เสถียร เพิ่มทองอินทร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตราชองครักษ์พิเศษ [3] อดีตเป็นประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม[4][5] สืบต่อจาก พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท ที่เกษียณอายุราชการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554
เสถียร เพิ่มทองอินทร์ | |
---|---|
ไฟล์:เสถียร เพิ่มทองอินทร์.jpg | |
ปลัดกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท |
ถัดไป | พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494[1] |
คู่สมรส | ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย กระทรวงกลาโหม |
ประจำการ | ? - 2555 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก[2] |
บังคับบัญชา | ปลัดกระทรวงกลาโหม |
การศึกษา
แก้พล.อ.เสถียร เป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 11 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 22 เคยผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 48 จบการศึกษาด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การทำงาน
แก้พล.อ.เสถียร เคยดำรงตำแหน่งสำคัญดังนี้
- ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่
- ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 6
- เสนาธิการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 6
- รองผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 6
- ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56
- ผู้อำนวยการกองยุทธการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้รับตำแหน่งรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารพัฒนาเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ต่อมาได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555[6] ก่อนจะเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ต่อมาภายหลังศาลปกครอง ได้มีคำสั่งให้ถอนคำสั่งดังกล่าว[7]
เกียรติยศ
แก้พล.อ.เสถียร ได้รับเกียรติยศและได้รับการยกย่องหลายด้าน อาทิ ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนวัดราชาธิวาส ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนเสนาธิการทหารบก บุคคลดีเด่นประจำปี 2551 MAN OF THE YEAR จากนิตยสารเส้นทางไทย เป็นประธานนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 22 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นประธานนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 11 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 รางวัลเกียรติยศจักรดาวปี พ.ศ. 2552
พล.อ.เสถียร ได้รับโปรดเกล้าเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาลูกเสือแห่งชาติปี พ.ศ. 2552 ได้รับพระราชทานโล่เกียรติคุณ รางวัลบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนแห่งชาติปี พ.ศ. 2552 เป็นตุลาการศาลทหารสูงสุด ปี พ.ศ. 2553 เป็นนายกสมาคม ลอนโบวล์สแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2554 และเป็นประธานนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นปี 2548 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554
คดีความ
แก้วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่า พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ผู้คัดค้าน จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๖๔ ประกอบมาตรา ๒๖๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๑ ห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปี นับแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ กับมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ ลงโทษจำคุก ๒ เดือน และปรับ ๔,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๑ ปี ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ [8]
ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.อ.เสถียร มีชื่อเล่นว่า "เปี๊ยก" สื่อมวลชนจึงมักเรียกชื่อตามภาษาของสื่อฯว่า "บิ๊กเปี๊ยก" ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ นายกเทศมนตรีตำบลคำขวาง มีบุตรี 1 คน คือ ร.อ.หญิง ณิชาพัฒน์ เพิ่มทองอินทร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ชีวประวัติตามทำเนียบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-02. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 7 ข วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555
- ↑ ราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ (จำนวน 584 ราย)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 115 ง วันที่ 1 ตุลาคม 2554
- ↑ เปิดรายชื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร 584 ตำแหน่ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เด้ง!'พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์'พ้นปลัดกห". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2015-09-30.
- ↑ ศาลปกครอง เพิกถอนคำสั่งกลาโหม เด้ง เสถียร-ชาตรี
- ↑ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๗ มิถุนายน ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๑๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔