สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์
สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ (เกิด 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2496) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 4 หลายสมัย
สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 |
พรรคการเมือง | กิจสังคม (2539–2544) ไทยรักไทย (2544–2550) เพื่อไทย (2554–2561) พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พาพิศ อนรรฆพันธ์ |
ประวัติ
แก้สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของนายเลียง และนางเอมอร อนรรฆพันธ์ มีพี่น้อง 6 คน หนึ่งในนั้นได้แก่ ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและเหรัญญิกพรรคเพื่อไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมรสกับนางพาพิศ ไม่มีบุตรธิดา
งานการเมือง
แก้อดีตเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเพชรบูรณ์ 4 สมัย (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523) ต่อมาปี พ.ศ. 2539 ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2544 ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่สองและสาม
พ.ศ. 2550 ลงสมัครในนามพรรคพลังประชาชน ชนะการเลือกตั้ง แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตัดสินให้ใบเหลืองในเวลาต่อมา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยนายสุรศักดิ์ได้รับเลือกอีกครั้ง พ.ศ. 2554 ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย สุรศักดิ์มีฐานเสียงหลักอยู่ในอำเภอหนองไผ่[1]
อนึ่ง นายสุรศักดิ์เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ในปี พ.ศ. 2548[2]
ใน พ.ศ. 2561 นายสุรศักดิ์ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทยและย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ ตามคำเชิญของนาย สันติ พร้อมพัฒน์ ที่ย้ายไปอยู่กับพรรคพลังประชารัฐก่อนหน้านั้น
แต่ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2566 นายสุรศักดิ์ ประกาศไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากปัญหาทางสุขภาพ จึงส่งนายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ และนายวรโชติ สุคนธ์ขจร ซึ่งเป็น สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ลงรับเลือกตั้งแทน และก็ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์" พท. ป้องกันแชมป์ 5 สมัย "จ.อ.ศุภวัฒน์ เมธาวัชรินทร์" ปชป. ท้าชิง
- ↑ "ทำเนียบรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-04. สืบค้นเมื่อ 2011-12-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เก็บถาวร 2018-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย