พีพีทีวี
พีพีทีวี (อังกฤษ: PPTV) เป็นช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ ความละเอียดสูง โดยมี บริษัท บางกอกมีเดียแอนด์บรอดคาสติง จำกัด ซึ่งมีผู้บริหารสูงสุดคือ ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของกิจการสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ และเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นผู้รับใบอนุญาต[1] สำหรับเนื้อหา เน้นการนำเสนอละครชุดจากเกาหลีใต้ รวมถึงรายการจากแถบเอเชียตะวันออกเป็นสำคัญ
ประเทศ | ![]() |
---|---|
พื้นที่แพร่ภาพ | ภายใน ![]() |
เครือข่าย | ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ |
คำขวัญ | World Class TV ทีวีโลกอนาคต |
สำนักงานใหญ่ | 5 ซอยวิภาวดีรังสิต 20 (ทรงสะอาด) ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 1080i (16:9 ภาพคมชัดสูง) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ บริษัท บางกอกมีเดียแอนด์บรอดคาสติง จำกัด |
บุคลากรหลัก |
|
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | ระบบดาวเทียม: 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556 (7 ปี) ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน: 7 เมษายน พ.ศ. 2557 (6 ปี) ระบบดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล: 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (5 ปี) |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
ออกอากาศ | |
ภาคพื้นดิน | |
ดิจิทัล | ช่อง 36 (มักซ์#5 : ททบ.) |
เคเบิลทีวี | |
ช่อง 36 | |
ทีวีดาวเทียม | |
ไทยคม 6 C-Band | 4080 H 30000 |
ไทยคม 8 KU-Band | 11680 H 30000 |
ทรูวิชั่นส์ | ช่อง 36 |
สื่อสตรีมมิง | |
PPtvTh | ชมรายการสด |
ประวัติแก้ไข
บริษัท บางกอกมีเดียแอนด์บรอดคาสติง จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งด้วยทุน 100 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556 เพื่อเป็นผู้ดำเนินกิจการช่องโทรทัศน์ชื่อ BMB (เป็นการชั่วคราว) หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "พีพีทีวี" พร้อมทั้งผลิตรายการโทรทัศน์ ประเภทข่าว สาระและบันเทิงต่างๆ โดยระยะแรกแพร่ภาพผ่านดาวเทียมระบบ ซี-แบนด์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน ต่อมาชนะการประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ ความละเอียดสูง ทางช่องหมายเลข 36 ภายใต้มูลค่า 3,460 ล้านบาท เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ปีดังกล่าว จากนั้นจึงเริ่มออกอากาศผ่านช่องทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557
โลโก้ในอดีตแก้ไข
อัตลักษณ์แก้ไข
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เดิมก่อนออกอากาศในโทรทัศน์ระบบดิจิทัล อัตลักษณ์มีหลากสี เป็นลักษณะ วงกลมสองวง และขีด ประกอบเป็น P สองตัว และอักษร TV ในวงกลมขวา ต่อมาเมื่อเริ่มทดลองออกอากาศในระบบดิจิทัล จึงเปลี่ยนเป็นกรอบสีฟ้าเทอร์ควอยต์ และพื้นสีเทาดำต่อท้ายด้วยอักษรภาษาอังกฤษ "HD" ในบางโอกาสจะใส่เลขช่อง 36 เข้าไปข้างหน้าของอัตลักษณ์ด้วย (นับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หลัง กสทช. มีประกาศให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมเรียงช่องโทรทัศน์ดิจิทัลเป็นลำดับที่ 1-36 พีพีทีวีนำสี่เหลี่ยมมุมป้านสีฟ้าเทอร์ควอยต์ ระบุหมายเลข 36 ซึ่งเป็นลำดับการออกอากาศบนโทรทัศน์ดิจิทัล มาประกบกับสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงบนหน้าจอ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ชมรับทราบ) หรือบางครั้งจะมีกรอบสีฟ้ามีตัวอักษร P 2 ตัว อยู่บนสุด สังเกตได้จากบนหน้าไมโครโฟนข่าว
รูปแบบรายการแก้ไข
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
พีพีทีวีกำหนดสัดส่วนผังรายการออกเป็น ข่าว 25%, บันเทิง 30%, ละคร 35%, กีฬาและอื่น ๆ 10% โดยสร้างความแตกต่างด้วยเนื้อหารายการที่โดดเด่น มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายคนกรุงเทพ และหัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ[2] ผสมผสานกับรายการจากต่างประเทศ[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเกาหลีใต้ ร่วมกับรายการจากผู้ผลิตชาวไทย
ทั้งนี้ พีพีทีวีได้วางตำแหน่งทางการตลาดให้เป็น "สถานี Premium Mass" คือเป็นสถานีที่ทำให้ผู้ชมเข้าถึงเนื้อหาคุณภาพมาตรฐานสูงได้ง่าย[4] นอกจากนี้ พีพีทีวียังร่วมกับโรงพยาบาลในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และตามหัวเมืองต่างๆ อาทิ หัวหิน เชียงใหม่ พัทยา เป็นต้น เพื่อเป็นช่องทางใหม่ของการนำเสนอเนื้อหารายการ นอกจากนี้ พีพีทีวียังใช้การสื่อสารในทุกมิติ ภายใต้คำขวัญ “3 On” คือ On-Air, On-Ground และ Online
สถานที่ออกอากาศแก้ไข
ในช่วงการออกอากาศสมัยเป็นสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี ผ่านระบบดาวเทียม โดยใช้สตูดิโอและออกอากาศที่อาคารเกษมทรัพย์ ถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามอาคารที่ทำการของบางกอกแอร์เวย์ส จากนั้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 พีพีทีวีได้เปิดสตูดิโอชั่วคราวที่อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์ 2 ซอยสุขุมวิท 19 โดยใช้พร้อมกับสตูดิโอ ระหว่างที่กำลังมีการจัดสร้างอาคารสำนักงานใหญ่บริเวณซอยทรงสะอาด เพื่อใช้ทั้งเป็นสตูดิโอถ่ายทำ ผลิตรายการ และออกอากาศ และเมื่อมีการสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ที่ซอยทรงสะอาดเสร็จแล้ว ได้มีการทำพิธีเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ของพีพีทีวีอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 หลังจากนั้นสถานที่ออกอากาศเดิมของช่องทั้ง 2 แห่งก็ได้ย้ายมารวมกันที่อาคารสำนักงานใหญ่บริเวณซอยทรงสะอาด เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวแก้ไข
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีตแก้ไข
- บรรจง ชีวมงคลกานต์ (ปัจจุบันอยู่ช่องเวิร์คพอยท์)
- ชาญชัย กายสิทธิ์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- ปราย ธนาอัมพุช (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- มนัส ตั้งสุข (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- กวีพันธุ์ มนตรีวงศ์ (ปัจจุบันอยู่TPTV)
- จิรายุ จูฑะพุทธ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- ณิศิรา โพธิสาโร (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- นิลลยา ตรีวรวัฒน์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- เวนไตย ไชยวงศ์ (ปัจจุบันยุติบทบาททำหน้าที่แล้ว)
- วิจิตรา ดวงดี (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- ชญาณ์ทิพย์ โลจนะโกสินทร์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- ปิ่นเพชร ลิ้มซ้าย (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร (ปัจจุบันอยู่ ทีเอ็นเอ็น 16)
- รวิฌา ทังสุบุตร (ปัจจุบันอยู่ ทีเอ็นเอ็น 16)
- กาลเวลา เสาเรือน (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- หัสสยา อิสริยะเสรีกุล (ปัจจุบันอยู่ALTV)
- ปารินทร์ เจือสุวรรณ์ (ปัจจุบันอยู่ ทีเอ็นเอ็น 16 และ NBT)
- อรรณนพ หมั่นพูล (ปัจจุบันอยู่Mono 29)
- ชัยยุทธ กิติชัยวัฒน์ (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- สุผจญ กลิ่นสุวรรณ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรสังกัดอิสระ)
- อาลิซาเบธ แซ๊ดเลอร์ ลีนานุไชย (ปัจจุบันยุติบทบาทหน้าที่แล้ว)
- ประภาพร เชาวนาศิริ (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2563)
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ หมอปราเสริฐปั้นพีพีทีวีลุยช่องดิจิทัล.html 'หมอปราเสริฐ'ปั้น'พีพีทีวี'ลุยช่องดิจิทัล
- ↑ ผงาดไฮเดฟช่อง36 เน้นรายการพรีเมียม เจาะคนกรุง-หัวเมือง
- ↑ ใช้เนื้อหาใหม่ดึงกลุ่มผู้ชม ช่อง PPTV HD ประกาศทดลองออกอากาศทีวีดิจิทัล 7 เม.ย. นี้ ถือฤกษ์ดีเวลา 03.36น. เน้นคอนเทนต์หวังเข้าถึงกลุ่มผู้รับชม
- ↑ “พีพีทีวี” ทุ่ม 2 พันล้านลุย ดัมป์โฆษณา 50% สู้ดิจิตอลทีวี