วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก

วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gekkoninae; อังกฤษ: House gecko, Tokay) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Gekkonidae นับเป็นวงศ์ย่อยที่มีความหลากหลาย และประสบความสำเร็จสูงสุดในการดำรงชีวิตมากที่สุดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า (Lacertilia)

วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก
จิ้งจกบ้าน (Hemidactylus platyurus) เป็นชนิดในสกุล Hemidactylus ที่พบได้อย่างแพร่หลายในทวีปเอเชีย แม้กระทั่งในบ้านเรือน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
วงศ์: วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก
Gray, 1825[1][2]
สกุล

30; ดูข้อความ

ลักษณะโดยทั่วไป มีกระดูกพรีแมคซิลลาและกระดูกพาไรทัลเป็นชิ้นเดี่ยว มีแว่นตาคลุมตา ลำตัวสั้น ขาทั้ง 4 ข้างมีขนาดใหญ่ ลำตัวปกคลุมด้วยผิวหนังที่อ่อนนุ่มและมีเกล็ดปกคลุมลำตัวเรียงตัวต่อเนื่องกัน มีขนาดแตกต่างกันหลากหลายทั้งเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงขนาดหนึ่งฟุต

ส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ ใต้ฝ่าเท้ามีเซต้าหรือขนที่แตกแขนงและมีความเล็กละเอียดมาก ใช้สำหรับยึดเกาะผนังในแนวตั้งฉากได้เป็นอย่างดีที่สุดในบรรดาวงศ์ย่อยทั้งหมดของวงศ์ Gekkonidae ซึ่งการเรียงตัวและลักษณะของเส้นขนนี้ใช้เป็นตัวในการอนุกรมวิธานแยกประเภท

ในหลายสกุล ได้ลดรูปแผ่นหนังใต้นิ้วและใช้เป็นโครงสร้างอื่นทดแทนในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ เช่น Cnemaspis และ Cyrtodactylus ที่อาศัยบนต้นไม้หรือผนังหินปูนในถ้ำ โดยใช้เล็บในการเกาะเกี่ยวแทน ในบางสกุล เช่น Dixonius และ Gehyra อาศัยอยู่พื้นดินแทน

หากินในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ตามปกติแล้วจะวางไข่เพียงครั้งละ 2 ฟอง โดยเปลือกไข่มีลักษณะแข็งและไม่เปลี่ยนรูป แต่สำหรับบางสกุลที่มีขนาดเล็ก เช่น Coleodactylus วางไข่เพียงฟองเดียว โดยการวางไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของลำตัว แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถเกิดได้โดยไม่ต้องผ่านการปฏิสนธิ

ปัจจุบัน มีการอนุกรมวิธานแล้วทั้งสิ้น 80 สกุล ประมาณ 800 ชนิด โดยมีสกุลที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อาทิ Gekko, Hemidactylus และPtychozoon ฯลฯ พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของยูเรเชีย ในประเทศไทยพบประมาณ 46-50 ชนิด อาทิ ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko), ตุ๊กแกตาเขียว (G. siamensis), ตุ๊กแกบินหางเฟิน (Ptychozoon lionotum) เป็นต้น [3]

สายพันธุ์จิ้งจกที่พบในประเทศไทย แก้

  • เรียงรายชื่อตามอักษร A-Z

สกุลจิ้งจกนิ้วยาว (Cnemaspis) แก้

ชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ ถิ่นอาศัย ปีที่ค้นพบ
จิ้งจกนิ้วยาวอาดัง-ราวี Cnemaspis adangrawi [4] พบเฉพาะบนเกาะอาดัง-ระวี จังหวัดสตูล เท่านั้น 2019
จิ้งจกนิ้วยาวสตูล 1 Cnemaspis biocellata [5] พบที่อำเภอมะนัง และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล เท่านั้น 2008
จิ้งจกนิ้วยาวธัญญา Cnemaspis chanardi [6] ภาคใต้ตอนล่างลงไป 2010
จิ้งจกนิ้วยาวจันทบูรณ์ Cnemaspis chanthaburiensis [7] ภาคตะวันออกของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศกัมพูชา 1998
จิ้งจกนิ้วยาวหัวสีส้ม Cnemaspis huaseesom [8] พบในเขตจังหวัดกาญจนบุรี 2010
จิ้งจกนิ้วยาวหมอสุเมธ Cnemaspis kamolnorranathi [9] พบในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2010
จิ้งจกนิ้วยาวกัมพล Cnemaspis kumpoli [10] พบทางภาคใต้ตอนกลางลงไป 1963
จิ้งจกนิ้วยาวลานสกา Cnemaspis lineatubercularis [11] พบในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช 2020
จิ้งจกนิ้วยาวสามร้อยยอด Cnemaspis lineogularis [12] พบในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2017
จิ้งจกนิ้วยาวมลายู Cnemaspis mcguirei [13] มีรายงานพบเฉพาะจังหวัดปัตตานี 2008
จิ้งจกนิ้วยาวนราธิวาส Cnemaspis narathiwatensis [14] พบในเขตจังหวัดนราธิวาส, จังหวัดยะลา และประเทศมาเลเซีย 2010
จิ้งจกนิ้วยาวนิยมวรรณ Cnemaspis niyomwanae [15] พบเฉพาะจังหวัดตรังและจังหวัดสตูล 2010
จิ้งจกนิ้วยาวสตูล 2 Cnemaspis omari [16] พบในจังหวัดสตูลและประเทศมาเลเซีย 2014
จิ้งจกนิ้วยาวพังงา Cnemaspis phangngaensis [17] พบเฉพาะจังหวัดพังงา เท่านั้น 2017
จิ้งจกนิ้วยาวภูเก็ต Cnemaspis phuketensis [18] พบเฉพาะจังหวัดภูเก็ต เท่านั้น 2004
จิ้งจกนิ้วยาวคอจุด Cnemaspis punctatonuchalis [19] พบในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2010
จิ้งจกนิ้วยาวไทย Cnemaspis siamensis [20] พบตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรี ถึง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1925
จิ้งจกนิ้วยาวเกาะตะรุเตา Cnemaspis tarutaoensis [21] พบเฉพาะบนเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล เท่านั้น 2019
จิ้งจกนิ้วยาวท่าชนะ Cnemaspis thachanaensis [22] พบเฉพาะอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เท่านั้น 2017
จิ้งจกนิ้วยาวคลองนาคา Cnemaspis vandeventeri [23] พบในเขตจังหวัดระนอง, พังงา, ภูเก็ต 2010

สกุลตุ๊กกาย (Cyrtodactylus) แก้

ดูเพิ่มเติมได้ที่ ตุ๊กกาย

สกุลจิ้งจกดิน (Dixonius) แก้

ดูเพิ่มเติมได้ที่ จิ้งจกดิน

สกุลจิ้งจกหิน (Gehyra) แก้

ชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ ถิ่นอาศัย ปีที่ค้นพบ
จิ้งจกหินหางเรียว Gehyra angusticaudata พบในเขตภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน 1963
จิ้งจกหินลายกระ Gehyra fehlmanni พบในภาคใต้และภาคตะวันตก เคยรายงานพบในจังหวัดสระบุรี 1962
จิ้งจกหินอ้วน, จิ้งจกหินเมืองกาญจน์ Gehyra lacerata พบในภาคตะวันตก ภาคใต้ตอนบน ภาคกลางตอนล่าง 1962
จิ้งจกหินสีจาง Gehyra mutilata เป็นจิ้งจกหินที่พบทั่วประเทศ และพบได้บ่อยที่สุด 1835
จิ้งจกหินวงจันทร์ Gehyra wongchan พบในภาคกลางของประเทศไทย 2022

อ้างอิง แก้

  1. Wikispecies.
  2. Wikimedia Commons.
  3. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 381 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
  4. http://www.siamensis.org/species_index?nid=49948#49948--Species%20:%20Cnemaspis%20adangrawi
  5. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3609#3609--Species%20:%20Cnemaspis%20biocellata
  6. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3610#3610--Species%20:%20Cnemaspis%20chanardi
  7. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3611#3611--Species%20:%20Cnemaspis%20chanthaburiensis
  8. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3621#3621--Species%20:%20Cnemaspis%20huaseesom
  9. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3612#3612--Species%20:%20Cnemaspis%20kamolnorranathi
  10. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3613#3613--Species%20:%20Cnemaspis%20kumpoli
  11. http://www.siamensis.org/species_index?nid=49957#49957--Species%20:%20Cnemaspis%20lineatubercularis
  12. http://www.siamensis.org/species_index?nid=49953#49953--Species%20:%20Cnemaspis%20lineogularis
  13. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3614#3614--Species%20:%20Cnemaspis%20mcguirei
  14. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3619#3619--Species%20:%20Cnemaspis%20narathiwatensis
  15. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3615#3615--Species%20:%20Cnemaspis%20niyomwanae
  16. http://www.siamensis.org/species_index?nid=39946#39946--Species%20:%20Cnemaspis%20omari
  17. http://www.siamensis.org/species_index?nid=49954#49954--Species%20:%20Cnemaspis%20phangngaensis
  18. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3616#3616--Species%20:%20Cnemaspis%20phuketensis
  19. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3617#3617--Species%20:%20Cnemaspis%20punctatonuchalis
  20. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3618#3618--Species%20:%20Cnemaspis%20siamensis
  21. http://www.siamensis.org/species_index?nid=49949#49949--Species%20:%20Cnemaspis%20tarutaoensis
  22. http://www.siamensis.org/species_index?nid=49955#49955--Species%20:%20Cnemaspis%20thachanaensis
  23. http://www.siamensis.org/species_index?nid=3620#3620--Species%20:%20Cnemaspis%20vandeventeri