เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (ไทยถิ่นเหนือ: ) ผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ ทายาทในเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ กับหม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม "ชนะนนท์") เป็นหลานปู่ ใน เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์สุดท้าย

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่
ต.จ.
ผู้สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน
ก่อนหน้าเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่
เกิด25 กันยายน พ.ศ. 2478 (88 ปี)
คุ้มรินแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
หม่อมชนิดา (จุลละรัต) ณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ เชียงใหม่
เจ้าบิดาเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่
เจ้ามารดาหม่อมจันทร์สม (ชนะนนท์) ณ เชียงใหม่
วงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
– ตำแหน่งในนาม –
ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่


วัยเยาว์ แก้

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ประสูติที่คุ้มรินแก้ว (เดิมชื่อคุ้มแจ่งหัวริน) เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2478 เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ก่อนจะถูกส่งเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ขณะที่อายุได้ 12 ปี จวบจนอายุ 16 ปี ย้ายไปศึกษาที่เมืองเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงย้ายมาศึกษาต่อที่ College of Aeronautical and Automobile Engineering, Chelsea กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จนกลายเป็นวิศวกรการบิน และเป็นนักบินสมัครเล่น

สมรสกับ ชนิดา ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม "จุลละรัต")[1] ในปี พ.ศ. 2521 มีบุตร 1 คน คือ สักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ (พ.ศ. 2521 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2553) เจ้าสักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาท ปัจจุบัน เจ้าวงศ์สักก์ มีทายาทลูกหลาน (หลานลุง) คนสนิทคอยดูแล คือ เจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ และเจ้าพันธุ์ปิติ ณ เชียงใหม่ (ทั้งสองท่านเป็นปนัดดาในพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐที่ปัจจุบันเป็นกรรมการในมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ, กรรมการมูลนิธิกู่เจ้านายฝ่ายเหนือและเคยถวายงานรับเสด็จรวมถึงถวายงานในพิธีบายศรีทูลพระขวัญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบรมวงศานุวงศ์และพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ และเป็นผู้ร่วมดำเนินงานจัดทำหนังสือเทิดพระเกียรติฯ)

กลับมาทำงานที่เมืองไทย แก้

หลังจากสำเร็จการศึกษาจึงกลับมาทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท ในปี พ.ศ. 2502 ที่กรมช่างอากาศ กองพันอากาศ กองทัพอากาศ แต่รับราชการได้ไม่นานก็ลาออกจากราชการมาทำงานกับบริษัท International Engineering จำกัด

การสืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ แก้

เมื่อเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2532 เจ้าวงศ์สักก์ ในฐานะบุตรชายคนโตจึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบต่อมา[2] นับเป็นการสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ[3]

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ร่วมกิจกรรมกับภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป ในการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างสม่ำเสมอ และกิจกรรมถวายพระเกียรติพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ[4] และเจ้านายฝ่ายเหนือ[5] ในฐานะที่เป็นผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่[6] นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ อาทิ สนับสนุน "โครงการรณรงค์ น้อมนำพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท พระราชดำริ แนวทางทรงงานและพระราชปรัชญา ประพฤติเป็นวัตรปฏิบัติ ในโครงการบัณฑิตอุดมคติไทย" ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[7]

ปัจจุบันเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ดำรงสถานะเจ้านายฝ่ายเหนือผู้เป็นประมุขแห่งสายสกุล ณ เชียงใหม่[8] และเป็นผู้นำในการกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ อาทิ การนำคณะทายาทและประชาชนสักการะกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ณ วัดสวนดอก ซึ่งเป็นประเพณีในสายตระกูลที่ปฏิบัติสืบต่อจากเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ที่ได้ริเริ่มไว้และได้จัดตั้งมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก) ภายหลังได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นประเพณีดำหัวกู่เจ้าหลวงของจังหวัดเชียงใหม่ถึงปัจจุบัน[9]

ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561 เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ดำเนินการส่งมอบไม้เท้าหุ้มทอง ซึ่งเป็นสมบัติที่ตกทอดมาจากเจ้าแก้วนวรัฐ[10] ให้แก่เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่ หรือเจ้าน้อย เพื่อเก็บรักษาโดยมีเจ้านายทายาทพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐร่วมเป็นสักขีพยาน และเจ้าวงศ์สักก์ได้มอบหมายให้เจ้าวีระยุทธสานต่องานสาธารณประโยชน์ที่ดำเนินการในนามของมูลนิธนวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือและปฏิบัติหน้าที่ผู้สืบสายเจ้าผู้ครองนครในพิธีสำคัญร่วมกับทางจังหวัดสืบต่อไป[11]

การดำเนินงานสาธารณะกุศล แก้

ด้วยวิสัยทัศน์และอุตสาหะในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงจัดตั้งกองทุนเจ้าหลวงเชียงใหม่ เพื่อมอบทุนแก่นักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในการศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มอบทุนการศึกษาด้านพยาบาล และมอบทุนให้คณะวิศวะกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำร่องจัดทำฝายกั้นน้ำให้กับชุมชนในภาคเหนือ และจัดทำหนังสือให้เป็นมรดกของแผ่นดิน ได้แก่

"เจ้าหลวงเชียงใหม่"[12] ปี พ.ศ. 2537 จัดทำหนังสือพระราชประวัติของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทั้งหมด ในนาม มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ เป็นมูลนิธิจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมโบราณของฝ่ายเหนือ ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม วรรณกรรม ดนตรีพื้นเมือง และทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นมรดกของไทยที่ทรงคุณค่า และสืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งมูลนิธินี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานโดยตำแหน่ง

"เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์" ทำถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

"ขัตติยานีศรีล้านนา" ทำถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินงานสาธารณกุศลในด้านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก เช่น

  • จัดสร้างกู่พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ครอบกู่เดิมที่ผุพัง บนดอยอ่างกา ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
  • มอบฆ้องตราประจำพระองค์พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เพื่อจัดแสดงในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
  • มอบดาบงาช้าง ดาบเขี่ยวนาค และดาบเงิน เพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เฮือนเจียงลือ เวียงกุมกาม
  • มอบทุนทรัพย์ส่วนตัวให้กับโรงพยาบาลแมคคอมมิคจัดทำห้องพักฟื้นผู้ป่วยและจัดหาอุปกรณ์การแพทย์
  • มอบพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า อ.เมืองเชียงใหม่
  • มอบทุนทรัพย์ส่วนตัวในการบูรณะกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ และบำเพ็ญกุศลถวายบูรพกษัตริย์เป็นประจำทุกปี ณ วัดสวนดอก
  • ถวายทุนทรัพย์ส่วนตัวทำนุบำรุงวัดศรีนวรัฐ อาทิ การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เรือนไทขึน การจัดสร้างหอไตร และงานปฏิสังขรณ์อื่น ๆ
  • มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนในจังหวัดเชียงใหม่
  • มอบทุนสำหรับการศึกษาค้นคว้าวิจัย
  • ถวายพระพุทธรูปองค์สำคัญของคุ้มรินแก้ว แด่หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่
  • มอบทุนทรัพย์จัดสร้างห้องความดันลบรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ปี พศ. 2563 โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ เป็นเงิน 1.2 ล้านบาท
  • มอบทุนทรัพย์จัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ปี พศ. 2563 เป็นเงิน 4 แสนบาทให้กับโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ภายหลังเมื่ออายุมากแล้ว การปฏิบัติภารกิจได้มอบหมายให้ทายาทคือ เจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ (เหลนในพลตรีเจ้าหลวงแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย) ปฏิบัติหน้าที่แทนในด้านงานสาธาณะกุศลต่าง ๆ ในสังคมเชียงใหม่ อาทิ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้แทนมอบหนังสือเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลเดช แก่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิคเผยแพร่พระเกียรติคุณ, งานดำหัวกู่เจ้าหลวง วัดสวนดอก 17 เมษายนของทุกปี มอบหมายเป็นผู้แทนถือขันสลุงน้ำส้มป่อยในงานดำหัวกู่เจ้าหลวงวัดสวนดอกร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, งานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี 9 ธันวาคมของทุกปี มอบหมายเป็นตัวแทนวางพวงมาลาของราชตระกูลถวายรำลึก, ในเดือน พฤษภาคมปี 2563 มอบหมายเป็นผู้แทนมอบทุนทรัพย์ส่วนตัวแก่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และโรงพยาบาล นครพิงค์ เชียงใหม่ ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 เป็นต้น ปัจจุบันเจ้าพงษ์กฤษณ์ ณ เชียงใหม่ ยังดำรงตำแหน่งรองประธานมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก) ของทางครอบครัวที่จัดตั้งขึ้นกว่า 30 ปีในการทำนุดูแลกู่เจ้านายฝ่ายเหนือวัดสวนดอก ซึ่งทั้งหมดนี้น่าจะเป็นนัยยะสำคัญของการมอบหมายให้เป็นผู้สืบสานภารกิจในทายาทสายตรงเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สืบต่อไปในอนาคต

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. "คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2010-02-06.
  2. ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.)
  3. "สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-03-25.
  4. เชียงใหม่จัดพิธีเทิดพระเกียรติ “พระเจ้าค่ายกาวิละ”
  5. ต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ร่วมจุฬาฯ ทำบุญคล้ายวันประสูติ "พระราชชายาเจ้าดารารัศมี" เสวนา-ฟ้อนเล็บยิ่งใหญ่
  6. ผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  7. "เจ้าวงศ์สักก์" มอบทุนหนุนวิศวฯมช. นำร่อง50มหา'ลัยสร้างฝายให้ชุมชน[ลิงก์เสีย]
  8. สะเก็ดล้านนา : 19 เมษายน 2557
  9. ชาวเชียงใหม่หลั่งไหลสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่คับคั่ง เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน วันที่ 17 เมษายน 2555 สืบค้นวันที่ 9 กรกฎาคม 2558
  10. ไม้เท้าหุ้มทองคำจากเว็บไซต์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
  11. เจ้าวงศ์สักก์ฯส่งมอบไม้เท้าหุ้มทองคำให้ "เจ้าน้อย" สืบสมบัติ "เจ้าแก้วนวรัฐ" ณ เชียงใหม่ จาก มติชน วันที่ 29 มีนาคม 2561 สืบค้นวันที่ 29 สิงหาคม 2561
  12. เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 110 ตอนที่ 57 วันที่ 3 พฤษภาคม 2536
ก่อนหน้า เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ถัดไป
เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่    
ผู้สืบสกุลเจ้านครเชียงใหม่
(พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน)
  ยังอยู่ในตำแหน่ง