วงศ์ปลาหูช้าง

(เปลี่ยนทางจาก Ephippidae)
วงศ์ปลาหูช้าง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน-ปัจจุบัน
ปลาหูช้างกลม (Platax orbicularis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Acanthuroidei
วงศ์: Ephippidae
สกุล
ชื่อพ้อง
  • Ephippididae
  • Platacidae
  • Rhinoprenidae

วงศ์ปลาหูช้าง หรือ วงศ์ปลาค้างคาว หรือ วงศ์ปลาคลุด (อังกฤษ: Batfish, Spadefish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ephippidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes)

มีลักษณะทั่วไป ลำตัวแบนทรงกลมหรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านข้างลำตัวแบนข้างมาก เกล็ดมีขนาดเล็กหรือปานกลางเป็นแบบสาก หัวมีขนาดเล็ก ปากมีขนาดเล็ก ยืดหดไม่ได้ อาจมีครีบสันหลังหรือไม่มีก็ได้ ครีบหูสั้นและกลม กระดูกซับออคิวลาร์ เชลฟ์ กว้างหรือแคบ ครีบหางมีทั้งแบบกลมและแยกเป็นแฉก[1]

เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น พบทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 70 เซนติเมตร โดยจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงหรือเป็นคู่

ลูกปลาวัยอ่อนจะเลี้ยงตัวในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืด เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน โดยมีสีสันแตกต่างจากปลาวัยโต และมีครีบต่าง ๆ ยาวกว่าด้วย เพื่อตบตาสัตว์นักล่าขนาดใหญ่กว่า

นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาในแถบแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบ 2 ชนิด คือ ปลาหูช้างยาว (Platax teira) และปลาหูช้างกลม (P. orbicularis)

โดยปกติแล้วจะไม่ถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ก็ใช้รับประทานกันได้ และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด[2]

ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้ทั้งหมด 8 สกุล (ดูในตาราง) ราว 18 ชนิด[3]

รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ["Family Ephippidae (ไทย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-16. สืบค้นเมื่อ 2012-03-03. Family Ephippidae (ไทย)]
  2. ปลาเพาะพันธุ์ปลาหูช้าง
  3. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้