เซเรนา วิลเลียมส์

นักกีฬาเทนนิส

เซเรนา จาเมกา วิลเลียมส์ (อังกฤษ: Serena Jameka Williams)[4] เกิด: 26 กันยายน ค.ศ. 1981 เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวอเมริกันมือวางอันดับ 41 ของโลกคนปัจจุบันและอดีตมือวางอันดับของโลก 1 จำนวน 319 สัปดาห์ (รวมถึงจำนวน 186 สัปดาห์ติดต่อกัน) เธอได้รับการยกย่องให้เป็นผู้เล่นหญิงที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์รวมถึงเป็นหนึ่งในนักกีฬาหญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง[5][6][7][8][9] วิลเลียมส์เป็นเจ้าของตำแหน่งชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมในประเภทหญิงเดี่ยวจำนวน 23 สมัยซึ่งเป็นสถิติมากที่สุดในยุคโอเพน และเป็นสถิติอันดับสองในประวัติศาสตร์รองจาก มาร์กาเร็ต คอร์ต ตำนานชาวออสเตรเลีย (24 สมัย) เธอเป็นมือวางอันดับ 1 ของโลกถึง 8 ครั้งในช่วงระหว่าง ค.ศ. 2002-2017

เซเรนา วิลเลียมส์
เซเรนาในการแข่งขันยูเอสโอเพนปี 2013
ชื่อเต็มเซเรนา จาเมกา วิลเลียมส์
ประเทศ (กีฬา) สหรัฐอเมริกา
ถิ่นพำนักPalm Beach Gardens, Florida, U.S.[1]
วันเกิด (1981-09-26) 26 กันยายน ค.ศ. 1981 (42 ปี)
Saginaw, Michigan, U.S.
ส่วนสูง5 ฟุต 9 นิ้ว (175 เซนติเมตร)
เทิร์นโปรตุลาคม 1995
การเล่นRight-handed (two-handed backhand)
ผู้ฝึกสอนRichard Williams (1994–)
Oracene Price
Patrick Mouratoglou (2012–)[2]
เงินรางวัลUS$ 94,236,271[3]
เว็บไซต์ทางการwww.serenawilliams.com
เดี่ยว
สถิติอาชีพ851–149 (85.1%)
รายการอาชีพที่ชนะ73 (5th in overall rankings)
อันดับสูงสุดNo. 1 (July 8, 2002)
อันดับปัจจุบันNo. 16 (July 12, 2021)
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพนW (2003, 2005, 2007, 2009, 2010, 2015, 2017)
เฟรนช์โอเพนW (2002, 2013, 2015)
วิมเบิลดันW (2002, 2003, 2009, 2010, 2012, 2015, 2016)
ยูเอสโอเพนW (1999, 2002, 2008, 2012, 2013, 2014)
การแข่งขันอื่น ๆ
Grand Slam CupW (1999)
Tour FinalsW (2001, 2009, 2012, 2013, 2014)
Olympic GamesW (2012)
คู่
สถิติอาชีพ190–34 (84.8%)
รายการอาชีพที่ชนะ23
อันดับสูงสุดNo. 1 (June 21, 2010)
อันดับปัจจุบันNo. 406 (February 22, 2021)
ผลแกรนด์สแลมคู่
ออสเตรเลียนโอเพนW (2001, 2003, 2009, 2010)
เฟรนช์โอเพนW (1999, 2010)
วิมเบิลดันW (2000, 2002, 2008, 2009, 2012, 2016)
ยูเอสโอเพนW (1999, 2009)
การแข่งขันคู่อื่น ๆ
Tour FinalsSF (2009)
คู่ผสม
สถิติอาชีพ27–4 (87.1%)
ผลแกรนด์สแลมคู่ผสม
Australian OpenF (1999)
French OpenF (1998)
WimbledonW (1998)
US OpenW (1998)
การแข่งขันแบบทีม
Fed CupW (1999), record 17–3
Hopman CupW (2003, 2008)
รายการเหรียญรางวัล
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: February 22, 2021

วิลเลียมส์ครองตำแหน่งชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมมากที่สุดในบรรดาผู้เล่นหญิงทุกคนที่ยังคงเล่นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในประเภทเดี่ยว คู่ และ คู่ผสม แชมป์แกรนด์สแลมจำนวน 39 รายการของเธอถือเป็นสถิติอันดับที่ 3 ตลอดกาลและอันดับ 2 ในยุคโอเพน ประกอบด้วย : 23 รายการในประเภทเดี่ยว, 14 รายการในประเภทคู่ และ 2 รายการในประเภทคู่ผสม เธอเป็นผู้เล่นหญิงคนล่าสุดที่สามารถคว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้ 4 รายการติดต่อกัน (ค.ศ. 2002–03 และ 2014–15) และเป็นผู้เล่นคนที่ 3 ที่ทำสถิติดังกล่าวได้สองครั้ง ต่อจาก ร็อด เลเวอร์ และ สเตฟฟี กราฟ เธอยังเป็นผู้เล่นคนล่าสุดที่ได้แชมป์แกรนด์สแลมในทุกพื้นผิวสนาม (ฮาร์ดคอร์ต, คอร์ตดิน และ คอร์ตหญ้า) ในหนึ่งปีปฏิทิน (ค.ศ. 2015) นอกจากนี้ เธอและพี่สาว (วีนัส วิลเลียมส์) ยังเป็นคู่นักเทนนิสหญิงคู่ล่าสุดที่คว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้ 4 รายการติดต่อกัน (ค.ศ. 2009-2010)

วิลเลียมส์ทำสถิติชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมในประเภทหญิงเดี่ยวบนฮาร์ดคอร์ตจำนวน 13 รายการ และยังเป็นเจ้าของสถิติยุคโอเพนในการชนะเลิศแกรนด์สแลมออสเตรเลียนโอเพน 7 สมัย และเป็นหนึ่งในสองผู้เล่นที่ชนะเลิศรายการยูเอสโอเพน 6 สมัย รวมถึงเป็นเจ้าของสถิติคว้าชัยชนะจากการแข่งขันรายการแกรนด์สแลมในประเภทหญิงเดี่ยวจำนวน 367 นัด และเธอยังเป็นผู้เล่นหญิงเพียงคนเดียวที่สามารถคว้าแชมป์แกรนด์สแลมหลังจากอายุครบ 30 ปี ได้ถึง 10 รายการ[10]

เธอและพี่สาวของเธอถือเป็นหนึ่งในคู่นักเทนนิสหญิงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาล[11][12] โดยสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศแกรนด์สแลมประเภทคู่ร่วมกันได้ 14 รายการและไม่เคยพ่ายแพ้ในรอบชิงชนะเลิศแกรนด์สแลมประเภทคู่ตลอด 14 รายการที่จับคู่กัน[13] และแชมป์แกรนด์สแลมหญิงคู่จำนวน 14 รายการดังกล่าวยังถือเป็นสถิติที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ตลอดกาลอีกด้วย เซเรนา วิลเลียมส์ ยังคว้าเหรียญทองจากการกีฬาโอลิมปิกได้ถึง 4 เหรียญ โดยแบ่งเป็นประเภทเดี่ยว 1 ครั้ง และประเภทคู่ร่วมกับพี่สาวของเธออีก 3 ครั้ง[14] ซึ่งถือเป็นสถิติการคว้าเหรียญทองที่มากที่สุดของนักเทนนิสหญิงในกีฬาโอลิมปิก โดยทั้งวีนัสและเซเรนายังถือเป็นนักเทนนิสหญิงเพียงสองคนในประวัติศาสตร์ที่สามารถคว้าเหรียญทองโอลิมปิกได้ทั้งในประเภทเดี่ยวและประเภทคู่

วิลเลียมส์ถือเป็นนักกีฬาหญิงที่ทำรายได้มากที่สุดตลอดกาล[15] และยังได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสารฟอบส์ให้เป็นนักกีฬาหญิงที่มีรายได้สูงที่สุดในปี 2016[16] และ 2017 นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลนักกีฬาหญิงยอดเยี่ยมประจำปีของโลก (Laureus Sportswoman of the Year' award) 4 สมัย

ประวัติและชีวิตในช่วงต้น

แก้

วิลเลียมส์เกิดในเมืองแซกินอว์ รัฐมิชิแกน เป็นบุตรสาวของ ออราซีน ไพรซ์ และ ริชาร์ด วิลเลียมส์[17] และเป็นลูกคนสุดท้องในลูกสาวห้าคนของไพรซ์:[18] เธอมีพี่สาวต่างมารดาได้แก่ Yetunde, Lyndrea และ Isha Price และพี่สาวร่วมบิดามารดาคือ วีนัส และ เธอยังมีพี่น้องต่างบิดาอีกอย่างน้อย 7 คน[19] เมื่อเธอยังเด็ก ครอบครัวของเธอย้ายไปคอมป์ตัน แคลิฟอร์เนีย ซึ่งวิลเลียมส์เริ่มเล่นเทนนิสเมื่ออายุ 4 ขวบ พ่อของเธอได้สอนหนังสือให้กับเธอและพี่สาวของเธอโดยเป็นการเรียนที่บ้าน แม้ว่าในช่วงแรกพ่อแม่ของเธอได้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนเทนนิสให้กับเธอ แต่เธอก็ได้รับการพัฒนาและคำแนะนำจากผู้ฝึกสอนชื่อดังคนอื่นๆ

 
เซเรนา วิลเลียมส์ และ พี่สาวของเธอ (วีนัส) ณ เมืองบัลติมอร์ ปี 1993

เมื่อวิลเลียมส์อายุได้ 9 ขวบ เธอและครอบครัวของเธอย้ายจากคอมป์ตันไปยัง เวสต์ปาล์มบีช ฟลอริดา เพื่อที่เธอจะได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสอนเทนนิสของริก แมคชี ผู้ฝึกสอนเทนนิสชื่อดัง ซึ่งแมคชี ไม่ได้เห็นด้วยกับพ่อของวิลเลียมส์ในทุกเรื่อง แต่เขาก็ให้ความเคารพต่อครอบครัวของวิลเลียมส์เสมอและดูแลวิลเลียมส์เสมือนเป็นลูกสาวของเขาเอง[20] พ่อของเธอยุติการส่งลูกสาวไปแข่งขันเทนนิสเมื่อวิลเลียมส์อายุ 10 ขวบเพราะต้องการให้เธอทั้งสองจดจ่อกับการเรียนและประสบการณ์การโดนเหยียดผิวและเชื้อชาติก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจของครอบครัวเธอเช่นกัน คุณพ่อของเธอจึงตัดสินใจให้ลูกสาวยุติการเล่นเทนนิสเป็นการชั่วคราว โดย ริชาร์ด วิลเลียมส์ พ่อของเธอเคยได้ยินพ่อแม่ผิวขาวพูดถึงพี่น้องวิลเลียมส์ในเชิงเสื่อมเสียในระหว่างการแข่งขัน ในช่วงเวลานั้น เซเรนา วิลเลียมส์ มีสถิติชนะและแพ้อยู่ที่ 46-3 ในการแข่งขันระดับจูเนียร์ทัวร์ของสมาคมเทนนิสแห่งสหรัฐอเมริกาและอยู่ในอันดับที่ 1 ในบรรดาผู้เล่นอายุต่ำกว่า 10 ปีในการแข่งขันที่ฟลอริดา ต่อมา ในปี 1995 เมื่อวิลเลียมส์อยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 9 พ่อของเธอให้ลูกสาวออกจากสถาบันของแมคชีและพี่น้องวิลเลียมส์ได้อยู่ภายใต้การฝึกสอนของผู้เป็นพ่อมานับตั้งแต่นั้น

สถิติโลก

แก้

ในฐานะนักเทนนิสหญิงที่ได้รับการยกย่องว่าเก่งที่สุดตลอดกาล[21] เซเรนา วิลเลียมส์ ได้สร้างสถิติใหม่ในวงการเทนนิสมากมายนับตั้งแต่เริ่มเล่นอาชีพในปี 1995 โดยสถิติสำคัญของเธอได้แก่:[22]

  • เป็นผู้เล่นแอฟริกัน-อเมริกันคนแรกที่ชนะเลิศแกรนด์สแลมออสเตรเลียนโอเพน
  • เป็นผู้เล่นหญิงคนที่ 6 คว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้ครบทุกรายการ
  • เป็นผู้เล่นคนเดียวที่สามารถคว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้ 3 รายการหลังจากเป็นฝ่ายเสียเปรียบในแต้ม Match Point
  • เป็นผู้เล่นหญิงที่ทำเงินรางวัลรวมได้มากที่สุดตลอดกาล (95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[23]
  • เป็นผู้เล่นหญิงที่ครองตำแหน่งมือวางอันดับ 1 ด้วยอายุที่มากที่สุด (35 ปี 6 เดือน 29 วัน ในวันที่ 24 เมษายน 2017)
  • ทำสถิติเสริ์ฟเอชในการแข่งขันวิมเบิลดันมากถึง 102 ครั้ง[24] (ปี 2012)
  • เป็นผู้เล่นหญิงที่คว้าแชมป์ออสเตรเลียนโอเพนได้มากที่สุดจำนวน 7 สมัย[25]
  • เป็นหนึ่งในสองผู้เล่นหญิงที่คว้าแชมป์ยูเอสโอเพนได้ 6 สมัย[26]
  • เป็นผู้เล่นหญิงที่คว้าแชมป์แกรนด์สแลมในการแข่งขันบนฮาร์ดคอร์ตได้ 13 รายการ
  • เป็นผู้เล่นหญิงคนเดียวในยุคโอเพนที่ทำสถิติคว้าชัยชนะในการแข่งขันแกรนด์สแลมได้อย่างน้อย 50 นัดในแต่ละรายการ
  • เป็นผู้เล่นคนเดียว (นับรวมทั้งประเภทชายและหญิง) ที่สามารถคว้าชัยชนะในการแข่งขันแกรนด์สแลมจำนวนสามรายการได้อย่างน้อย 80 นัด (ออสเตรเลียนโอเพน, วิมเบิลดัน และ ยูเอสโอเพน)
  • เป็นผู้เล่นคนเดียว (นับรวมทั้งประเภทชายและหญิง) ที่สามารถคว้าแชมป์แกรนด์สแลมได้อย่างน้อย 10 รายการในช่วงเวลาสองทศวรรษ (ทศวรรษ 2000 และ 2010)

รูปแบบการเล่น

แก้

วิลเลียมส์ถือเป็นผู้เล่นที่มีกราวน์สโตรกที่หนักหน่วงและทั้งลูกยิงโฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์ของเธอได้รับการยกย่องว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในโลก[27][28] เธอยังเป็นผู้เล่นที่มีลูกเสริ์ฟที่อันตรายมาก ในการแข่งขันออสเตรเลียนโอเพนปี 2013 เธอเสริ์ฟด้วยความเร็วเสิร์ฟสูงสุดที่ 128.6 ไมล์ต่อชั่วโมง (207.0 กม./ชม.) ซึ่งเป็นสถิติที่เร็วที่สุดเป็นอันดับสามในบรรดาผู้เล่นหญิง (เป็นรองเพียงวีนัส พี่สาวของเธอซึ่งทำไว้ ที่ 129 ไมล์ต่อชั่วโมง และ Sabine Lisicki ที่ทำไว้ 131 ไมล์ต่อชั่วโมง) สิ่งที่ทำให้เธอมีการเสิร์ฟที่อันตรายคือการวางบอลที่แม่นยำและความสามารถในการตีบอลที่ทรงพลังอย่างสม่ำเสมอด้วยความเร็วที่ยอดเยี่ยม ในการแข่งขันชิงแชมป์วิมเบิลดันปี 2012 เธอทำลายสถิติการแข่งขันด้วยการเสริ์ฟเอซไปถึง 102 ครั้ง ซึ่งมากกว่าผู้เล่นชายทุกคนทำได้ในตลอดสองสัปดาห์ของการแข่งขัน[29] วิลเลียมส์ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เล่นที่เล่นได้ดีและถนัดในทุกพื้นคอร์ต

อุปกรณ์และชุดแข่ง

แก้
 
เซเรนา วิลเลียมส์สวมใส่ชุดแข่งขันของไนกี้ตั้งแต่ปี 2004 จนถึงปัจจุบัน

ในช่วงต้นปี 2000 เซเรนา วิลเลียมส์สวมชุดแข่งขันของพูม่า[30] ต่อมาเธอได้เซ็นสัญญากับไนกี้ในปี 2004 ด้วยสัญญามูลค่า 40 ล้านดอลลาร์และได้ใช้อุปกรณ์และชุดแข่งขันทั้งหมดของไนกี้มาจนถึงปัจจุบัน[31] โดยทางไนกี้ได้ออกแบบเสื้อผ้าสั่งตัดพิเศษสำหรับวิลเลียมส์ซึ่งเธอสวมใส่ในคอร์ตพร้อมกับรองเท้าสั่งทำพิเศษ เธอใช้ไม้แร็กเก็ต Wilson Hammer Stretch เมื่อเธอได้แชมป์แกรนด์สแลมเป็นครั้งแรกในปี 1999 ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ Wilson nCode ในช่วงเวลาสั้นๆ และ ต่อมาเธอได้ใช้ไม้ Wilson Blade นับตั้งแต่ปี 2008 ไม้เทนนิสของเธอมักจะมีขนาดใหญ่มาก โดยมีขนาดหัว 104 ตารางนิ้ว ตั้งแต่ปี 2017 วิลสันได้ผลิตแร็กเก็ตที่มีลายเซ็น Wilson Blade SW104 ซึ่งได้รับการออกแบบตามความต้องการของวิลเลียมส์เอง และ ตั้งแต่ปี 2020 วิลเลียมส์ได้ใช้ไม้รุ่นเล็กของแร็กเก็ตรุ่นนี้ นั่นคือ Wilson Blade SW102 Autograph

ชีวิตส่วนตัว

แก้

วิลเลียมส์สมรสกับอเล็กซิส โอฮาเนียน ผู้ร่วมก่อตั้งเรดดิต ทั้งคู่สมรสกันเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2017 ในนิวออร์ลีนส์ โดยเธอวางแผนที่จะย้ายไปซานฟรานซิสโกกับโอฮาเนียนหลังงานแต่งงาน เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2017 วิลเลียมส์โพสต์ภาพด้านข้างของรูปร่างตัวเองใน Snapchat ที่เน้นที่หน้าท้องของเธอ และ มีคำบรรยายว่า "20 สัปดาห์" เพื่อบอกเป็นนัยว่าเธอตั้งครรภ์ ต่อมาในเย็นวันนั้น โฆษกของเธอได้ยืนยันการตั้งครรภ์ความจริงที่ว่าเธอตั้งครรภ์มาได้ 20 สัปดาห์ในขณะนั้น และ เธอตั้งครรภ์ได้ 8 สัปดาห์เมื่อเธอคว้าแชมป์ออสเตรเลียนโอเพนในช่วงต้นปี ในเดือนกันยายน 2017 วิลเลียมส์ให้กำเนิดลูกสาวของเธอคือ Alexis Olympia Ohanian Jr ซึ่งมักเรียกกันว่า "โอลิมเปีย"[32]

เธอได้รับการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินเนื่องจากอัตราการเต้นของหัวใจของทารกลดลงระหว่างคลอดและเธอประสบภาวะหลอดเลือดอุดตันในปอดหลังคลอด โดยเธอต้องใช้เวลาพักฟื้นถึง 6 สัปดาห์ และเธอให้สัมภาษณ์ว่าเธอเผชิญกับภาวะซึมเศร้าภายหลังคลอด[33] วิลเลียมส์ได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่าต้องการให้ลูกสาวของเธอเป็นนักเทนนิสในอนาคตและได้เตรียมการในการว่าจ้างผู้ฝึกสอนให้แก่ลูกสาวของเธออีกด้วย[34] นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ วิลเลียมส์ยังมีความสามารถในการสื่อสารภาษาฝรั่งเศสได้[35] (รวมทั้งพื้นฐานภาษาสเปนและอิตาเลียน)

ในปี 2009 สองพี่น้องวิลเลียมส์ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้ถือหุ้นทีมอเมริกันฟุตบอล "Miami Dolphins" ทีมในการแข่งขัน NFL โดยทั้งสองถือเป็นหญิงผิวสีคู่แรกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารทีมอเมริกันฟุตบอลของสหรัฐอเมริกา[36] นอกเหนือจากกีฬาเทนนิส เซเรนา วิลเลียมส์ยังมีความสนใจในงานด้านแฟชั่น และเธอยังออกแบบและมีแบรนด์สินค้าของตัวเอง รวมทั้งยังเป็นคณะกรรมการบริหารของ SurveyMonkey อีกด้วย[37]

การกุศล

แก้

สองพี่น้องวิลเลียมส์มีกิจกรรมการกุศลเพื่อช่วยเหลือชาวผิวสีตลอดระยะเวลาหลายปี โดยได้บริจาคเงินในนาม The local Ronald McDonald House charities เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆทั่วสหรัฐอเมริกา[38] และเซเรนายังก่อตั้งมูลนิธิ Serena Williams Foundation เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กผู้ยากไร้ทั่วโลกโดยเน้นที่ประชาชนผิวสีตามถิ่นทุรกันดารในทวีปแอฟริกาและในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา[39] เธอยังเป็นหนึ่งในนักกีฬาหญิงผู้มีชื่อเสียงที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสตรีที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมและยังร่วมรณรงค์เรียกร้องสิทธิสตรีผ่านบัญชีโซเชียลอยู่เสมอ

ในปี 2014 วิลเลียมส์จัดงานวิ่งการกุศลประจำปีในชื่อ "The Serena Williams Ultimate Fun Run" เพื่อสนับสนุนกองทุน Serena Williams Fund ซึ่งช่วยเหลือบุคคลและชุมชนที่ด้อยโอกาสที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชน[40]

สถิติการแข่งขันรายการสำคัญ

แก้

รอบชิงชนะเลิศแกรนด์สแลม

แก้

ประเภทหญิงเดี่ยว: เข้าชิงชนะเลิศ 33 รายการ (ชนะเลิศ 23 รายการ, รองชนะเลิศ 10 รายการ)

แก้
ผลลัพธ์ ปี รายการ พื้นสนาม คู่แข่งในรอบชิงชนะเลิศ ผลการแข่งขัน
ชนะเลิศ 1999 US Open Hard   Martina Hingis 6–3, 7–6(7–4)
รองชนะเลิศ 2001 US Open Hard   Venus Williams 2–6, 4–6
ชนะเลิศ 2002 French Open Clay   Venus Williams 7–5, 6–3
ชนะเลิศ 2002 Wimbledon Grass   Venus Williams 7–6(7–4), 6–3
ชนะเลิศ 2002 US Open (2) Hard   Venus Williams 6–4, 6–3
ชนะเลิศ 2003 Australian Open Hard   Venus Williams 7–6(7–4), 3–6, 6–4
ชนะเลิศ 2003 Wimbledon (2) Grass   Venus Williams 4–6, 6–4, 6–2
รองชนะเลิศ 2004 Wimbledon Grass   Maria Sharapova 1–6, 4–6
ชนะเลิศ 2005 Australian Open (2) Hard   Lindsay Davenport 2–6, 6–3, 6–0
ชนะเลิศ 2007 Australian Open (3) Hard   Maria Sharapova 6–1, 6–2
รองชนะเลิศ 2008 Wimbledon Grass   Venus Williams 5–7, 4–6
ชนะเลิศ 2008 US Open (3) Hard   Jelena Janković 6–4, 7–5
ชนะเลิศ 2009 Australian Open (4) Hard   Dinara Safina 6–0, 6–3
ชนะเลิศ 2009 Wimbledon (3) Grass   Venus Williams 7–6(7–3), 6–2
ชนะเลิศ 2010 Australian Open (5) Hard   Justine Henin 6–4, 3–6, 6–2
ชนะเลิศ 2010 Wimbledon (4) Grass   Vera Zvonareva 6–3, 6–2
รองชนะเลิศ 2011 US Open Hard   Samantha Stosur 2–6, 3–6
ชนะเลิศ 2012 Wimbledon (5) Grass   Agnieszka Radwańska 6–1, 5–7, 6–2
ชนะเลิศ 2012 US Open (4) Hard   Victoria Azarenka 6–2, 2–6, 7–5
ชนะเลิศ 2013 French Open (2) Clay   Maria Sharapova 6–4, 6–4
ชนะเลิศ 2013 US Open (5) Hard   Victoria Azarenka 7–5, 6–7(6–8), 6–1
ชนะเลิศ 2014 US Open (6) Hard   Caroline Wozniacki 6–3, 6–3
ชนะเลิศ 2015 Australian Open (6) Hard   Maria Sharapova 6–3, 7–6(7–5)
ชนะเลิศ 2015 French Open (3) Clay   Lucie Šafářová 6–3, 6–7(2–7), 6–2
ชนะเลิศ 2015 Wimbledon (6) Grass   Garbiñe Muguruza 6–4, 6–4
รองชนะเลิศ 2016 Australian Open Hard   Angelique Kerber 4–6, 6–3, 4–6
รองชนะเลิศ 2016 French Open Clay   Garbiñe Muguruza 5–7, 4–6
ชนะเลิศ 2016 Wimbledon (7) Grass   Angelique Kerber 7–5, 6–3
ชนะเลิศ 2017 Australian Open (7) Hard   Venus Williams 6–4, 6–4
รองชนะเลิศ 2018 Wimbledon Grass   Angelique Kerber 3–6, 3–6
รองชนะเลิศ 2018 US Open Hard   Naomi Osaka 2–6, 4–6
รองชนะเลิศ 2019 Wimbledon Grass   Simona Halep 2–6, 2–6
รองชนะเลิศ 2019 US Open Hard   Bianca Andreescu 3–6, 5–7

ประเภทหญิงคู่: เข้าชิงชนะเลิศ 14 รายการ (ชนะเลิศ 14 รายการ)

แก้
ผลลัพธ์ ปี รายการ พื้นสนาม จับคู่กับ คู่แข่ง ผลการแข่งขัน
ชนะเลิศ 1999 French Open Clay   Venus Williams   Martina Hingis
  Anna Kournikova
6–3, 6–7(2–7), 8–6
ชนะเลิศ 1999 US Open Hard   Venus Williams   Chanda Rubin
  Sandrine Testud
4–6, 6–1, 6–4
ชนะเลิศ 2000 Wimbledon Grass   Venus Williams   Julie Halard-Decugis
  Ai Sugiyama
6–3, 6–2
ชนะเลิศ 2001 Australian Open Hard   Venus Williams   Lindsay Davenport
  Corina Morariu
6–2, 2–6, 6–4
ชนะเลิศ 2002 Wimbledon (2) Grass   Venus Williams   Virginia Ruano Pascual
  Paola Suárez
6–2, 7–5
ชนะเลิศ 2003 Australian Open (2) Hard   Venus Williams   Virginia Ruano Pascual
  Paola Suárez
4–6, 6–4, 6–3
ชนะเลิศ 2008 Wimbledon (3) Grass   Venus Williams   Lisa Raymond
  Samantha Stosur
6–2, 6–2
ชนะเลิศ 2009 Australian Open (3) Hard   Venus Williams   Daniela Hantuchová
  Ai Sugiyama
6–3, 6–3
ชนะเลิศ 2009 Wimbledon (4) Grass   Venus Williams   Samantha Stosur
  Rennae Stubbs
7–6(7–4), 6–4
ชนะเลิศ 2009 US Open (2) Hard   Venus Williams   Cara Black
  Liezel Huber
6–2, 6–2
ชนะเลิศ 2010 Australian Open (4) Hard   Venus Williams   Cara Black
  Liezel Huber
6–4, 6–3
ชนะเลิศ 2010 French Open (2) Clay   Venus Williams   Květa Peschke
  Katarina Srebotnik
6–2, 6–3
ชนะเลิศ 2012 Wimbledon (5) Grass   Venus Williams   Andrea Hlaváčková
  Lucie Hradecká
7–5, 6–4
ชนะเลิศ 2016 Wimbledon (6) Grass   Venus Williams   Tímea Babos
  Yaroslava Shvedova
6–3, 6–4

คู่ผสม: เข้าชิงชนะเลิศ 4 รายการ (ชนะเลิศ 2 รายการ, รองชนะเลิศ 2 รายการ)

แก้
ผลลัพธ์ ปี รายการ พื้นสนาม จับคู่กับ คู่แข่ง ผลการแข่งขัน
รองชนะเลิศ 1998 French Open Clay   Luis Lobo   Justin Gimelstob
  Venus Williams
3–6, 4–6
ชนะเลิศ 1998 Wimbledon Grass   Max Mirnyi   Mahesh Bhupathi
  Mirjana Lučić
6–4, 6–4
ชนะเลิศ 1998 US Open Hard   Max Mirnyi   Patrick Galbraith
  Lisa Raymond
6–2, 6–2
รองชนะเลิศ 1999 Australian Open Hard   Max Mirnyi   David Adams
  Mariaan de Swardt
4–6, 6–4, 6–7(5–7)

อ้างอิง

แก้
  1. แม่แบบ:WTA
  2. Rankine, Claudia (August 25, 2015). "The Meaning of Serena Williams". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 20, 2017.
  3. "wtatennis.com". April 29, 2019. สืบค้นเมื่อ April 29, 2019.
  4. "Serena Williams | WTA Official". Women's Tennis Association (ภาษาอังกฤษ).
  5. "Serena Williams will go down as one of the greatest athletes in history". For The Win (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-06-10.
  6. "Serena is the greatest - McEnroe". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.
  7. "It's Official: Serena Williams Is the G.O.A.T." Complex (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-03. สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.
  8. Block, Justin (2015-09-09). "Billie Jean King Thinks Serena Williams Is The Best Tennis Player Of All Time". HuffPost (ภาษาอังกฤษ).
  9. Fallon, Kevin (2017-06-27). "Serena Williams Is the Greatest Ever. Can We Please Stop the Debate?". The Daily Beast (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.
  10. "Serena Williams | Biography, Titles, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  11. Crouse, Karen (2009-08-30). "Williams Sisters Write Their Own Story". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-06-05.
  12. "Williams Sisters: Serena and Venus Tennis Stars". www.ducksters.com.
  13. "Almost Serene Serena - By Jack Neworth | 10sBalls | Tennis can't be Tennis without Balls". web.archive.org. 2013-05-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  14. "Venus and Serena Williams win Olympic gold". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  15. "Serena Williams". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  16. "1. Serena Williams". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  17. "Serena Williams | Biography, Titles, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  18. "Who is Serena Williams? Everything You Need to Know". www.thefamouspeople.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  19. Edmondson, Jacqueline (2005). Venus and Serena Williams : a biography. Internet Archive. Westport, Conn. : Greenwood Press. ISBN 978-0-313-33165-7.
  20. "Venus, Serena Reflect As They Prepare For Fed Cup". archive.is. 2012-07-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-08. สืบค้นเมื่อ 2022-05-16.
  21. "Serena Williams Biography - life, family, story, history, wife, school, young, old, information, born, contract, time". www.notablebiographies.com.
  22. "Serena Williams | Player Stats & More – WTA Official". Women's Tennis Association (ภาษาอังกฤษ).
  23. https://www.essentiallysports.com/tag/serena-williams/
  24. "Wimbledon 2012: Serena breaks 100-ace barrier | Tennis News". NDTVSports.com (ภาษาอังกฤษ).
  25. "Serena Williams". ausopen.com (ภาษาอังกฤษ).
  26. https://www.usopen.org/en_US/players/overview/wta230234.html
  27. Clarey, Christopher (2014-08-24). "Strokes of Genius: The Best of the Women". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.
  28. "20 stars serve up Serena praise". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2015-04-22.
  29. "Reigning Ace: Williams Serves up a Title at Wimbledon - Tennis Now". www.tennisnow.com.
  30. "Sports Business Journal". www.sportsbusinessjournal.com.
  31. "Serena ready to put a swoosh on her outfits". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2003-12-11.
  32. "Serena Williams Welcomes Her First Child!". Us Weekly (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-09-01.
  33. "Serena Williams struggles with post-partum blues; drops out of Rogers Cup". Serena Williams struggles with post-partum blues; drops out of Rogers Cup (ภาษาอังกฤษ).
  34. CNN, Toyin Owoseje. "Serena Williams shares video of her 3-year-old daughter training with tennis coach". CNN.
  35. "Serena Williams is a regular Francophile". For The Win (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-06-05.
  36. "Williams sisters latest stars to buy into Dolphins". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2009-08-25.
  37. "Tennis star Serena Williams joins SurveyMonkey's board". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
  38. Douglas, Delia D. (2012-03-01). "Venus, Serena, and the Inconspicuous Consumption of Blackness: A Commentary on Surveillance, Race Talk, and New Racism(s)". Journal of Black Studies (ภาษาอังกฤษ). 43 (2): 127–145. doi:10.1177/0021934711410880. ISSN 0021-9347.
  39. "Serena Williams Lends a Helping Hand to Build a Jamaican School". Essence (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  40. "Live Ultimate". liveultimate.com (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้