ยีราฟ (สกุล)
ยีราฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Giraffa) เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก
ยีราฟ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 11.61–0Ma สมัยไมโอซีนถึงปัจจุบัน | |
---|---|
ยีราฟมาไซ (G. c. tippelskirchi) ที่อุทยานแห่งชาติมิกูมิ ประเทศแทนซาเนีย | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กีบคู่ Artiodactyla |
วงศ์: | Giraffidae Giraffidae |
สกุล: | Giraffa Giraffa Brisson, 1762 |
สปีชีส์: | Giraffa camelopardalis |
ชื่อทวินาม | |
Giraffa camelopardalis Brisson, 1762 | |
ชนิด | |
บริเวณที่มีชนิดย่อยของ Giraffa |
ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ เขาของยีราฟเป็นสิ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เขาของยีราฟตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน[2] มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลป, ม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี[3]
ลักษณะพิเศษ
แก้ด้วยความที่เป็นสัตว์ตัวสูง ยีราฟจำเป็นต้องมีหัวใจขนาดใหญ่เพื่อหมุนสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง ยีราฟสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า เพื่อไปเลี้ยงสมองที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 8 ฟุต เสมือนกับปั๊มน้ำที่สูบน้ำขึ้นไปยังตึกสูง หัวใจของยีราฟหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ระบบไหลเวียนโลหิตจึงเป็นแบบพิเศษ เรียกว่า "Rete mirabile" ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองมากเกินไปเวลายีราฟก้มตัวดื่มน้ำ ระบบไหลเวียนเลือดพิเศษนี้จึงเปรียบเสมือนวาล์วปิดเปิดน้ำ [4]
ยีราฟ เป็นสัตว์ที่กินพืช กินได้ทั้งหญ้าที่ขึ้นอยู่กับพื้น และพุ่มไม้สูง ๆ โดยเฉพาะพุ่มไม้ประเภทอาเคเชียหรือกระถินณรงค์ที่มีหนามแหลม มีรสฝาด และมีพิษ แต่ยีราฟก็สามารถกินได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะมีลิ้นที่ยาวถึง 45-47 เซนติเมตร และมีความหนาสาก ใช้ตวัดกินได้โดยไม่ได้รับอันตราย และทนทานต่อสารพิษได้ในระดับหนึ่ง[5] แต่เมื่อยีราฟจะดื่มน้ำหรือกินอาหารที่อยู่พื้นล่าง ต้องถ่างขาทั้งคู่หน้าออก และก้มคอลง เพราะมีกระดูกที่ข้อต่อต้นคอเพียง 7 ข้อเท่านั้น นับเป็นช่วงที่ยีราฟจะได้รับอันตรายจากสัตว์กินเนื้อที่บุกจู่โจมได้ เพราะเป็นช่วงที่อยู่ในท่าที่ไม่คล่องตัว[6] วัน ๆ หนึ่งยีราฟจะกินอาหารเฉลี่ยวันละ 20-30 กิโลกรัม ขณะที่นอนหลับในท่ายืนเพียงวันละ 2 นาที-2 ชั่วโมงเท่านั้น ยีราฟเมื่อวิ่ง จะวิ่งได้ไม่นานนักเนื่องจากหัวใจจะสูบฉีดเลือดอย่างหนัก และเมื่อวิ่งจะต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพราะทั้งขาหลังและขาหน้า ที่อยู่ข้างเดียวกัน จะยกขึ้นลงพร้อม ๆ กัน จึงมีลักษณะการวิ่งแบบควบกระโดดโคลงเคลงไปมา และคอที่ยาวก็จะมีอาการแกว่งไกวไปมาด้วย [7]
แม้จะเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ แต่ยีราฟก็ยังถูกคุกคามจากสัตว์กินเนื้อได้ เช่น สิงโต หรือไฮยีนา ยีราฟมีวิธีการป้องกันตัวคือ การเตะ จากขาหลังที่ทรงพลัง ซึ่งทำให้สิงโตได้รับบาดเจ็บได้ สิงโตจึงไม่ค่อยโจมตียีราฟตัวที่โตเต็มที่ แต่จะเล็งไปยังลูกยีราฟมากกว่า[8] กะโหลกและเขาแบบออสซิโคน ยีราฟทั้งเพศผู้ และเพศเมียมีเขาในแบบที่เรียกว่า ออสซิโคน ( ossicones ) ซึ่งจะโครงสร้างทีมีการเจริญจากกระดูกอ่อนแล้วคลุมด้วยผิวหนังและเชื่อมไปกับส่วนกระโหลก โดยเส้นเลือดที่แทรกตัวในเนื้อกระดูกอ่อนจะทำหน้าที่จับอุณภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลง ( thermoregulator ) ลักษณะที่เห็นจะช่วยบอกเพศหรืออายุ โดยในยีราฟที่มีอายุน้อยหรือเพศเมียจะมีกลุ่มขนอยู่ส่วนปลายสุด ส่วนในเพศผู้ที่อายุถึงช่วงสมบูรณ์พันธ์แล้วจะไม่มีขนในลักษณะดังกล่าว ลักษณะอีกอันหนึ่งที่พบในยีราฟเพศผู้คือจะมีก้อนแข็งที่เกิดจากการสะสมของแคลเซี่ยมที่บริเวณหน้าผาก ( front of skull ) ทำให้กะโหลกส่วนหน้าผากของยีราฟเพศผู้นูนขึ้นและเป็นก้อนๆ ขนาดเล็ก ทำให้ยีราฟเพศผู้เมื่ออายุมากขึ้นน้ำหนักของกะโลหจะมีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งจะชวยในการต่อสู้กับยีราฟเพศผู้ตัวอื่น
กะโหลกและเขาแบบออสซิโคน
แก้ยีราฟทั้งเพศผู้ และเพศเมียมีเขาในแบบที่เรียกว่า ออสซิโคน ซึ่งจะโครงสร้างทีมีการเจริญจากกระดูกอ่อนแล้วคลุมด้วยผิวหนังและเชื่อมไปกับส่วนกระโหลก โดยเส้นเลือดที่แทรกตัวในเนื้อกระดูกอ่อนจะทำหน้าที่จับอุณภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลง ( thermoregulator ) ลักษณะที่เห็นจะช่วยบอกเพศหรืออายุ โดยในยีราฟที่มีอายุน้อยหรือเพศเมียจะมีกลุ่มขนอยู่ส่วนปลายสุด ส่วนในเพศผู้ที่อายุถึงช่วงสมบูรณ์พันธ์แล้วจะไม่มีขนในลักษณะดังกล่าว ลักษณะอีกอันหนึ่งที่พบในยีราฟเพศผู้คือจะมีก้อนแข็งที่เกิดจากการสะสมของแคลเซี่ยมที่บริเวณหน้าผาก ( front of skull ) ทำให้กะโหลกส่วนหน้าผากของยีราฟเพศผู้นูนขึ้นและเป็นก้อนๆ ขนาดเล็ก ทำให้ยีราฟเพศผู้เมื่ออายุมากขึ้นน้ำหนักของกะโลหจะมีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งจะชวยในการต่อสู้กับยีราฟเพศผู้ตัวอื่น สูตรฟันของยีราฟจะเป็น I0/3 C0/1 P3/3. M3/3 = 32 [9]
คอของยีราฟประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งยึดติดกับบริเวณหัวไหล่ คอของยีราฟจึงไม่ห้อยตกลงมา ซึ่งคอของยีราฟนอกจากจะใช้เพื่อการดำรงชีวิตทั่วไป ยังมีส่วนสำคัญในพฤติกรรมทางสังคมเช่นกัน ยีราฟตัวผู้จะเข้าต่อสู้โดยใช้คอถูหรือฟาดกับยีราฟตัวอื่นด้วยความรุนแรง ซึ่งอาจถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสหรือตายได้ เพื่อจะแสดงความเป็นจ่าฝูง และใช้เกี้ยวพาราสีหาคู่เพื่อสืบพันธุ์ด้วย[8]
การจำแนก
แก้ยีราฟ ยังแบ่งออกเป็นสปีชีส์ได้ทั้งหมด 4 ชนิด จากการลำดับ DNA ซึ่งสรุปได้ว่าทั้ง 4 สายพันธุ์นี้ไม่ได้มีการผสมข้ามสายพันธ์มาแล้วกว่า 1 ถึง 2 ล้านปีแล้ว การสรุปเป็นไปอย่างลงตัวในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยสรุปให้ยีราฟเป็นสกุล ที่ประกอบด้วยยีราฟ 4 ชนิด จากเดิมที่คาดว่ามีเพียงสายพันธุ์เดียว ดังที่ได้ระบุไว้ด้านล่าง[10]
- G. camelopardalis (ยีราฟนูเบีย)
- G. reticulata (ยีราฟลายร่างแห, ยีราฟโซมาลี)
- G. tippelskirchi (ยีราฟมาไซ)
- G. giraffa (ยีราฟแอฟริกาใต้)
ลายของยีราฟ สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับพรางตัว เพราะดูแล้วจะกลมกลืนไปกับพุ่มไม้และสภาพแวดล้อม เหมือนสีของแสงและเงาของต้นไม้[7]
การสืบพันธุ์
แก้การผสมพันธุ์ของยีราฟจะเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า Polygamous คือตัวผู้ที่แข็งแรงที่เอาชนะเพศผู้ตัวอื่นในพื้นที่แห่งนั้น ซึ่งยีราฟเพศผู้จะรู้ว่าเพศเมียตัวใดอยู่ในสภาวะเป็นสัดหรือไม่ ด้วยการทดสอบจากปัสสาวะของเพศเมีย และการแสดงออกทางใบหน้าที่มีคำศัพท์ว่า Flehmen respond ( ดูภาพประกอบ ) เมื่อยีราฟเพศผู้พบยีราฟเพศเมียที่อยู่ในช่วงการเป็นสัด ยีราฟเพศผู้จะพยายามเดินตามเพื่อผสมพันธุ์ การเกี้ยวพาราสี ยีราฟเพศผู้จะเอาคอพักที่หัวหรือคอของเพศเมียที่เป็นสัด ในช่วงการผสมพันธุ์ยีราฟเพศผู้จะยืนเอาส่วนหน้าอกชิดส่วนท้ายของยีราฟเพศเมีย และช่วงการผสมขาหน้าพักขาที่บริเวณด้านบนของเชิงกรานยีราฟเพศเมีย
ศัพทมูลวิทยา
แก้คำว่า "camelopardalis" เป็นศัพท์ภาษาละติน (ที่มีต้นเค้าจากคำศัพท์ใน ภาษากรีก) จากคำว่า "camelos" (อูฐ) กับ "pardalis" (เสือดาว) เนื่องจากลักษณะยีราฟคล้ายกับสัตว์ทั้งสองชนิดดังกล่าว ส่วนในภาษาอังกฤษสมัยกลาง เคยใช้คำว่า "camelopard" เรียก ยีราฟ
ส่วนคำว่า "ยีราฟ" (giraffe) ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ "zarafa"
นอกจากนี้แล้ว ยีราฟ ยังถูกใช้เป็นชื่อเรียกกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งด้วย
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
แก้ใช้เป็นของกำนัล
แก้ในยุคโบราณ ยีราฟถือเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นเครื่องกำนัลหรือบรรณาการแก่กัน โดยมีบันทึกไว้ว่า ในยุคจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง การเดินทางโดยเรือรอบโลกของเจิ้งเหอ มีการนำเอายีราฟกลับมาสู่ประเทศจีนในสมัยนั้นด้วย[11]
นัยสำคัญทางวัฒนธรรม
แก้ยีราฟยังได้ปรากฏตัวในแอนิเมชัน โดยรับบทเป็นตัวประกอบใน เดอะ ไลอ้อน คิง และ ดัมโบ้ รวมถึงมีบทบาทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ เดอะ ไวล์ด แก็งค์เขาดินซิ่งป่วนป่า และ มาดากัสการ์ ส่วนยีราฟโซฟี เป็นยางกัดที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 และตัวละครที่เป็นยีราฟที่มีชื่อเสียงอื่นๆเป็นตัวนำโชคของ ทอยส์ "อาร์" อัส ที่มีชื่อว่า ยีราฟเจฟฟรีย์[12] นอกจากนี้ ยีราฟยังเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศแทนซาเนีย[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ Muller, Z.; Bercovitch, F.; Brand, R.; Brown, D.; Brown, M.; Bolger, D.; Carter, K.; Deacon, F.; Doherty, J.B.; Fennessy, J.; Fennessy, S.; Hussein, A.A.; Lee, D.; Marais, A.; Strauss, M.; Tutchings, A.; Wube, T. (2018) [amended version of 2016 assessment]. "Giraffa camelopardalis". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T9194A136266699. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T9194A136266699.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
- ↑ "สุดหล้าฟ้าเขียว". tv.truelife.com. 4 June 2016. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ยีราฟ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-31.
- ↑ ยีราฟมีวาล์ว[ลิงก์เสีย]
- ↑ สัตว์ก็ใช้สมุนไพรเป็นนะคร้าบ ตอนที่ 2
- ↑ เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ยีราฟคอยาวกินน้ำได้อย่างไร โดย กัมบูร์นัก ลอร์ แปลโดย ปราณี ศิริจันทพันธ์ (นานมีบุ๊คส์, 2548) 160 หน้า. ISBN 9789749601129
- ↑ 7.0 7.1 หน้า 71, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
- ↑ 8.0 8.1 ทำไมยีราฟถึงคอยาว
- ↑ Prothero, D. R.; Schoch, R. M. (2003). Horns, Tusks, and Flippers: The Evolution of Hoofed Mammals. Johns Hopkins University Press. pp. 67–72. ISBN 978-0-8018-7135-1.
- ↑ Fennessy, Julian; Bidon, Tobias; Reuss, Friederike; Kumar, Vikas; Elkan, Paul; Nilsson, Maria A.; Vamberger, Melita; Fritz, Uwe; Janke, Axel (2016). "Multi-locus Analyses reveal four giraffe species instead of one". Current Biology. doi:10.1016/j.cub.2016.07.036.
- ↑ จูตี้...จักรพรรดิ Visionไกลของราชวงศ์ หมิง
- ↑ Williams, E. (2011). Giraffe. Reaktion Books. ISBN 1-86189-764-2.
- ↑ Knappert, J (1987). East Africa: Kenya, Tanzania & Uganda. Vikas Publishing House. p. 57. ISBN 0-7069-2822-9.