ศิลปะสกัดหิน
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ศิลปะสกัดหิน (อังกฤษ: petroglyph หรือ rock engravings) เป็นแผนภูมิรูปภาพ (pictogram)[1] และ แผนภูมิโลโก (logogram) ที่สร้างโดยการสกัด, เซาะ, ถาก, แกะ หรือ ครูดหินจนเป็นภาพ นอกทวีปอเมริกาเหนือนักวิชาการมักจะใช้คำว่า "สลัก", "แกะ" หรือคำบรรยายอื่นในการบรรยายวิธีการสร้างภาพดังกล่าว ศิลปะสกัดหินพบทั่วไปในโลกและมักจะเกี่ยวข้อง (แต่ไม่เสมอไป) กับชนยุคก่อนประวัติศาสตร์
ในภาษาอังกฤษคำว่า "petroglyph" มาจากคำสองคำในภาษากรีก คำว่า "petros" ที่แปลว่า "หิน" และ "glyphein" ที่แปลว่า "แกะสลัก" เดิมเป็นคำที่คิดขึ้นในภาษาฝรั่งเศสว่า "pétroglyphe"
"ศิลปะสกัดหิน" ไม่ควรจะสับสนกับคำว่า "ศิลปะวาดบนหิน" ซึ่งเป็นภาพที่วาดบนหน้าหิน แต่ศิลปะทั้งสองแบบจัดอยู่ในกลุ่มศิลปะหิน (rock art) หรือ ศิลปะวางหิน (Petroform) ซึ่งเป็นศิลปะของการวางก้อนหินให้เป็นลวดลายหรือทรงต่างๆ บนพื้น หรือศิลปะก่อหิน (Inukshuk) ซึ่งเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่พบเฉพาะในบริเวณอาร์กติก
ประวัติ
แก้ภาพสกัดหินที่เก่าที่สุดมีอายุมาตั้งแต่สมัยหินและปลายหินเก่า ราว 10,000 ถึง 12,000 ปีมาแล้ว หรือไม่ก็เก่ากว่านั้น ราว 7,000 ถึง 9,000 ปีที่ผ่านมา ก็เริ่มมีการสร้างงานที่มีลักษณะที่เป็นที่มาของระบบการเขียนเช่นแผนภูมิรูปภาพ (pictograph) และ จินตภาพ (ideogram) แต่ภาพสกัดหินก็ยังเป็นที่นิยมทำกันอยู่ และในบางอารธรรมก็ทำกันต่อมาอีกเป็นเวลานาน แม้จนกระทั่งถึงในช่วงเวลาที่มีการติดต่อกับวัฒนธรรมตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20th ภาพสกัดหินเป็นงานที่พบโดยทั่วไปในโลกยกเว้นในบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา แต่ที่พบมากที่สุดก็คือในบริเวณบางบริเวณในแอฟริกา, สแกนดิเนเวีย, ไซบีเรีย, ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ และ ออสเตรเลีย
ความหมาย
แก้ทฤษฎีที่พยายามที่จะอธิบายถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างงานสกัดหินก็มีด้วยกันหลายทฤษฎีขึ้นอยู่กับสถานที่ที่สร้างงาน, อายุของงาน และ ประเภทของภาพ งานสกัดหินบางชิ้นก็เชื่อกันว่าเป็นเครื่องหมายทางดาราศาสตร์, แผนที่ หรือ รูปลักษณ์ที่เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร ที่รวมทั้งที่มาของระบบการเขียน แผนที่สกัดหินอาจจะแสดงเส้นทาง, สัญลักษณ์ในการสื่อเวลาหรือความห่างไกลของเส้นทาง และ ภูมิประเทศในภาพของแม่น้ำ, ลักษณะผิวดิน และลักษณะทางภูมิศาสตร์อื่นๆ ภาพสกัดหินที่แสดงลักษณะผิวดินหรือสภาพทางภูมิศาสตร์เรียกกันว่า "Geocontourglyph" (ไทย: ลายภูมิสัณฐาน) แต่การสร้างภาพสกัดหินอาจจะเป็นงานพลอยได้ของสิ่งอื่น เช่นมีการพบภาพสกัดหินที่รู้จักกันว่า "ฆ้องหิน" ในอินเดีย[2]
ภาพสกัดหินบางภาพอาจจะมีความสำคัญอย่างลึกซึ้งทางวัฒนธรรมและศาสนาต่อสังคมที่สร้างภาพดังกล่าวขึ้น ในหลายกรณีความสำคัญที่ว่านี้ยังคงดำเนินต่อมาจนถึงลูกหลานรุ่นต่อๆ มา แต่ภาพสกัดหินบางภาพก็เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ความหมายก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจ ต่อมาลวดลายจากยุคสำริดนอร์ดิคในสแกนดิเนเวียดูเหมือนจะหมายถึงเขตแดนระหว่างชนสองเผ่า และอาจจะมีความหมายทางศาสนาด้วย และดูเหมือนว่าผู้คนที่อยู่ในประชาคมใกล้เคียงกันมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง ส่วนจารึกไซบีเรียมีลักษณะใกล้เคียงกับลักษณะของอักษรรูนส์ แม้ว่าจะเชื่อกันว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างใดต่อกันแต่อย่างใด
นักวิจัยบางท่านตั้งข้อสังเกตความคล้ายคลึงระหว่างของภาพสกัดหินหลายแบบจากทวีปต่างๆ ขณะที่คาดกันว่าลวดลายต่างๆ น่าจะได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมของผู้สร้างงาน แต่ยากที่จะให้คำอธิบายของความคล้ายคลึงของลวดลายในบริเวณต่างๆ ที่พบ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องแสดงการโยกย้ายถิ่นฐานที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในบริเวณที่เดิมมีมนุษย์อยู่ร่วมกัน หรือหรือเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องแสดงการมีต้นรากเดียวกันของมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1853 จอร์จ เททอ่านรายงานแก่สโมสรนักธรรมชาติวิทยาแห่งเบอริคที่จอห์น คอลลิงวูด บรูซเห็นด้วยว่าภาพสกัดหินมี "... ที่มาจากที่เดียวกัน และมีความหมายทางสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความเชื่อที่เป็นที่นิยมกัน"[3] ในทะเบียนศิลปะหินของสกอตแลนด์ โรนัลด์ มอร์ริสสรุปการตีความหมายได้ 104 ทฤษฎี[4]
ทฤษฎีอื่นที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันเป็นอันมากอยู่มีพื้นฐานมาจากจิตวิทยาเชิงยุง (Jungian psychology) และทัศนะของเมอร์ชา อีเลียด ตามทฤษฎีดังว่ากล่าวว่าความคล้ายคลึงกันของลวดลายจากวัฒนธรรมต่างๆ นั้นมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดโครงสร้างทางพันธุกรรมของสมองของมนุษย์
ทฤษฎีอื่นๆ กล่าวว่าภาพสกัดหินชาแมนระหว่างที่อยู่ในสภาวะเข้าทรง[5] ที่อาจจะมาจากการใช้สารที่ก่อให้เกิดประสาทหลอนจากธรรมชาติจากเช่นจากพืช ลวดลายเรขาคณิตที่มักจะพบในภาพสกัดหินและจิตรกรรมถ้ำแสดงให้เห็นโดยเดวิด หลุยส์-วิลเลียมว่าเป็นสิ่งที่ "จารึกอย่างถาวร" (hard-wired) ในสมองของมนุษย์ ที่มักจะเป็นภาพหลอนที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาเสพติด, เมื่อมีอาการไมเกรน และ เมื่อมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆ
ในปัจจุบันสถาบันการค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะหิน (Rock Art Research Institute) ของมหาวิทยาลัยวิทวอเทอร์สแรนด์[1] เก็บถาวร 2017-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชาแมนและศิลปะหินในหมู่ชนซานในทะเลทรายคาราฮารี แม้ว่างานของชนซานส่วนใหญ่จะเป็นภาพเขียน แต่ความเชื่ออันเป็นพื้นฐานของการเขียนภาพเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่ใช้เป็นรากฐานในการทำความเข้าใจศิลปะหินอื่นๆ ที่รวมทั้งภาพสกัดหิน สถาบันการค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะหินให้คำอธิบายในเว็บไซต์ของตนว่า:
- Using knowledge of San beliefs, researchers have shown that the art played a fundamental part in the religious lives of its San painters. The art captured things from the San’s world behind the rock-face: the other world inhabited by spirit creatures, to which dancers could travel in animal form, and where people of ecstasy could draw power and bring it back for healing, rain-making and capturing the game.
รายชื่อสถานที่ที่พบศิลปะสกัดหิน
แก้แอฟริกา
แก้- Tassili n'Ajjer ใน ประเทศแอลจีเรีย
- Bidzar, ประเทศแคเมอรูน
- Bambari, Lengo และ Bangassou ทางตอนใต้ของ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง; Bwale in the west
- Niola Doa, ประเทศชาด
- The Niari River valley in the คองโก, 250 km ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Brazzaville
- Ogooue River Valley, ประเทศกาบอง
- Akakus, ประเทศลิเบีย
- Jebel Uweinat, ประเทศลิเบีย
- ลุ่มแม่น้ำดราในประเทศโมร็อกโก
- Twyfelfontein, ประเทศนามิเบีย
- ยีราฟเต็มตัวบน Dabous Rock, Air Mountains, ประเทศไนเจอร์
- Wadi Hammamat ใน Qift, ประเทศอียิปต์ ภาพสกัดหินหลายภาพและคำจารึกมีมาตั้งแต่สมัยก่อนราชวงศ์อียิปต์ยุคเก่าที่สุดมาจนถึงสมัยใหม่ รวมทั้งภาพสกัดหินภาพเดียวที่เป็นภาพระบายสีจากทะเลทรายอีสเติร์นและภาพเรือหญ้าจาก 4000 ปีก่อนคริสตกาล
- Driekops Eiland ใกล้ Kimberley, ประเทศแอฟริกาใต้[6]
- ǀXam and ǂKhomani heartland ใน Karoo, Northern Cape, ประเทศแอฟริกาใต้
- Wildebeest Kuil Rock Art Centre ใกล้ Kimberley, Northern Cape, ประเทศแอฟริกาใต้
- Nyambwezi Fallsในประเทศแซมเบีย
ออสเตรเลีย
แก้- Arnhem Land / Kakadu National Park, ตอนเหนือของออสเตรเลีย
- Murujuga, Western Australia - world heritage assessed
- Sydney Rock Engravings, New South Wales
-
ส่วนหนึ่งของภาพที่ยาว 20 เมตร petroglyph, ที่ Ku-ring-gai Chase National Park, ออสเตรเลีย
-
Mutawintji National Park, ออสเตรเลีย
เอเชีย
แก้อาร์เมเนีย
แก้อาเซอร์ไบจาน
แก้จีน
แก้- ฮ่องกงมีด้วยกันแปดแห่ง: Tung Lung Island, Kau Sai Chau, Po Toi Island, Cheung Chau, Shek Pik on Lantau Island, Wong Chuk Hang and Big Wave Bay on Hong Kong Island, Lung Ha Wan in Sai Kung
- Yin Mountains ใน Inner Mongolia
อินเดีย
แก้- Bhimbetka Rock Shelters, Raisen District, รัฐมัธยประเทศ, India
- Edakkal Caves, Wayanad District, Kerala, อินเดีย.
- Perumukkal, Thindivanam District, รัฐทมิฬนาฑู, อินเดีย.
- Kollur, Villupuram, รัฐทมิฬนาฑู
เมื่อไม่นานมานี้มีการพบภาพสกัดหินพบที่ Kollur ใน รัฐทมิฬนาฑู. เพิงหิน ที่ประกอบด้วยภาพสกัดหินสี่ภาพที่เป็นภาพของชายถือหอกที่เป็นง่าม และ ล้อพร้อมด้วยล้อที่มีซี่ใกล้ Triukoilur 35 กิโลเมตรจาก Villupuram ผู้ที่พบคือ K.T. Gandhirajan [7]
คาซัคสถาน
แก้- Chumysh River basin,
- Tamgaly on the Ili River
- Tamgaly - a World Heritage Site
เกาหลี
แก้คีร์กีซสถาน
แก้- Several sites in the Tien Shan mountains: Cholpon-Ata, the Talas valley, Saimaluu Tash, and on the rock outcrop called Suleiman's Throne in Osh in the Fergana valley
ปากีสถาน
แก้ฟิลิปปินส์
แก้เกาะไต้หวัน
แก้The Wanshan Petroglyphs near Maolin, Kaohsiung, were discovered between 1978 and 2002.
มหาสมุทรแปซิฟิก
แก้-
Petroglyph on western coast of Hawaii
- Easter Island Petroglyphs
- Hawaii (particularly the Big Island).
ทวีปอเมริกาใต้
แก้- Talampaya National Park, Argentina
- Cumbe Mayo, Peru
- Petroglyphs of Pusharo, Peru
- Corantijn Basin, Suriname
- Caicara del Orinoco, Venezuela
- Rincón las Chilcas, Combarbalá, Chile
ทวีปอเมริกากลาง
แก้ทวีปอเมริกาเหนือ
แก้-
Petroglyphs on a Bishop Tuff tableland, eastern California, USA
-
Sample of petroglyphs at Painted Rock near Gila Bend, Arizona off Interstate 8.
- Arches National Park, Utah
- Barnesville Petroglyph, Ohio
- Boca de Potrerillos Park, Mina, Nuevo Leon, Mexico
- California Petroglyphs & Pictographs[2] เก็บถาวร 2010-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Capitol Reef National Park, Utah
- Columbia Hills State Park, Washington[8]
- Coso Rock Art District, Coso Range, northern Mojave Desert, California [3]
- Death Valley National Park, California
- Dinosaur National Monument, Colorado and Utah
- Grimes Point, Nevada[4] เก็บถาวร 2006-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Jeffers Petroglyphs, Minnesota
- Kanopolis State Park, Kansas
- Kejimkujik National Park, Nova Scotia
- La Proveedora, Caborca, Mexico
- Lava Beds National Monument, Tule Lake, California
- Legend Rock Petroglyph Site, Thermopolis, Wyoming
- Leo Petroglyph, Leo, Ohio [5] เก็บถาวร 2007-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Newspaper Rock State Historic Monument, Utah
- Oiseau Rock Petroglyphs on the Ottawa River, Canada เก็บถาวร 2017-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Olympic National Park, Washington
- Paintlick Mountain, Tazewell, Virginia [6] เก็บถาวร 2007-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Petit Jean State Park, Arkansas
- Petrified Forest National Park
- Petroglyph National Monument
- Petroglyphs Provincial Park, north of Peterborough, Ontario
- Petroglyph Provincial Park, Nanaimo, British Columbia [7] เก็บถาวร 2004-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Puye Cliff Dwellings, New Mexico
- Red Rock Canyon National Conservation Area, Nevada
- Rochester Rock Art Panel, Utah
- Ring Mountain, Marin County, California
- Saint John, U.S. Virgin Islands
- Sanilac Petroglyphs Historic State Park, Michigan
- Sedona, Arizona
- Seminole Canyon, Texas
- Sloan Canyon National Conservation Area, Nevada
- South Mountain Park, Arizona
- Stuart Lake, British Columbia
- The Cove Palisades State Park, Oregon
- Three Rivers Petroglyphs, New Mexico [8] เก็บถาวร 2007-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Valley of Fire State Park, Nevada
- West Virginia glyphs
- White Tank Mountain Regional Park, Waddell, Arizona
- Writing Rock State Historical Site, North Dakota
- Writing-on-Stone Provincial Park, East of Milk River, Alberta
เปอร์โตริโก
แก้- La Piedra Escrita (The Written Rock) - Jayuya, Puerto Rico
- Caguana Indian Park - Utuado, Puerto Rico
- Tibes Indian Park - Ponce, Puerto Rico
- La Cueva del Indio (Indians Cave) - Arecibo, Puerto Rico
สาธารณรัฐโดมินิกัน
แก้เซนต์คิตส์และเนวิส
แก้- Carib Petroglyphs - Wingfield Manor Estate, Saint Kitts
ทวีปยุโรป
แก้-
Petroglyph from Foppe of Nadro, Val Camonica, Italy -
Duel in Foppe of Nadro, Val Camonica, Italy -
Running Priest in Capo di Ponte, Val Camonica, Italy -
Engravers from Val Camonica, Italy
-
Rock Carving in Tanum, Sweden
-
Carving "The Shoemaker", Brastad, Sweden
-
Petroglyph in Roque Bentayga, Gran Canaria (Canary Islands).
อังกฤษ
แก้ฟินแลนด์
แก้ฝรั่งเศส
แก้สกอตแลนด์
แก้ไอร์แลนด์
แก้อิตาลี
แก้- Rock Drawings in Valcamonica - World Heritage Site, Italy (biggest European site, over 350,000)
- Bagnolo stele, Valcamonica, Italy
นอร์เวย์
แก้- Rock carvings at Alta, World Heritage Site (1985)
- Rock carvings in Central Norway
- Rock carvings at Møllerstufossen
- Rock carvings at Tennes
โปรตุเกส
แก้สเปน
แก้Petroglyphs from Galicia (Spain) เก็บถาวร 2011-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
รัสเซีย
แก้- Petroglyph Park near Petrozavodsk-Lake Onega, Russia
- Tomskaya Pisanitsa
- Kanozero Petroglyphs
สวีเดน
แก้- Tanumshede (Bohuslän); World Heritage Site (1994)
- Himmelstalund (by Norrköping in Östergötland)
- Enköping (Uppland)
- Southwest Skåne (Götaland)
- Alvhem (Västra Götaland)
- Torhamn (Blekinge)
- Nämforsen (Ångermanland)
- Häljesta (Västmanland)
- Slagsta (Södermanland)
- Glösa (Jämtland)
- The King's Grave
ตุรกี
แก้- Kars - Kagizman Cave
- Kars - Camuslu Village
- Erzurum - Cunni Cave
- Ordu - Esatli
- Hakkari - Gevaruk Walley
ยูเครน
แก้ตะวันออกกลาง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
- ↑ Ancient Indians made 'rock music', BBC News Friday, 19 March, 2004
- ↑ J. Collingwood Bruce (1868; cited in Beckensall, S., Northumberland's Prehistoric Rock Carvings: A Mystery Explained. Pendulum Publications, Rothbury, Northumberland. 1983:19)
- ↑ Ronald Morris, The Prehistoric Rock Art of Galloway and The Isle of Man (ISBN 978-0-7137-0974-2 , Blandford Press 1979
- ↑ [see Lewis-Williams, D. 2002. A Cosmos in Stone: Interpreting Religion and Society through Rock Art. Altamira Press, Walnut Creek, Ca.]
- ↑ Parkington, J. Morris, D. & Rusch, N. 2008. Karoo rock engravings. Clanwilliam: Krakadouw Trust; Morris, D. & Beaumont, P. 2004. Archaeology in the Northern Cape: some key sites. Kimberley: McGregor Museum.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
- ↑ Keyser, James D. (July 1992). Indian Rock Art of the Columbia Plateau. University of Washington Press. pp. 139pp. ISBN 978-0295971605.
บรรณานุกรม
แก้- Beckensall, Stan and Laurie, Tim, Prehistoric Rock Art of County Durham, Swaledale and Wensleydale, County Durham Books, 1998 ISBN 1-897585-45-4
- Beckensall, Stan, Prehistoric Rock Art in Northumberland, Tempus Publishing, 2001 ISBN 0-7524-1945-5
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะสกัดหิน
- Petroglyphs from Galicia, Spain เก็บถาวร 2011-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Petroglyphs of the Lesser Antilles
- British Rock Art Collection (BRAC)
- Dampier petroglyphs เก็บถาวร 2021-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Costa Rican city of Guayabo petroglyphs เก็บถาวร 2007-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Reports of concerns for Australia's heritage เก็บถาวร 2009-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Petroglyph Provincial Park Official Website เก็บถาวร 2007-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Northumberland Rock Art เก็บถาวร 2005-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Debunking of Ogam theory about West Virginia petroglyphs เก็บถาวร 2011-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- A rival interpretation of the West Virginia petroglyphs เก็บถาวร 2019-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kyrgyz petroglyphs
- Cholpon-Ata petroglyphs, Kyrgyzstan[ลิงก์เสีย]
- Sarmish-Say petroglyphs
- Giraffe carvings on Dabous Rock, Air Mountains, Niger
- Rock engraving sites in Central Africa
- Shamanism and rock art among the San people of the Kalahari
- Rock Art Research Institute website (Witwatersrand) เก็บถาวร 2017-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Rock Art Studies: A Bibliographic Database เก็บถาวร 2002-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bancroft Library's 14000+ citations to rock art literature.
- Bradshaw Foundation
- Latin American rock art articles and rock art researchers directory
- Dolmenes y megalitos del mundo
- Menhires del mundo
- Petroglyphs in Peru เก็บถาวร 2017-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- How to find La Silla petroglyphs เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Wildebeest Kuil Rock Art Centre
- McGregor Museum, Kimberley, South Africa เก็บถาวร 2019-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Oiseau Rock Petroglyphs on the Ottawa River, Canada เก็บถาวร 2017-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน