หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี
หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี (24 กันยายน พ.ศ. 2475 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543[1]) อดีตเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และ กรุงวอชิงตัน อดีตราชเลขาธิการ และอดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และกรกฎาคม พ.ศ. 2529)[2][3] เขาล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร และถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ด้วยวัย 65 ปี
หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี | |
---|---|
ราชเลขาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2537 - 1 สิงหาคม 2542 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ |
ถัดไป | อาสา สารสิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กันยายน พ.ศ. 2475 จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (67 ปี) |
เชื้อชาติ | ไทย |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์รำพิอาภา เกษมศรี (สวัสดิวัตน์) |
บุตร | วนโศภิน เกษมศรี ณ อยุธยา นายแพทย์ทิวากร เกษมศรี ณ อยุธยา พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา |
บุพการี |
|
อาชีพ | นักการทูต ข้าราชการ |
ประวัติ
แก้หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์ระพีพรรณ เกษมศรี กับสุธีรา เกษมศรี ณ อยุธยา (สกุลเดิม ปันยารชุน; พี่สาวของอดีตนายกรัฐมนตรีไทย อานันท์ ปันยารชุน) เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2475 มีน้องสาวคนเดียวคือหม่อมหลวงสุรธี อิศรเสนา (สมรสกับพชร อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีดปลัดกระทรวงพาณิชย์) จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านกฎหมายและการทูต จากมหาวิทยาลัยทัฟส์ สหรัฐ
หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี สมรสกับหม่อมราชวงศ์รำพิอาภา เกษมศรี (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์; ธิดาในหม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ กับหม่อมเจ้าสุวภาพเพราพรรณ สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม วุฒิชัย)) มีบุตรธิดา 3 คน คือ
- วนโศภิน เกษมศรี ณ อยุธยา
- นายแพทย์ทิวากร เกษมศรี ณ อยุธยา
- พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา
การทำงาน
แก้- พ.ศ. 2507 เลขานุการโท กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ
- เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
- พ.ศ. 2528 - 2529 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2528 ควบตำแหน่งกับพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา[4][5]
- พ.ศ. 2531 - 2534 เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2534 - 2537 เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐ และ สาธารณรัฐโดมินิกัน[6][7]
- พ.ศ. 2537 - 2538 รองราชเลขาธิการ[8]
- พ.ศ. 2538 - 2543 ราชเลขาธิการ[9][10]
- พ.ศ. 2542 กรรมการข้าราชการพลเรือน[11]
ผลงาน
แก้- "Banana Tree Horse" กวีนิพนธ์แปล ม้าก้านกล้วย ของไพวรินทร์ ขาวงามในภาษาอังกฤษ [12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[16]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[17]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติจาก สุสาน.คอม[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://self.gutenberg.org/articles/President_of_the_Security_Council
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-29. สืบค้นเมื่อ 2005-11-29.
- ↑ http://self.gutenberg.org/articles/President_of_the_Security_Council
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-29. สืบค้นเมื่อ 2005-11-29.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/094/4902.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/103/8877.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/D/052/2.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/085/2.PDF
- ↑ https://www.thairath.co.th/content/295095
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/D/091/4.PDF
- ↑ ม้าก้านกล้วย (ภาคภาษาอังกฤษ) - Banana Tree Horse[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐๒, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๗ กันยายน ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๑๐ ง หน้า ๑๒๑๕๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๔
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ | ราชเลขาธิการ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2542) |
อาสา สารสิน |