ความสมเหตุสมผล (แก้ความกำกวม)
(เปลี่ยนทางจาก สมเหตุสมผล)
ความสมเหตุสมผล[1] (อังกฤษ: Validity) เป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของการอ้างเหตุผลเชิงตรรกะ หรืออาจหมายถึง
- ความสมเหตุสมผล (สถิติ) เป็นการใช้หลักสถิติศาสตร์เพื่อที่จะได้ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล ในสาขาวิทยาศาสตร์และสถิติศาสตร์ เป็นขอบเขตที่แนวคิด ข้อสรุป หรือสิ่งที่วัด สมเหตุสมผลและตรงกับความเป็นจริง
- ความสมเหตุสมผลกับสิ่งที่วัด (Construct validity) เป็นขอบเขตของค่าที่ได้ ว่าสมควรหรือมีสหสัมพันธ์กับเรื่องที่วัดแค่ไหน
- ความสมเหตุผลเชิงสถิติของข้อสรุป (Statistical conclusion validity) เป็นระดับความสมเหตุสมผลของข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่ได้ในข้อมูล คือระดับความแปรปรวนร่วมเกี่ยวของตัวแปรที่เป็นเหตุ (ตัวแปรอิสระ) และตัวแปรที่เป็นผล (ตัวแปรตาม)
- ความสมเหตุสมผลทางนิเวศ (Ecological validity) หมายถึงของเขตของวิธีการ วัสดุหรือบุคคลที่ใช้ และสภาวะแวดล้อมของงานศึกษา ว่าคล้ายกับสถานการณ์จริงในโลกที่เป็นประเด็นการศึกษามากแค่ไหน
- ความสมเหตุสมผลภายนอก (External validity) เป็นขอบเขตที่ผลงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์จะสามารถใช้ได้ (คือเป็นจริง) โดยทั่วไปในสถานการณ์อื่น ๆ และกับคนอื่น ๆ เช่น งานศึกษาเรื่องจิตบำบัด จะต้องใช้ตัวอย่างบุคคลที่เฉพาะเจาะจง (เช่น เป็นอาสาสมัคร มีความซึมเศร้าระดับสูง ไม่มีโรคหรืออาการอย่างอื่น) คำถามก็คือว่า ถ้าประสบผลสำเร็จในตัวอย่างคนไข้เช่นนี้ มันจะมีประสิทธิภาพกับผู้ไม่ใช่อาสาสมัคร หรือผู้มีความซึมเศร้าเล็กน้อย หรือผู้มีโรคหรืออาการอย่างอื่นด้วยหรือไม่
- ความสมเหตุสมผลภายใน (Internal validity) เป็นความสมเหตุสมผลของการอนุมานเหตุผล ในงานศึกษาวิทยาศาสตร์ โดยปกติอาศัยการทดลอง เป็นคุณลักษณะที่สะท้อนถึงขอบเขตหรือระดับ ที่ข้อสรุปในงานศึกษาหนึ่ง มีความสมเหตุสมผล (validity) ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของงานศึกษาที่จะลดความคลาดเคลื่อนเป็นระบบ (systematic error) หรือความเอนเอียงหรืออคติ (bias)
- Content validity เป็นขอบเขตที่เครื่องวัด จะวัดคุณลักษณะทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่จะวัด เช่นการวัดความซึมเศร้าทางอารมณ์อย่างเดียวที่ไม่วัดพฤติกรรมด้วย อาจจะไม่มี Content validity
- Convergent validity เป็นระดับที่ค่าวัดหลาย ๆ ค่าของสิ่งเดียวกันจะทำให้ถึงข้อสรุปเดียวกัน
- Criterion validity เป็นขอบเขตที่ค่าที่วัด สัมพันธ์กับผลที่พบ แบ่งออกเป็น Concurrent validity และ Predictive validity
- Concurrent validity เป็นหลักฐานชนิดหนึ่งในการใช้ค่าทดสอบอย่างหนึ่ง เพื่อพยากรณ์ค่าอีกอย่างหนึ่ง ปรากฏโดยแสดงสหสัมพันธ์ของค่าทดสอบที่เป็นประเด็น กับค่าอีกอย่างที่ได้แสดงความสมเหตุสมผล (validated) ในอดีตมาก่อนแล้ว ค่าวัดสองอย่างนี้อาจจะวัดสิ่งเดียวกัน แต่บ่อยครั้งเป็นการวัดค่าที่ต่างกันแต่สัมพันธ์กัน และสามารถวัดได้พร้อม ๆ กัน ซึ่งต่างจาก Predictive validity ที่ค่าที่เป็นประเด็นซึ่งวัดก่อน เป็นตัวพยากรณ์ค่าที่วัดภายหลัง
- Predictive validity เป็นขอบเขตที่ค่าวัดได้อย่างหนึ่งก่อน จะสามารถพยากรณ์ค่าที่วัดได้อีกอย่างหนึ่งในภายหลัง เช่นขอบเขตที่การทดสอบทางประชานในการสมัครงาน จะสามารถพยากรณ์คะแนนที่จะได้ในเวลาทำงานเป็นหัวหน้า
- Discriminant validity เป็นตัววัดว่า ค่าหรือสิ่งที่วัดสองอย่างไม่มีความเกี่ยวข้องกัน คือเป็นระดับความแตกต่างที่คาดหวังได้ ระหว่างค่าวัดของสิ่งหนึ่ง ๆ จากค่าวัดของอีกสิ่ง ๆ หนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
- Face validity หรือ Representation validity เป็นขอบเขตที่การทดสอบหนึ่ง ดูเหมือนจะเป็นเครื่องวัดสิ่งที่มันควรจะวัด
- ↑ "validity", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑,
ความสมเหตุสมผล (คณิตศาสตร์, คอมพิวเตอร์, นิติศาสตร์, ปรัชญา)
หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง |