โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง

โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า โรค LPR[1] (อังกฤษ: laryngopharyngeal reflux, LPR) หรือ โรคกรดไหลย้อนออกนอกหลอดอาหาร (อังกฤษ: extraesophageal reflux disease, EERD)[2] หรือ กรดไหลย้อนเงียบ (อังกฤษ: silent reflux)[3] หรือ กรดไหลย้อนออกเหนือหลอดอาหาร (อังกฤษ: supra-esophageal reflux)[4] เป็นการไหลย้อนของน้ำกรดน้ำย่อยของกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองขึ้นไปถึงกล่องเสียงและคอหอยโดยไปกระทบกับทางเดินอาหาร-ลมหายใจส่วนบน[1][5] ซึ่งเป็นเหตุของอาการต่าง ๆ เช่น ไอและหายใจเสียงหวีด[6] โดยบ่อยครั้งสัมพันธ์กับปัญหาอื่น ๆ ที่ศีรษะและคอ เช่น ออกเสียงลำบาก เหมือนมีก้อนในลำคอ กลืนลำบาก[7] โรคอาจมีบทบาทในความผิดปกติอื่น ๆ รวมทั้งโพรงอากาศอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, เยื่อจมูกอักเสบ[7], กล่องเสียงอักเสบเหตุกรดไหลย้อน, ช่องหว่างสายเสียงตีบ, มะเร็งกล่องเสียง, แกรนูโลมากล่องเสียง, แผลเปื่อยกล่องเสียง, ปุ่มที่สายเสียง[5], กล่องเสียงกระตุก, การหยุดหายใจขณะหลับเหตุอุดกั้น (OSA), โรคหลอดลมพอง, และเยื่อจมูกและโพรงอากาศอักเสบ[8] โรคอาจเกิดร่วมกับโรคหืด[6]

ภาพระนาบแบ่งซ้ายขวาที่แสดงด้านหน้าของศีรษะและคอในมนุษย์ ในโรคกรดไหลย้อนขึ้นกล่องเสียงและคอหอย (LPR) ทั้งคอหอย (1) และกล่องเสียง (3) จะถูกกับกรดในกระเพาะที่ไหลย้อนขึ้นผ่านหลอดอาหาร (4)

ปัจจัยเสี่ยงของโรครวมทั้งเป็นโรคกรดไหลย้อนในหลอดอาหารแบบเรื้อรังหรือแบบมีแผล (ERD), มีเยื่อบุผิวเสี่ยงมะเร็งในหลอดอาหารแบบ Barrett's esophagus, กระเพาะอาหารเลื่อนผ่านกะบังลม (hiatus hernia), โรคหืด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การหยุดหายใจขณะหลับเหตุอุดกั้น (OSA), โรคอ้วน, การสูบบุหรี่, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้น[9] อาการเหนือหลอดอาหารมาจากทางเดินลมหายใจ-ทางเดินอาหารส่วนบนซึ่งถูกกับสิ่งที่ไหลย้อนมาจากกระเพาะอาหาร หรือเป็นการตอบสนองทางรีเฟล็กซ์เนื่องกับเส้นประสาทเวกัสที่จุดชนวนโดยกรดที่ถูกหลอดอาหาร[10] โดยสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารสามารถไหลย้อนขึ้นมาทางหลอดอาหารได้อาจเป็นเพราะหูรูดหลอดอาหารด้านล่างปิดได้ไม่ดี คือคลายตัวบ่อยเกิน บวกกับหูรูดหลอดอาหารด้านบนและหลอดอาหารที่บีบตัวอย่างบกพร่อง[11]

คนไข้โรคนี้อาจต้องทุกข์ทรมานอยู่กับโรคนานเพราะวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากอาการต่าง ๆ ของโรคอาจมีสมุฏฐานอื่น ๆ รวมทั้งการติดเชื้อ การใช้เสียงเกิน ภูมิแพ้ การสูบบุหรี่ การสูดสิ่งที่ทำให้ระคายเคือง การดื่มสุราจัด และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ไม่ใช่โรค[5] นอกจากการสอบอาการแล้ว แพทย์อาจวินิจฉัยโรคโดยการลองรักษาด้วยยา การส่องกล้อง และการวัดความเป็นกรดด่างของหลอดอาหาร แต่สิ่งที่พบด้วยวิธีการตรวจเหล่านี้ บ่อยครั้งไม่ชัดเจนพอให้กำหนดได้ว่า เป็นโรคนี้หรือเป็นโรคอื่น

การรักษาปกติคือให้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต การใช้ยายับยั้งการหลั่งกรด หรือบางครั้งการผ่าตัด การเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจรวมไม่นอนในระยะ 2-3 ชม. หลังทานอาหาร, ลดน้ำหนัก, เลี่ยงอาหารบางประเภท, เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่

โรครายงานว่า มีผลต่อประชากรสหรัฐและยุโรประหว่าง 7-30%[1] แพทย์หูคอจมูกตรวจคนไข้โรคนี้เพิ่มขึ้นถึง 500% ระหว่างปี 1990-2001 และเกิดกับบุคคลที่ออกเสียงลำบากถึง 50%[5][12] โรคที่ไม่ได้รักษาอาจเกิดอาการเรื้อรัง เกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจแย่ลง ทำให้ต้องไปหาแพทย์บ่อย ๆ ทำให้สังคมโดยรวมมีภาระค่าใช้จ่ายสูง และมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและบุคลิกภาพของคนไข้อย่างสำคัญ[1]

แม้ชื่อโรคอาจใช้โดยแลกเปลี่ยนกับโรคกรดไหลย้อน (GERD) แต่ก็มีลักษณะของโรค/พยาธิสรีรวิทยา ที่ต่างกัน[13]

อาการ แก้

อาการเหนือหลอดอาหารมาจากทางเดินลมหายใจ-ทางเดินอาหารส่วนบนซึ่งถูกกับสิ่งที่ไหลย้อนมาจากกระเพาะอาหาร หรือเป็นการตอบสนองทางรีเฟล็กซ์เนื่องกับเส้นประสาทเวกัสที่จุดชนวนโดยกรดที่ถูกหลอดอาหาร[10] โดยอาการที่สามัญที่สุดก็คือมีเสมหะหรือเมือกในลำคอมาก อาจต้องขับออกบ่อย ๆ, ไอ, เสียงแหบหรือเสียงเปลี่ยน และเหมือนมีอะไรติดค้างหรือจุกแน่นที่ลำคอ อาการอาจไม่เท่ากันทั้งวันโดยทั่วไปจะแย่สุดตอนเช้าและดีขึ้นต่อ ๆ มา[14] และอาจไม่เท่ากันในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น อาจเกิดเมื่อนั่ง ยืน เดิน มากกว่าเมื่อนอนราบ[15]

อาการอื่น ๆ อาจรวมทั้ง คอเจ็บ, กลืนลำบาก, แน่นท้องเหมือนอาหารไม่ย่อย, ไอเรื้อรัง, หายใจเป็นเสียงหวีด[16], แสบคอ แสบร้อนช่องปากหรือโคนลิ้นโดยเฉพาะในตอนเช้า, ไอหรือขับเสมหะบ่อย ๆ หลังทานอาหารหรือเอนตัวนอน, สำลักน้ำลายหรือหายใจลำบากตอนกลางคืน ซึ่งกวนการนอน, มีน้ำลายมาก, มีกลิ่นปาก, เรอเปรี้ยว, เรอขม, รู้สึกกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้น, แน่นกลางอก, และอาการโรคภูมิแพ้ที่โพรงจมูกหรือโรคหืดหอบแย่ลง[15] คนไข้บางคนจะรู้สึกแสบร้อนกลางอก แต่คนอื่น ๆ ก็แทบจะไม่มี เพราะสิ่งที่ไหลย้อนจากกระเพาะไม่อยู่ในหลอดอาหารเป็นเวลานานพอที่จะระคายเคืองเนื้อเยื่อรอบ ๆ[16] บุคคลที่มีอาการรุนแรงอาจมีเคลือบฟันกร่อน เนื่องจากมีกรดในปากเป็นบางครั้งบางคราว[17]

อนึ่ง โรคยังอจาทำให้ช่องเสียง (vocal tract) อักเสบซึ่งทำให้เสียงแหบ โดยเสียงแหบพิจารณาว่า เป็นอาการหลักของโรค และสัมพันธ์กับปัญหาความเหนื่อยล้าในการออกเสียง ตึงกระดูกและกล้ามเนื้อ และการกระแทกลมออกเสียง (hard glottal attack)[18] ซึ่งล้วนอาจทำให้สื่อสารได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ[19] คนไข้อาจพยายามชดเชยเสียงแหบโดยเกร็งกล้ามเนื้อในช่องเสียง การเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบเพราะโรคเช่นนี้ อาจนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า การออกเสียงลำบากเพราะกล้ามเนื้อตึง (muscle tension dysphonia) ซึ่งอาจคงสภาพแม้หลังจากเสียงแหบและการอักเสบได้หายไปแล้ว และอาจต้องอาศัยผู้บำบัดปัญหาทางการพูด-ภาษาเพื่อแก้ปัญหาการชดเชยที่มีผลเสียนี้[20]

ปัญหาการวินิจฉัยโรคนี้ก็คือ อาการต่าง ๆ ไม่จำเพาะพอที่จะกันว่า ไม่ใช่โรคอื่น ๆ งานวิจัยหลายงานพบสหสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างอาการของโรค สิ่งที่พบเมื่อส่องกล้องในกล่องเสียง และค่าวัดความเป็นกรดด่างใต้กล่องเสียง[21]

การสอบอาการแบบ RSI แก้

งานวิจัยปี 2002 ได้พัฒนาแบบสอบถามคนไข้ 9 คำถามที่สามารถทำเสร็จได้ภายใน 1 นาที โดยแต่ละคำถามจะตอบให้ค่าตั้งแต่ 0 (ไม่มีปัญหา) จนถึง 5 (ปัญหามากสุด) รวมค่าได้ทั้งหมด 45 คะแนน งานสรุปว่า ผลที่ได้จะคงเส้นคงวาและสมเหตุสมผลถ้าจัดค่าเกิน 13 ว่าเป็นโรค[22] โดยค่าเกิน 10 จัดว่า อาจเป็นโรค[23] ผู้พัฒนาเรียกแบบสอบถามนี้ว่า Reflux Symptom Index (RSI)

แบบบอกให้คนไข้กำหนดค่าที่อาการต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาในระดับ 0-5 ภายในเดือนที่ผ่านมา คือ[22]

  1. เสียงแหบหรือปัญหาการออกเสียงอื่น ๆ
  2. กระแอมขับเสมหะบ่อย ๆ
  3. มีเสมหะหรือเมือกในลำคอมาก
  4. มีปัญหากลืนของแข็ง ของเหลว หรือของที่เป็นเม็ด
  5. ไอหลังจากทานอาหารหรือเมื่อเอนนอน
  6. สำลักหรือหายใจลำบากเป็นครั้งเป็นคราว
  7. ไอย่างน่ารำคาญหรือรบกวนชีวิตประจำวัน
  8. เหมือนมีก้อนหรือสิ่งแปลกปลอมในคอ
  9. แสบร้อน แสบร้อนกลางอก เจ็บปวดหรือแน่นหน้าอก อาหารไม่ย่อย หรือมีกรดไหลย้อน

การส่งต่อหาแพทย์เฉพาะทาง แก้

อาการที่ทำให้ควรส่งต่อแพทย์เฉพาะทางโดยเร็วเพื่อส่องกล้องดูกล่องเสียงรวมทั้ง[24]

  • มีปัจจัยเสี่ยงอย่างสำคัญให้เกิดเนื้อร้ายที่ศีรษะและคอ (เช่น สูบบุหรี่หนัก/ดื่มเหล้า)
  • มีประวัติเนื้อร้ายที่ศีรษะและคอ
  • เสียงแหบอย่างต่อเนื่องที่เพิ่งเกิดสำหรับผู้สูบบุหรี่
  • น้ำหนักลดอย่างไม่มีสาเหตุ
  • การไอเป็นเลือด
  • อาการเป็นข้างเดียวในร่างกายอย่างมาก
  • เจ็บปวดมาก
  • อาการปวดหูแบบเกิดต่างที่
  • การกลืนลำบากแบบติดขวาง โดยเรอเปรี้ยวหรือไม่ก็ตาม

ภาวะแทรกซ้อน แก้

โรคอาจก่อภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งเสียงแหบ, เสียงเปลี่ยน, ไอเรื้อรัง, เพิ่มความเสี่ยงการเกิดการอักเสบเรื้อรังในโพรงจมูกและโพรงอากาศ, ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรดหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหยุดหายใจเหตุอุดกลั้น ให้แย่ลง, และดูเหมือนจะเพิ่มโอกาสเกิดเนื้องอกและมะเร็งที่กล่องเสียง[25]

อาการในเด็ก แก้

โรคนี้สามารถเป็นแบบเรื้อรังหรือแบบบางครั้งบางคราวในเด็ก[26] เด็กและทารกมักจะมีอาการโรคที่พิเศษ[27] อาการในเด็กรวมทั้งไอ, เสียงแหบ, หายใจเข้าเสียงฮื้ด (stridor), คอเจ็บ, โรคหืด, อาเจียน, เหมือนมีอะไรติดคอ, หายใจเสียงหวีด, สูดสิ่งต่าง ๆ (มีอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น) เข้าทางเดินลมหายใจ (aspiration), และปอดบวมซ้ำ ๆ[27] ส่วนอาการในทารกที่สามัญรวมทั้งหายใจมีเสียงหวีด, หายใจเข้าเสียงฮื้ด, ไอเรื้อรังหรือเป็นซ้ำ ๆ, การหยุดหายใจ, มีปัญหาการทาน, สูดสิ่งต่าง ๆ เข้าทางเดินลมหายใจ, การขย้อน, และน้ำหนักไม่สมวัย[27] อนึ่ง โรคในเด็กมักเกิดอย่างสามัญคู่กับความผิดปกติทางกล่องเสียงอื่น ๆ เช่น กล่องเสียงอ่อน (laryngomalacia) ช่องหว่างสายเสียงตีบ (subglottic stenosis) และเนื้องอกแบบพาพิลโลมาที่กล่องเสียง (laryngeal papillomatosis)[A][26]

ความสัมพันธ์กับโรคกรดไหลย้อน แก้

 
ภาพแสดงกล่องเสียงของมนุษย์ เนื้อเยื่อที่บุโครงสร้างต่าง ๆ รวมทั้งของสายเสียงแท้ อาจเสียหายเนื่องจากโรค[17]
ความต่างระหว่าง LRP และ GERD[24]
โรคนี้ โรคกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนขึ้นไปถึงทางเดินอาหาร-ทางเดินอากาศ กรดไลย้อนขึ้นผ่านหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง
เสียงแหบ เหมือนมีก้อนในลำคอ ไอ เมือก/มูก/เสมหะลงคอ รู้สึกว่ามีกรดไหลย้อน แสบร้อนหรือเจ็บกลางอก
อาการแย่ลงเมื่อตัวตั้งขึ้น อาการแย่ลงเมื่อนอน
ไม่สัมพันธ์กับโรคอ้วน/ดัชนีมวลกายสูง สัมพันธ์กับโรคอ้วน/ดัชนีมวลกายสูง
คนไข้บอกว่าไม่แสบร้อนกลางอก ไม่มีกรดไหลย้อน คนไข้บอกว่าแสบร้อนกลางอก มีกรดไหลย้อน

โรคบ่อยครั้งพิจารณาว่าเป็นแบบหนึ่งของโรคกรดไหลย้อน ที่เกิดเมื่อของในกระเพาะอาหารไหลผ่านหลอดอาหารขึ้นไปถึงกล่องเสียงและคอหอย แต่โรคก็มีอาการที่ต่างกัน[17] เช่น ในเรื่องความชุกของการแสบร้อนกลางอกและการกระแอมขับเสมหะ คือ การแสบร้อนกลางอกจะเกิดในโรคกรดไหลย้อนถึง 80% แต่เกิดเพียงแค่ 20% สำหรับโรคนี้ ส่วนการกระแอมแสดงความชุกในรูปแบบที่กลับกัน คือเกิด 87% ในโรคนี้ และ 5% ในโรคกรดไหลย้อน[12] อาการหลัก ๆ ของโรคกรดไหลย้อนคือแสบร้อนกลางอก แน่นกลางอก เรอเปรี้ยว อาหารไม่ย่อย และไม่สบายท้องส่วนบน จะพบเพียงแค่ 40% ของผู้ป่วยโรคนี้[15] โดยไม่เหมือนโรคกรดไหลย้อน โรคนี้ยังเสี่ยงให้เกิดหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบ (pneumonitis) เพราะกรดกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจนถึงทางเดิมอาหาร-ลมหายใจ อาจสูดเข้าไปในปอดได้[29]

โรคยังสัมพันธ์อย่างสามัญกับความแดง (erythema) และการบวมน้ำของเนื้อเยื่อในกล่องเสียงที่ถูกกับกรด[17] โดยเทียบกับแล้ว โรคกรดไหลย้อนโดยมากไม่ก่อแผลในหลอดอาหาร คือไม่ปรากฏปัญหาต่อเยื่อเมือกที่บุหลอดอาหารเนื่องจากถูกกรด[30]

ความแตกต่างทางโครงสร้างระดับโมเลกุลของเนื้อเยื่อบุผิวที่เขตกล่องเสียงและคอหอย อาจเป็นเหตุให้มีอาการแตกต่างระหว่างโรคนี้กับโรคกรดไหลย้อน คือเทียบกับเยื่อบุผิวแบบ stratified squamous epithelium ของหลอดอาหาร กล่องเสียงจะบุโดย respiratory epithelium ที่มีซิเลีย ซึ่งบอบบางกว่าและเสี่ยงเสียหายมากกว่า ในขณะที่เยื่อบุผิวของหลอดอาหารสามารถทนการถูกกับกรดจากระเพาะถึง 50 ครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นค่าประเมินสูงสุดที่พิจารณาว่าอยู่ในพิสัยการทำงานทางสรีรภาพที่ปกติ เยื่อบุกล่องเสียงอาจเสียหายหลังจากถูกกรดกระเพาะอาหารไม่กี่ครั้ง[31]

เหตุทางพยาธิสรีรวิทยา แก้

ร่างกายมีกลไกป้องกันไม่ให้สิ่งในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นโดยธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ที่ปิดกันน้ำกรดน้ำย่อยไม่ให้ไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหาร, หลอดอาหารซึ่งบีบตัวจากบนลงล่างซึ่งกันไม่ให้เกิดการไหลย้อนขึ้น, และหูรูดหลอดอาหารส่วนบน โครงสร้างเหล่านี้ช่วยป้องกันสิ่งในกระเพาะอาหารรวมทั้งน้ำย่อยเพปซิน น้ำดี และฟองแก๊สไม่ให้ไหลขึ้นไปทำอันตรายต่อเยื่อบุหลอดอาหาร ลำคอ และกล่องเสียง ซึ่งอวัยวะเหล่านี้อยู่ติดกันรวมเป็นโครงสร้างที่เรียกว่าทางเดินอาหาร-ลมหายใจ คนไข้โรคนี้จะมีความผิดปกติของกลไกป้องกันดังกล่าว โดยมีทฤษฎีอธิบาย 2 อย่างดังต่อไปนี้[11]

  • ทฤษฎีไหลย้อน - รวมความบกพร่องของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างซึ่งคลายตัวบ่อยกว่าปกติ จึงทำให้ของในกระเพาะไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารได้ และความผิดปกติในการบีบตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนบนและหลอดอาหาร จึงทำให้น้ำกรดและน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปถึงกล่องเสียงและคอได้
  • ทฤษฎีรีเฟล็กซ์ - สิ่งที่ไหลย้อนไปกระตุ้นประสาทเวกัส ทำให้เกิดรีเฟล็กซ์คือหลอดลมหดเกร็ง จึงเกิดอาการไอเรื้อรังและอาการคล้ายโรคหืดตามมา

การวินิจฉัย แก้

โรคปรากฏโดยอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงคือคาบเกี่ยวกับของโรคอื่น ๆ ซึ่งทำให้วินิจฉัยได้ยาก เพราะอาการต่าง ๆ ทางลมหายใจและกล่องเสียงอาจมีสมุฏฐานได้หลายอย่าง การวินิจฉัยโรคนี้โดยอาการเพียงอย่างเดียวจึงอาจยังเชื่อถือไม่ได้[24]

ก่อนจะวินิจฉัยโรคนี้ แพทย์จะต้องบันทึกประวัติคนไข้และถามรายละเอียดถึงอาการที่มี แบบสอบถามเช่น Reflux Symptom Index (RSI), Quality-of-Life Index (QLI) for LPR, Glottal Closure/Function Index (GCI), และ Voice Handicap Index (VHI) สามารถใช้เพื่อสอบประวัติคนไข้และอาการ[13] แล้วก็จะต้องตรวจร่างกายโดยเล็งจุดสนใจไปที่ศีรษะและคอ

วิธีวินิจฉัยที่ใช้อย่างแพร่หลายอย่างหนึ่งก็คือการทดลองรักษาด้วยยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) โดยให้ยา 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 2-3 เดือน[B] ซึ่งถ้าอาการโรคหายไปก็จะเป็นการยืนยันวินิจฉัยของโรค[34] แต่วิธีการนี้ดีที่สุดก็เพื่อวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนธรรมดา[13]

การใช้กล้องส่องต่อกับเส้นใยนำแสงสามารถค่อย ๆ ใส่ลงไปในคอแล้วแสดงภาพบนจอภาพ ซึ่งให้ภาพที่ชัดเจนของคอและกล่องเสียง อาการปรากฏของโรครวมทั้งความแดง ความบวม และความระคายเคืองที่ปรากฏชัด[13]

การตรวจสอบอื่น ๆ รวมทั้ง, 24-hour ambulatory dual probe pHmetry (การวัดความเป็นกรดด่างของหลอดอาหารที่จุดสองจุดโดยใช้ชีวิตเป็นปกติ 24 ชม), pharyngeal pHmetry (การวัดความเป็นกรดด่างที่คอหอย), transnasal esophagoscopy (TNE, การส่องกล้องดูหลอดอาหารผ่านจมูก) และการตัดเนื้อออกตรวจ ก็สามารถใช้ได้ด้วย[13][35] ส่วนการทดสอบที่ไม่เจ็บของโรคก็คือ การเก็บของที่ไหลย้อนขึ้นมาเพื่อนำไปวิเคราะห์[13]

ยังไม่มีเทคนิคการประเมินที่นักวิชาการมีมติร่วมกันเพื่อระบุโรคในเด็ก[26] เทคนิกการวัดความเป็นกรดด่างสองอย่างที่เสนอ คือ multichannel intraluminal impedance with pH monitoring (MII-pH) และ 24-hour dual probe pH monitoring มีค่าใช้จ่ายสูง และปกติจึงไม่ค่อยได้ใช้[26]

การทดลองรักษาด้วยยา แก้

การตอบสนองต่อการบำบัดโดยระงับกรดได้เสนอว่า สามารถใช้ยืนยันวินิจฉัยของโรค แต่งานศึกษาต่าง ๆ ก็ได้แสดงว่า ในการทดลองที่อาศัยหลักฐาน การตอบสนองของคนไข้ต่อการรักษาประเภทนี้ (รวมทั้งยายับยั้งการหลั่งกรด) บ่อยครั้งน่าผิดหวัง[36] งานศึกษาหลายงานได้เน้นความสำคัญของการวัดการถูกกับกรดที่หลอดอาหารส่วนต้น หรือดีสุดคือที่กล่องเสียง ในคนไข้ที่มีอาการทางคลินิกของโรค เพื่อแสดงว่า กรดไหลย้อนเป็นเหตุ[37][38]

การส่องกล้อง แก้

การส่องกล้องดูกล่องเสียง (laryngoscopy) เช่น ความแดง ความบวมน้ำ แกรนูโลมาของกล่องเสียง (เป็นการอักเสบอย่างหนึ่ง) และการโตเกินของ interarytenoid fold สามารถใช้เพื่อวินิจฉัย แต่ผลเหล่านี้ก็ยังไม่จำเพาะเจาะจง และปรากฏในบุคคลที่ไม่มีอาการของโรคโดยมากด้วย[39] ถึงกระนั้น วิธีการตรวจนี้ก็ยังอาจสำคัญเพราะความสัมพันธ์ของโรคนี้กับมะเร็งกล่องเสียง งานวิจัยแสดงว่าคนไข้ 25% จะมีแผลในหลอดอาหาร และ 7% จะมีเยื่อบุผิวเสี่ยงมะเร็งในหลอดอาหารแบบ Barrett's esophagus[35] งานหนึ่งได้เสนอว่า แผลที่กล่องเสียง (lesion) มีความจำเพาะที่ 91% โดยคนไข้ที่มีอาการนี้ 88% จะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) และอีกงานหนึ่งได้สร้างแบบรวมคะแนน คือ Reflux finding score (RFS) ตามอาการต่าง ๆ ที่พบโดยส่องกล้องแบบติดเส้นใยนำแสง ซึ่งผู้พัฒนาพบว่า เมื่ออาการที่ส่องกล้องพบได้คะแนนรวมถึงระดับหนึ่ง จะเป็นตัวแสดงนัยถึงโรคนี้[40]

กล้องชนิดต่าง ๆ ที่ใช้รวมทั้งกล้องตรวจเฉพาะกล่องเสียง (indirect หรือ rigid หรือ flexible), กล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (EGD), และ fibre-optic transnasal laryngoscopy (การส่องกล้องแบบเส้นใยนำแสงผ่านจมูก)[13][35]

การวัดความเป็นกรดด่าง แก้

การวัดการไหลย้อนของกรดที่ดีสุดก็คือวิธี multichannel intraluminal impedance pH monitoring ซึ่งสามารถตรวจสิ่งไหลย้อนทั้งที่เป็นกรด ไม่เป็นกรด และเป็นของเหลวมากไปด้วยแก๊ส[41] ถึงอย่างนั้น ค่าวัดที่ได้ก็ต่าง ๆ กันอย่างมาก จึงไม่มีมติร่วมกันว่าอะไรเป็นค่าผิดปกติ[42] โดยอาจได้ค่าต่าง ๆ กันเพราะเหตุทางชีวภาพในแต่ละบุคคล[43] มีความไวต่อโรคนี้เมื่อวัดใต้กล่องเสียงเพียงแค่ 40%[44] และเป็นตัวใช้บ่งชี้ความรุนแรงของอาการโรคนี้ได้ไม่ดี[45] อนึ่ง ยังจัดเป็นหัตถการทำให้เจ็บ (invasive) มีค่าใช้จ่ายสูง ทำได้ในบางองค์กรเท่านั้น และไม่มีเกณฑ์มาตรฐานร่วมกันในการวินิจฉัยโรค ดังนั้น จึงมักใช้ในบางกรณีเท่านั้น เช่น ในงานวิจัยหรือในคนไข้ที่ต้องการผ่าตัด[35]

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ แก้

อนึ่ง มีการตรวจสอบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ของโรคหลายอย่าง ซึ่งรวมทั้งโปรตีน cytokine (ซึ่งมีบทบาทในการอักเสบ), carbonic anyhydrase, e-cadherin, และ mucin แต่ความเป็นเหตุโดยตรงของโปรตีนพวกนี้ก็ยังไม่ได้หลักฐาน[46]

การมีเพปซินซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ผลิตในกระเพาะอาหารในคอหอยส่วนกล่องเสียง (hypopharynx) ก็เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคที่ได้วิจัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[47][48] งานวิจัยแสดงว่า เพปซินมีบทบาทที่ขาดไม่ได้ในกลไกอันซับซ้อนของโรค[49] เช่นพบว่ากล่องเสียงจะเสียหายได้ก็จะต้องมีกรดบวกกับเพปซิน[50] เป็นตัวก่อความเสียหายในการไหลย้อนที่ไม่เป็นกรด[51], เพราะสามารถคงสภาพอยู่ในกล่องเสียงได้แล้วทำความเสียหายอาศัยกรดจากภายในหรือแม้ภายนอกซึ่งมากระทบภายหลัง[52]

การวินิจฉัยแยกโรค แก้

งานทบทวนหลักฐานปี 2008 ของสมาคมวิทยาทางเดินอาหารอเมริกันชี้แจงว่า วิธีการกำหนดโรคกรดไหลย้อนว่าเป็นเหตุของอาการนอกหลอดอาหารยังเป็นเรื่องที่ไม่ลงตัว และการสรุปใช้เกณฑ์วินิจฉัยต่าง ๆ อาจทำให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้มากเกินไป ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและการรักษาซ้ำ ๆ อย่างไร้ผล โรคที่เป็นปัจจัยหรือเป็นปัจจัยร่วมที่มักจะพิจารณาไม่เพียงพอรวมทั้ง[32]

อนึ่ง โรคและสภาวะอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายกับโรคนี้รวมทั้ง[53]

  • โรคภูมิแพ้เรื้อรังทางหู คอ จมูก
  • กล่องเสียงอักเสบเหตุติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หนองใน วัณโรค และเชื้อรา
  • โรคที่มีอาการไอเรื้อรังอื่น ๆ รวมทั้งโพรงอากาศอักเสบเรื้อรัง โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และวัณโรค
  • เนื้องอกกล่องเสียงหรือ postcricoid tumor
  • สายเสียงพิการ (vocal cords paralysis) จากอัมพาต อุบัติเหตุ หรือมะเร็งปอด
  • การใช้เสียงมากหรือไม่ถูกวิธี
  • ทานอาหารหรือยาที่ก่อความระคายเคืองต่อกล่องเสียง
  • กล่องเสียงอักเสบแบบเป็นแผลเปื่อยที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic ulcerative laryngitis)

การรักษา แก้

การรักษาอาการคนไข้กลุ่มนี้ของโรคกรดไหลย้อนเป็นเรื่องยากและอาจต้องใช้เวลานาน เมื่อกำหนดวินิจฉัยคนไข้แล้ว การรักษาที่แนะนำก็คือเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมบวกการใช้ยา[54]

การเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหาร แก้

การเปลี่ยนอาหารอาจรวมการจำกัดการทานช็อกโกแลต กาเฟอีน อาหารและเครื่องดื่มที่มีกรดสูง (มีรสเปรี้ยว) น้ำอัดลม อาหารมันเช่นของทอด และซอสมะเขือเทศ การเปลี่ยนพฤติกรรมอาจรวมลดน้ำหนัก หยุดสูบบุหรี่ เลี่ยงดื่มสุรา และไม่ทานอาหารก่อนนอน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้พบในงานศึกษาบางงานว่า มีผลต่อการรักษาด้วยยา[55]

การเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไข้เด็กรวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้กรดไหลย้อน (เช่น ช็อกโกแลต อาหารรสเปรี้ยว อาหารเผ็ด) เปลี่ยนการวางอิริยาบถ (เช่น ให้นอนตะแคงข้างซ้าย) เปลี่ยนเนื้ออาหาร (เช่น ทำให้อาหารข้นขึ้น เพื่อเพิ่มการสำนึกการดำเนินของอาหาร) และไม่ทานอาหารก่อนนอน[27]

ยา แก้

ยายับยั้งการหลั่งกรด แก้

ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) เช่น โอมีปราโซล, ราบีปราโซล, esomeprazole, lansoprazole, และ pantoprazole เป็นยาอันดับแรกเพื่อระงับหรือลดอาการของโรค ปกติจะแนะนำให้ทาน 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 3-6 เดือน และคนไข้ควรทาน 30-60 นาทีก่อนอาหาร โดยช่วงเวลาทานยาก่อนอาหารเป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ระงับการหลั่งกรดได้สูงสุด[55][56] ยานี้นอกจากจะระงับไม่ให้ทางเดินอาหาร-ลมหายใจส่วนบนกระทบกับกรดจากกระเพาะแล้ว ยังช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากเพปซินซึ่งต้องอาศัยความเป็นกรดเพื่อออกฤทธิ์[57] สำหรับคนไข้ที่ต้องทานยาอื่น ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเอนไซม์ cytochrome P450 โดยเฉพาะ CYP2C19 และ CYP3A4 ควรเลือกใช้ยาราบีปราโซลและ pantoprazole แทนโอมีปราโซล[54] งานปริทัศน์เป็นระบบบวกการวิเคราะห์อภิมานปี 2016 พบว่า การใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลา 3 เดือนทำให้คนไข้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือค่าวัด RSI ดีขึ้น 70-75%[58] ซึ่งเมื่ออาการโดยรวมดีขึ้นแล้วสามารถปรับลดยาแล้วหยุดยาได้ภายใน 4-6 เดือนต่อมา โดยความผิดปกติที่กล่องเสียงซึ่งกำหนดด้วย RFS อาจต้องใช้เวลารักษาถึง 6 เดือน [54]

อย่างไรก็ดี แม้งานศึกษาที่ไม่มีกลุ่มควบคุมโดยมากจะแสดงอัตราการตอบสนองต่อยาถึง 70%[59] แต่งานศึกษาที่มีกลุ่มควบคุมโดยมากก็ได้แสดงว่า PPI ไม่มีประสิทธิผลดีกว่ายาหลอกเพื่อรักษาโรคนี้[60][61]

ยาที่ใช้เพิ่มและยาที่ซื้อเอง แก้

สำหรับคนไข้ที่ทานยา PPI 2 ครั้งต่อวันแล้วแต่ยังมีอาการเหลือหรือมีอาการในเวลากลางคืน ยาต้านตัวรับเอช2รวมทั้งไซเมทิดีน ฟาโมทิดีน นิซาทิดีน และแรนิทิดีนที่ทานเพิ่มในช่วงกลางคืนอาจช่วย คือพบว่า การตอบสนองต่อยารวม ๆ กันจะดีขึ้นเป็น 83-90%[62] แต่ผลของยาอาจมีแค่ชั่วคราวคือเดือนเดียว[63]

สำหรับคนไข้โรคนี้ที่มีอาการตรงแบบของโรคกรดไหลย้อนด้วย คือเรอเปรี้ยวและแสบร้อนกลางอกโดยหลัก ยังสามารถพิจารณาเพิ่มยาเพิ่มความแข็งแรงของหูรูดอาหาร เช่นสารทำการต่อหน่วยรับกาบาบี (GABAB agonist) และยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก (prokinetics) ด้วย[62] โดยสารทำการต่อหน่วยรับกาบาบีคือ baclofen ได้พบว่า แม้มีผลข้างเคียงสูงจึงทำให้ใช้ต่อเนื่องได้ยาก แต่ก็มีอนาคตสำหรับคนไข้ที่ต้องเพิ่มยาในเวลากลางคืน[64] ส่วนงานทบทวนวรรณกรรมปี 2014 ไม่แนะนำให้ใช้ยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กสำหรับโรคกรดไหลย้อน[65] และแนวทางการรักษาปี 2013 แนะนำยาเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก domperidone เป็นทางเลือก โดยแพทย์อาจต้องคอยตรวจตราการเปลี่ยนคลื่นหัวใจ (QT prolongation) เพราะมีความเสี่ยงเล็กน้อยเนื่องจากหัวใจเต้นเสียจังหวะและทำให้ถึงตายได้[66]

ในระยะยาว ถ้าอาการกลับกำเริบเพียงเล็กน้อย คนไข้ก็อาจใช้ยาบรรเทาอาการเช่น ยาลดกรด และ alginate (กรดอัลจินิก) ได้[62] โดยงานวิเคราะห์อภิมานปี 2007 แสดงว่า เมื่อใช้ยาที่คนไข้หาซื้อเองได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน ยาต่าง ๆ มีผลดังต่อไปนี้เมื่อเทียบกับยาหลอก[67]

  • ยาลดกรดบวกกับกรดอัลจินิก (เช่นยี่ห้อกาวิสคอน) ทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้นถึง 60% (NNT=4)
  • ยาต้านตัวรับเอช2 ทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นได้ถึง 41%
  • ยาลดกรดทำให้คนไข้รู้สึกดีขึ้นได้ 11% (NNT=13)

การผ่าตัด แก้

เมื่อยาไม่ได้ผล อาจเลือกผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหาร (fundoplication)[68] โดยควรเลือกเมื่อจำเป็นจริง ๆ เพื่อเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนและค่าใช้จ่าย[54] การผ่าตัดอาจทำได้และได้ผลเฉพาะคนไข้แค่บางกลุ่ม เช่น คนไข้ที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาแต่ไม่ต้องการทานยาในระยะยาว หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยควรใช้กับผู้มีอายุน้อย มีอาการตรงแบบของโรคกรดไหลย้อน (คือแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว) และได้ตรวจด้วยการวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหารบวกการวัดการบีบตัวของหลอดอาหารแล้วเพื่อยืนยันว่าเป็นโรคจริง[54] คนไข้ควรรู้ว่า การผ่าตัดอาจไม่กำจัดอาการโรคนี้ได้โดยสิ้นเชิง และแม้จะประสบความสำเร็จ การเกิดโรคซ้ำอีกในอนาคตก็ยังเป็นไปได้[69] และการผ่าตัดในประเทศไทยอาจต้องอาศัยศัลยแพทย์มือหนึ่ง ซึ่งอาจยังมีจำนวนน้อย[70]

มีการรักษาโดยผ่าตัดแบบใหม่อื่น ๆ ที่ดูจะมีอนาคตรวมทั้ง Stretta procedure และ LINX

การประเมินผล แก้

นอกจากค่าวัด RSI แล้ววิธีการประเมินผลการรักษาของโรคอีกอย่างหนึ่งก็คือวัดคุณภาพเสียง[18] โดยสามารถใช้การวัดทั้งที่เป็นอัตวิสัยและปรวิสัย การวัดที่เป็นอัตวิสัยรวมทั้ง[18]

  • Grade, Roughness, Breathiness, Asthenia, Strain Scale (GRBAS)
  • Reflux Symptom Index
  • Voice Handicap Index (VHI)
  • voice symptom scale.

การวัดแบบปรวิสัยบ่อยครั้งวัดตัวแปรต่าง ๆ ของเสียงเช่น ความถี่มูลฐาน อัตราเสียงต่อเสียงรบกวน เป็นต้น[18] อย่างไรก็ดี ยังไม่มีมติร่วมกันว่า ค่าวัดไหนดีที่สุดในการประเมินผลการรักษา

ประวัติ แก้

โรคนี้ไม่ได้กล่าวแยกจากโรคกรดไหลย้อนจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980[17] แต่ในช่วงที่ยอมรับโรคกรดไหลย้อนว่าเป็นโรคอีกชนิดหนึ่งในกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 ก็มีการเสนอความสัมพันธ์ระหว่างอาการที่ท้องกับโรคทางเดินลมหายใจ ต่อมาในปี 1968 จึงมีรายงานเรื่องแผลเปื่อยและแกรนูโลมาที่กล่องเสียงเนื่องกับกรด[71] งานศึกษาต่อ ๆ มาจึงได้เสนอว่า กรดไหลย้อนอาจเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งของสภาพของกล่องเสียงและทางเดินลมหายใจอื่น ๆ ในปี 1979 จึงมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางเดินลมหายใจกับกรดไหลย้อน ในงานเดียวกัน การรักษาโรคกรดไหลย้อนก็แสดงว่า ได้กำจัดอาการทางเดินลมหายใจเหล่านั้น[72]

เชิงอรรถ แก้

  1. เนื้องอกแบบพาพิลโลมาที่กล่องเสียง (laryngeal papillomatosis) เป็นโรคที่มีน้อย (2 คนในประชากรผู้ใหญ่ 100,000 คน และ 4.5 ในประชากรเด็ก 100,000 คน)[28] แต่ถ้าไม่รักษา มันอาจทำให้ถึงตายเพราะจะมีเนื้องอกเติบโตจนปิดทางเดินลมหายใจ โรคมีเหตุจากฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (HPV) ประเภทที่ 6 และ 11 ซึ่งทำให้เกิดเนื้องอกไม่ร้ายที่กล่องเสียงและเขตอื่น ๆ ในทางเดินลมหายใจ เนื้องอกอาจเกิดซ้ำบ่อย ๆ จึงจำเป็นต้องผ่าตัดบ่อย ๆ และอาจรบกวนการหายใจ โรคสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดและยาต้านไวรัส
  2. ตามงานทบทวนหลักฐานปี 2008 ของสมาคมวิทยาทางเดินอาหารอเมริกัน หลักฐานสนับสนุนการทดลองรักษาด้วยยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) สำหรับคนไข้ที่มีอาการเหนือหลอดอาหาร และ มีอาการโรคกรดไหลย้อนในหลอดอาหาร เช่น เรอเปรี้ยว แสบร้อนกลางอก เป็นต้น โดยให้ยา 1-2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 2 เดือน แต่ไม่สนับสนุนถ้าไม่มีอาการเกี่ยวกับหลอดอาหาร[32] ถ้าหลังจากสองเดือนแล้ว และไม่มีอาการในหลอดอาหาร ควรหยุดยา PPI แล้วหาวิธีรักษาและวินิจฉัยอื่น ๆ[33]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 LPR-Thai (2017)
  2. Kahrilas, PJ (October 2000). "Maximizing outcome of extraesophageal reflux disease". Am J Manag Care. 6 (16 Suppl): S876-82. PMID 11184658.
  3. Koufman, JA (2002). "Laryngopharyngeal reflux is different from classic gastroesophageal reflux disease". Ear, Nose, & Throat Journal. 81 (9 Suppl 2): 7–9. PMID 12353431.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Zerbib, F; Stoll, D (2010). "Management of laryngopharyngeal reflux: an unmet medical need". Neurogastroenterol Motil. 22 (2): 109–12. doi:10.1111/j.1365-2982.2009.01437.x. PMID 20067549.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Introduction, p. 184-185
  6. 6.0 6.1 Cazzola, M; Segreti, A; Calzetta, L; Rogliani, P (January 2013). "Comorbidities of asthma: current knowledge and future research needs". Current Opinion in Pulmonary Medicine. 19 (1): 36–41. doi:10.1097/MCP.0b013e32835b113a. PMID 23114561.
  7. 7.0 7.1 Dhillon, VK; Akst, LM (August 2016). "How to Approach Laryngopharyngeal Reflux: An Otolaryngology Perspective". Current gastroenterology reports. 18 (8): 44. doi:10.1007/s11894-016-0515-z. PMID 27417389.
  8. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Laryngoscopy, p. 186
  9. LPR-Thai (2017), ปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง, p. 2
  10. 10.0 10.1 "Diagnosis and treatment of gastroesophageal reflux disease". 2014. SYMPTOMS AND EPIDEMIOLOGY, pp. 105-106. doi:10.4292/wjgpt.v5.i3.105. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  11. 11.0 11.1 LPR-Thai (2017), พยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง, p. 1
  12. 12.0 12.1 Vaezi, M. F. (2009). Extraesophageal Reflux. San Diego, CA: Plural Publishing. ISBN 9781597567541.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 Johnston, Nikki; Dettmar, Peter W.; Strugala, Vicki; Allen, Jacqui E.; Chan, Walter W. (October 2013). "Laryngopharyngeal reflux and GERD". Annals of the New York Academy of Sciences. 1300 (1): 71–79. doi:10.1111/nyas.12237.
  14. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Symptoms, p. 185-186
  15. 15.0 15.1 15.2 LPR-Thai (2017), ตารางที่ 1: อาการและการตรวจร่างกายที่ผิดปกติในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่ลำคอและกล่องเสียง, p. 3
  16. 16.0 16.1 "Laryngopharyngeal Reflux ("Silent Reflux") : The Basics". jamiekoufman.com. 2010. สืบค้นเมื่อ 2014-01-20.
  17. 18.0 18.1 18.2 18.3 Lechien, JR; Finck, C; Costa de Araujo, P; Huet, K; Delvaux, V; Piccaluga, M; Harmegnies, B; Saussez, S (January 2017). "Voice outcomes of laryngopharyngeal reflux treatment: a systematic review of 1483 patients". European archives of oto-rhino-laryngology : official journal of the European Federation of Oto-Rhino-Laryngological Societies (EUFOS) : affiliated with the German Society for Oto-Rhino-Laryngology - Head and Neck Surgery. 274 (1): 1–23. doi:10.1007/s00405-016-3984-7. PMID 27007132.
  18. Lechien, Jérôme R.; Huet, Kathy; Khalife, Mohamad; Fourneau, Anne-Françoise; Delvaux, Véronique; Piccaluga, Myriam; Harmegnies, Bernard; Saussez, Sven (2016). "Impact of laryngopharyngeal reflux on subjective and objective voice assessments: a prospective study". Journal of Otolaryngology - Head & Neck Surgery. 45 (1). doi:10.1186/s40463-016-0171-1.
  19. Thayer, Sataloff, Robert. Reflux laryngitis and related disorders. Katz, Philip O., 1953-, Hawkshaw, Mary, Sataloff, Dahlia, (Fourth ed.). San Diego. ISBN 9781597565387. OCLC 882106592.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  20. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Symptoms, p. 185-186 อ้างอิง
    • Noordzij, JP; Khidr, A; Desper, E; Meek, RB; Reibel, JF; Levine, PA (2002). "Correlation of pH probe-measured laryngopharyngeal reflux with symptoms and signs of reflux laryngitis". Laryngoscope. 112: 2192–2195.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • Hicks et al (2002)
  21. 22.0 22.1 Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Symptoms, p. 185-186 อ้างอิง Belafsky, PC; Postma, GN; Koufman, JA (2002). "Validity and reliability of the reflux symptom index (RSI)". J Voice. 16: 274–277.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  22. LPR-Thai (2017), ตารางที่ 2: วิธีวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียงโดยอาศัยคะแนนรวมของอาการ, p. 5
  23. 24.0 24.1 24.2 Fraser-Kirk, K (2017). "Laryngopharyngeal reflux: A confounding cause of aerodigestive dysfunction". Australian family physician. 46 (1): 34–39. PMID 28189129.
  24. LPR-Thai (2017), ภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อนชนิดขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง, p. 2
  25. 26.0 26.1 26.2 26.3 Galluzzi, F; Schindler, A; Gaini, RM; Garavello, W (October 2015). "The assessment of children with suspected laryngopharyngeal reflux: An Otorhinolaringological perspective". International journal of pediatric otorhinolaryngology. 79 (10): 1613–9. doi:10.1016/j.ijporl.2015.07.037. PMID 26279249.
  26. 27.0 27.1 27.2 27.3 Venkatesan, NN; Pine, HS; Underbrink, M (August 2013). "Laryngopharyngeal reflux disease in children". Pediatric clinics of North America. 60 (4): 865–78. doi:10.1016/j.pcl.2013.04.011. PMC 4036798. PMID 23905824.
  27. "National Institute of Deafness and other Communication Disorders". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
  28. Kasper, D. L.; Fauci, A. A.; Hauser, S. L.; Longo, D. L.; Jameson, J. L.; Loscalzo, J. (2015). Harrison's Principles of Internal Medicine (19th ed.). New York: McGraw Hill Education. ISBN 0071748903.
  29. Hershcovici, Tiberiu; Fass, Ronnie (2010). "Nonerosive Reflux Disease (NERD) - An Update" (PDF). Journal of Neurogastroenterology and Motility. Journal of Neurogastroenterology and Motility. 16 (1): 8–21. doi:10.5056/jnm.2010.16.1.8. PMC 2879816. PMID 20535321.
  30. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Acid, p. 185
  31. 32.0 32.1 Kahrilas, PJ; Shaheen, NJ; Vaezi, MF; American Gastroenterological Association, Institute; Clinical Practice and Quality Management, Committee (October 2008). "American Gastroenterological Association Institute technical review on the management of gastroesophageal reflux disease". Gastroenterology. 135 (4). 6. What Is the Best Initial Management for Patients With Suspected Extraesophageal Reflux Syndromes (Asthma, Laryngitis, Cough)? What Are the Unique Management Considerations With Each? What Is the Appropriate Dose and Course of Antisecretory Therapy in Each?, p. 1399-1400. doi:10.1053/j.gastro.2008.08.044. PMID 18801365.
  32. American Gastroenterological Association Institute technical review on the management of gastroesophageal reflux disease (2008), 9. What Maintenance Therapy Is Indicated for Patients With Suspected Extraesophageal Reflux Syndromes (Asthma, Laryngitis, Cough)? When and How Should Antisecretory Therapy Be Decreased or Discontinued?, pp. 1403
  33. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Empirical treatment, p. 187
  34. 35.0 35.1 35.2 35.3 LPR-Thai (2017), การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง, pp. 2-6
  35. Vaezi, MF.; Richter, JE.; Stasney, CR.; Spiegel, JR.; Iannuzzi, RA.; Crawley, JA.; Hwang, C.; Sostek, MB.; Shaker, R. (February 2006). "Treatment of chronic posterior laryngitis with esomeprazole". Laryngoscope. 116 (2): 254–60. doi:10.1097/01.mlg.0000192173.00498.ba. PMID 16467715.
  36. Sun, G; Muddana, S; Slaughter, JC และคณะ (August 2009). "A new pH catheter for laryngopharyngeal reflux: Normal values". Laryngoscope. 119 (8): 1639–43. doi:10.1002/lary.20282. PMID 19504553.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. Ayazi, S; Hagen, JA; Zehetner, J และคณะ (March 2010). "Proximal esophageal pH monitoring: improved definition of normal values and determination of a composite pH score". J. Am. Coll. Surg. 210 (3): 345–50. doi:10.1016/j.jamcollsurg.2009.12.006. PMID 20193899.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  38. Hicks, DM.; Ours, TM.; Abelson, TI.; Vaezi, MF.; Richter, JE. (December 2002). "The prevalence of hypopharynx findings associated with gastroesophageal reflux in normal volunteers". J Voice. 16 (4): 564–79. doi:10.1016/S0892-1997(02)00132-7. PMID 12512644.
  39. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Laryngoscopy, p. 186 อ้างอิง
    • (เกี่ยวกับแผลที่กล่องเสียง) - Park, W; Hicks, DM; Khandwala, F และคณะ (2005). "Laryngopharyngeal reflux: prospective cohort study evaluating optimal dose of proton-pump inhibitor therapy and pre-therapy predictors of response". Laryngoscope. 115 (1230–1238).{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • (เกี่ยวกับ RFS) - Belafsky, PC; Postma, GN; Koufman, JA (2001). "The validity and reliability of the reflux finding score (RFS)". Laryngoscope. 111: 1313–1317.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  40. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), pH monitoring, p. 186-187 อ้างอิง Noordzij, JP; Khidr, A; Desper, E; Meek, RB; Reibel, JF; Levine, PA (2002). "Correlation of pH probe-measured laryngopharyngeal reflux with symptoms and signs of reflux laryngitis". Laryngoscope. 112: 2192–2195.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  41. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), pH monitoring, p. 186-187 อ้างอิง Abou-Ismail, A; Vaezi, MF (2011). "Evaluation of patients with suspected laryngopharyngeal reflux: a practical approach". Curr Gastroenterol Rep. 13: 213–218.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  42. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), pH monitoring, p. 186-187 อ้างอิง Sataloff, RT; Hawkshaw, MJ; Gupta, R (2010). "Laryngopharyngeal reflux and voice disorders: an overview on disease mechanisms, treatments, and research advances". Discov Med. 10: 213–224.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  43. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), pH monitoring, p. 186-187 อ้างอิง Vaezi, MF (2009). "We should learn from important negative results". Laryngoscope. 116: 1718.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  44. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), pH monitoring, p. 186-187 อ้างอิง Noordzij et al (2002)
  45. Campagnolo, AM; Priston, J; Thoen, RH; Medeiros, T; Assunção, AR (April 2014). "Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research" (PDF). International archives of otorhinolaryngology. 18 (2): 184–91. doi:10.1055/s-0033-1352504. PMC 4297018. PMID 25992088.  
  46. Johnston, Nikki; Ondrey, Frank; Rosen, Rachel; Hurley, Bryan P.; Gould, Jon; Allen, Jacquie; DelGaudio, John; Altman, Kenneth W. (October 1, 2016). "Airway reflux". Annals of the New York Academy of Sciences (ภาษาอังกฤษ). 1381 (1): 5–13. doi:10.1111/nyas.13080. ISSN 1749-6632. PMID 27310222.
  47. Calvo-Henríquez, Christian; Ruano-Ravina, Alberto; Vaamonde, Pedro; Martínez-Capoccioni, Gabriel; Martín-Martín, Carlos (June 6, 2017). "Is Pepsin a Reliable Marker of Laryngopharyngeal Reflux? A Systematic Review". Otolaryngology-Head and Neck Surgery (ภาษาอังกฤษ). 157 (3): 385–391. doi:10.1177/0194599817709430. PMID 28585488.
  48. Dev Bardhan, Karna (2012). "Reflux Revisited: Advancing the Role of Pepsin".
  49. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Acid, p. 185 อ้างอิง Johnston, N; Yan, JC; Hoekzema, CR และคณะ (2012). "Pepsin promotes proliferation of laryngeal and pharyngeal epithelial cells". Laryngoscope. 122: 1317–1325.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  50. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Pepsin, p. 185 อ้างอิง
    • Johnston, N; Knight, J; Dettmar, PW; Lively, MO; Koufman, J (2004). "Pepsin and carbonic anhydrase isoenzyme III as diagnostic markers for laryngopharyngeal reflux disease". Laryngoscope. 114: 2129–2134.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • Samuels, TL; Johnston, N (2009). "Pepsin as a causal agent of inflammation during nonacidic reflux". Otolaryngol Head Neck Surg. 141: 559–563.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  51. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Pepsin, p. 185 อ้างอิง
    • Koufman, JA (2011). "Low-acid diet for recalcitrant laryngopharyngeal reflux: therapeutic benefits and their implications". Ann Otol Rhinol Laryngol. 120: 281–287.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • Wood, JM; Hussey, DJ; Woods, CM; Watson, DI; Carney, AS (2011). "Biomarkers and laryngopharyngeal reflux". J Laryngol Otol. 125: 1218–1224.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  52. LPR-Thai (2017), ตารางที่ 4: โรคและสภาวะอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง, p. 6
  53. 54.0 54.1 54.2 54.3 54.4 LPR-Thai (2017), แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง, pp. 6-7
  54. 55.0 55.1 Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Treatment, pp. 187-188 อ้างอิง Steward, DL; Wilson, KM; Kelly, DH และคณะ. "Proton pump inhibitor therapy for chronic laryngo-pharyngitis: a randomized placebo-control trial". Otolaryngol Head Neck Surg 2004. 131: 342–350.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  55. Wei, Chunhui (November 1, 2016). "A meta-analysis for the role of proton pump inhibitor therapy in patients with laryngopharyngeal reflux". European Archives of Oto-Rhino-Laryngology (ภาษาอังกฤษ). 273 (11): 3795–3801. doi:10.1007/s00405-016-4142-y. ISSN 0937-4477. PMID 27312992.{{cite journal}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  56. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Treatment, pp. 187-188 อ้างอิง Dobhan, R; Castell, DO (1993). "Normal and abnormal proximal esophageal acid exposure: results of ambulatory dual-probe pH monitoring". Am J Gastroenterol. 88: 25–29.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  57. LPR-Thai (2017), p. 6 อ้างอิง
    • Wei (2016)
    • Guo, H; Ma, H; Wang, J (2016). "Proton Pump Inhibitor Therapy for the Treatment of Laryngopharyngeal Reflux: A Meta- Analysis of Randomized Controlled Trials". J Clin Gastroenterol. 50 (4): 295–300.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  58. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Treatment, pp. 187-188 อ้างอิง
    • Vaezi, MF; Hicks, DM; Abelson, TI; Richter, JE (2003). "Laryngeal signs and symptoms and gastroesophageal reflux disease (GERD): a critical assessment of cause and effect association". Clin Gastroenterol Hepatol. 1: 333–344.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • Park et al (2005)
  59. Reimer, Christina; Bytzer, Peter (February 1, 2008). "Management of laryngopharyngeal reflux with proton pump inhibitors". Therapeutics and Clinical Risk Management. 4 (1): 225–233. ISSN 1176-6336. PMC 2503658. PMID 18728712.
  60. Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Treatment, pp. 187-188 อ้างอิง Qadeer, MA; Phillips, CO; Lopez, AR และคณะ (2006). "Proton pump inhibitor therapy for suspected GERD-related chronic laryngitis: a meta-analysis of randomized controlled trials". Am J Gastroenterol. 101: 2646–2654.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  61. 62.0 62.1 62.2 Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research (2014), Treatment, pp. 187-188 อ้างอิง
    • Horn, J (2004). "Review article: relationship between the metabolism and efficacy of proton pump inhibitors—focus on rabeprazole". Aliment Pharmacol Ther (20 (suppl 6)): 11–19.
    • Glicksman, JT; Mick, PT; Fung, K และคณะ (2014). "Prokinetic agents and laryngopharyngeal reflux disease: Prokinetic agents and laryngopharyngeal reflux disease: a systematic review". Laryngoscope. 124 (10): 2375–9.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • Kahrilas, PJ; Shaheen, NJ; Vaezi, MF; Hiltz, SW; Black, E; Modlin, IM; Johnson, SP; Allen, J; Brill, JV (October 2008). "American Gastroenterological Association Medical Position Statement on the management of gastroesophageal reflux disease". Gastroenterology. 135 (4): 1383–1391, 1391.e1-5. doi:10.1053/j.gastro.2008.08.045. PMID 18789939.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • Katz, PO; Gerson, LB; Vela, MF (March 2013). "Guidelines for the diagnosis and management of gastroesophageal reflux disease" (PDF). The American Journal of Gastroenterology. 108 (3): 308–28. doi:10.1038/ajg.2012.444. PMID 23419381. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2017.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
    • Fock, Kwong Ming; Talley, Nicholas J; Fass, Rnonnie และคณะ (2008). "Asia-pacific consensus on management of gastroesophageal reflux disease: Update". J of Gastroenterol and Hepatol. 23: 8–22.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  62. Diagnosis and treatment of gastroesophageal reflux disease (2014), Medical therapy, p. 108
  63. Diagnosis and treatment of gastroesophageal reflux disease (2014), Medical therapy, p. 108 อ้างอิง "The effect of baclofen on nocturnal gastroesophageal reflux and measures of sleep quality: a randomized, cross-over trial". 2012. PMID 22404184. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  64. Diagnosis and treatment of gastroesophageal reflux disease (2014), Medical therapy, p. 108 อ้างอิง "Randomised clinical trial: efficacy of the addition of a prokinetic, mosapride citrate, to omeprazole in the treatment of patients with non-erosive reflux disease - a double-blind, placebo-controlled study". 2011. PMID 21118395. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  65. Katz, PO; Gerson, LB; Vela, MF (March 2013). "Guidelines for the diagnosis and management of gastroesophageal reflux disease" (PDF). The American Journal of Gastroenterology. 108 (3): 308–28. doi:10.1038/ajg.2012.444. PMID 23419381. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2017.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  66. Tran, T; Lowry, AM; El-Serag, HB (2007). "Meta-analysis: the efficacy of over-the-counter gastro-oesophageal reflux disease drugs". Aliment Pharmacol Ther. 25 (2): 143–53. doi:10.1111/j.1365-2036.2006.03135.x. PMID 17229239.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  67. Ford, CN (September 2005). "Evaluation and management of laryngopharyngeal reflux". JAMA. 294 (12): 1534–40. doi:10.1001/jama.294.12.1534. PMID 16189367.
  68. Yuksel, Elif S.; Vaezi, Michael F. (2013). "Therapeutic Strategies for Laryngeal Manifestations of Gastroesophageal Reflux Disease". Journal of Clinical Gastroenterology. 47 (3): 195–204. doi:10.1097/mcg.0b013e31827458f9. PMID 23340061.
  69. "โรคกรดไหลย้อน". รศ.นพ.อุดม คชินทร (หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล), ผศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์ (อายุรแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล). สนุก! Woman. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2009. สืบค้นเมื่อ 2018-08-10.{{cite web}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  70. Cherry, J.; Margulies, SI. (November 1968). "Contact ulcer of the larynx". Laryngoscope. 78 (11): 1937–40. doi:10.1288/00005537-196811000-00007. PMID 5722896.
  71. Pellegrini, CA.; DeMeester, TR.; Johnson, LF.; Skinner, DB. (July 1979). "Gastroesophageal reflux and pulmonary aspiration: incidence, functional abnormality, and results of surgical therapy". Surgery. 86 (1): 110–9. PMID 36677.

อ้างอิงอื่น ๆ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้