พระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง)

พระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) เป็นเจ้าราชโอรสในพระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และเป็นพระราชบิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7[1]

พระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง)

มหาพรหมคำคง
พระยาราชวงศ์เมืองเชียงใหม่
พระชายาคำหล้า
พระราชบุตร16 พระองค์
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ เชียงใหม่
พระราชบิดาพระยาคำฟั่น
พระราชมารดาเจ้าเนตรนารีไวย

พระประวัติ แก้

เจ้ามหาพรหมคำคง เป็นราชโอรสในพระยาเชียงใหม่คำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1[2] กับเจ้าเนตรนารีไวย ซึ่งเป็นพระราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง อันเป็นเมืองกะเหรี่ยงที่ร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรไม้ขอนสักจำนวนมหาศาล จนได้รับการยกย่องว่าเป็นเศรษฐีนีป่าไม้ของพม่า (ผู้ได้รับกรรมสิทธิ์ครอบครองป่าไม้ในแถบขุนยวมทั้งหมด) ในปี พ.ศ. 2369 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นพระยาราชวงศ์[3]

เจ้ามหาพรหมคำคง สมรสกับเจ้าคำหล้า มีโอรส-ธิดา 16 พระองค์ คือ

  • พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
  • เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่
  • เจ้าราชภาติกวงศ์ (น้อยเทพวัง) เจ้าราชภาติกวงศ์นครเชียงใหม่
  • เจ้าน้อยไชยลังกา
  • เจ้าหญิงฟองนวล
  • เจ้าหญิงดวงเทพ
  • เจ้าหญิงบุญฝ้าย
  • เจ้าหญิงคำทิพย์
  • เจ้าน้อยไชยวงศ์
  • เจ้าดวงทิพย์
  • เจ้าบุญสม
  • เจ้าหญิงบัวใส
  • เจ้าหญิงบัวเที่ยง
  • เจ้าหญิงกาบเมือง
  • เจ้าน้อยอ๋อ
  • เจ้าหญิงแว่นคำ

ลำดับตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-09-23.
  2. ราชวงศ์หริภุญชัย
  3. ประชุมพงศาวดารภาค 3 เรื่อง พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 98