เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ (13 มีนาคม พ.ศ. 2447 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2532) เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือผู้สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ | |
---|---|
เจ้าพงษ์อินทร์ | |
ผู้สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2515 - 2532 |
ก่อนหน้า | เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) |
ถัดไป | เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ |
เกิด | 13 มีนาคม พ.ศ. 2447 |
อนิจกรรม | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 (85 ปี) |
หม่อม | หม่อมตระการ ณ เชียงใหม่ หม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่ |
บุตร | เจ้าประไพพันธ์ (ณ เชียงใหม่) สุขุมวาท เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เจ้าสมพงษ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าเติมศักดิ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าพิมผกา (ณ เชียงใหม่) รอดเจริญ |
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
เจ้าบิดา | เจ้าแก้วนวรัฐ |
เจ้ามารดา | หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ |
ประวัติ
แก้เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ประสูติเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2447 เป็นราชโอรสในพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 กับ หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ มีขนิษฐาและอนุชา ร่วมเจ้ามารดา 3 องค์ คือ
- เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงศิริประกาย ณ เชียงใหม่ - สมรสกับเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ และเป็นเจ้ามารดา ในเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่
- เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ - สมรสกับเจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง ราชธิดาในเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง เจ้าหอคำเชียงตุง องค์ที่ 40 ประสูติแต่เจ้านางบัวทิพย์หลวง
เจ้าพงษ์อินทร์ เริ่มศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ ต่อมาได้ตามเสด็จเจ้าดารารัศมี พระราชชายา อยู่ประจำที่กรุงเทพมหานคร เข้าศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ภายหลังได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ทางด้านการเกษตร โดยเป็นราชโอรสองค์เดียวของเจ้าแก้วนวรัฐที่ไปศึกษาในยุโรปอันเป็นการปูทางการศึกษาให้กับทายาทรุ่นถัดมา
การทำงาน
แก้เมื่อสำเร็จการศึกษาจึงกลับมาเข้ารับราชการในกรมสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม เคยดำรงตำแหน่ง สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ กลับมาอยู่ที่คุ้มแจ่งหัวริน หรือคุ้มรินแก้ว (ปัจจุบันคือ โรงแรมเชียงใหม่ออคิดและห้วยแก้วเรสสิเด้นท์) ระหว่างทำงานที่เขียงใหม่ซึ่งเป็นคุ้มเจ้าแก้วนวรัฐโปรดให้สร้างขึ้นแต่เดิม ต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้สร้างตึกใหญ่ในคุ้มรินแก้วให้เป็นเรือนหอในคราวสมรสครั้งแรกกับหม่อมตระการ บุนนาค (ทายาทเจ้าเมืองเพชรบุรี) ซึ่งได้คบหากันตั้งแต่อยู่อังกฤษ เมื่อกลับมาพำนักที่บ้านเกิดเป็นการถาวรได้ทำงานเป็นผู้บริหารกิจการกาดหลวงด้วยระบบธุรกิจสมัยใหม่ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) นอกจากนี้ยังได้อุทิศตนช่วยเหลืองานสาธารณกุศลด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวเสมอมา อาทิ
ให้การทำนุบำรุงกู่บูรพกษัตริย์และกู่จ้านายฝ่ายเหนือ ณ วัดสวนดอก โดยจัดตั้งมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่และเป็นผู้ริเริ่มพิธีดำหัวกู่
ให้การอุปถัมภ์ศาสนาในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ ในเชียงใหม่ โดยเฉพาะวัดสวนดอกในคราวบูรณวิหารและพระธาตุเจดีย์วัดสวนดอกและได้จัดต้นผ้าป่าและกฐินถวายเป็นประจำทุกปี รวมถึงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุดอยสุเทพและบันไดนาค
ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาซึ่งมีการรวมกลุ่มโดยคณะสตรีภาคเหนือโดยจัดตั้งสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย โดยมีหม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่ (ภรรยา) เป็นนายกสมาคม ปี พ.ศ. 2503 นอกจากนี้ในคราวพระราชพิธีบายศรีทูลพระขวัญ หม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่ ยังเป็นผู้กำกับดูแลชุดเจ้านายฝ่ายเหนืออันเป็นต้นแบบสำหรับการศึกษาชุดสตรีเจ้านายฝ่ายเหนือในเวลาต่อมา รวมถึงให้การสนับสนุนการบูรณเสาร์หลักเมืองหออินทขิล วัดเจดีย์หลวง
บริจาคทุนทรัพย์ส่วนตัวสมทบทุนการสร้างประตูเมืองท่าแพ อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อาคารเทศบาลนครเชียงใหม่ อาคารสำนักงานสถานีดับเพลิงเทศบาลนครเชียงใหม่ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ (เจ็ดยอด) ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาโรงเรียนวัดสวนดอก โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ รวมถึงโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (ชั้น ณ เชียงใหม่ ตึกสุจิณโน) และเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการจัดสร้างสวนรุกขชาติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่บนถนนห้วยแก้วโดยปลูกต้นสักก์ทองในพิธีเปิดสวน รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนการจัดงานฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่เป็นประจำทุกปี
เป็นเจ้าภาพจัดพิธีบายศรีทูลพระขวัญต่อจากเจ้าราชบุตรวงศ์ตะวัน ณ เชียงใหม่ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศทั่วโลก อาทิ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร สุลต่านแห่งมาเลย์เซีย สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสวีเดน และอีกหลายราชวงศ์ ด้วยความสามารถด้านภาษาอังกฤษและรู้ธรรมเนียมแบบตะวันตก จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระเจ้าอยู่หัวในการออกรับพระราชอาคันตุกะอยู่เสมอ ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศ ดังปรากฏภาพถ่ายในหอจดหมายเหตุหลายฉบับ
ช่วงปี พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2532 เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ นับเป็นปูชนียบุคคลของจังหวัดเชียงใหม่ในการถวายงานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และช่วยเหลืองานกิจการสำคัญของเมืองเชียงใหม่ โดยเป็นที่เคารพรักของข้าราชการเมืองดังเห็นได้จากการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่นำคณะนายอำเภอเข้าสักการะดำหัวในวันสงกรานต์เป็นประจำทุกปี และเป็นประธานงานพิธีการสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งยังเป็นชาวเชียงใหม่คนแรกร่วมกับเจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ (หลานชาย) ที่ใช้ตู้ ATM เครื่องแรกของเชียงใหม่ในคราวเปิดธนาคารไทยพานิชย์สาขาท่าแพ อ.เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2523
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพทหารญี่ปุ่นได้ใช้คุ้มรินแก้วเป็นฐานทัพบัญชาการ เมื่อครั้งมีเครื่องบินทิ้งระเบิดฝ่ายสัมพันธมิตรมา เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาสถานที่สำคัญในเมืองเชียงใหม่โดยฟันธงชาติญี่ปุ่นลงเพื่อให้รอดพ้นจากการทิ้งระเบิด[1]
โอรส-ธิดา
แก้- หม่อมตระการ (บุนนาค) ณ เชียงใหม่
กับ "หม่อมตระการ (บุนนาค) ณ เชียงใหม่" มีธิดา 1 คือ
- เจ้าประไพพันธ์ (ณ เชียงใหม่) สุขุมวาท - สมรสกับ "พลตำรวจเอกสุทัศน์ สุขุมวาท, อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ"
- หม่อมจันทร์สม (ชนะนนท์) ณ เชียงใหม่
กับ "หม่อมจันทร์สม (ชนะนนท์) ณ เชียงใหม่" ธิดา "ขุนกันชนะนนถ์" มีโอรสธิดา 4 คือ[2]
- เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (25 กันยายน พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน) - สมรสกับ "ชนิดา (จุลละรัต) ณ เชียงใหม่"
- สักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ (เสียชีวิตแล้ว)
- เจ้าสมพงษ์ ณ เชียงใหม่ (? - พ.ศ. 2547) - สมรสกับ "อมรา (สิริสิงห) ณ เชียงใหม่"
- เจ้าเติมศักดิ์ ณ เชียงใหม่ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2481 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557) - สมรส "กิ่งแก้ว (วรการบัญชา) ณ เชียงใหม่"
- ขันติพร ณ เชียงใหม่ (ได้รับชื่อพระราชทาน)
- กอศักดิ์ ณ เชียงใหม่
- เฉลิมศักดิ์ ณ เชียงใหม่
- วรศักดิ์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าพิมผกา ณ เชียงใหม่ (30 ตุลาคม 2485 - 9 พฤศจิกายน 2560)
การสืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
แก้เมื่อเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2515 และไม่มีโอรสสืบเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าซึ่งพระราชทานให้แก่ผู้สืบสกุลของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทำให้เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ อนุชาต่างมารดาซึ่งเป็นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2514 เป็นผู้สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นผู้รับสืบทอดมรดกสำคัญคือ ไม้เท้าหุ้มทองคำ ของเจ้าแก้วนวรัฐ[3] ซึ่งหมายถึงการสืบทอดภารกิจของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่มีต่อประชาชน และต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับวงศ์ตระกูลเจ้านายฝ่ายเหนือ
เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้สืบเชื้อสายสกุล ณ เชียงใหม่ โดยตรงจากเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475) และนับเป็นผู้สืบราชตระกูล ณ เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการซึ่งอาจเทียบได้กับ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475
เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 สิริอายุ 85 ปี[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[6]
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "ย่านถนนห้วยแก้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ "เจ้าหลวงเชียงใหม่ ตอนที่ 10/10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-23. สืบค้นเมื่อ 2022-09-23.
- ↑ ไม้เท้าหุ้มทองคำจากเว็บไซต์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
- ↑ เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรม[ลิงก์เสีย]
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2514" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (49ง ฉบับพิเศษ): 21. 13 พฤษภาคม 2514. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) | ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2515 - 2532) |
เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ |