เหตุเครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานกว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิม พ.ศ. 2533

เหตุเครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานกว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิม พ.ศ. 2533 (จีน: 广州白云机场劫机相撞事件; พินอิน: Guǎngzhōu Báiyún Jīchǎng jiéjī xiāngzhuàng shìjiàn; แปลตรงตัว: "เหตุจี้เครื่องบินและเครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน"; อังกฤษ: 1990 Guangzhou Baiyun airport collisions) เป็นอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1990 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิม ในเหตุการณ์นี้เครื่องบินโบอิง 737 ของเซี่ยเหมินแอร์ไลน์ (เที่ยวบินที่ 8301) ที่ถูกสลัดอากาศจี้ชนกับเครื่องบินอีกสองลำบนรันเวย์ของท่าอากาศยานขณะพยายามลงจอด เครื่องบินสองลำที่ถูกชนได้แก่เครื่องบินโบอิง 707 ของไชนาเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ (เที่ยวบินที่ 4305) ซึ่งได้รับความเสียหายเล็กน้อย และเครื่องบินโบอิง 757 ของไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (เที่ยวบินที่ 3523) ซึ่งรอบินขึ้นจากท่าอากาศยาน มีผู้เสียชีวิตรวม 128 คนจากเที่ยวบินที่ 8301 และเที่ยวบินที่ 3523

เหตุเครื่องบินชนกันที่ท่าอากาศยานกว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิม พ.ศ. 2533
สรุปเหตุการณ์
วันที่2 ตุลาคม ค.ศ. 1990 (1990-10-02)
สรุปการจี้เครื่องบินซึ่งนำไปสู่เหตุเครื่องบินชนกัน
จุดเกิดเหตุท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิม
กว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
23°11′14″N 113°16′05″E / 23.1872°N 113.2680°E / 23.1872; 113.2680
เสียชีวิต128
บาดเจ็บ53
รอดชีวิต97
อากาศยานลำแรก

เครื่องบินโบอิง 737-200 ของเซี่ยเหมินแอร์ไลน์ซึ่งยังคงใช้ลายของสายการบินซีเอเอซีแอร์ไลน์คล้ายกับเครื่องบินลำที่เกิดเหตุ
ประเภทโบอิง 737-247
ดําเนินการโดยเซี่ยเหมินแอร์ไลน์
หมายเลขเที่ยวบิน IATAMF8301
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOCXA8301
รหัสเรียกXIAMEN AIR 8301
ทะเบียนB-2510
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยเหมินเกาฉี
เซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิม
จำนวนคน102
ผู้โดยสาร93
ลูกเรือ9
เสียชีวิต82
บาดเจ็บ18
รอดชีวิต20
อากาศยานลำที่สอง

เครื่องบินโบอิง 757-200 ของไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ซึ่งยังคงใช้ลายของสายการบินซีเอเอซีแอร์ไลน์คล้ายกับเครื่องบินลำที่เกิดเหตุ
ประเภทโบอิง 757-21B
ดำเนินการโดยไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์
หมายเลขเที่ยวบิน IATACZ3523
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOCSN3523
รหัสเรียกCHINA SOUTHERN 3523
ทะเบียนB-2812
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิม
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติช่างไห่หงเฉียว
นครเซี่ยงไฮ้
จำนวนคน122
ผู้โดยสาร110
ลูกเรือ12
เสียชีวิต46
บาดเจ็บ34
รอดชีวิต76
อากาศยานลำที่สาม

เครื่องบินโบอิง 707-300บี ของไชนาเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ซึ่งยังคงใช้ลายของสายการบินซีเอเอซีแอร์ไลน์คล้ายกับเครื่องบินลำที่เกิดเหตุ
ประเภทโบอิง 707-3J6B
ดำเนินการโดยไชนาเซาท์เวสต์แอร์ไลน์
หมายเลขเที่ยวบิน IATASZ4305
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOCXN4305
รหัสเรียกCHINA SOUTHWEST 4305
ทะเบียนB-2402
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูชวงหลิว
เฉิงตู มณฑลเสฉวน
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิม
จำนวนคน1
ผู้โดยสาร0
ลูกเรือ1
เสียชีวิต0
บาดเจ็บ1
รอดชีวิต1 (ทั้งหมด)

อากาศยานและเที่ยวบิน แก้

 
 
CAN
 
XMN (8301)
 
CDU (4305)
 
SHA (3523)
ต้นทางและปลายทางของเที่ยวบินทั้งสามที่เกี่ยวข้อง
  กว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิม (รหัส CAN ยกเลิกและส่งต่อให้ท่าอากาศยานแห่งปัจจุบัน)
  เซี่ยเหมินเกาฉี   เฉิงตูชวงหลิว และ   ช่างไห่หงเฉียว

เครื่องบินที่เกี่ยวข้องในอุบัติเหตุครั้งนี้จำนวน 3 ลำเป็นเครื่องบินของโบอิงทั้งหมด ได้แก่

เครื่องบินทั้งสามลำยังคงใช้ลายของสายการบินซีเอเอซีแอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินประจำสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน (ซีเอเอซี) หลังจากที่ซีเอเอซีแอร์ไลน์ได้แยกกิจการออกเป็นหกสายการบินตามภูมิภาคที่ตั้ง

ลำดับเหตุการณ์ แก้

ในบทความนี้จะแบ่งเหตุการณ์ออกเป็นสองช่วง ได้แก่การจี้เที่ยวบินที่ 8301 และการลงจอดที่ท่าอากาศยานซึ่งเครื่องบินได้ชนกับเครื่องบินอีกสองลำ

การจี้เที่ยวบินที่ 8301 แก้

หลังจากที่เที่ยวบิน 8301 บินขึ้นจากเซี่ยเหมิน สลัดอากาศผู้ก่อเหตุเดินถือช่อดอกไม้ไปยังห้องนักบิน ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอนุญาตให้เข้าไปได้ รายงานในนิตยสาร ไทม์ ระบุว่าเจ้าหน้าที่น่าจะคิดว่าช่อดอกไม้ดังกล่าวเป็นของขวัญเทศกาลไหว้พระจันทร์ที่จะนำไปมอบให้นักบิน และระบุเพิ่มเติมว่าเมื่อเข้าไปในห้องนักบินแล้ว สลัดอากาศเปิดเสื้อแสดงให้เห็นว่ามีระเบิดผูกติดตัว และสั่งให้ลูกเรือออกไปจากห้องนักบินทั้งหมดยกเว้นกัปตัน[4]เฉิน หลงยฺวี่ (จีน: 岑龍裕; พินอิน: Cén Lóngyù)[5] ซึ่งสลัดอากาศได้สั่งให้บินไปยังไทเป ประเทศไต้หวัน กัปตันเฉินขัดขืนและบินมุ่งหน้าไปยังกว่างโจวตามเส้นทางบินเดิม รายงานจากสำนักข่าวซินหัวไม่ได้ระบุสาเหตุที่กัปตันไม่ยอมทำตามคำขอของสลัดอากาศ[6]

เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศไม่สามารถติดต่อกับเที่ยวบินที่ 8301 ได้ชั่วขณะ ก่อนที่เจ้าหน้าที่ประจำท่าอากาศยานกว่างโจวไป๋-ยฺหวินเดิมจะสามารถติดต่อได้ในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้นำเครื่องลงจอดที่ท่าอากาศยานแห่งใดก็ได้ไม่ว่าจะนอกหรือในเขตสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม กัปตันแจ้งกลับไปว่าเครื่องบินมีเชื้อเพลิงเหลือพอที่จะไปยังกว่างโจวหรือไขตั๊กในฮ่องกงเท่านั้น เจ้าหน้าที่จราจรอนุญาตให้นำเครื่องลงจอดที่ไขตั๊กเพื่อเติมเชื้อเพลิงและบินต่อไปยังไทเป แต่สลัดอากาศไม่ยินยอมและขู่ว่าจะระเบิดเครื่องบินถ้ากัปตันนำเครื่องลงที่ฮ่องกง กัปตันพยายามเจรจากับสลัดอากาศและนำเครื่องบินวนรอบกว่างโจวจนกระทั่งเชื้อเพลิงใกล้หมดและลงจอดที่กว่างโจว[5]

เที่ยวบินที่ 8301 ลงจอดและชนกับเครื่องบินอีกสองลำ แก้

ก่อนลงจอด สลัดอากาศได้ต่อสู้กับนักบินเพื่อเข้าควบคุมเครื่องบินแทน เที่ยวบินที่ 8301 ลงจอดด้วยความเร็วสูงกว่าปกติ และเฉี่ยวกับเที่ยวบินที่ 4305 ซึ่งเพิ่งเดินทางจากเฉิงตูมาถึงกว่างโจว นักบินของเที่ยวบินที่ 4305 ซึ่งเป็นคนเดียวที่อยู่บนเครื่องบินได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[2] เที่ยวบินที่ 8301 ยังคงเคลื่อนที่ต่อไปและชนเข้ากับเที่ยวบินที่ 3523[7]ซึ่งกำลังรอบินขึ้นเพื่อเดินทางไปยังเซี่ยงไฮ้ เที่ยวบินที่ 8301 พลิกหงายท้องและไถลต่อไประยะหนึ่งจึงหยุด[8]

ลูกเรือ 7 คนจาก 9 คน และผู้โดยสาร 75 คนจาก 93 คนบนเที่ยวบินที่ 8301 เสียชีวิต ในจำนวนนี้มีผู้โดยสารชาวไต้หวันจำนวน 30 คน ชาวฮ่องกงจำนวน 3 คน และชาวอเมริกันจำนวน 1 คน[1] ในขณะที่ผู้โดยสาร 46 คนจาก 110 คนบนเที่ยวบินที่ 3523 เสียชีวิต ส่วนลูกเรือทั้ง 12 คนรอดชีวิตทั้งหมด[3] ผู้โดยสาร 46 คนที่เสียชีวิตเป็นชาวไต้หวัน 8 คน[9] โดยสรุปแล้วมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 128 คน[6] ซึ่งรวมถึงสลัดอากาศด้วย[4]

ผู้ก่อเหตุ แก้

สลัดอากาศผู้ก่อเหตุในครั้งนี้ได้แก่เจี๋ยง เสี่ยวเฟิง[note 1] (จีนตัวย่อ: 蒋晓峰; จีนตัวเต็ม: 蔣曉峰; พินอิน: Jiăng Xiăofēng) เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1969 ที่อำเภอหลินหลี่ มณฑลหูหนาน[5][10] ซึ่งต้องการลี้ภัยทางการเมืองไปไต้หวัน

เจี่ยงเคยถูกจับกุมข้อหาลักทรัพย์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1988 และต่อมาขณะที่เขาทำงานเป็นตัวแทนจัดซื้อสินค้าใน ค.ศ. 1990 เขาขโมยเงินซึ่งบริษัทมอบหมายให้เขาจัดซื้อสินค้ามูลค่า 17000 เหรินหมินปี้เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม เขาถูกออกหมายจับซึ่งยังคงมีผลอยู่ในช่วงที่เขาก่อเหตุ[10]

สองเดือนถัดมาในวันที่ 29 กันยายน เจี่ยงเช็กอินเข้าพักในโรงแรมใกล้เขตเมืองเซี่ยเหมินและจองที่นั่งบนเที่ยวบินที่ 8301 ในวันถัดมา ในวันเกิดเหตุเขาเช็กเอาต์จากโรงแรมประมาณ 6 นาฬิกา และพยานระบุว่าเขาสวมสูทสีดำและรองเท้าสีดำ มีกระเป๋าเสื้อผ้าสีดำและช่อดอกกุหลาบพลาสติก เจี่ยงขึ้นเครื่องบินคนสุดท้าย และที่นั่งของเขาคือ 16ดี[11]

หมายเหตุ แก้

  1. นามสกุล "เจี่ยง" เป็นคำวรรณยุกต์เสียงสาม เมื่อประสมกับชื่อ "เสี่ยวเฟิง" ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำวรรณยุกต์เสียงสามเช่นกัน "เจี่ยง" จะเปลี่ยนเสียงเป็นเสียงสองหรือ "เจี๋ยง"

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Hijacking description for B-2510 at the Aviation Safety Network
  2. 2.0 2.1 Accident description for B-2402 at the Aviation Safety Network
  3. 3.0 3.1 Accident description for B-2812 at the Aviation Safety Network
  4. 4.0 4.1 "World Notes CHINA". TIME. 15 October 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2012. สืบค้นเมื่อ 24 November 2009.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Lessons Learned from Hijacking" (PDF). Flight Safety Digest. Flight Safety Foundation. December 1990. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 February 2013. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
  6. 6.0 6.1 Kristof, Nicholas D. (10 October 1990). "Hijacking Prompts Beijing Shake-Up". The New York Times. p. 3. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ November 24, 2009.
  7. "广州10.2空难回顾" [Guangzhou 10.2 air crash review] (ภาษาจีน). Guangzhou Daily. 2015-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-04. สืบค้นเมื่อ 2019-07-19.
  8. Wudunn, Sheryl (3 October 1990). "127 Killed in Jetliner Collision in China". The New York Times. p. 3. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 24 November 2009.
  9. FCJ Editors. "Relatives Bring Ashes Home In Sorrow, Anger" (Archive). Taiwan Journal. 15 October 1990. [ลิงก์เสีย]
  10. 10.0 10.1 周益 朱林 (2009-06-12). 白云机场"10·2"特大空难揭秘 ["10·2" Extraordinary Air Accident at Baiyun Airport Revealed]. 周末 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2011-06-12.
  11. "1990年厦航客机空难揭秘 客机遭劫撞毁空姐玉殒" [The secret of the 1990 Xiamen Airlines passenger plane crash revealed. The passenger plane was hijacked and crashed and the flight attendant Yu died]. www.fjsen.com (ภาษาจีน). 2009-06-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-31. สืบค้นเมื่อ 2021-06-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้