เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ระเบิดขนาดเล็กจำนวนมากได้จุดชนวนระเบิดกว่าห้าแห่งทั่วทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[4] สถานที่เกิดเหตุ ได้แก่ สถานีช่องนนทรี ใกล้กับคิง เพาเวอร์ มหานคร, ย่านพระราม 9, ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร, กองบัญชาการกองทัพไทย และภายในร้านมินิโซสยามสแควร์[5][6] การระเบิดทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเจ็ดคน[1]
เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562 | |
---|---|
![]() ร่องรอยการระเบิดบนพื้นของร้านมินิโซ ภายในสยามสแควร์ | |
สถานที่ | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
วันที่ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (เวลาสากลเชิงพิกัด+07:00) |
ประเภท | การวางระเบิด |
เจ็บ | 7 คน[1] |
ผู้ก่อเหตุ | ผู้แบ่งแยกดินแดนมุสลิม (ที่ถูกสงสัย)[2][3] |
การสอบสวนเบื้องต้นโดยตำรวจไทยได้รายงานว่าผู้ต้องสงสัยที่ก่อความไม่สงบมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเดียวกันที่ได้ทำการโจมตีแบบเดียวกันใน พ.ศ. 2559[5] เหตุระเบิดดังกล่าวเกิดขึ้นใกล้กับช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จัดขึ้นในตัวเมือง[4]
การโจมตี แก้ไข
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 04:45 น. ตามเวลากรุงเทพ (เวลาสากลเชิงพิกัด+7.00) ได้เกิดเหตุระเบิดเล็กน้อยที่ที่มินิโซสาขาหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านขายสินค้าสาธารณูปโภค ในศูนย์การค้าสยามสแควร์ เขตปทุมวัน ซึ่งระเบิดถูกยัดไว้ในตุ๊กตาจากการ์ตูนซีรีส์ 3 หมีจอมป่วน ส่งผลให้ชั้นวางและสินค้าในร้านพังเสียหาย ซึ่งไม่มีใครได้รับบาดเจ็บเนื่องจากร้านยังไม่เปิด กล้องรักษาความปลอดภัยเปิดเผยในภายหลังว่าระเบิดถูกวางโดยชายสวมหน้ากากที่สวมแว่นกันแดดเมื่อวันก่อน โดยร้านยังคงปิดเป็นเวลาสองวันเพื่อซ่อมบำรุงชั้นวางที่เสียหาย[7]
เมื่อเวลา 07:00 น. มีการแจ้งเหตุระเบิดสี่ลูกที่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครที่สถานีตำรวจท้องที่ ระเบิดสองลูกแรกได้จุดชนวนที่หน้าทางเข้าศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ตามด้วยระเบิดลูกที่สาม ซึ่งได้ระเบิดที่หน้ากองบัญชาการกองทัพไทย ส่วนระเบิดลูกที่สี่ถูกปลดชนวนโดยเจ้าหน้าที่อีโอดีที่อาคารบี ของศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร[8][9][10] และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ[10]
เมื่อเวลา 08:00 น. ได้มีการจุดชนวนระเบิด 2 ลูกที่หน้าสถานีช่องนนทรี และบริเวณทางเข้าคิง เพาเวอร์ มหานคร ซึ่งตามมาด้วยมีรายงานว่าพบวัตถุต้องสงสัยที่อยู่ด้านหน้าทางเข้ารถไฟฟ้าบีทีเอส ตำรวจท้องที่ได้ทำลายวัตถุระเบิดต้องสงสัยด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูง[8][11] โดยมีรายงานผู้บาดเจ็บ 2 ราย และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต[1]
เมื่อเวลา 8:50 น. ระเบิดลูกที่เจ็ดได้จุดชนวนในย่านพระรามเก้า แยก 57/1 ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 4 รายและบาดเจ็บสาหัส 2 ราย[9] รวมถึงมีการรายงานเกี่ยวกับอุปกรณ์ระเบิดต้องสงสัยที่เป็นเท็จหลายครั้งหลังจากเกิดเหตุการณ์ 3 ครั้งแรก[1]
ทั้งนี้ การประชุมสุดยอดอาเซียนไม่ได้มีการหยุดชะงัก[12]
การสอบสวน แก้ไข
การสอบสวนเบื้องต้นรายงานโดยสำนักข่าวกรองแห่งชาติซึ่งรายงานว่าการโจมตีครั้งนี้อาจเชื่อมโยงกับการขยายปฏิบัติการโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำฝ่ายค้านของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้แถลงว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มเดียวกันที่ก่อเหตุโจมตีลักษณะเดียวกันในเจ็ดอำเภอภาคใต้เมื่อ พ.ศ. 2559[5]
วัตถุระเบิดที่ตำรวจไทยรายงานเชื่อว่าเป็นระเบิดแบบทำที่บ้านซึ่งมีขนาดเท่าลูกเทนนิส[4] แม้ว่าจะยังไม่ทราบแรงจูงใจของการโจมตีครั้งนี้ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นการโจมตีภาพลักษณ์ของประเทศในขณะที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ซึ่งผู้นำทางการเมืองจากแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ในขณะที่ยังมีตัวแทนของประเทศอื่น ๆ เช่น รัฐมนตรีต่างประเทศของสหราชอาณาจักร, รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ และนักการทูตของจีน[4][13]
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สั่งการให้กองบังคับการปราบปราม (CSD) ตรวจสอบการโจมตีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา[14] ซึ่งกองบังคับการปราบปรามได้ทำงานร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด (OAG) อย่างใกล้ชิด เพื่อรวบรวมข่าวกรองและหลักฐานเกี่ยวกับการโจมตี รวมถึงมีรายงานว่าได้มีการวางแผนโจมตีดังกล่าวใกล้ชายแดนไทย–มาเลเซีย[14]
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ตำรวจไทยได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับเหตุโจมตี การโจมตีนี้จัดทำโดยกลุ่มคน 15 คน ซึ่งพยานหลักฐานได้มาจากการสอบถามผู้ต้องสงสัย 2 คนที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม[15] ขณะที่มีการสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบสถานที่ระเบิดและได้รวบรวมหลักฐานกล้องวงจรปิด รวมถึงตัวอย่างลายนิ้วมือและดีเอ็นเอจากสถานที่ดังกล่าว สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจได้ตรวจสอบตัวอย่างและได้ขีดฆ่าประวัติอาชญากร เพื่อจำกัดการค้นหาผู้ต้องสงสัยอีก 13 คนให้แคบลง[15]
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ตำรวจไทย ซึ่งนำโดยศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ได้ออกหมายจับผู้ต้องสงสัยจำนวน 9 คน เจ้าหน้าที่ยังอ้างว่าผู้ต้องสงสัยบางคนอาจมีประวัติอาชญากรรม[16] ขณะที่ผู้ต้องหาอีก 2 คนที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ได้รับโทษจำคุกชั่วคราวตามคำสั่งศาล[16]
เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่กองปราบปราม มีผู้ต้องสงสัยอีก 2 คนที่ถูกจับกุมจากจังหวัดนราธิวาส โดยผู้ต้องสงสัย 2 คนได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา[17][18] ซึ่งผู้ต้องสงสัย 2 รายนี้ถูกกล่าวหาว่าส่งมอบอุปกรณ์ระเบิดให้กับมือระเบิดตามจุดต่าง ๆ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม[17] และเจ้าหน้าที่ตำรวจนิติวิทยาศาสตร์ได้เก็บตัวอย่างดีเอ็นเอ รวมถึงลายนิ้วมือเพื่อตรวจเทียบกับตัวอย่างที่รวบรวมจากจุดเกิดเหตุ[17]
ภายในวันที่ 4 กันยายน ศาลอาญาได้ออกหมายจับทั้งหมด 14 หมาย และได้จับกุมผู้ต้องสงสัยทั้งหมด 3 ราย[17]
ปฏิกิริยา แก้ไข
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นผู้นำเผด็จการทหาร ได้ตอบโต้การโจมตีครั้งนี้ด้วยการประณามผู้ที่วางแผนโจมตีและทำลายความสงบเรียบร้อยของประเทศ ขณะที่รองนายกรัฐมนตรี ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้บอกกับนักข่าวว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้เตรียมสร้างสถานการณ์ให้รัฐบาลอับอายในขณะที่ตัวเมืองเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน[19]
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จักรทิพย์ ชัยจินดา เชื่อเช่นกันว่าเหตุจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง เนื่องจากประเทศไทยได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกในเดือนมีนาคมนับตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557[19][20][21] อย่างไรก็ตาม ฝ่ายค้านของรัฐบาลหลายคนเชื่อว่าการโจมตีครั้งนี้เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลเอง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณชนต่อภาพลักษณ์สาธารณะที่ย่ำแย่ของรัฐบาลในปัจจุบัน[22]
การจับกุม, การคุมขัง และการดำเนินคดีอื่น ๆ แก้ไข
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ผู้ต้องสงสัยสองคนถูกจับกุมที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และถูกส่งตัวไปคุมขังชั่วคราว[9] ส่วนผู้ต้องสงสัยอีก 2 คนที่ช่วยประสานการโจมตีถูกจับกุมในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 กันยายน[18][17]
ดูเพิ่ม แก้ไข
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "นายกฯ สั่งสอบสวนเหตุคล้ายระเบิดหลายจุดใน กทม" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
- ↑ ข้อสังเกตทางกฎหมายต่อกรณีการจับกุมควบคุมตัว 2 ผู้ต้องสงสัย ลอบวางระเบิดในเขตกรุงเทพมหานคร
- ↑ ระเบิด กทม. : รัฐบาลระบุควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยแล้ว 9 คน ผู้ก่อเหตุมาจากชายแดนใต้
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Ellis-Petersen, Hannah (2019-08-02). "Small bombs explode in Bangkok during Asean summit". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-10-09.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Limited, Bangkok Post Public Company. "Bangkok rocked by bomb blitz". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
- ↑ Thaiger, The (2019-08-03). "[อัปเดต] สรุปเหตุการณ์ระเบิดกรุงเทพ รายงานผู้บาดเจ็บ". The Thaiger. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12. สืบค้นเมื่อ 2019-10-10.
- ↑ เผยภาพหนุ่มต้องสงสัย ซุกระเบิดใส่ตุ๊กตาในห้างดัง
- ↑ 8.0 8.1 "EOD กู้แล้ว! ระเบิดลูกที่ 4 หน้า 'กองทัพไทย' ยังปิดการจราจรเข้าศูนย์ราชการฯ". naewna.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "ลำดับเหตุการณ์ระเบิดกรุงเทพฯ 1-2 ส.ค. 2562 ศูนย์เอราวัณสรุปบาดเจ็บ 4 คน | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
- ↑ 10.0 10.1 "ป่วนกรุงระเบิดหลายจุดศูนย์ราชการ - บีทีเอส". komchadluek.net. 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
- ↑ matichon (2019-08-02). "บึ้ม BTS ช่องนนทรี-ตึกมหานคร หลังระเบิด 'บอลแบริ่ง'กระจายเกลื่อน เจ็บ2-วินหูอื้อ". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
- ↑ Ellis-Petersen, Hannah (2019-08-02). "Small bombs explode in Bangkok during Asean summit". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-08-03.
- ↑ "Bombs hit Bangkok during major security meeting". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
- ↑ 14.0 14.1 Limited, Bangkok Post Public Company. "CSD ordered to take lead in capital bomb blitz investigation". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
- ↑ 15.0 15.1 matichon (2019-08-05). "ชง'บิ๊กตู่'แถลงคดี'ระเบิดป่วนเมือง'พรุ่งนี้ ทีมสอบสวนรู้ '15 มือ'บึ้ม!พักหน้ารามฯ-ธัญบุรี". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2019-10-21.
- ↑ 16.0 16.1 ""ศรีวราห์" ตรวจสำนวนคดีบึ้มป่วนกรุง ปัดตอบคุม 18 ผู้ต้องสงสัย". Thai PBS. 2019-08-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 "ตำรวจจับผู้ต้องหาร่วมก่อเหตุวางระเบิดในกทม". Thai PBS. 2019-09-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
- ↑ 18.0 18.1 Limited, Bangkok Post Public Company. "Police reveal little about bombing motivation". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
- ↑ 19.0 19.1 "Bangkok hit by six bomb blasts at different locations". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-20.
- ↑ "Thai Police Suspect Southern Insurgents in Bangkok Bombings". Voice of America (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
- ↑ "Bangkok bombings may be linked to politics: police". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
- ↑ matichon (2019-08-04). "รายงาน : วิพากษ์ระเบิดกทม.ปี'62 หน้าเดิม-โยงการเมือง?". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.