โรงเรียนชลประทานวิทยา

โรงเรียนชลประทานวิทยา[2] เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี โดยมีกรมชลประทานเป็นเจ้าของ ตั้งอยู่เลขที่ 201 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 โรงเรียนชลประทานวิทยา มีเนื้อที่ประมาณ 56 ไร่ มีอาคารเรียน 10 หลังและอาคารเรียนประกอบล้อมรอบสนามฟุตบอล และสนามกรีฑา ผังของโรงเรียนท่านนั้นอาจารย์ประหยัด ไพทีกุล นำแบบอย่างมาจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

โรงเรียนชลประทานวิทยา
ตราประจำโรงเรียนชลประทานวิทยา
ที่ตั้ง
แผนที่


ประเทศไทย
พิกัด13°53′56″N 100°30′32″E / 13.89900°N 100.50896°E / 13.89900; 100.50896
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญศักดิ์ ศรี สามัคคี และพิริยะ
สถาปนา2 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (69 ปี 31 วัน)
ผู้ก่อตั้งหม่อมหลวงชูชาติ กำภู
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2
ผู้จัดการนายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์
ผู้อำนวยการดร.นิตยา เทพอรุณรัตน์
จำนวนนักเรียน6,480 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2562)[1]
ชั้นเรียนอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น (ม.4)
สี   ชมพู-น้ำเงิน
เพลงมาร์ชชลประทานวิทยา
สัญลักษณ์พระพิรุณทรงเมฆ
สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นชมพูพันธุ์ทิพย์
แผนการเรียนแผนการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ - ภาษา
ห้องเรียนพิเศษ สสวท
ห้องเรียนอากาศยาน

ห้องเรียนพิเศษ EMSP
เว็บไซต์http://www.cpw.ac.th

ปัจจุบันโรงเรียนชลประทานวิทยามีนักเรียน 6,482 คน ชาย 3,378 คน หญิง 3,104 คน มีครู 305 คน มีห้องเรียนทั้งหมด 138 ห้องในปีการศึกษา 2551 และเพิ่มขึ้นเป็น 141 ในปีการศึกษา 2557 โดยโรงเรียนทำการสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดสอนดังนี้

  • แผนการเรียนที่ 1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนที่ 2 แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียนที่ 3 แผนการเรียนตามแนวทางสสวท
  • แผนการเรียนที่ 4 แผนการเรียน โครงการส่งเสริมศักยภาพภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (EMSP)
  • แผนการเรียนที่ 5 แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
  • แผนการเรียนที่ 6 แผนการเรียนอุตสาหกรรมการ

ปีการศึกษา 2561 นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เป็นผู้จัดการ และดร.นิตยา เทพอรุณรัตน์ เป็นผู้อำนวยการ

โรงเรียนชลประทานวิทยาประกอบด้วยอาคารเรียนที่ทันสมัย และมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่พร้อมสำหรับการเรียนการสอนภายในห้องเรียน และยังมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการเคมี ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการชีววิทยา และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีการรักษาความปลอดภัยจากกล้อง CCTV ทั่วโรงเรียน มีความร่มรื่น น่าอยู่ น่าเรียน และปลอดภัย ดังวิสัยทัศน์ของโรงเรียนชลประทานวิทยา

ประวัติ

แก้

โรงเรียนชล

ประทานวิทยาเปิดสอนวันแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2498[2] โดยดำริของหม่อมหลวงชูชาติ กำภู อดีตอธิบดีกรมชลประทาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เนื่องจากในขณะนั้น กรมชลประทานกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ที่จังหวัดชัยนาท และมีโครงการที่จะก่อสร้างเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตาก ในการนี้จะต้องมีการย้ายหน่วยงานบางหน่วยงานของกรมชลประทานจากสามเสนมาอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด ทำให้ข้าราชการต้องย้ายสถานที่ทำงาน ท่านหม่อมหลวงชูชาติ กำภู มีความห่วงใยในเรื่องสถานศึกษาของบุตรหลานข้าราชการกรมชลประทาน จึงให้ท่านอาจารย์ประหยัด ไพทีกุล หัวหน้าแผนกอาณาบาลกรมชลประทานในขณะนั้น ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 การจัดตั้งโรงเรียนนั้นเต็มไปด้วยปัญหา เพราะเวลานั้นโรงเรียนต่าง ๆ ได้เปิดภาคเรียนของปีการศึกษา 2498 ไปแล้วถึง 4 วัน (เปิดเรียนวันที่ 16 พฤษภาคม) และการจัดตั้งโรงเรียนต้องขออนุญาตภายในเดือนกุมภาพันธ์ โดยให้อาจารย์ประหยัด ไพทีกุลเป็นผู้จัดการโรงเรียน และอาจารย์โกศล ภาสวณิช เป็นอาจารย์ใหญ่

รายละเอียดของอาคารเรียนในโรงเรียน[3]

แก้
ไฟล์:ตึกชูชาติวิทโยทัย.jpg
ตึกชูชาติวิทโยทัย หรืออาคาร 1
  • อาคาร 1 อาคารชูชาติวิทโยทัย เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501 อาคารนี้เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถม 6 แต่ในปีการศึกษา 2550 ได้เปลี่ยนห้องเรียนบางส่วนเป็นของชั้นประถม 3 และมีห้องพยาบาลและงานอนามัย อยู่ที่ชั้นแรก และมีห้องวิชาการ ห้องอาจารย์ใหญ่อยู่ชั้นบน รวมถึงห้องเรียนชั้นประถม 6 อีก 6 ห้อง ในปัจจุบันเป็นอาคารบัญชาการ มีห้องของฝ่ายต่างๆและห้องผู้บริหาร และตึกนี้เป็นตึกของมัธยมและฝ่ายผู้บริหาร
  • อาคาร 2 อาคารชูชาติ อนุสรณ์ เป็นอาคารเรียน 2 ชั้น สร้างเมื่อง พ.ศ. 2521 ปัจจุบันเป็นอาคารเรียนของชั้นประถม 6 เป็นส่วนใหญ่ และข้างๆอาคารนี้ก็จะเป็นโรงอาหาร 2 ไว้ให้นักเรียนมาซื้ออาหารรับประทานตอนกลางวันและก่อนกลับบ้าน
  • อาคาร 3 อาคารประหยัด ไพทีกุล เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยชั้นล่างสุดเป็นโรงอาหาร ชั้นที่ 2 เป็นห้องเรียนของชั้นประถม 2 และชั้น 3 เป็นห้องเรียนของชั้นประถม 3 ส่วนบริเวณด้านหน้าเป็นลานอเนกประสงค์ สำรหับจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
  • อาคาร 4 อาคารชลประทานสามัคคี เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 เป็นอาคารเรียนของระดับชั้นประถม 4 และ 5 เดิมชั้นมัธยมปลายก็เรียนอยู่ที่อาคารนี้ด้วย แต่ได้มีการย้ายไปเรียนที่อาคาร 100 ปี ชูชาติอนุสรณ์ ในอาคารนี้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 5 อยู่ที่ชั้น 2
  • อาคาร 5 อาคารอนุบาล เป็นอาคาร2 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2532 เป็นอาคารสำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัย ตั้งแต่อนุบาล 1 ถึง อนุบาล 3 และด้านหน้าอาคารมีลานสำหรับทำกิจกรรมนันทนาการตอนเช้า และมีเครื่องเล่นสนามสำหรับนักเรียนอนุบาล
  • อาคาร 6 อาคาร 11 ห้อง เป็นอาคารชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นอาคารเรียนสำหรับชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2
  • อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ เป็นอาคารชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ของโรงเรียน และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 อยู่บริเวณด้านหน้า อาคารชูชาติวิทโยทัย (อาคาร 1)
  • อาคาร 7 อาคาร 3 ห้อง เป็นอาคารประกอบชั้นเดียว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 เป็นห้องดนตรี ห้องนาฏศิลป์ ห้องสุขศึกษา
  • อาคาร 8 เป็นอาคาร 24 ห้อง มี 2 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 ใช้เป็นห้องเรียนของชั้นประถม 1 และ 2 และมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 - 4
  • อาคาร 40 ปี ช.ป.ว. เป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2542 มีห้องสมุดอยู่ที่ชั้น 1 และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ชั้น 2 โดยมีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 3 ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ และห้องปฏิบัติการทางเคมี
  • อาคารเสื่อรำแพน เป็นอาคารชั้นเดียว ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2546 ในอดีตเคยเป็นอาคารเก่าแก่ทรุดโทรม เมื่อได้ปรับปรุงใหม่ อาคารนี้เป็นส่วนของครูและเป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2บางส่วน และยังมีห้องเรียนสำหรับวิชาการงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมต้น
  • อาคารประกอบ (อาคารดนตรี ศิลปะ และจริยธรรม) ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2550 เป็นอาคารประกอบ สำหรับการเรียนการสอนในวิชาดนตรีไทย - สากล นาฏศิลป์ ศิลปะ และจริยธรรมในช่วงชั้นที่ 1 - 2
  • อาคาร 50 ปี ช.ป.ว. เริ่มสร้างประมาณปีการศึกษา 2547 และเปิดใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นอาคาร 2 ชั้น เป็นอาคารของนักเรียนในหลักสูตร English Program ด้านหน้าเป็นสนามบาสเก็ตบอล ถัดมาอีกเล็กน้อยคือสำนักปกครอง อาคารปกครองเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
  • อาคาร 100 ปี ชูชาติอนุสรณ์ เป็นอาคาร เรียน 6 ชั้น เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ประมาณปีการศึกษา 2548 และเปิดใช้อาคารครั้งแรกในปีการศึกษา 2550 ในปีการศึกษา 2551 อาคารนี้ใช้ในการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในบางห้องและในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด โดยมีห้องพักครูบริเวณโถงลิฟท์โดยสาร มีหอประชุมและเวทีที่ชั้นล่าง ห้องปฏิบัติการทางภาษาของช่วงชั้นที่ 3 - 4 หน้าอาคารเป็นสนามบาสเก็ตบอล 2 สนาม สนามวอลเลย์บอล 2 สนาม สนามแบทมินตัน 2 สนาม สนามตะกร้อ 2 สนามและสนามฟุตซอลอีก 1 สนาม ด้านหลังอาคารเป็นลานจอดรถ โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาและปรับปรุงอาคารนี้ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้มากที่สุด
  • หอประชุม 60 ปี ชูชาติกำภู เป็นอาคาร4ชั้น ชั้นแรกเป็นชั้นโถงใช้สำหรับประกอบการเรียนนอกสถานที่หรือทำกิจกรรม ปกติสามารถมานั่งพักผ่อนได้ ชั้นที่ 2 ประกอบด้วยห้องสมุดและมีห้องคอมพิวเตอร์ทางซ้ายและขวา ชั้นที่ 3 เป็นห้องประชุมใหญ่สำหรับจัดการประชุมหรือทำกิจกรรม ชั้นที่ 4 เป็นชั้นห้องเก็บของ อาคารนี้มีทางเดินลอยฟ้า ต่อกับ อาคารที่จอดรถ
  • อาคาร 12 (ที่จอดรถ) มีไว้สำหรับจอดรถคุณครู มีทางเดินลอยฟ้าต่อกับอาคาร 100 ปี
  • อาคาร Hangar 99 อาคารสำหรับการเรียนการสอนของนักเรียนในห้องเรียนพิเศษอากาศยานซึ่งมีเครื่องบินและ Model เครื่องบิน
  • อาคาร English program

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

การแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานวิทยา

แก้

การแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนชลประทานวิทยาเริ่มดำเนินการครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2539 ได้รับการสนับสนุนการจัดการแข่งขันโดย อาจารย์ ไพจิตร เสงี่ยมลักษณ์ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนชลประทานวิทยาในขณะนั้น

  • รูปแบบการแข่งขันนั้นใช้ระบบแบ่งสายการแข่งขันเป็น สาย A และสาย B โดยในแต่ละสายแข่งขันพบกันหมดนำทีมอันดับ 1 และ 2 ของแต่ละสายมาไขว้ตัดเชือกพบกันในรอบ 4 ทีม ทีมผู้ชนะของแต่ละแมชต์ผ่านเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศผู้แพ้เข้าชิงอันดับ 3 ซึ่งครั้งแรกที่จัดการแข่งขันนั้นมีทีมเข้าร่วม 10 ทีม สมาชิกผู้เล่นในทีมต้องศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - มัธยมศึกษาปีที่ 6
  • ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานครั้งที่ 1 (ปี 2539) อันดับ 1 ทีมคิงเธอมายอย (มัธยมศึกษาปีที่ 6) อันดับ 2 อันดับ 3 อันดับ 4 ทีมโชว์ห่วย (มัธยมศึกษาปีที่ 3)
  • ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานครั้งที่ 2 (ปี 2540) อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3 อันดับ 4
  • ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานครั้งที่ 3 (ปี 2541) อันดับ 1 อันดับ 2 อันดับ 3 อันดับ 4 ทีมหนุ่มทิพย์ (มัธยมศึกษาปีที่ 5)
  • ผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลภายในของนักเรียนโรงเรียนชลประทานครั้งที่ 4 (ปี 2542) อันดับ 1 อันดับ 2 ทีมแมลงวัลขยันยิง (มัธยมศึกษาปีที่ 6) อันดับ 3 อันดับ 4 ทีมม้าผยองคะนองสนาม (มัธยมศึกษาปีที่ 6)

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "จำนวนนักเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  2. 2.0 2.1 "ประวัติโรงเรียนชลประทานวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  3. "แผนผัง อาคารเรียน และสถานที่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้