สักก์ดนัย ณ เชียงใหม่

เจ้าสักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ (พ.ศ. 2515 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2553) เป็นบุตรชายคนเดียวของเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ มีศักดิ์เป็นเหลนในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ ผู้ที่จะสืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ต่อจากเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ แต่เสียชีวิตเสียก่อน

สักก์ดนัย ณ เชียงใหม่
เกิดพ.ศ. 2515
เสียชีวิต10 มีนาคม พ.ศ. 2553 (38 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพนักธุรกิจ
มีชื่อเสียงจากเจ้านายฝ่ายเหนือ
คู่สมรสนางอัญชลี (กาญจนศรี) ณ เชียงใหม่
บุพการีเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่
นางชนิดา ณ เชียงใหม่

ประวัติ แก้

เจ้าสักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นบุตรชายคนเดียวในเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ กับชนิดา ณ เชียงใหม่ มีศักดิ์เป็นเจ้านัดดา (หลานปู่) ในเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ และเป็นเจ้าปนัดดา (เหลน) ในพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ซึ่งมีฐานะเป็นบุตรชายของผู้สืบราชตระกูล ณ เชียงใหม่[1]

เจ้าสักก์ดนัย ประกอบธุรกิจส่วนตัว และได้ทำการสมรสกับนางสาวอัญชลี กาญจนศรี ซึ่งได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีสมรสพระราชทาน ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[2]

เจ้าสักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน (โดยไม่มีทายาท) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553 ประกอบพิธีศพอย่างเรียบง่ายที่กรุงเทพมหานคร โดยมิได้ขอพระราชทานเพลิงศพแต่อย่างใด

ขณะที่มีชีวิตอยู่ได้ช่วยเหลือกิจการสังคมในภาระกิจของตระกูลเสมอมา ทั้งการศาสนา การพยาบาล สนับสนุนการศึกษา และร่วมจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและหนังสือเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชนินีนาถ มีความชื่นชอบการถ่ายภาพเป็นพิเศษ ผลงานการถ่ายภาพได้ใช้ประกอบหนังสือคือ หนังสือ เจ้าหลวงเชียงใหม่ เจ้าดารารัศมี เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ขัตติยนารีศรีล้านนา และร่วมกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมตามโอกาสต่าง ๆ อาทิ ประเพณีดำหัวกู่ ณ วัดสวนดอก พิธีบายศรีทูลพระขวัญ เป็นต้น

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. "คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2018-08-21.
  2. ฉลองสมรสพระราชทานบุตร เจ้าวงศ์สักก์-ชนิดา ณะ เชียงใหม่[ลิงก์เสีย]