อำเภอมะนัง
มะนัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสตูล
อำเภอมะนัง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Manang |
คำขวัญ: ยาง ปาล์มป่า ดารดาษ ราษฎร์รักสามัคคี ถิ่นนี้มะนัง | |
แผนที่จังหวัดสตูล เน้นอำเภอมะนัง | |
พิกัด: 7°0′0″N 99°55′18″E / 7.00000°N 99.92167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สตูล |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 207.8 ตร.กม. (80.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 18,554 คน |
• ความหนาแน่น | 89.29 คน/ตร.กม. (231.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 91130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9107 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอมะนัง หมู่ที่ 1 ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล 91130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอมะนังตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทุ่งหว้า
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอควนกาหลง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอละงู
ที่มาของชื่ออำเภอ
แก้ชื่ออำเภอมะนังมาจากคำว่า "ม้ายัง" ม้าหรือรูปม้า ทั้งนี้เนื่องมาจากในท้องถิ่นของอำเภอ มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง ชื่อ ถ้ำระฆังทอง ภายในถ้ำมีรูปปั้นม้าหินอยู่ 1 ตัว เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่บ้านเป็นสัญลักษณ์ในการเดินทางนัดหมาย ต่อมาเพี้ยนมาเป็น "มะนัง"
หรืออาจมาจากภาษามลายู คำว่า " มะนัง " มาจากคำว่า " บือแน " ซึ่งแปลว่า ท้องนา
ประวัติ
แก้ท้องที่อำเภอมะนังเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลแป-ระ อำเภอควนกาหลง ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2513 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแป-ระ รวมตั้งเป็นตำบลนิคมพัฒนา[1] และในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2526 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลนิคมพัฒนา รวมตั้งเป็นตำบลปาล์มพัฒนา[2]
ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองตำบลปาล์มพัฒนา และตำบลนิคมพัฒนา อำเภอควนกาหลง ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอมะนังโดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[3] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอมะนัง ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[4]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอมะนังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ตำบล 19 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[5] |
---|---|---|---|---|
1. | ปาล์มพัฒนา | Palm Phatthana | 10
|
10,859
|
2. | นิคมพัฒนา | Nikhom Phatthana | 9
|
7,802
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอมะนังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปาล์มพัฒนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนาทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (92 ง): 2884–2889. October 6, 1970.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (129 ง): 2543–2544. August 6, 1983.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ตั้งเป็นกิ่งอำเภอมะนัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (พิเศษ 18 ง): 34. June 26, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-26.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-26.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.