แมวอิริโอโมเตะ
แมวอิริโอโมเตะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prionailurus bengalensis iriomotensis; อังกฤษ: Iriomote cat; ญี่ปุ่น: 西表山猫, อักษรโรมัน: Iriomote-yamaneko) เป็นแมวป่าขนาดพอกับแมวบ้าน ซึ่งอาศัยอยู่เฉพาะบนเกาะอิริโอโมเตะของญี่ปุ่น นักชีววิทยาหลายคนจัดว่าเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" เพราะไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากรูปร่างดั้งเดิมมากนัก แมวอิริโอโมเตะเป็นหนึ่งในสัตว์ของวงศ์เสือและแมว (Felidae) ที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก (บ้างจัดว่าเป็นชนิดย่อยของแมวดาว (P. bengalensis ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน) โดยมีจำนวนประชากรประเมินไว้น้อยกว่า 100 ตัว มีขนสีน้ำตาลเข้มและหางเป็นพวงดก และไม่สามารถหดเล็บเข้าได้[2]
แมวอิริโอโมเตะ | |
---|---|
ตัวอย่างสัตว์สตัฟฟ์ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โตเกียว | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ Carnivora |
อันดับย่อย: | เฟลิฟอเมีย Feliformia |
วงศ์: | เสือและแมว Felidae |
วงศ์ย่อย: | แมว Felinae |
สกุล: | สกุลแมวดาว Prionailurus |
สปีชีส์: | P. bengalensis |
สปีชีส์ย่อย: | P. b. iriomotensis |
Trinomial name | |
Prionailurus bengalensis iriomotensis (Imaizumi, 1967) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
นอกจากนี้แล้ว แมวอิริโอโมเตะยังรู้จักกันดีในภาษายาเอยามะว่า ยามามายา (ヤママヤー?, "แมวภูเขา"), ยามาปีกาเรีย (ヤマピカリャー?, "ภูเขาประกายตา") และ เมปีซูกาเรีย (メーピスカリャー?, "ประกายตา")[3][4]
แมวอิริโอโมเตะ หากินด้วยการจับสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร ตามพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าโกงกางบนเกาะอิริโอโมเตะได้มากถึง 70 ชนิด เป็นสัตว์ที่กินในเวลากลางคืน[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Izawa, M. & Doi T. (2015). "Prionailurus bengalensis ssp. iriomotensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2015: e.T18151A97215980.
- ↑ a description of the species as whole and its current state
- ↑ 今泉(1994), Pp.8–13, Pp. 144-147
- ↑ 戸川(1972), Pp.13–92
- ↑ Japan, "Mutant Planet". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 26 มกราคม 2556