สืบศักดิ์ ผันสืบ
พันตำรวจโท สืบศักดิ์ ผันสืบ (ชื่อเล่น โจ้; มีฉายาว่า "โจ้ หลังเท้า") เป็นนักกีฬาตะกร้อทีมชาติไทย ตำแหน่งแบ็ก กรรมการสมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย ปัจจุบันรับราชการตำรวจในตำแหน่ง รอง ผกก.จร.สน.วังทองหลาง
พันตำรวจโท สืบศักดิ์ ผันสืบ | |
---|---|
เกิด | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2520 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | ข้าราชการตำรวจ |
มีชื่อเสียงจาก | นักกีฬาตะกร้อทีมชาติไทย |
คู่สมรส | ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ |
บุตร | ด.ช.ดวิน ผันสืบ เลิศนุวัฒน์ |
บิดามารดา | นายสมจิต ผันสืบ นางขนิษฐา ผันสืบ |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
---|---|
แผนก/ | กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
ประจำการ | พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน |
ชั้นยศ | พันตำรวจโท |
ประวัติ
แก้เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายสมจิต ผันสืบ (ข้าราชการบำนาญ) กับนางขนิษฐา ผันสืบ (หัวหน้าผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลคุ้งพะยอม)
- จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) จากโรงเรียนพณิชยการกรุงเทพ
- จบปริญญาตรี จากวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
- จบปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารจัดการทั่วไป และคณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สัมฤทธิบัตร วิชากฎหมาย 3 ตัว จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ชีวิตครอบครัว สืบศักดิ์สมรสกับศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตคลองสาน บุตรสาวของนายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556[1]
ผลงาน
แก้สืบศักดิ์ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมทีมชาติไทยเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2539 ในการแข่งขันตะกร้อชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 12 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
สืบศักดิ์เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 7 ครั้ง มีผลงานดังนี้
- 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 1997 (ครั้งที่ 19) ที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
- 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 1999 (ครั้งที่ 20) ที่บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ประเทศบรูไน
- 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 2001 (ครั้งที่ 21) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
- 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 2003 (ครั้งที่ 22) ที่ฮานอยและนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม
- 1 เหรียญเงิน ซีเกมส์ 2005 (ครั้งที่ 23) ที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
- 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 2007 (ครั้งที่ 24) ที่นครราชสีมา ประเทศไทย
- 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 2009 (ครั้งที่ 25) ที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว
และร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 4 ครั้ง มีผลงานดังนี้
- 2 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 1998 (ครั้งที่ 13) ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
- 2 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 2002 (ครั้งที่ 14) ที่ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้
- 2 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 2006 (ครั้งที่ 15) ที่โดฮา ประเทศกาตาร์
- 1 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 2010 (ครั้งที่ 16) ที่กวางโจว ประเทศจีน
รับราชการตำรวจ
แก้ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้รับการประดับยศเป็นร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.) สังกัดกองกำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ หรือ ตำรวจ 191 (บช.น.) จาก พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมกับเพื่อน ๆ นักกีฬาทีมชาติอีกหลายคน [2]
หลังจากครองยศถึง ร.ต.อ. จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสารวัตรงานป้องกันและปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน ในปี พ.ศ. 2558 จนกระทั่งวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ได้ดำรงตำแหน่งสารวัตร สถานีตำรวจท่องเที่ยว 8 (กาญจนบุรี) กองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว ควบคุมดูแลพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม หลังจากนั้นดำรงตำแหน่ง สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง กองบังคับการตำรวจนครบาล 4
นอกจากเป็นข้าราชการตำรวจแล้ว ยังเป็นเลขาธิการสมาคมฟุตวอลเล่ย์และประธานเทคนิคกีฬาฟุตวอลเล่ย์ สมาคมฟุตวอลเล่ย์แห่งประเทศไทย และคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รอง ผกก.จร.สน.วังทองหลาง และกรรมการสมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย
ผลงานการแสดง
แก้- เกิดมาลุย
- หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ รับบทเป็น อาจารย์หนู กันภัย ในวัยผู้ใหญ่
- มิวสิกวิดีโอ เพลง จากวันนี้ไป ให้ใจนำทาง ของ ฝน ธนสุนทร[3]
- ละครใจสู้มุ่งสู่ฝัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[5]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ จำได้ไหม? สืบศักดิ์ ผันสืบ แต่งงานแล้วจ้า!
- ↑ 5นักกีฬาไทยติดยศ ร.ต.ต.[ลิงก์เสีย]
- ↑ มิวสิกวีดีโอ เพลง จากวันนี้ไป ให้ใจนำทาง.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๐๘, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๙๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๓๐, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐