สนธิสัญญาทรียานง
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สนธิสัญญาทรียานง (ฝรั่งเศส: Traité de Trianon; ฮังการี: Trianoni békeszerződés; อิตาลี: Trattato del Trianon; โรมาเนีย: Tratatul de la Trianon; อังกฤษ: Treaty of Trianon) บางครั้งมีการเรียกว่า คำสั่งสันติภาพทรียานง (อังกฤษ: Peace Dictate of Trianon)[1][2][3][4][5] หรือที่ในฮังการีเรียกว่า คำสั่งแห่งทรียานง (อังกฤษ: Dictate of Trianon)[6][7] เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นในการประชุมสันติภาพปารีสและลงนาม ณ พระราชวังกร็องทรียานง ที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ซึ่งถือเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเป็นทางการ ระหว่างประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่[a] และราชอาณาจักรฮังการี[8][9][10][11] นักการทูตฝ่ายฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในการร่างสนธิสัญญา โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดตั้งพันธมิตรของฝรั่งเศสในรัฐที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ สนธิสัญญาทรียานงควบคุมสถานะของราชอาณาจักรฮังการี และได้กำหนดพรมแดนโดยรวมของประเทศตามแนวสงบศึกที่สร้างขึ้นในเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม ค.ศ. 1918 ทั้งยังทำให้ฮังการีกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่มีพื้นที่ 93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์) เป็นปริมาณเพียง 28% ของพื้นที่เดิมของราชอาณาจักรฮังการีก่อนสงคราม ซึ่งเคยมีพื้นที่อยู่ 325,411 ตารางกิโลเมตร (125,642 ตารางไมล์) ราชอาณาจักรที่ถูกแบ่งแยกนี้มีประชากรเพียง 7.6 ล้านคน คิดเป็น 36% ของจำนวนประชากรในฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่มีประชากรอยู่ 20.9 ล้านคน[12] แม้ว่าพื้นที่ที่จัดสรรให้กับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่แล้ว ประชากรจะไม่ใช่ชาวฮังการี แต่ในชาวฮังการีราว 3.3 ล้านคน (31%) ถูกทอดทิ้งอยู่นอกเขตแดนของฮังการีและกลายเป็นชนกลุ่มน้อย[13][14][15][16] นอกจากนี้ สนธิสัญญายังได้จำกัดขนาดกองทัพฮังการีไว้ที่ 35,000 นาย และยุติบทบาทของกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีลง ซึ่งการตัดสินใจและผลลัพธ์ภายหลังเหล่านี้เป็นสาเหตุของความขุ่นเคืองอย่างสุดซึ้งในฮังการีตั้งแต่นั้นมา[17]
สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างมหาพันธมิตรและประเทศที่เข้าร่วมกับฮังการี | |
---|---|
การมาถึงของผู้ลงนามทั้งสองบุคคล อาโกชต์ แบนาร์ด (Ágost Benárd) และอ็อลเฟรด ดร็อชแช-ลาซาร์ (Alfréd Drasche-Lázár) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ณ พระราชวังกร็องทรียานง เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส | |
วันลงนาม | 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 |
ที่ลงนาม | แวร์ซาย ฝรั่งเศส |
วันมีผล | 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 |
ภาคี | 1. ฝ่ายสัมพันธมิตรและประเทศที่เกี่ยวข้อง ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี ญี่ปุ่น ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น เบลเยียม จีน คิวบา เชโกสโลวาเกีย กรีซ ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน นิการากัว ปานามา โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สยาม 2. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ราชอาณาจักรฮังการี |
ผู้เก็บรักษา | รัฐบาลฝรั่งเศส |
ภาษา | ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี |
ข้อความทั้งหมด | |
Treaty of Trianon ที่ วิกิซอร์ซ |
ประเทศผู้ได้รับผลประโยชน์หลัก ได้แก่ ราชอาณาจักรโรมาเนีย, สาธารณรัฐเชโกสโลวัก, ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ยูโกสลาเวียในภายหลัง), และสาธารณรัฐออสเตรีย หนึ่งในองค์ประกอบหลักของสนธิสัญญาฉบับนี้ คือ เรื่องแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้คนที่ไม่ใช่ชาวฮังการี มีรัฐชาติและความเป็นอิสรภาพของตนเอง[18] อีกทั้งฮังการียังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านด้วย สนธิสัญญาดังกล่าวมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กำหนดมากกว่าการเจรจาร่วมกับฮังการี และฮังการีก็ไม่มีทางเลือกอันใด นอกเสียจากยอมรับเงื่อนไขสนธิสัญญา[18] คณะผู้แทนฮังการีได้ลงนามในสนธิสัญญาทรียานง (พร้อมกับการเขียนประท้วงสนธิสัญญาแนบร่วม) และไม่นานหลังจากการลงนาม ความโกลาหลเพื่อการแก้ไขสนธิสัญญาจึงเริ่มต้นทันที[14][19]
สำหรับพรมแดนของฮังการีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เหมือนกับพรมแดนที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาทรียานง แต่มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยระหว่างพรมแดนฮังการี-ออสเตรีย ใน ค.ศ. 1924 และการโอนย้ายหมู่บ้านสามแห่งไปยังเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1947[20][21]
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จะมีแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" โดยฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ก็อนุญาตให้มีการลงประชามติเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (ภายหลังรู้จักกันในชื่อการลงประชามติโชโปรน) เพื่อยุติพรมแดนที่มีข้อพิพาทบนดินแดนเดิมของราชอาณาจักรฮังการี[22] ซึ่งเป็นการพิพาทดินแดนขนาดเล็กระหว่างสาธารณรัฐออสเตรียที่ 1 และราชอาณาจักรฮังการี เนื่องจากเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ กองกำลัง Rongyos Gárda กระทำการโจมตีอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับไล่กองกำลังออสเตรียที่เข้ามาในพื้นที่ ระหว่างการลงประชามติเมื่อปลาย ค.ศ. 1921 หน่วยคะแนนเสียงได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่กองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร[23]
หมายเหตุ
แก้- ↑ สหรัฐยุติสงครามกับฮังการีในสนธิสัญญาสันติภาพสหรัฐ–ฮังการี (ค.ศ. 1921)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Hungarian President János Áder's Speech on the Day of National Unity". Consulate General of Hungary Manchester.
- ↑ Dr. Dobó, Attila; Kollár, Ferenc; Zsoldos, Sándor; Kohári, Nándor (2021). A trianoni békediktátum [The Peace Dictate of Trianon] (PDF) (ภาษาฮังการี) (2nd ed.). Magyar Kultúra Emlékívek Kiadó. ISBN 978-615-81078-9-1.
- ↑ Prof. Dr. Gulyás, László (2021). Trianoni kiskáté - 101 kérdés és 101 válasz a békediktátumról (ภาษาฮังการี).
- ↑ Makkai, Béla (2019). Chopping Hungary Up by the 1920 Peace Dictate of Trianon. Causes, Events and Consequences.
- ↑ Gulyás, László; Anka, László; Arday, Lajos; Csüllög, Gábor; Gecse, Géza; Hajdú, Zoltán; Hamerli, Petra; Heka, László; Jeszenszky, Géza; Kaposi, Zoltán; Kolontári, Attila; Köő, Artúr; Kurdi, Krisztina; Ligeti, Dávid; Majoros, István; Maruzsa, Zoltán; Miklós, Péter; Nánay, Mihály; Olasz, Lajos; Ördögh, Tibor; Pelles, Márton; Popély, Gyula; Sokcsevits, Dénes; Suba, János; Szávai, Ferenc; Tefner, Zoltán; Tóth, Andrej; Tóth, Imre; Vincze, Gábor; Vizi, László Tamás (2019–2020). A trianoni békediktátum története hét kötetben - I. kötet: Trianon Nagy Háború alatti előzményei, az Osztrák-Magyar Monarchia bukása 1914-1918 / II. kötet: A katonai megszállástól a magyar békedelegáció elutazásáig 1918-1920 / III. kötet: Apponyi beszédétől a Határkijelölő Bizottságok munkájának befejezéséig / IV. kötet: Térképek a trianoni békediktátum történetéhez / V. kötet: Párhuzamos Trianonok, a Párizs környéki békék: Versailles, Saint-Germain, Neuilly, Sevres, Lausanne / VI. kötet: Dokumentumok, források / VII. kötet: Kronológia és életrajzok [The history of the Peace Dictate of Trianon in seven volumes - Volume I: Trianon's history during the Great War, the fall of the Austro-Hungarian Monarchy 1914-1918 / Volume II: From the military occupation to the departure of the Hungarian peace delegation 1918-1920 / Volume III: From Apponyi's speech to the completion of the work of the Boundary Demarcation Committees / Volume IV: Maps for the history of the Trianon peace decree / Volume V: Parallel Trianons, the peaces around Paris: Versailles, Saint-Germain, Neuilly, Sevres, Lausanne / Volume VI: Documents, sources / Volume VII: Chronology and biographies] (ภาษาฮังการี). Egyesület Közép-Európa Kutatására. ISBN 9786158046299.
- ↑ Bank, Barbara; Kovács, Attila Zoltán (2022). Trianon - A diktátum teljes szövege [Trianon - Full text of the dictate] (ภาษาฮังการี). Erdélyi Szalon. ISBN 9786156502247.
- ↑ Raffay, Ernő; Szabó, Pál Csaba. A Trianoni diktátum története és következményei [The history and consequences of the Dictate of Trianon] (ภาษาฮังการี). Trianon Múzeum.
- ↑ Craig, G. A. (1966). Europe since 1914. New York: Holt, Rinehart and Winston.
- ↑ Grenville, J. A. S. (1974). The Major International Treaties 1914–1973. A history and guides with texts. Methnen London.
- ↑ Lichtheim, G. (1974). Europe in the Twentieth Century. New York: Praeger.
- ↑ "Text of the Treaty, Treaty of Peace Between The Allied and Associated Powers and Hungary And Protocol and Declaration, Signed at Trianon June 4, 1920".
- ↑ "Open-Site:Hungary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
- ↑ Frucht 2004, p. 360.
- ↑ 14.0 14.1 "Trianon, Treaty of". The Columbia Encyclopedia. 2009.
- ↑ Macartney, C. A. (1937). Hungary and her successors: The Treaty of Trianon and Its Consequences 1919–1937. Oxford University Press.
- ↑ Bernstein, Richard (9 August 2003). "East on the Danube: Hungary's Tragic Century". The New York Times.
- ↑ Toomey, Michael (2018). "History, Nationalism and Democracy: Myth and Narrative in Viktor Orbán's 'Illiberal Hungary'". New Perspectives. 26 (1): 87–108. doi:10.1177/2336825x1802600110. S2CID 158970490.
- ↑ 18.0 18.1 van den Heuvel, Martin P.; Siccama, J. G. (1992). The Disintegration of Yugoslavia. Rodopi. p. 126. ISBN 90-5183-349-0.
- ↑ Tucker & Roberts 2005, p. 1183: "Virtually the entire population of what remained of Hungary regarded the Treaty of Trianon as manifestly unfair, and agitation for revision began immediately."
- ↑ Botlik, József (June 2008). "AZ ŐRVIDÉKI (BURGENLANDI) MAGYARSÁG SORSA". vasiszemle.hu. VASI SZEMLE.
- ↑ "Szlovákiai Magyar Adatbank » pozsonyi hídfő". adatbank.sk.
- ↑ Richard C. Hall (2014). War in the Balkans: An Encyclopedic History from the Fall of the Ottoman Empire to the Breakup of Yugoslavia. ABC-CLIO. p. 309. ISBN 9781610690317.
- ↑ Irredentist and National Questions in Central Europe, 1913–1939: Hungary, 2v, Volume 5, Part 1 of Irredentist and National Questions in Central Europe, 1913–1939 Seeds of conflict. Kraus Reprint. 1973. p. 69.