อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สารแปลกปลอมอื่นๆ และจุลชีพออกจากทางเดินหายใจขนาดใหญ่ รีเฟลกซ์การไอประกอบด้วยสามระยะ ได้แก่ การหายใจเข้า การหายใจออกอย่างแรง ต้านกับกล่องเสียงที่ปิดอยู่ และการปล่อยอากาศออกจากปอดอย่างรวดเร็วพร้อมกันกับการเปิดกล่องเสียง ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดเสียงไอร่วมด้วยเสมอ[1] การไออาจเกิดจากความตั้งใจของคนคนนั้นเองหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้

ไอ
เด็กผู้ชายกำลังไอจากโรคไอกรน
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10R05
ICD-9786.2
MedlinePlus003072
eMedicineENT/1048560

หากมีอาการไอบ่อยครั้งมักบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคบางอย่าง ไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดได้รับประโยชน์เชิงวิวัฒนาการจากการกระตุ้นให้โฮสต์มีอาการไอ ซึ่งจะช่วยแพร่กระจายเชื้อไปยังโฮสต์ใหม่ ส่วนใหญ่การไอมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเดินหายใจแต่ก็อาจเกิดจากการสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ[1] โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะไหลลงคอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และยาบางชนิด เช่น ตัวยับยั้งเอซีอี

การรักษามักรักษาที่สาเหตุ เช่น เลิกบุหรี่ หยุดใช้ยา เอซีอี อินฮิบิเตอร์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งบางครั้งการให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความสบายใจก็เป็นการเพียงพอ มักมีการสั่งยาแก้ไออย่าง โคดีอีน หรือ dextromethorphan อยู่บ่อยครั้ง แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลช่วยไม่มากนัก การรักษาอย่างอื่นมักรักษาที่การอักเสบของทางเดินหายใจหรือการกระตุ้นให้มีการขับเสมหะ เนื่องจากการไอเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีเพื่อป้องกันร่างกาย การยับยั้งอาการไอจึงอาจมีผลเสีย โดยเฉพาะหากอาการไอนั้นเป็นอาการไอแบบมีเสมหะ[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Chung KF, Pavord ID (เมษายน 2008). "Prevalence, pathogenesis, and causes of chronic cough". Lancet. 371 (9621): 1364–74. doi:10.1016/S0140-6736(08)60595-4. PMID 18424325.
  2. Pavord ID, Chung KF (เมษายน 2008). "Management of chronic cough". Lancet. 371 (9621): 1375–84. doi:10.1016/S0140-6736(08)60596-6. PMID 18424326.

อ่านเพิ่มเติม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ ไอ (ในภาษาอิตาลี)
  •   นิยามแบบพจนานุกรมของ ไอ ที่วิกิพจนานุกรม