ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี
ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (อาหรับ: حسين بن علي بن أﺑﻲ طالب; อังกฤษ: Hussein ibn ‘Alī ibn Abī Ṭālib) เกิดปี ฮ.ศ. 4 เป็นบุตรของอิมามอะลี (อ) กับท่านหญิงฟาฏิมะหฺ บุตรีนบีมุฮัมมัด เป็นน้องชายของอิมามฮะซัน
ฮุซัยน์ | |
---|---|
الحسين ابن علي | |
เกิด | 10 ตุลาคม ค.ศ. 625 (3 ชะอ์บาน ฮ.ศ.4)[1] มะดีนะฮ์ |
เสียชีวิต | 10 ตุลาคม ค.ศ. 680 (10 มุฮัรรอม ฮ.ศ.61) กัรบะลาอ์, รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ | (55 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | ถูกตัดศีรษะในยุทธการที่กัรบะลาอ์ |
สุสาน | มัสยิดที่กัรบะลาอ์, กัรบะลาอ์, ประเทศอิรัก 32°36′59″N 44°1′56.29″E / 32.61639°N 44.0323028°E |
มีชื่อเสียงจาก | เป็นหลานชายของมุฮัมหมัด, ยุทธการที่กัรบะลาอ์ และอิหม่าม |
ตำแหน่ง | รายการ
|
วาระ | ค.ศ.670–680 |
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อน | (อิหม่ามชีอะฮ์) ฮะซัน อิบน์ อะลี |
ผู้สืบตำแหน่ง | (อิหม่ามชีอะฮ์) อะลี อิบน์ ฮุซัยน์ ซัยนัลอาบิดีน |
ปัจจามิตร | ยาซิดที่ 1 |
คู่สมรส | Shahr Banu bint Yazdegerd III (จักรพรรดิอาณาจักรแซดซานิดคนสุดท้าย) Umme Rubāb Umme Laylā |
บุตร | รายการ
|
บิดามารดา | |
ญาติ | ครอบครัวต้นไม้ของฮุซัยน์ อิบน์ อะลี |
ประวัติ
แก้นบีมุฮัมมัดรัก ฮะซัน และ ฮุซัยน์ หลานทั้งสองคนนี้มากและมักกล่าวเสมอว่า "เขาทั้งสองคือลูกของฉัน" "ลูกของฉันทั้งสองคือ อิมามทั้งในยามนั่งและยามยืน" ทั้งในยามนั่งและยามยืนหมายถึง การดำรงตำแหน่งผู้นำและการยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูของศาสนา และ "ฮะซันและฮุซัยน์เป็นหัวหน้าชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์"
หลังจากอิมามฮะซันเสียชีวิตแล้ว อิมามฮุซัยน์ น้องชายของท่านได้ขึ้นรับตำแหน่งอิมามแทน ตามคำสั่งเสียของพี่ชาย อิมามฮุซัยน์ได้ทำหน้าที่ในการชี้นำประชาชนและยืนหยัดต่อสู้กับความเลยร้ายของ มุอาวิยะหฺ บุตรอะบูซุฟยาน
มุอาวิยะหฺ ตาย 9 ปี 6 เดือนต่อมา เขาได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบคอลีฟะหฺเป็นระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย โดยตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์และได้แต่งตั้งให้ ยะซีด บุตรชายเป็นมกุฎราชกุมาร ยะซีดชอบดื่มสุรา เล่นการพนัน ผิดประเวณี และมีใจคอโหดร้าย เมื่อขึ้นปกครองก็ได้มีคำสั่งให้เจ้าเมืองมะดีนะหฺไปเจรจากับอิมามฮุซัยน์ให้ยอมใหคำสัตยาบันแก่ตน ถ้าอิมามฮุซัยน์ ปฏิเสธก็ให้ฆ่าทิ้งเสีย อิมามฮุซัยน์ขอถ่วงเวลาเรื่องสัตยาบัน และในคืนนั้นเอง อิมามฮุซัยน์และสมาชิกในครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชนกลุ่มหนึ่ง ได้ออกเดินทางจากนครมะดีนะหฺไปยังนครมักกะหฺ อิมามฮุซัยน์พักอยู่ที่มักกะหฺได้ 2-3 เดือนก็ทราบข่าวว่ายะซีดไม่ยอมลดละที่จะหาทางสังหารท่านให้ได้หากไม่ยอมให้คำสัตยาบัน ในเวลานั้นประชาชนจากนครกูฟะหฺ อิรัก ได้ส่งจดหมายหลายพันฉบับถึงท่าน เพื่อเชิญชวนให้ไปเป็นอิมามในอิรัก ซึ่งในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของบิดาและพี่ชาย พวกเขาสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือท่านในการต่อสู้กับพวกอุมัยยะหฺ
ยุทธการที่กัรบะลาอ์
แก้อิมามฮุซัยน์ได้ตัดสินใจปฏิเสธการให้สัตยาบันต่อยะซีดและเลือกความตายเพื่อสานต่ออุดมการณ์แห่งอิสลาม หลังจากนั้นท่านและครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชนกลุ่มหนึ่งได้เดินทางออกจากมักกะหฺเพื่อมุ่งหน้าไปยังนครกูฟะหฺ ในระหว่างการเดินทาง ท่านได้อธิบายเจตนารมณ์ในการเดินทางแก่ผู้ร่วมขบวนการ และสุดท้ายท่านอิมามได้ตัดสินใจแจ้งให้ผู้ร่วมขบวนการฟังว่า การเดินทางไปครั้งนี้อาจจะไม่มีใครรอดชีวิตกลับมา เมื่อถึงกัรบะลาอ์ ซึ่งอยู่ห่างจากกูฟะหฺประมาณ 70 กม. อิมามฮุซัยน์ได้เผชิญหน้ากับกองทัพของยะซีดที่สกัดกั้นทางไว้ กองคาราวานของอิมามฮุซัยน์ถูกทหารยะซีดจำนวนมากมายล้อมกรอบและถูกปิดเส้นทางเอาน้ำดื่ม จนทำให้กองคาราวานของอิมามฮุซัยน์ต้องทนกระหายน้ำท่ามกลางทะเลทรายที่ร้อนระอุเป็นเวลาหลายวัน ในสภาพการเช่นนั้นอิมามมีทางเลือกอยู่สองทางคือ ยอมใหคำสัตยาบันหรือยอมตาย
ในวันที่ 10 มุฮัรรอม ปี ฮ.ศ. 61 ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1223 อิมามฮุซัยน์และครอบครัวได้ร่วมกันต่อสู้กับกองทหารที่มีจำนวนพลสามหมื่นคนตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาบ่าย ซึ่งในการต่อสู้ครั้งนี้ชีวิตของท่าน ลูกชาย น้องชาย หลานชาย อา และสาวกบางคนของท่าน รวมแล้วประมาณ 132 คนได้เสียชีวิตจนหมดสิ้น ยกเว้นอิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรชายคนหนึ่งของท่านที่ไม่สามารถออกรบได้ เพราะป่วยอยู่ในขณะนั้น จึงรอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวแต่เหตการณ์ในครั้งนั้นก็ได้ทำให้ศาสนาอิสลามคงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้
อับบาส บุตรของ อิมามอะลี(อ)น้องชายอิมามฮุซัยน์ ได้ขออนุญาตครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่ออาสาออกไปรบแต่ท่านอิมามฮุซัยน์ก็มิให้ออกรบเพราะท่านรักน้องชายของท่านมาก แต่ท่านอิมาม(อ)ก็อนุญาตให้ออกไปเอาน้ำจากฝั่งกองทัพยะซีด อับบาสควบม้าฝ่ากองทัพศัตรูจนถึงแม่น้ำฟุรอต (ยูเฟรติส) อับบาสตักน้ำใส่ถุงน้ำเพื่อนำกลับ โดยตัวเองไม่ได้ดื่ม แต่ก็ถูกทหารสกัดกั้น อับบาสต่อสู้จนตกจากหลังม้า ถูกม้าของเหล่าศัตรูเหยียบย่ำจนสิ้นชีพ
หลังจากเหล่าบุรุษในกองคาราวานอิมามฮุซัยน์ถูกสังหาร กองทหารของยะซีดได้ยึดทรัพย์สินและจับกุมลูกหลานของอิมามฮุซัยน์ ซึ่งส่วนมากเป็นเด็กและสตรีไปเป็นเชลยร่วมเดินทางไปพร้อมกับศีรษะของท่านอิมามฮุซัยน์ไปยังกูฟะหฺ และจากกูฟะหฺมุ่งหน้าไปยังนครดามัสคัส ซีเรีย
ในบรรดาเชลยเหล่านั้นมีท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน และซัยนับ น้องสาวของอิมามฮุซัยน์ ร่วมอยู่ด้วย ซัยนับได้กล่าวคำปราศรัยท่ามกลางผู้คนที่เนีองแน่นในกูฟะหฺและในห้องประชุมของ อิบนุซิยาด ผู้ปกครองกูฟะหฺในเวลานั้น เมื่อไปถึงซีเรียทั้งสองได้กล่าวคำปราศรัยตอบโต้ยะซีดและพรรคพวก เป็นคำปราศรัยที่ได้รับการบันทึกไว้จนถึงวันนี้
อาชูรออ์ พิธีไว้อาลัยอิมามฮุซัยน์
แก้ชาวชีอะหฺไว้อาลัยฮุซัยน์และรำลึกโศกนาฏกรรมดังกล่าว ทุก ๆ วันที่ 10 มุฮัรรอม ที่เรียกว่า วันอาชูรออ์
ชนมุสลิมในประเทศไทยมีการทำขนมวันอาชูรออ์ ซึ่งจากการศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมา พบว่าขนมวันอาชูรออ์ (บูโบร์ซูรอ) เป็นประเพณีชีอะหฺที่ผู้คนในภูมิภาคนี้รับและสืบทอดมาจากบรรพชนในอดีต
การไว้อาลัยสิบวันแรกของเดือนมุฮัรรอมของแขกเจ้าเซ็นในประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
อ้างอิง
แก้- ↑ Shabbar, S.M.R. (1997). Story of the Holy Ka'aba. Muhammadi Trust of Great Britain. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
- ↑ Nakash, Yitzhak (1 January 1993). "An Attempt To Trace the Origin of the Rituals of Āshurā¸". Die Welt des Islams. 33 (2): 161–181. doi:10.1163/157006093X00063. สืบค้นเมื่อ 19 July 2016.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 al-Qarashi, Baqir Shareef (2007). The life of Imam Husain. Qum: Ansariyan Publications. p. 58.
- ↑ A Brief History of The Fourteen Infallibles. Qum: Ansariyan Publications. 2004. p. 95.
- ↑ Kitab al-Irshad. p. 198.
- ↑ S. Manzoor Rizvi. The Sunshine Book. books.google.com. ISBN 1312600942.