สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ

พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร (ประสูติ: 29 เมษายน พ.ศ. 2548) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงมีฐานะเป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐานลำดับแรกในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ไทยตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467[1]

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ
เจ้าฟ้าชั้นเอก
ประสูติ29 เมษายน พ.ศ. 2548 (19 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลมหิดล
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาศรีรัศมิ์ สุวะดี
ศาสนาพุทธเถรวาท
ลายพระอภิไธย

พระประวัติ

ประสูติกาล

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ประสูติเมื่อวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา สัปตศก จ.ศ. 1367 ตรงกับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 เวลา 18.35 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์มีพระเชษฐภคินีต่างพระมารดา 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

คณะแพทย์ถวายพระประสูติโดยการผ่าตัด เมื่อแรกประสูติ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติทรงมีน้ำหนัก 2,680 กรัม ความยาวพระองค์ 47 เซนติเมตร รอบพระเศียร 31 เซนติเมตร ลืมพระเนตรเวลา 19.00 น. มีพระพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง พระเนตรโต พระนาสิกโด่ง[2]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชหัตถเลขาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ให้ขนานพระนามว่า "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ" หมายถึง "ผู้ทำประทีปคือปัญญาให้สว่างกระจ่างแจ้ง, ผู้ทำเกาะคือที่พึ่งให้รุ่งเรืองโชติช่วง" และพระราชทานเสมาอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ทองคำ

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เขียนพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เป็นภาษาอังกฤษ ว่า His Royal Highness Prince Dipangkorn Rasmijoti[3]

พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ได้มีพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ตามพระราชประเพณีในพระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ มีพระชนมายุครบ 1 เดือน

นอกจากนี้ ในวาระที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงเจริญพระชันษาครบ 1 ปี ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2549 กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ชนิดราคา 50 บาท ทำด้วยทองแดงผสมนิกเกิล น้ำหนัก 21 กรัม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 มิลลิเมตร จำนวนผลิตไม่เกิน 500,000 เหรียญ ลวดลายด้านหน้ากลางเหรียญมีพระรูป พระเจ้าหลานเธอฯ ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ภายในวงขอบเหรียญด้านขวามีข้อความว่า "พระองค์เจ้า" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "ทีปังกรรัศมีโชติ" ด้านหลังกลางเหรียญมีข้อความว่า "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงเจริญพระชันษา 1 ปี 29 เมษายน 2549 50 บาท" ภายในวงขอบเหรียญด้านขวา มีรูปลูกไก่ยืนอยู่บนหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งสำหรับม้วนเก็บแผ่นจารึก เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย"

การศึกษา

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนจิตรลดาในพระราชวังดุสิต ก่อนเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศที่โรงเรียนนานาชาติบาวาเรีย (BIS) ในบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี

พระกรณียกิจ

 
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติขณะทรงฝึกทางทหารเบื้องต้นที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เสด็จไปยังห้องสมุดฝ่ายประถมศึกษาโรงเรียนจิตรลดา เพื่อร่วมกิจกรรมงานสัปดาห์รักการอ่าน[4]

วันที่ 2 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้น พระองค์ก็ได้รับเกียรติบัตรพร้อมรางวัล "งานประหยัดน้ำ-ไฟ" ที่จัดขึ้นประจำในโรงเรียนจิตรลดา ด้วยพระองค์ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อพระสหาย[5]

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ได้เสด็จไปยังสนามกีฬากลาง พื้นที่ควบคุมในพระองค์ 904 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในการประทานถ้วยรางวัลพระราชทานและถ้วยรางวัลประทานแก่ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับประเภทต่าง ๆ ในรายการ "หนูน้อยเจ้าเวหา"[6][7]

ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา "เราทำความดี ด้วยหัวใจ" โดยทรงทำความสะอาดภายในสุสานหลวงและวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร รวมทั้งประทานน้ำดื่ม อาหาร และพิมเสนน้ำแก่พสกนิกรที่มาร่วมในพระราชพิธีฯ ณ บริเวณศาลหลักเมืองอีกด้วย[8]

มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์

  • สโมสรผู้รักสวนสัตว์แห่งประเทศไทย[9]

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร
สิริวิบูลยราชกุมาร
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
 
ธงประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
ลำดับโปเจียม10

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ (29 เมษายน พ.ศ. 2548 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร[10] (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

สิ่งอันเนื่องด้วยพระนาม

การศึกษา
การแพทย์ และการสาธารณสุข
ศาสนสถาน
พรรณไม้
  • เฟินรัศมีโชติ ชื่อวิทยาศาสตร์: Blechnum x rasmijoti ‘The Royal Project’ ใน วงศ์: Blechnaceae[12][13][14][15][16][17]
อื่น ๆ

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ไชยพร, ไชยันต์ (18 เมษายน 2022). "ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประเพณีการปกครองของอังกฤษ (ตอนที่ ๘)". ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "สำนักพระราชวังแถลงหม่อมศรีรัศมิ์มี "พระประสูติกาล" พระโอรสในสมเด็จพระบรมฯ นน. 2,680 กรัม - พสกนิกรปีติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-05-01.
  3. พระองค์ทีฯ ทรงพระสำราญกับกิจกรรมการเรียนรู้
  4. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงร่วมกิจกรรม งานสัปดาห์รักการอ่าน" (Press release). สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 20 สิงหาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงรับเกียรติบัตรงานประหยัดน้ำ-ไฟ" (Press release). สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 2 ตุลาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ประทานถ้วยรางวัลพระราชทานและถ้วยรางวัลประทาน แก่ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ในรายการ "หนูน้อยเจ้าเวหา" เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (Press release). สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 22 กรกฎาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ประทานถ้วยรางวัลพระราชทานแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในรายการ "หนูน้อยจ้าวเวหา" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[ลิงก์เสีย]
  8. พระองค์ทีปังกรฯ ทรงทำกิจกรรมจิตอาสาวัดราชบพิธฯ พสกนิกรปลื้มปีติ ทรงโน้มพระวรกายประทานสิ่งของ
  9. "สโมสรผู้รักสวนสัตว์แห่งประเทศไทย องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์". สืบค้นเมื่อ 2024-05-21.
  10. 10.0 10.1 10.2 "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 10. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-05. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๓, ตอน ๓๓ ข, ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๑
  12. Blechnaceae
  13. "การพัฒนาสายพันธุ์เฟิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-12.
  14. "uniserv". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-18.
  15. rasmijoti
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-18. สืบค้นเมื่อ 2019-05-18.
  17. บทความไลฟ์สไตล์

แหล่งข้อมูลอื่น