ์เอ็ม (สต็อกโฮล์ม)
  • คอนเวย์รีเคิดดิง (ลอสแอนเจลิส)
แนวเพลงป็อป
ความยาว
  • 3:31
3:20 (เคนดริก ลามาร์รีมิกซ์)
ค่ายเพลงบิกมะชีน
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์
  • แมกซ์ มาร์ติน
  • เชลล์แบ็ก[b]
ลำดับซิงเกิลของเทย์เลอร์ สวิฟต์
"สไตล์"
(2015)
"แบดบลัด"
(2015)
"ไวล์ดิสต์ดรีมส์"
(2015)
ลำดับซิงเกิลของเคนดริก ลามาร์
"คิงคุนตา"
(2015)
"แบดบลัด"
(2015)
"ออไรต์"
(2015)
มิวสิกวิดีโอ
"แบดบลัด" ที่ยูทูบ

เพลงฉบับรีมิกซ์ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์เพลง ยกย่องการผลิตเพลงและท่อนที่ลามาร์ร้องรับเชิญ เพลงขึ้นอันดับหนึ่งในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา อิสราเอล นิวซีแลนด์ สกอตแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เป็นเพลงที่สามที่ทำได้เช่นนี้ มิวสิกวิดีโอกำกับโดยโจเซฟ คาห์น และแสดงโดยนักแสดงมากมาย วิดีโอเคยทำลายสถิติยอดผู้ชมสูงสุดใน 24 ชั่วโมง และชนะรางวัลวิดีโอแห่งปี และการร่วมขับร้องยอดเยี่ยม ในงานเอ็มทีวีวิดีโออะวอดส์ 2015

เพลง "แบดบลัด" ฉบับนำมาร้องใหม่ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลวิทยุของนักร้องนักแต่งเพลง ไรอัน แอดัมส์ ในอัลบั้มเพลงแปลงจากอัลบั้ม 1989 ของสวิฟต์ ออกจำหน่ายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015

การแต่งเพลงและการทำดนตรี แก้

สวิฟต์ เขียนเพลง "แบดบลัด" พูดถึงนักร้องหญิงคนหนึ่งซึ่งเธอไม่ได้เปิดเผย สวิฟต์กล่าวว่านักร้องคนนี้พยายามทำลายทัวร์คอนเสิร์จครั้งหนึ่งของเธอโดยจ้างคนที่ทำงานให้เธอ[1] สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น บิลบอร์ด โรลลิงสโตน ไทม์ และเดอะวอชิงตันโพสต์ คาดเดาว่า เคที เพร์รี คือประเด็นของเพลง[2][3][4][5] แดเนียล แดดดาริโอ จากไทม์ และเอมิลี ยาร์ จากเดอะวอชิงตันโพสต์ เปรียบเทียบเนื้อเพลงที่ว่า "If you live like that, you live with ghosts" และเพลง "โกสส์" ของเพร์รี จากอัลบั้มปริซึม[4][5] เพลงฉบับในอัลบั้มมีท่อนที่ขับร้องโดยสวิฟต์เท่านั้น ขณะที่ฉบับซิงเกิลได้ทำดนตรีใหม่ และมีนักร้องรับเชิญคือแร็ปเปอร์ เคนดริก ลามาร์ ร้องในท่อนเวิร์ส

เจม อะวอด จากบิลบอร์ด รู้สึกว่าเพลง "ทำให้นึกถึงเพลง "ฮอลลาแบ็กเกิลส์" ของเกว็น สเตฟานี"[6] คิตตี เอมไพร์ จากเดอะการ์เดียน เขียนว่าเพลง "คล้ายชาร์ลี เอ็กซ์ซีเอ็กซ์ ที่มีจังหวะตายตัว"[7]

การตอบรับ แก้

"แบดบลัด" ได้รับการตอบรับคละกันจากนักวิจารณ์[8][9] มีการตำหนิเนื้อเพลง โดยกล่าวว่าเนื้อเพลงเต็มไปด้วยสำนวนซ้ำซาก "ผสมผสานโทนเสียงอึกทึกที่ไม่เป็นตัวเอง มีจังหวะอ่อน ๆ และสำนวนซ้ำซากที่นุ่มนวลที่สุด ท่อนต่าง ๆ เหล่านี้ดำเนินไปจนเนื้อเพลงบรรทัดสุดท้าย ให้คะแนน C-"[8][10] จิม ฟาร์เบอร์ จากเดอะนิวยอร์กเดลีนิวส์ วิจารณ์ท่อนคอรัสบรรยายเนื้อเพลงว่าเป็น "การร้องเพลงขายของตามสังเวียนซ้ำไปซ้ำมา" (repetitive, arena-mongering chant)[11] นักวิจารณ์หลายคนตำหนิเพลงเรื่องการผลิตเพลงที่ไม่ดีนัก[8][10] อย่างไรก็ตาม หนังสือ เอนเทอร์เทนเมนต์วีกลี จัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้ม[12]

อย่างไรก็ตาม เพลงฉบับรีมิกซ์ที่เคนดริก ลามาร์ มาร้องรับเชิญ ได้รับคำวิจารณ์ที่ดี โดยนักวิจารณ์ยกย่องท่อนที่ลามาร์ร้องรับเชิญ และดนตรีที่ทำใหม่[13][14] จอร์จ ซีบรุก จากดิเอดจ์ ให้คะแนน 4.5 ดาวเต็ม 5 และเรียกว่า "รุ่งโรจน์" และ "ทำให้ตื่นเต้น" เขายกย่องเพลงเกี่ยวกับ "ท่อนที่ดุเดือดแต่เรียบง่ายของลามาร์" (Lamar’s simple, brutally effective verses) และยอมรับการร่วมมือกันในเพลงว่า "ไม่ใช่เพียงอีกหนึ่งการร่วมมือที่เสี่ยงที่ไร้ความหมาย แต่เป็นนักร้องคู่ใหม่ที่มีพลัง" (not just one more meaningless stunt collaboration, but a powerful new duo)[15]

หมายเหตุ แก้

  1. เคนดริก ลามาร์ได้รับเครดิตในฐานะนักแต่งเพลงในเวอร์ชันรีมิกซ์
  2. อิลยาได้รับเครดิตเป็นผู้ผลิตเพิ่มเติมในเวอร์ชันรีมิกซ์

อ้างอิง แก้

  1. Eells, Josh (September 8, 2014). "Cover Story: The Reinvention of Taylor Swift". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-06. สืบค้นเมื่อ May 10, 2015.
  2. Strecker, Erin (September 9, 2014). "Did Katy Perry Confirm Taylor Swift's 'Bad Blood' Song Is About Her?". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 11, 2015.
  3. Drell, Cady (December 31, 2014). "12 Biggest Feuds of 2014: Taylor Swift vs. Katy Perry". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-04. สืบค้นเมื่อ May 11, 2015.
  4. 4.0 4.1 D'Addario, Daniel (October 27, 2014). "Is Taylor Swift's 'Bad Blood' About Katy Perry? A Textual Analysis". Time. สืบค้นเมื่อ May 11, 2015.
  5. 5.0 5.1 Yahr, Emily (October 27, 2014). "Taylor Swift's 'Bad Blood': How we can tell she's singing about Katy Perry". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ May 11, 2015.
  6. Aswad, Jem (October 24, 2014). "Album Review: Taylor Swift's Pop Curveball Pays Off With '1989'". Billboard. สืบค้นเมื่อ May 20, 2015.
  7. Empire, Kitty (October 26, 2014). "Taylor Swift: 1989 review – a bold, gossipy confection". The Guardian. สืบค้นเมื่อ May 20, 2015.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Taylor Swift 1989 Track by Track Album Review". HitFix.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 27 July 2015.
  9. McIndoe, Joe (29 October 2014). "Track-by-Track Album Review: Taylor Swift - 1989". CultNoise.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 27 July 2015.
  10. 10.0 10.1 Diver, Mike (11 April 2014). "Taylor Swift - 1989". ClashMusic.com. สืบค้นเมื่อ 27 July 2015.
  11. "Taylor Swift's '1989': Album Review". Daily News. 23 October 2014.
  12. Markovitz, Adam (November 11, 2014). "1989". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ July 27, 2015.
  13. Young, Alex (17 May 2015). "Kendrick Lamar shines in Taylor Swift's "Bad Blood" remix". Consequence of Sound. สืบค้นเมื่อ 27 July 2015.
  14. "Taylor Swift's 'Bad Blood' video has sound, fury and Kendrick Lamar". latimes.com. May 18, 2015.
  15. Seabrook, George (May 20, 2015). "Review: Taylor Swift ft. Kendrick Lamar – Bad Blood". The Edge. สืบค้นเมื่อ May 21, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้