ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล

พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล[2] เป็นนายตำรวจราชองครักษ์[3] และเป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ, อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ด้านความมั่นคง, ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยการออกเสียงประชามติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ[4] อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอดีตผู้บัญชาการตำรวจ นายตำรวจราชสำนักเวร[5]

พลตำรวจเอก
ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล
สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กันยายน พ.ศ. 2502 (65 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสกัณมิตศิณี รังสิพราหมณกุล (หย่า)
อรวรรณ รังสิพราหมณกุล
บุพการี
  • สุพีร์ รังสิพราหมณกุล (บิดา)
  • ชมจันทร์ รังสิพราหมณกุล (มารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 35
ชื่อเล่นปู
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ยศ พลตำรวจเอก
ผ่านศึกความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[1]

ประวัติ

แก้

พล.ต.อ. ศรีวราห์ หรือที่สื่อมวลชนมักจะเรียกว่า ปู เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2502 เป็นบุตรของนายสุพีร์ รังสิพราหมณกุล (เสียชีวิต) กับนางชมจันทร์ รังสิพราหมณกุล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีรัฐประศาสนบัณฑิตจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 35 เพื่อนร่วมรุ่นที่มีชื่อเสียง อาทิ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8[6]

วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พล.ต.อ.ศรีวราห์ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

พล.ต.อ.ศรีวราห์ เป็นหัวหน้าชุดคลี่คลายคดีระเบิด เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 ต่อมาเมื่อ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงได้แต่งตั้ง พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีระเบิดแยกราชประสงค์และท่าเรือสาทร[7]

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[8] พล.ต.อ.ศรีวราห์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อเป็นการเยียวยา พล.ต.อ.ศรีวราห์ที่ได้รับการโยกย้ายตำแหน่งแบบไม่เป็นธรรม ภายหลังเกิดเหตุการณ์ระเบิดและวางเพลิงระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึง 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ใน 7 จังหวัด พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน[9]

ปี พ.ศ. 2562 ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[10][11]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

บิ๊กปู ปัจจุบันสมรสกับนางอรวรรณ รังสิพราหมณกุล มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ร.อ.สัณห์ธีร์ รังสิพราหมณกุล (ชื่อเล่น:ปลั๊ก)และ นางสาวสุพรียา รังสิพราหมณกุล (ชื่อเล่น:แป้ง) อดีตเคยสมรสกับนางกัณมิตศิณี รังสิพราหมณกุล มีบุตรชายคนเดียว คือ พ.ต.ท.ธียาฌพัตท์ รังสิพราหมณกุล (ชื่อเล่น:พัช)

รางวัลที่ได้รับ

แก้
  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2561[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ศรีวราห์" ขออนุมัติหมายจับ 8 โจรใต้ รับมอบตัว 2 ราย ลุยสอบเอง!
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล, เล่ม 132, ตอน 29 ข, 23 พฤศจิกายน 2558, หน้า 1
  3. นายตำรวจราชองครักษ์
  4. ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยการออกเสียงประชามติ[ลิงก์เสีย]
  5. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  6. พล.ต.ต.ปวีณ" ลี้ภัยแดนออสซี่...อีกหนึ่งคีย์แมนคดีค้าโรฮิงญาที่ถูกลืม
  7. "ศรีวราห์ เป็นหัวหน้าชุดคลี่คลายคดีระเบิด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-12. สืบค้นเมื่อ 2016-05-11.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ, เล่ม 132, ตอนพิเศษ 306 ง, 23 พฤศจิกายน 2558, หน้า 1
  9. "พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2016-08-15.
  10. คณะรัฐมนตรี แถลงมติ แต่งตั้ง “พล.ต.อ.ศรีวราห์” เป็น “ที่ปรึกษานายกฯ”
  11. ครม. มีมติแต่งตั้ง “ศรีวราห์” นั่งตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ
  12. "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๒, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๖, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๓๖ ข หน้า ๓๗, ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔