พิกเชอร์ทูเบิร์น

ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์ ค.ศ. 2008

"พิกเชอร์ทูเบิร์น" (อังกฤษ: Picture to Burn) เป็นเพลงของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ เพลงเขียนร่วมกันโดยสวิฟต์ และลิซ โรส และผลิตโดยนาธาน แชปแมน เพลงอกจำหน่ายในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 โดยสังกัดบิกแมชีนเรเคิดส์ เป็นซิงเกิลที่สี่จากสตูดิโออัลบั้ม เทย์เลอร์ สวิฟต์ (2006) เพลงได้รับแรงบันดาลใจจากนิสัยหลงตัวเองและหยิ่งยโสของเพื่อนร่วมห้องสมัยไฮสกูล และเป็นคนรักเก่าชื่อ จอร์ดอน อัลฟอร์ด ซึ่งสวิฟต์ไม่เคยสร้างความสัมพันธ์อย่างจริงจังด้วย เพื่อย้อนรำลึก สวิฟต์กล่าวว่าเธอได้พัฒนาระดับความเป็นส่วนตัว และในฐานะนักแต่งเพลง กล่าวว่าเธอแสดงอารมณ์แตกต่างไปนับตั้งแต่เพลง "พิกเชอร์ทูเบิร์น" เพลงถูกเลือกเป็นซิงเกิลจากปฏิกิริยาของแฟนเพลงในคอนเสิร์ต ด้านดนตรี เพลงเป็นแนวคันทรีร็อก ใช้เครื่องดนตรีเป็นกีตาร์ แบนโจ และกลอง อย่างโดดเด่น เนื้อเพลงเกี่ยวข้องกับการจุดไฟเผาภาพถ่ายของคนรักเก่า

"พิกเชอร์ทูเบิร์น"
ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
จากอัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์
วางจำหน่าย4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 (2008-02-04)[1]
บันทึกเสียง2006; The Castles Studios-A, Sound Cottage, Sound Emporium
(Nashville, Tennessee)[2]
แนวเพลงคันทรีร็อก
ความยาว2:55
ค่ายเพลง
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์นาธาน แชปแมน
ลำดับซิงเกิลของเทย์เลอร์ สวิฟต์
"อาวเวอร์ซอง"
(2007)
"พิกเชอร์ทูเบิร์น"
(2008)
"ชูดัฟเซดโน"
(2008)
มิวสิกวิดีโอ
"พิกเชอร์ทูเบิร์น" ที่ยูทูบ

"พิกเชอร์ทูเบิร์น" ได้รับคำยกย่องจากนักวิจารณ์เพลงซึ่งสนับสนุนการส่งสารในแบบผู้หญิง ซิงเกิลประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ขึ้นอันดับที่ 28 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 และอันดับที่ 3 บนชาร์ตเพลงคันทรี เพลงได้รับการรับรองระดับทองคำขาวจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) และขายได้มากกว่า 1 ล้านยอดดาวน์โหลด ในประเทศแคนาดา เพลงติดห้าสิบอันดับแรกและได้รับการรับรองระดับทองคำ มิวสิกวิดีโอเพลง "พิกเชอร์ทูเบิร์น" กำกับโดยเทรย์ แฟนจอย และแสดงสวิฟต์จินตนาการถึงการแก้แค้นคนรักเก่า หลังจากเธอค้นพบว่าเขาอยู่กับผู้หญิงอีกคน วิดีโอยังมีสวิฟต์และวงดนตรีของเธอแสดงโดยมีพื้นหลังเป็นการแสดงดอกไม้ไฟหรือไพโรเทคนิคส์ (pyrotechnics) สวิฟต์ส่งเสริมเพลง "พิกเชอร์ทูเบิร์น" ผ่านการแสดงสด รวมถึงการแสดงเปิดคอนเสิร์ตให้นักร้องแนวคันทรีคนอื่น เพลงยังถูกนำไปเล่นในทัวร์คอนเสิร์ต เฟียร์เลสทัวร์ (2009–10) ด้วย

เบื้องหลัง

แก้

"พิกเชอร์ทูเบิร์น" มีแรงบันดาลใจจากคนรักหนุ่มสมัยเรียนไฮสกูล ปัจจุบันเป็นนักดับเพลิง[4] จอร์แดน อัลฟอร์ด ซึ่งสวิฟต์ไม่เคยมีความสัมพันธ์รักใคร่อย่างเป็นทางการ เธอเป็นเพื่อนร่วมห้องกับเขาที่เฮนเดอร์สันวิลล์ไฮสกูล ในรัฐเทนเนสซี และพวกเขาเคยคบหากัน ก่อนที่เขาจะคบกับเชลซี เพื่อนร่วมห้องที่ปัจจุบันกลายเป็นภรรยาของเขา "พวกเขาคบกันในปีแรก แต่หลังจากนั้น เป็นไปตามสูตรของผู้หญิงแล้ว เมื่อคุณคบกับคนรักเก่าแล้ว คุณจะไม่ใช่เพื่อนกันอีก พิกเชอร์ทูเบิร์นเกิดขึ้นเพื่อเขา เพราะเขามีรถบรรทุกเก่า ๆ คันให่ญ่ และของเก่า ๆ อยู่ตลอดเวลา" เทย์เลอร์ สวิฟต์กล่าว[5] เธอรู้สึกท้อแท้เนื่องจากนิสัยบ่อยครั้งหลงตัวเองและหยิ่งยโสของเขาบ่อยครั้ง และตัดสินใจเขียนเพลงเกี่ยวกับความรู้สึกที่เธอมีต่อคนรักของเขาหลังเลิกกิจกรรมที่โรงเรียน โดยเขียนเพลงส่งให้สังกัดโซนีมิวสิก/เอทีวีมิวสิก[6] สวิฟต์แต่งเพลงด้วยกีตาร์ร่วมกับลิซ โรส และใส่มุขตลกลงไปในเพลง (เป็นความคิดของสวิฟต์) สวิฟต์พบว่าเธอนั่งเล่นกีตาร์อยู่ และพูดว่า "ฉันเกลียดรถบรรทุกคันนี้ที่เขาไม่ให้ฉันขับ เขาเป็นคนใจแคบ คุณพระช่วย" บรรทัดนี้สุดท้ายแล้วได้ถูกปรับเปลี่ยนแล้วนำใส่ในเพลงด้วย[6] สวิฟต์กล่าวว่ามันฟังดูซื่อสัตย์อย่างร้ายกาจ[7] และอ้างว่าเป็นตัวอย่างของการแสดงความรู้สึกเมื่อคนคนหนึ่งหักอกเธอ ทำร้ายจิตใจเธอ หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อเธอ[8] ยิ่งไปกว่านั้น เธอกล่าวว่า "พิกเชอร์ทูเบิร์น" เป็นเพลงเดียวจากอัลบั้มเทย์เลอร์ สวิฟต์ที่ขับออกมาจากความโกรธ[7] เป็นประเด็นที่เธอรู้สึกว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่จะระบุชัดเจนได้ "มันโอเคถ้าจะโกรธหลังเลิกราหรือหลังความสัมพันธ์มีบางอย่างผิดปกติ" สวิฟต์กล่าว[7] ใจความจากเพลง "พิกเชอร์ทูเบิร์น" ไม่ได้บ่งบอกชัดเจนว่ามีแรงบันดาลใจมาจากเขา[6] เพลงถูกเลือกให้เป็นซิงเกิลโดยสังเกตจากปฏิกิริยาในคอนเสิร์ต สวิฟต์จำได้ว่า แม้ว่า "ทิม แม็กกรอว์" (2006) เป็นแค่ซิงเกิลเดียวของเธอในขณะที่เธอเริ่มเล่นเปิดคอนเสิร์ตให้วงแรสคอลแฟลตส์ ในทัวร์ชื่อมีแอนด์มายแกงทัวร์ "พิกเชอร์ทูเบิร์น" เป็นการแสดงที่คนดูรู้สึกตื่นเต้นมากที่สุด โดยที่ส่วนมากร้องตะโกนตาม "อย่างสุดปอด" (at the top of their lungs)[9]

หากนึกย้อนกลับไป สวิฟต์กล่าวว่า เพลงนี้เป็นเพลงธรรมดาที่กล่าวถึงช่วงชีวิตในวัยรุ่นและแสดงให้เห็นกระบวนการจัดการอารมณ์ของเธอในขณะนั้น เธอเสริมว่า "ฉันไม่รู้เรื่องอะไรเลยในขณะนั้น"[10] เธออธิบายว่า "ฉันตั้งชื่อให้เพลงนี้ว่า 'พิกเชอร์ทูเบิร์น' ที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับ 'ฉันเกลียดรถบรรทุกของคุณเพียงใด' และ 'ฉันเกลียดที่คุณเมินฉันเพียงใด' 'ฉันเกลียดคุณ' ตอนนี้ สิ่งที่ฉันอยากจะพูด และการที่ฉันรู้สึกถึงความเจ็บปวดนั้น มันแตกต่างกันมาก"[10] แม้ว่าเธอพัฒนาระดับความเป็นส่วนตัวและการเป็นนักแต่งเพลงแล้ว เธอไม่รู้สึกเสียใจกับเพลง "พิกเชอร์ทูเบิร์น" แต่กลับมีความสุข จนเธอสามารถบอกได้ว่า "อารมณ์ที่คุณมีเมื่อคุณโกรธ คุณเกลียดทุกสิ่งทุกอย่าง มันเหมือนคุณบันทึกอนุทินเป็นเวลาหลายปี และนั่นเป็นพรสวรรค์" เธอกล่าว[10]

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  2. Taylor Swift (CD). Taylor Swift. Big Machine Records. 2006. BMR120702.{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  3. http://www.fmqb.com/Article.asp?id=69239#2008
  4. "I Stole Taylor Swift's Boyfriend". National Enquirer. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
  5. Andy Tillet (December 23, 2014). "EXCLUSIVE: The high school boyfriend who left Taylor Swift for her close pal... and inspired one of the star's most bitter songs". Dail Mail. สืบค้นเมื่อ December 23, 2014.
  6. 6.0 6.1 6.2 Swift, Taylor (February 12, 2007). "Ask the Artist: Detective Swift, at Your Service". Great American Country. Scripps Networks Interactive. {{cite web}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 Douglas, Laura (March 18, 2008). "Taylor Swift Fans the Flames on "Picture to Burn"". CMT News. Viacom. สืบค้นเมื่อ August 13, 2011.
  8. Swift, Taylor. "My Albums – Taylor Swift – Picture to Burn". Taylorswift.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ August 14, 2011.
  9. "On the Set Behind the Scenes 'Picture to Burn'". Taylor Swift: On the Set. 22:06 นาที. Great American Country. {{cite episode}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 Vena, Jocelyn; Sway Calloway (May 27, 2011). "Taylor Swift Explains How Her Songwriting Has Grown". MTV News. Viacom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-03. สืบค้นเมื่อ August 14, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้