ตุ๊กแกบินหางเฟิน

ตุ๊กแกบินหางเฟิน (อังกฤษ: Smooth-backed gliding gecko, Burmese flying gecko; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptychozoon lionotum) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งจำพวกตุ๊กแกและจิ้งจก อยู่ในวงศ์ Gekkonidae มีรูปร่างและสีสันคล้ายจิ้งจกบ้านทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า สามารถโตเต็มที่ได้ 8 นิ้ว ลำตัวแบนราบ ที่นิ้วเท้ามีลักษณะแบนราบและมีพังผืดต่อติดกันไปตลอดทั้งลำตัว ใช้ในการร่อนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ หางมีลักษณะแบนยาวและมีแขนงแตกออกเป็นหยัก ๆ แลดูคล้ายใบของต้นเฟิน อันเป็นที่มาของชื่อ สามารถปรับสีสันของลำตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดี เมื่อถูกรบกวนมักจะมุดหนีเข้าไปในซอกไม้หรือโพรงไม้ แล้วขดหางเป็นวงกลมแนบไว้กับลำตัว และหากถูกรบกวนอีกก็จะมุดลงไปลึกขึ้นอีก

ตุ๊กแกบินหางเฟิน
ตุ๊กแกบินหางเฟินที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
วงศ์: วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก
สกุล: ตุ๊กแก
(Annandale, 1905)
สปีชีส์: Gekko lionotum
ชื่อทวินาม
Gekko lionotum
(Annandale, 1905)
ชื่อพ้อง
  • Ptychozoon homalocephalum var. lionotum
  • Ptychozoon lionotum

หากินในเวลากลางคืน มีความว่องไวมาก พบในประเทศพม่าตอนใต้, ประเทศไทย (Ramri จังหวัดพังงา, Bangnon จังหวัดระนอง), มาเลเซียตะวันตก: ปูเลาซีบู; อินเดีย และบังกลาเทศ.[2] สถานภาพในปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่กระนั้น ตุ๊กแกบินหางเฟิน ก็ยังเป็นที่นิยมของผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานอีกด้วย

ตุ๊กแกบินหางเฟิน ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น "ตุ๊กแกบินหางหยัก" เป็นต้น

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Sumontha, M.; Phimmachak, S.; Neang, T.; Cota, M.; Panitvong, N.; Stuart, B.L. (2018). "Gekko lionotum". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T177831A103308608. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T177831A103308608.en. สืบค้นเมื่อ 18 November 2021.
  2. "Gekko lionotum | The Reptile Database".
  • Annandale, N. 1905 Additions to the Collection of Oriental Snakes in the Indian Museum, Part 3. J. Proc. Asiat. Soc. Bengal, Calcutta, new Ser., 1 (8): 208–214.
  • Annandale, N. 1905 Notes on some Oriental geckos in the Indian Museum, Calcutta, with descriptions of new tons. Ann. Mag. nat. Hist. (7) 15:26-32
  • Brown, Rafe M., John W. Ferner and Arvin C. Diesmos. 1997 Definition of the Philippine Parachute Gecko, Ptychozoon intermedium Taylor 1915 (Reptilia: Squamata: gekkonidae): Redescription, designation of a neotype, and comparisons with related species. Herpetologica 53 (3):357-373.
  • Pawar, Samraat S. and Sayantan Biswas 2001 First record of the smooth-backed parachute gecko Ptychozoon lionotum Annandale 1905 from the Indian Mainland. Asiatic Herpetological Research. 9: 101-106

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้