ฮะซัน อิบน์ อะลี

(เปลี่ยนทางจาก ฮะซัน)

อัลฮะซัน อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (อาหรับ: الحسن بن علي بن أﺑﻲ طالب; อังกฤษ: Al-Hasan ibn ‘Alī ibn Abī Tālib; ค.ศ. 624–669 / ฮ.ศ. 3-50) เป็นพี่ชายของอิมามฮุซัยน์ อิบน์ อะลี และเป็นบุตรของอิมามอะลี กับท่านหญิงฟาฏิมะหฺ(อ) บุตรีนบีมุฮัมมัด

ฮะซัน อิบน์ อะลี
เคาะลีฟะฮ์ในคูฟาฮ์
อัล-มุจตะบา[1]
ครองราชย์ค.ศ.661-661
ก่อนหน้าอะลี
ถัดไปมุอาวิยะฮ์ที่ 1 ในฐานะเคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
อิหม่ามคนที่ 2 ของชีอะฮ์
(มุมมองของชีอะฮ์สิบสองอิมามและซัยดี)
ก่อนหน้าอะลี อิบน์ อบีฏอลิบ
ถัดไปฮุซัยน์ อิบน์ อะลี
อิหม่ามคนแรกของชีอะฮ์
(มุมมองของอิสมาอีลียะฮ์)
ถัดไปฮุซัยน์ อิบน์ อะลี
ประสูติ1 ธันวาคม ค.ศ. 624(624-12-01)
(15 เราะมะฎอน ฮ.ศ.3)[2][3]
มะดีนะฮ์
สวรรคต1 เมษายน ค.ศ. 670(670-04-01) (45 ปี)
(7 เศาะฟัร ฮ.ศ.50)[4][5]
มะดีนะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
ฝังพระศพอัลบะกีอ์, มะดีนะฮ์, ประเทศซาอุดีอาระเบีย
คู่อภิเษก
รายการ
  • Um Kulthum bint Alfadhl bin Al-Abbas bin Abdulmuttalib bin Hashim
  • Khawla bint Mandhoor bin Zaban bin Syar bin Amro
  • Um Basheer bint Abi Mas'ud
  • Ju'da bint Al-Ash'ath bin Qays Ma'di Karb Alkindi
พระราชบุตร
รายการ
  • Qāsim
  • Muhammad ibn Hasan
  • Fātimah
  • Abu Bakr
  • Umar
  • Zayd
  • Abdullah
  • Talha
  • Maymūnah
  • Al-Hasan al-Muthana
  • Umm al-Husayn[5]
พระนามเต็ม
อัล-ฮะซัน อิบน์ อะลี อิบน์ อบีฏอลิบ อาหรับ: الحسن ابن علي ابن أبي طالب
ราชวงศ์กุเรช (บนูฮาชิม)
พระราชบิดาอะลี
พระราชมารดาฟาฏิมะฮ์
ศาสนาอิสลาม

ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวเกี่ยวกับหลานรักทั้งสองอีกว่า "ฮะซันและฮุซัยน์เป็นหัวหน้าชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์"

อิมามฮะซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอิมามตามคำสั่งเสียของท่านศาสดา ซึ่งเหล่าศรัทธาชนก็ได้ให้สัตยาบันกับท่าน ท่านขึ้นปกครองอาณาจักรอิสลามได้เพียงหกเดือนเศษ ในเวลานั้นซีเรียและอียิปต์ที่อยู่ในการปกครองของมุอาวิยะหฺ บุตรอะบูสุฟยาน มิได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อการปกครองของอิมามฮะซัน

อิมามฮะซันได้เตรียมกำลังทหารเพื่อปราบปรามมุอาวิยะหฺ ผู้ตั้งตนเป็นกบฏและก่อกวนความสงบสุขของอาณาจักรอิสลามตั้งแต่สมัยอิมามอะลี ผู้เป็นบิดา ทว่าท่านต้องยกเลิกแผนการอันนี้ เพราะทราบว่าทหารของท่านมีใจโอนเอียงฝักใฝ่อยู่กับมุอาวะยะหฺ และรอคำสั่งจากมุอาวิยะหฺ ว่าจะให้จัดการกับท่านอิมามอย่างไร จะสังหารท่านหรือจับกุมส่งท่านไปให้มุอาวิยะหฺ ด้วยเหตุนี้เองอิมามฮะซันจึงต้องจำยอมเลือกวิธีการประนีประนอมด้วยการทำสนธิสัญญาหย่าศึก แต่ต่อมามุอาวิยะหฺก็บิดพลิ้วสนธิสัญญา เขาได้เดินทางมายังอิรัก แล้วขึ้นมินบัรในมัสยิดกูฟะหฺ เพื่อกล่าวปราศรัยกับประชาชนว่า "โอ้ประชาชน ฉันไม่ต้องการทำสงครามกับพวกท่านในเรื่องของศาสนา ว่าต้องทำนมาซหรือถือศีลอด เพียงแต่ฉันต้องการขึ้นเป็นผู้ปกครองเท่านั้นเองและฉันก็ถึงเป้าหมายของฉันแล้ว ส่วนสัญญาที่ลงนามร่วมกับฮะซันบุตรของอะลีนั้น มันไม่มีความหมายสำหรับฉันเลย ฉันตั้งมันไว้ใต้ฝ่าเท้าของฉัน"

อิมามฮะซันต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองของมุอาวิยะหฺนานถึง 9 ปี

สิ้นชีวิต แก้

ในบางรายงานถูกกล่าวว่า อิมามฮะซันถูกภรรยานามว่า "ญะอฺดะหฺ" ที่ได้รับสินบนจากมุอาวิยะหฺ ลอบวางยาพิษจนท่านเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 50 ศพของท่านฝังที่สุสานอัลบะกีอ์

อ้างอิง แก้

  1. "Imam Hassan as". Duas.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018.
  2. Shabbar, S.M.R. (1997). Story of the Holy Ka’aba. Muhammadi Trust of Great Britain. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2013.
  3. Shaykh Mufid. Kitab Al Irshad. p.279-289 เก็บถาวร 27 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. Hasan b. 'Ali b. Abi Taleb เก็บถาวร 1 มกราคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Encyclopedia Iranica.
  5. 5.0 5.1 Suyuti, Jalaluddin. تاریخ الخلفاء. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018.