อุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์
นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ (สกุลเดิม ไตรสรณกุล) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] สังกัดพรรคภูมิใจไทย เป็นภรรยาของนายแพทย์จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์[2] อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และน้องสาวของนายธีระ ไตรสรณกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคเพื่อไทย[3]
อุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มีนาคม พ.ศ. 2508 อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ |
ประวัติ
แก้อุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2508 ที่อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายฮวด กับนางจือเฮียง ไตรสรณกุล[2] เป็นน้องสาวของนายธีระ ไตรสรณกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคเพื่อไทย และนายวิชิต ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สำเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตรและผดุงครรภ์ชั้นสูง จากวิทยาลัยนครราชสีมา สมรสกับนายแพทย์จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ มีบุตร 2 คน
การทำงาน
แก้อุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ประกอบวิชาชีพพยาบาล และเปิดสถานพยาบาลคลินิกอุดมลักษณ์การพยาบาลและผดุงครรภ์ ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ (เขตอำเภอกันทรลักษ์) สังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แทนสามีที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย ซึ่งนางอุดมลักษณ์ เป็นหนึ่งในผู้ถูกเสนอชื่อให้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขแทนนายมานิต นพอมรบดี[4] แต่ท้ายที่สุดตำแหน่งดังกล่าวตกเป็นของนางพรรณสิริ กุลนาถศิริ
อุดมลักษณ์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. อีกสมัย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สามารถเอาชนะนายแพทย์ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ[5] อดีต ส.ส.หลายสมัย และนายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์ อดีต ส.ว.ศรีสะเกษ จากพรรคเพื่อไทย โดยเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของจังหวัดศรีสะเกษที่ไม่ได้สังกัดพรรคเพื่อไทย
หลังจากนั้น เธอจึงย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[6] อยู่ระยะหนึ่งก่อนจะกลับมาร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทยอีกครั้ง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 4 สังกัดภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งแพ้ให้กับนายแพทย์ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ พรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ 2.0 2.1 จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ 1 ใน 7 ส.ส.-ในบัญชีแบล๊กลิสต์ พท.
- ↑ ความต่าง “ชัชชาติ-อุ๊งอิ๊ง” ครอบครัว “พท.” ไม่อบอุ่น?
- ↑ ไล่ส่ง "มานิต" พ้นครม. ภาวะผู้นำ "มาร์ค" ตีตื้น[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลการเลือกตั้ง ส.ส.ศรีสะเกษ 2554[ลิงก์เสีย]
- ↑ ไร้ประท้วง บิ๊กตู่กินทุเรียน บ้านน้องกวาง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓