วิชา มหาคุณ
ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2489) คณบดีและผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต[1] อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และอดีตประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา
วิชา มหาคุณ | |
---|---|
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (9 ปี 99 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 |
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา
แก้- ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 41) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (รุ่นที่ 11) สถาบันพระปกเกล้า
- ประกาศนียบัตรวิทยาลัยตลาดทุน (รุ่นที่ 10)
- หลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (รุ่นที่ 3)
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ แห่งคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เคยได้รับทุนจาก มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ให้ศึกษาวิจัยเรื่อง "การเผยแพร่ความรู้กฎหมายไปสู่ชนบท" ณ ศูนย์ศึกษาเบลลาจิโอ ประเทศอิตาลี กับ
เคยได้รับทุนจาก องค์การอนุเคราะห์เด็กแห่งนอรเวย์ ให้ศึกษาวิจัยเรื่อง "การทารุณกรรมเด็ก"
รวมทั้งได้รับทุนฝึกอบรมด้านบำบัดผู้ติดยาเสพติด ณ. นครนิวยอร์ก จากองค์การเดท็อปแห่งสหรัฐอเมริกา
และผ่านการศึกษาหลักสูตร Cambridge-Thammasat Executive Education Programme ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ วิชาจบการศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโทจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตไทยสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 ประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 11 (สถาบันพระปกเกล้า) ประกาศนียบัตรวิทยาลัยตลาดทุน (วตท.รุ่นที่10) หลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่3 นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษแห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้รับทุนจาก มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ให้ศึกษาวิจัยเรื่อง "การเผยแพร่ความรู้กฎหมายไปสู่ชนบท" ณ ศูนย์ศึกษาเบลลาจิโอ ประเทศอิตาลี กับได้รับทุน9จากองค์การอนุเคราะห์เด็กแห่งนอรเวย์ให้ศึกษาวิจัยเรื่อง "การทารุณกรรมเด็ก" รวมทั้งได้รับทุนฝึกอบรมด้านบำบัดผู้ติดยาเสพติด ณ นครนิวยอร์ก จากองค์การเดท็อปแห่งสหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาหลักสูตร Cambridge-Thammasat Executive Education Programme ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
การทำงาน
แก้วิชา มหาคุณดำรงตำแหน่งสุดท้ายในราชการศาลยุติธรรม คือ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ก่อนจะถูกเสนอชื่อจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง และได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับเลือกเป็น กกต.เพราะได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549[2]
วิชา มหาคุณได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549-22 กันยายน พ.ศ. 2558 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549[3] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยได้รับการคัดเลือกให้เป็นรองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 3 ประธานอนุกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรอิสระและศาล เป็นกรรมการที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านทุจริต (IACA) ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2556-2562 เป็นประธานมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็น ประธานคณะกรรมการจริยธรรม ประจำกรมศุลกากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2559
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2559 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขานิติศาสตร์[6]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "รายชื่อบุคลากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 2019-05-22.
- ↑ "ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2006-09-25.
- ↑ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๔, ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๙ เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๔๙, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๘, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘