ซิเลีย (Cilia) หรือรูปเอกพจน์ ซิเลียม (จาก ละตินหมายถึง "ขนตา";[1]) เป็นออร์แกเนลล์ชนิดหนึ่งที่พบในเซลล์ยูคารีโอต มีรูปทรงเป็นส่วนที่ปูดออก (protuberance) ทรงเพรียวที่ออกมาจากตัวเซลล์[2]

ซิเลียม (Cilium)
ภาพไมโครกราฟจาก SEM แสดงภาพของซิเลียบนเยื่อบุทางเดินหายใจภายในปอด
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินCilium
MeSHD002923
THH1.00.01.1.01014
FMA67181
ศัพท์ทางกายวิภาคของจุลกายวิภาคศาสตร์

ซิเลียสามารถแบ่งออกเป็นสองชนิด: เคลื่อนไหวได้ (motile) กับ เคลื่อนไหวไม่ได้ (non-motile) ซิเลียที่เคลื่อนไหวไม่ได้นั้นเรียกอีกชื่อว่า ซิเลียปฐมภูมิ (primary cilia) โดยทั่วไปแล้วทีหน้าที่เป็นออร์แกเนลล์รับรู้ นอกจากนี้ยังมีซิเลียอีกชนิดหนึ่งที่พบเพียงชั่วคราวในเอมบริโอระยะแรกเท่านั้น เรียกว่า ซิเลียโหนด (nodal cilia) และมีความจำเป็นต่อการก่อเกิดของความอสมมาตรของร่างกายจากซ้ายไปขวา[3]

ในเซลล์ยูคารีโอต ซิเลียที่เคลื่อนที่ได้และแฟลกเจลลาประกอบกันเป็นกลุ่มของออร์แกเนลล์ที่เรียกว่าอุนดูลิพอเดีย (undulipodia)[4] โครงสร้างของซิเลียในยูคารีโอตนั้นเหมือนกันกับแฟลกเจลลาในยูคารีโอต ถึงแม้ความแตกต่างอาจถูกระบุในแง่ของการใช้งานหรือความยาว[5]

อ้างอิง แก้

  1. Mosby’s Medical, Nursing and Allied Health Dictionary, Fourth Edition, Mosby-Year Book Inc., 1994, p. 336
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HHMIB2005
  3. Horani, A; Ferkol, T (May 2018). "Advances in the Genetics of Primary Ciliary Dyskinesia". Chest. 154 (3): 645–652. doi:10.1016/j.chest.2018.05.007. PMC 6130327. PMID 29800551.
  4. A Dictionary of Biology , 2004, accessed 6 April 2010.
  5. Haimo LT, Rosenbaum JL (December 1981). "Cilia, flagella, and microtubules". The Journal of Cell Biology. 91 (3 Pt 2): 125s–130s. doi:10.1083/jcb.91.3.125s. PMC 2112827. PMID 6459327.