ตัวอ่อน (อังกฤษ: larva) เป็นระยะที่ยังเจริญไม่เต็มวัยระยะหนึ่งของสัตว์ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการเมตามอร์โฟซิสก่อนเป็นตัวเต็มวัย สัตว์ที่มีพัฒนาการแบบอ้อม (indirect development) เช่น แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือไนดาเรียนมักมีระยะตัวอ่อนอยู่ในวงจรชีวิตด้วย

ภาพขยายของตัวอ่อน Proserpinus proserpina

ลักษณะของตัวอ่อนมักจะต่างจากตัวเต็มวัยมาก (ดังเช่นหนอนผีเสื้อกับผีเสื้อ) อีกทั้งมีโครงสร้างและอวัยวะที่ต่างออกไป ซึ่งไม่ปรากฏในตัวเต็มวัย อาหารการกินก็อาจต่างกันด้วย

ตัวอ่อนมักมีการปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต่างจากของตัวเต็มวัย ตัวอ่อนบางชนิดเช่นลูกอ๊อดอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำแทบจะตลอด แต่สามารถอาศัยอยู่นอกแหล่งน้ำได้เมื่อเจริญเป็นกบตัวเต็มวัย ตัวอ่อนจะได้รับที่หลบภัยจากผู้ล่าและลดการแข่งขันแย่งทรัพยากรกับประชากรตัวเต็มวัย จากการที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน[1][2]

สัตว์ในระยะตัวอ่อนจะกินอาหารเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ตัวเต็มวัย สิ่งมีชีวิตบางชนิดเช่นโพลีคีตและเพรียงมีตัวเต็มวัยที่ไม่สามารถเคลื่อนที่แต่มีตัวอ่อนที่เคลื่อนที่ได้ และใช้ระยะตัวอ่อนเพื่อแพร่กระจายตัว

ตัวอ่อนบางชนิดต้องอาศัยตัวเต็มวัยคอยป้อนอาหารให้ แมลงพวก Hymenoptera ที่มีกลุ่มสังคมแท้หลายชนิดมีตัวอ่อนที่ตัวเมียวรรณะคนงาน (worker) คอยป้อนอาหารให้ ต่อกระดาษ (Ropalidia marginata) ตัวผู้สามารถทำหน้าที่ป้อนอาหารตัวอ่อนได้แต่ประสิทธิภาพด้อยกว่า โดยใช้เวลามากกว่าในการให้อาหารแต่ตัวอ่อนกลับได้อาหารปริมาณน้อยกว่า[3]

อ้างอิง แก้

  1. Qian, Pei-Yuan (1999), "Larval settlement of polychaetes", Reproductive Strategies and Developmental Patterns in Annelids, Dordrecht: Springer Netherlands, pp. 239–253, doi:10.1007/978-94-017-2887-4_14, ISBN 978-90-481-5340-4
  2. Chen, Zhang-Fan; Zhang, Huoming; Wang, Hao; Matsumura, Kiyotaka; Wong, Yue Him; Ravasi, Timothy; Qian, Pei-Yuan (2014-02-13). "Quantitative Proteomics Study of Larval Settlement in the Barnacle Balanus amphitrite". PLOS ONE (ภาษาอังกฤษ). 9 (2): e88744. Bibcode:2014PLoSO...988744C. doi:10.1371/journal.pone.0088744. ISSN 1932-6203. PMC 3923807. PMID 24551147.
  3. Sen, R; Gadagkar, R (2006). "Males of the social wasp Ropalidia marginata can feed larvae, given an opportunity". Animal Behaviour. 71 (2): 345–350. doi:10.1016/j.anbehav.2005.04.022. S2CID 39848913.