การสูบบุหรี่ เป็นการกระทำเพื่อเผาไหม้สสารชนิดหนึ่งจนเกิดเป็นควันออกมาผ่านการหายใจ เพื่อให้ได้รสชาติและดูดซึมเข้ากระแสเลือด โดยปกติแล้วสารดังกล่าวคือใบไม้แห้งจำพวกยาสูบที่ม้วนไว้ในกระดาษจนเกิดเป็นวัตถุทรงกระบอกขนาดเล็ก เรียกว่า "บุหรี่" การสูบบุหรี่ถือเป็นช่องทางการรับยาช่องทางหนึ่งเพื่อความผ่อนคลาย เนื่องจากการเผาไหม้ใบไม้แห้งทำให้ใบไม้ระเหยและนำพาตัวยาสำคัญเข้าสู่ปอด โดยสารเหล่านี้จะซึมเข้ากระแสเลือดอย่างรวดเร็วและเข้าถึงเนื้อเยื่อร่างกาย ในกรณีการสูบบุหรี่ สารเหล่านี้จะบรรจุในส่วนผสมของอนุภาคละอองลอยและแก๊ส และมีสารจำพวกแอลคาลอยด์อย่างนิโคตินด้วย การระเหยนี้ทำให้เกิดละอองลอยและแก๊สร้อนก่อตัวขึ้นมา ทำให้การหายใจเข้าลึก ๆ จะเป็นการนำพาสารต่าง ๆ เข้าไปในปอด และเกิดการดูดซึมตัวยาสำคัญเข้ากระแสเลือด ในบางวัฒนธรรม การสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในพิธีการ โดยผู้เข้าร่วมพิธีจะสูบบุหรี่เพื่อทำให้เกิดภาวะคล้ายภวังค์ ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำไปสู่ "การรู้แจ้ง"

อนึ่งผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้แล้ว อาจจะมีกลิ่นติดตัวขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยทั่วไปจะมีกลิ่นในระบบลมหายใจเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือน โดยช่วง ห้าถึงสิบวันสุดท้ายจะมีกลิ่นค่อนข้างแรงแต่จะหายไปได้เองหลังจากระยะที่กล่าวข้างต้น

การสูบบุหรี่มีผลกระทบที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะการสูดควันเข้าไปทำให้เกิดความเสี่ยงในกระบวนการทางสรีรวิทยา เช่น การหายใจ โรคที่เกิดจากการสูบยาสูบคร่านักสูบระยะยาวประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับอัตราการตายเฉลี่ยของผู้ที่ไม่สูบ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากกว่า 5 ล้านครั้งต่อปี นับตั้งแต่ปี 2533-2558[1]

อ้างอิง

แก้
  1. Reitsma, Marissa B; Fullman, Nancy; Ng, Marie; Salama, Joseph S; Abajobir, Amanuel (April 2017). "Smoking prevalence and attributable disease burden in 195 countries and territories, 1990–2015: a systematic analysis from the Global Burden of Disease Study 2015". The Lancet. 389: 1885–1906. doi:10.1016/S0140-6736(17)30819-X.