ท่าอากาศยานไขตั๊ก
ท่าอากาศยานไขตั๊ก (IATA: HKG, ICAO: VHHH) เป็นอดีตท่าอากาศยานนานาชาติของฮ่องกงใน ค.ศ. 1925 ถึง 1998 มีชื่อทางการว่า ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ใน ค.ศ. 1954 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 มักเรียกกันว่า ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง, ไขตั๊ก[1] หรือสั้น ๆ ว่า ไขตั๊ก และ ท่าอากาศยานนานาชาติไขตั๊ก เพื่อแยกจากท่าอากาศยานนานาชาติเช็กล้าปก๊อกแห่งใหม่ได้เปิดให้บริการ สร้างขึ้นบนที่ดินถมทะเลและพื้นที่ถมรอบเกาะเช็กล้าปก๊อกกับLam Chauทางตะวันตก 30 กิโลเมตร (19 ไมล์)[2]
ท่าอากาศยานนานาชาติไขตั๊ก 啟德機場 | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพถ่ายทางอากาศของท่าอากาศยานไขตั๊กใน ค.ศ. 1998 ในช่วงเช้าหลังปิดบริการ | |||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | ปิดบริการ | ||||||||||
เจ้าของ | รัฐบาลฮ่องกง | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | Civil Aviation Department | ||||||||||
พื้นที่บริการ | |||||||||||
ที่ตั้ง | เกาลูน ฮ่องกง | ||||||||||
เปิดใช้งาน | 25 มกราคม ค.ศ. 1925 | ||||||||||
ปิดใช้งาน | 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 | ||||||||||
ฐานการบิน |
| ||||||||||
เมืองสำคัญ | แพนแอม (–1986) | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 9 เมตร / 30 ฟุต | ||||||||||
พิกัด | 22°19′43″N 114°11′39″E / 22.32861°N 114.19417°E | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
|
ท่าอากาศยานไขตั๊ก | |||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 啟德機場 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 启德机场 | ||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | Kai2dak1 Gei1coeng4 | ||||||||||||||
เยลกวางตุ้ง | Káidāk Gēichèuhng | ||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Qǐdé Jīchǎng | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||
คันจิ | 啓徳空港 | ||||||||||||||
|
ท่าอากาศยานแห่งนี้เคยเป็นฐานการบินหลักของ คาเธย์แปซิฟิก, ดราก้อนแอร์ ,ฮ่องกงเอ็กซ์เพรสแอร์เวย์, ฮ่องกงแอร์ไลน์ และ แอร์ฮ่องกง
ประวัติ
แก้ท่าอากาศยานไขตั๊กตั้งอยู่ทางเหนือของอ่าวเกาลูน ท่าอากาศยานแห่งนี้ล้อมรอบไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ซึ่งภูเขาที่มีความสูงที่สุดได้อยู่ห่างจากสนามบินไปทางเหนือ เพียง 10 กิโลเมตร มีความสูงถึง2000 ฟุต (610 เมตร) ไขตั๊กมีทางวิ่งเพียงหนึ่งทางวิ่งเรียกว่า รันเวย์ 13/31 รันเวย์นี้สร้างขึ้นจากการถมทะเลบนอ่าว และได้ขยายความยาวมาเรื่อยๆจนถึง 3,390 เมตร
ปิดท่าอากาศยาน
แก้ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงแห่งใหม่ได้เปิดในเช้าวันที่ 6 กรกฎาคม 2541 ซึ่งหมายถึงกิจกรรมการบินต่างๆต้องถูกย้ายไปที่ท่าอากาศยานแห่งใหม่ทั้งหมด
วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 เวลา 01:28 หลังจากเครื่องบินลำสุดท้ายได้ทะยานออกไป ท่าอากาศยานไขตั๊ก ก็ถูกปิดอย่างสมบูรณ์แบบ หลังจากเปิดให้บริการแก่ประชาชนชาวฮ่องกง และทั่วโลกมาอย่างยาวนานถึง 77 ปี
- ไฟลท์ขาเข้าสุดท้าย: สายการบินดรากอนแอร์ เที่ยวบิน KA841 มาจาก ฉงชิ่ง แตะรันเวย์เวลา 23.38 น.
- ไฟลท์ขาออกสุดท้าย : สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค เที่ยวบิน CX251 ไป ลอนดอน ออกเวลา 00.02 น.
หลังจากส่งเครื่องบินลำสุดท้ายขึ้น พนักงานบนหอบังคับการบินได้จัดพิธีปิดสนามบินบนหอบังคับการบิน และได้พูดคำสุดท้ายขณะปิดไฟรันเวย์ว่า " ลาก่อนไขตั๊ก, ขอบคุณ"
ปัจจุบัน
แก้ปัจจุบันท่าอากาศยานไขตั๊ก ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นท่าเรือสำราญ (Cruise Terminal) และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไขตั๊กครูสเทอมินอล (ภาษาอังกฤษ:Kai Tak Cruise Terminal) ซึ่งเปิดให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1,000 ล้านเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐ
อ้างอิง
แก้- ↑ Photo of Kai Tak Airport, shown the official name of the airport เก็บถาวร 18 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Kai Tak Airport 1925–1998". Civil Aviation Department, Government of Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-01-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Airport Kai Tak Airport 1925-1998." Hong Kong Civil Aviation Department
- Archives of the Kai Tak webpage at Hong Kong Civil Aviation Department (during the airport's operation)
- Kai Tak Development – official site
- Pictures from Kai Tak: Airliners.net – Jetphotos.net
- Historic photographs of Kai Tak. เก็บถาวร 2022-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- An account by a Kai Tak Air Traffic Controller – Phil Parker