รายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกส
รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส พระอิศริยยศเริ่มขึ้นตั้งแต่โปรตุเกสประกาศอิสรภาพจากราชอาณาจักรเลออน ภายใต้การนำของอัลฟอนโซ เฮนริเก ผู้ซึ่งประกาศตั้นตนเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในปี พ.ศ. 1682 และปกครองระบอบราชาธิปไตยเรื่อยมาจนกระทั่งเกิดการประกาศสาธารณรัฐโปรตุเกส ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้ามานูแวลที่ 2 แห่งโปรตุเกส พระองค์ต้องเสด็จลี้ภัยจากผู้นิยมสาธารณรัฐ ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบกษัตริย์ของโปรตุเกส พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 1 ทรงได้รับการประกาศเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 1686 โดยสมเด็จพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งคาสตีลและเลออน และในปี พ.ศ. 1722 ทรงได้รับการประกาศจากสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3
สมเด็จพระราชาธิบดี แห่งราชอาณาจักรโปรตุเกส | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
![]() | |
ตราแผ่นดินราชอาณาจักรโปรตุเกส | |
![]() | |
พระเจ้ามานูแวลที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสองค์สุดท้าย | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | อัลฟอนโซ เฮนริเก |
สถานพำนัก | พระราชวังเบเลม, ลิสบอน![]() |
เริ่มระบอบ | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 1682 (ค.ศ. 1139) |
สิ้นสุดระบอบ | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910; 771 ปี 70 วัน) |
ผู้อ้างสิทธิ์ | ดูอาร์เต ปิโอ ดยุคแห่งบราแกนซา |
ราชวงศ์เบอร์กันดี (ราชวงศ์อัลฟอนซีน) พ.ศ. 1686 - พ.ศ. 1929 แก้
ในปี พ.ศ. 1666 การสิ้นสุดของสมรภูมิซอน มาเมเด ระหว่างกองทัพของอัลฟอนโซ เฮนริเกกับกองทัพของเคานท์เตสเทเรซาแห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระราชมารดาซึ่งปฏิเสธการเป็นรัฐชาติของโปรตุเกสเนื่องด้วยพระนางเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งคาสตีลและเลออน ผลปรากฏว่า กองทัพของอัลฟอนโซสามารถได้ชัยชนะเหนือกองทัพของพระราชมารดาได้ ซึ่งถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดยุคแห่งการปกครองแบบเผด็จการของพระนางเทเรซา อัลฟอนโซ เฮนริเกดำรงพระอิศริยยศเจ้าชายแห่งโปรตุเกสอย่างเป็นทางการ อัลฟอนโซประกาศตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในปีพ.ศ. 1682 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งราชวงศ์แรกของโปรตุเกส และจากชัยชนะในสมรภูมิอูริเกซึ่งมีชัยเหนือมุสลิมอัลอันดะลุส พระองค์จึงได้รับการยอมรับจากชาวโปรตุเกสในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส
ในปี พ.ศ. 1686 ราชวงศ์เบอร์กันดีจึงมีอำนาจในโปรตุเกสอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงพยายามนำอาณาจักรเข้าสู่ศาสนจักรคาทอลิกแต่พระสันตปาปาทรงไม่ยอมรับสิทธิของโปรตุเกส จนกระทั่ง พ.ศ. 1722 สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 ทรงประกาศให้พระเจ้าอัลฟอนโซเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบกษัตริย์ของโปรตุเกส
จุดสิ้นสุดของราชวงศ์เบอร์กันดีเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 1926 จากการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโปรตุเกส เนื่องจากพระโอรสสิ้นพระชนม์แต่ทรงพระเยาว์ ทำให้มีพระธิดาเพียงพระองค์เดียวคือ เจ้าหญิงเบียทริซแห่งโปรตุเกส ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งคาสตีล เลโอนอร์ เตเลส เดอ เมเนเซส สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส พระมเหสีม่ายของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ต้องดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในนามของพระราชธิดาเบียทริซ จากการเรียกร้องสิทธิของพระนางเบียทริซ พระเจ้าจอห์นแห่งคาสตีลทรงเรียกร้องสิทธิให้พระมเหสี โดยทรงหวังว่าทายาทของพระองค์จะได้ปกครองโปรตุเกสและคาสตีลพร้อมกัน และทรงพยายามให้พระนางเบียทริซขึ้นครองราชบัลลังก์โปรตุเกส แต่ทางราชสำนักได้เลือกพระญาติของพระนางขึ้นครองราชย์ จึงทำให้เกิดสงครามกับคาสตีล เรียกช่วงระยะเวลานี้ว่า วิกฤตการณ์พ.ศ. 1926 - 1928
ราชวงศ์อาวิซ (ราชวงศ์โจแอนนีน) พ.ศ. 1928 - ราวพ.ศ. 2123 แก้
ราชวงศ์ที่ลำดับที่ 2 ของโปรตุเกส เป็นที่รู้จักกันในนามราชวงศ์อาวิซ ซึ่งสถาปนาขึ้นโดย จอห์น หัวหน้าคณะอัศวินแห่งอาวิซ และได้ตั้งตนเป็นสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งโปรตุเกส โดยพระองค์เป็นพระโอรสนอกสมรสของสมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 1
โดยราชวงศ์นี้ได้กำเนิดขึ้นหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าเฟอร์นันโดที่ 1ในปี พ.ศ. 1926 และตามด้วยการได้รับชัยชนะของชาวโปรตุเกสในการต่อสู้ที่อัลจูบาร์รอตาในปี พ.ศ. 1928 โดยชนะกองทัพของสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งคาสตีล ซึ่งอ้างสิทธิในราชบัลลังก์โปรตุเกส หลังจากการสงครามนี้สมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 1 จึงได้รับการยอมรับในฐานะกษัตริย์แห่งโปรตุเกสอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน พ.ศ. 1928
ในช่วงราชวงศ์นี้นักประวัติศาสตร์ได้ถือว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของโปรตุเกสและเป็นรัฐที่บ่งบอกถึงความมั่นคงของยุโรป การขยายอาณาจักรครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1958 โดยสามารถเข้ายึดเซวตาในแอฟริกาหนือ และตามมาด้วยการริเริ่มออกสำรวจและการล่าอาณานิคมในแอฟริกา,เอเชีย และบราซิล โดยรวมกันเป็นจักรวรรดิโปรตุเกสซึ่งรุ่งเรืองสูงสุดในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส และเริ่มต้นเข้าจุดเสื่อมในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 3 แห่งโปรตุเกส
สมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 3 สวรรคตใน พ.ศ. 2100 พระนัดดาจึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเซบาสเตียนแห่งโปรตุเกส แต่พระองกลับค์สวรรคตในสมรภูมิคซาร์ เอล เคอบีร์ โดยมีพระชนมายุเพียง 24 พรรษาและไม่มีพระโอรสธิดา พระปัยกาของพระองค์ซึ่งมีพระชนมายุ 66 พรรษาจึงต้องครองราชย์สืบต่อ ซึ่งมีพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าเฮนรีแห่งโปรตุเกส โดยเป็นพระคาร์ดินัลด์ และได้สวรรคตลงในอีก 2 ปีถัดมาโดยปราศจากมีพระโอรสธิดา ราชบัลลลังก์ได้ว่างลงและมีพระราชวงศ์ได้มาอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ได้แก่ เจ้าหญิงแคทเทอรีน ดัสเชสแห่งบราแกนซา, พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน, รานุชิโอที่ 1 ฟาร์เนส ดยุคแห่งปาร์มา และเจ้าชายอันโตนิโอ รองอธิการแห่งคาร์โต
ในปี พ.ศ. 2123 เจ้าชายอันโตนิโอได้เดินทางไปในหลายเมืองของโปรตุเกสและตั้งตนเป็นสมเด็จพระเจ้าอันโตนิโอแห่งโปรตุเกส ซึ่งเป็นเวลา 20 วันก่อนที่พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปนขฃจะยกทัพบุกโปรตุเกสและสามารถกำจัดผู้สนับสนุนพระเจ้าอันโตนิโอในการต่อสู้ที่อัลคานทารา แต่พระเจ้าอันโตนิโอยังทรงปกครองประเทศจากหมู่เกาะอะโซเรสจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2126 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2123 ถือว่าราชวงศ์อาวิซได้มาถึงจุดสิ้นสุด แต่นักประวัติศาสตร์ยังคงขัดแย้งในเรื่องการครองราชย์ของพระเจ้าอันโตนิโอ รวมถึงยังเป็นที่ถกเถียงในการนับว่าพระองค์เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์อาวิซ
ราชวงศ์อาวิซ แก้
ราชวงศ์อาวิซ-เบจา แก้
ราชวงศ์ฮับบูร์กโปรตุเกส (ราชวงศ์ฟิลิปปิน)(พ.ศ. 2123 - พ.ศ. 2183) แก้
ราชวงศ์ฮับบูร์กสายโปรตุเกสหรือเป็นที่รู้จักในนามราชวงศ์ฟิลิปปิน ซึ่งกำเนิดขึ้นหลังจากพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน เข้ายึดครองโปรตุเกส และสเปนได้ปกครองโปรตุเกสตั้งแต่ พ.ศ. 2123 จนถึง พ.ศ. 2183 รวมเป็นเวลา 60 ปี ราชวงศ์เริ่มต้นเมื่อพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน ทรงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์โปรตุเกสและสถาปนาพระองค์เองในพระปรมาภิไธย พระเจ้าฟีลิปปึที่ 1 แห่งโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2123 และได้รับการยอมรับอบ่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2124 โดยคณะทหารแห่งโตมาร์ พระเจ้าฟีลิปปึทรงปฏิญาณว่าจะปกครองโปรตุเกสโดยแยกจากสเปนและให้ทั้งสองประเทศดำรงความเป็นอาณาจักรร่วม แต่เมื่อพระเจ้าฟีลิปปึที่ 1 สวรรคตลง ผู้สืบราชบัลลังกองค์ต่อมาก็ไม่ได้ทรงทำตามดังที่พระเจ้าฟีลิปปึที่ 1 ปฏิญาณไว้
ภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟีลิปปึที่ 2 แห่งโปรตุเกส (พระเจ้าเฟลิเปที่ 3 แห่งสเปน) จักรวรรดิโปรตุเกสเริ่มล่มสลายและแตกเป็นเสี่ยงๆ จากแรงกดดันของศัตรูของจักรวรรดิสเปน พระเจ้าฟีลิปปึที่ 2 และพระเจ้าฟีลิปปึที่ 3 ไม่ทรงปกครองโปรตุเกสด้วยพระองค์เองแต่ทรงมอบหมายให้ขุนนางซึ่งทรงไว้วางพระทัยและให้มีอำนาจเต็มในการปกครอง
จากการปกครองของสเปนทำให้โปรตุเกสเสียสิทธิต่างๆ มากมาย เช่นการไม่ได้รับอนุญาตให้เก็บภาษีเองและต้องจ่ายภาษีแก่ชาวสเปน ทำให้โปรตุเกสสูญเสียความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ
ในปี พ.ศ. 2183 ชาวโปรตุเกสทนไม่ได้จากการกดขี่ของชาวสเปนจึงลุกฮือขึ้นมาต่อต้านด้วยการนำของราชวงศ์บราแกนซาจนชาวโปรตุเกสได้รับชัยชนะ และพระเจ้าฟีลิปปึที่ 3 แห่งโปรตุเกส (พระเจ้าเฟลิเปที่ 4 แห่งสเปน) ทรงยอมสละราชบัลลังก์โปรตุเกสให้แก่ราชวงศ์บราแกนซาและให้อิสรภาพแก่โปรตุเกส ถือเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ฟิลิปปินในโปรตุเกส ซึ่งสงครามในครั้งนี้รู้จักกันในนามสงครามฟื้นฟูโปรตุเกส
ราชวงศ์บราแกนซา (ราชวงศ์บริแกนทีน) (พ.ศ. 2183 - พ.ศ. 2453) แก้
ราชวงศ์บราแกนซา (โปรตุเกส: Casa de Bragança) มีต้นกำเนิดในปีพ.ศ. 1985 เมื่อดัชชีแห่งบราแกนซาได้รับการสถาปนาโดยเจ้าชายเปโดร ดยุคแห่งกูอิงบราและพระองค์ได้มอบดินแดนนี้ให้ เจ้าชายอัลฟองโซ เคานท์แห่งบาร์เซลอสพระอนุชาต่างมารดา และเจ้าชายอัลฟองโซเป็นดยุคคนแรกของดัชชีแห่งบราแกนซา และทำให้ตระกูลบราแกนซานี้เป็นตระกูลที่มีอิทธิพลในโปรตุเกสมากที่สุด ดังเช่น เจ้าหญิงแคทเทอรีนแห่งโปรตุเกสได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอห์นที่ 2 ดยุคที่ 6 แห่งบราแกนซา ซึ่งในปี พ.ศ. 2123 เจ้าหญิงแคทเทอรีนทรงพยายามอ้างสิทธิในราชบัลลังก์แต่ต้องพ่ายแพ้แก่กองทัพของราชวงศ์ฮับบูร์กสเปน
ในปี พ.ศ. 2183 เนื่องมาจากชาวโปรตุเกสได้ชัยชนะในสงครามฟื้นฟูโปรตุเกส เจ้าชายจอห์นซึ่งเป็นพระนัดดาในเจ้าหญิงแคทเทอรีนได้รับการประกาศเป็นรัชทายาทอย่างเป็นทางการโดยทรงสืบเชื้อสายจากสมเด็จพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกส สเปนยอมรับการเป็นรัฐเอกราชของโปรตุเกสโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2211 ราชวงศ์ที่สี่นี้ได้เห็นความสำคัญในการเฟื่องฟูของทองคำในบราซิล และยังมีเหตุการณ์ในราชวงศ์นี้มากมายเช่น แผ่นดินไหวที่ลิสบอนปีพ.ศ. 2298, การเข้ายึดครองโปรตุเกสของนโปเลียน, การประการอิสรภาพของบราซิลและสงครามกลางเมืองจนถึงเสรีนิยม
การเจริญเติบโตของระบอบสาธารณรัฐเกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 และในปี พ.ศ. 2451 เกิดการลอบปลงพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าคาร์ลอสที่ 1 แห่งโปรตุเกส และในปี พ.ศ. 2453 ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐได้บีบบังคับให้สมเด็จพระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส สละราชบัลลังก์และเนรเทศออกจากโปรตุเกส ซึ่งนับเป็นจุดสิ้นสุดระบอบกษัตริย์แห่งโปรตุเกสและสิ้นสุดราชวงศ์ที่สี่ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย ปัจจุบันราชวงศ์บราแกนซาได้รับตำแหน่ง "ดยุคแห่งบราแกนซา" ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันคือดูอาร์เต ปิโอ ดยุคแห่งบราแกนซา และเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์โปรตุเกสในปัจจุบัน
ราชวงศ์บราแกนซา แก้
ราชวงศ์บราแกนซา-แซ็กซ์-โคบูร์ก-ก็อตธา แก้
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์โปรตุเกส แก้
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สายเบจา (พ.ศ. 2123 - พ.ศ. 2183) แก้
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สายมิเกลลิสต์ (พ.ศ. 2377 - ปัจจุบัน) แก้
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์สายตรงตามรัฐธรรมนูญและพระราชวงศ์ (พ.ศ. 2453 - ปัจจุบัน) แก้
ดูเพิ่ม แก้
อ้างอิง แก้
- Sousa, D. António Caetano de (1946) [1735–49]. História Genealógica da Casa Real Portuguesa (ภาษาโปรตุเกส). Coimbra: Atlântida-Livraria Eds. OCLC 20210378.
- Jiří Louda & Michael Maclagan (1981), "Portugal", in Lines of Succession. Heraldry of the Royal families of Europe, London, Orbis Publishing, pp. 228–237. ISBN 0-85613-672-7. (revised and updated edition by Prentice Hall College Div - November 1991. ISBN 0-02-897255-4.)
- Luís Amaral & Marcos Soromenho Santos (2002), Costados do Duque de Bragança, Lisboa, Guarda-Mor Edições.
- Afonso Eduardo Martins Zuquete (dir.)(1989), Nobreza de Portugal e Brasil, vol. I, Lisboa, Editorial Enciclopédia.
- Jacob Wilhelm Imhof, Stemma Regum lusitanicum sive Historia genealogica Familiae Regiae Portugallicae, Amsterdam, 1708 (reprint [1]).