สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

(เปลี่ยนทางจาก Endemic species)

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว (อังกฤษ: Endemic species, Endemism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ชนิดที่แพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก เช่น อาจจะพบตามระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น บนเกาะ, ยอดเขา, หน้าผาของภูเขาหินปูน, แอ่งพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัว ที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ[2]

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (Paphiopedilum sukhakulii) เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000–1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น[1]

ชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น เอาไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของตนเอง ไว้ว่า

ในพื้นที่ที่เท่ากัน สิ่งมีชีวิตบนเกาะมีความหลากหลายน้อยกว่าบนแผ่นดินใหญ่ แต่บนเกาะมีสิ่งมีชีวิตชนิดที่พบเฉพาะถิ่นมากกว่าบนแผ่นดินใหญ่[3]

ปัจจุบัน บริเวณพื้นผิวโลกทีพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูงมาก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 746,400 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นผิวโลกที่เป็นพื้นดินเท่านั้น และมีพืชเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่ถึงประมาณ 49,955 ชนิด หรือร้อยละ 20 ของพืชทั้งหมดที่พบในโลก และยังมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอีกอย่างน้อย 1,659 ชนิด หรือร้อยละ 15 ของสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในโลก ทั้งซีกโลกเก่า และซีกโลกใหม่ สถานที่ที่มีสัตว์เฉพาะถิ่นสูงในทวีปอเมริกาเหนือ 1 แห่ง, ทวีปอเมริกาใต้ 5 แห่ง, ทวีปแอฟริกา 4 แห่ง, ทวีปเอเชีย 6 แห่ง, ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 2 แห่ง เฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าดิบชื้นในฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวทางตอนเหนือ, เทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก, คาบสมุทรมลายู, เทือกเขาฆาฏตะวันตกในอินเดีย และศรีลังกาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้[4]

โดยที่ ๆ ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของตนเองสูงมาก จนได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ[5]

ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิด ใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นประมาณ 11,000 ชนิด ร้อยละ 30 เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร[2] ส่วนที่เป็นสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด 68 ชนิด[6], เป็นหอย 3 ชนิด, เป็นสัตว์จำพวกปูและกุ้งหรือกั้ง 5 ชนิด และเป็นนก 3 ชนิด[7]

ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

แก้

ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย

ชนิดที่พบได้ในต่างประเทศ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อบฉันท์ ไทยทอง, รศ. (2008). กล้วยไม้เมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ้านและสวน. pp. 42–43. ISBN 978-974-7751-79-6.
  2. 2.0 2.1 2.2 ธวัชชัย สันติสุข (2005). พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย (2 ed.). โครงการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้และสัตว์ป่า แบบบูรณาการเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ISBN 974-9623-79-7.
  3. "ตามรอยชาร์ล ดาร์วิน บนเกาะสีชัง". OKnation. พฤษภาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มิถุนายน 2022.
  4. วิณีนารถ พันธุ์วุฒิ, บ.ก. (1999). "บทนำ". สัตว์ถิ่นเดียวของประเทศไทย. คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 6. ISBN 974-7772-39-6.
  5. "Galápagos Islands". ยูเนสโก (ภาษาอังกฤษ).
  6. ชวลิต วิทยานนท์ (2004). คู่มือปลาน้ำจืด. p. 16. ISBN 974-484-148-6.
  7. Lepage, Denis, "Checklist of birds of Thailand", Bird Checklists of the World, Avibase, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2007, สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2007
  8. 8.0 8.1 8.2 กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์; ชวลิต วิทยานนท์ (ตุลาคม 2011). "ปลาน้ำจืดหายากที่สุด ๑๐ ชนิดของไทย". Aquarium Biz. Vol. 2 no. 16. p. 62. ISSN 1906-9243. EAN 9771906924509
  9. "หวั่น'พลับพลึงธาร'สูญพันธุ์จ่อคุ้มครอง จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2012.
  10. "พระราชทานชื่อดอกมะลิพันธุ์ใหม่โลก". เดลินิวส์. No. 23, 297. 26 กรกฎาคม 2013. pp. หน้า 1 ต่อหน้า 15.
  11. "เหลือเพียง 59 ตัว หนึ่งใน 10 ชนิดหายากที่สุดในโลก". ผู้จัดการออนไลน์. 15 เมษายน 2010.
  12. "ตื่นเต้น!! พบช้างน้อยตัวเท่าหนูกลางป่าแอฟริกา". ผู้จัดการออนไลน์. 31 มกราคม 2008.
  13. "Prionailurus bengalensis ssp. iriomotensis" (ภาษาอังกฤษ). IUCN.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้