มารี ฟร็องซวซแห่งซาวอย(มารี ฟร็องซวซ เอลีซาแบ็ต; 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งซาวอยและสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 แห่งโปรตุเกสและเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเกส

มารี ฟร็องซวซแห่งซาวอย
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึ
ครั้งที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1666 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1668
ครั้งที่ 212 กันยายน ค.ศ. 1683 – 27 ธันวาคม ค.ศ. 1683
พระราชสมภพ21 มิถุนายน ค.ศ. 1646
โฮเต็ล เดอ เนมัวส์ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สวรรคต27 ธันวาคม ค.ศ. 1683
ปาลฮาวา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
(พระชนมายุ 37 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส
พระเจ้าเปดรูที่ 2 แห่งโปรตุเกส
พระราชบุตรเจ้าหญิงอิซาเบล ลุยซาแห่งเบย์รา
ราชวงศ์ซาวอย
บราแกนซา
พระราชบิดาชาร์ล อาเมดี ดยุกแห่งเนอมัวร์
พระราชมารดาเอลีซาแบ็ตแห่งบูร์บง

ภูมิหลัง

แก้

เจ้าหญิงมารี ฟรานซัวส์ เอลิซาเบธ เดอ ซาวอเอีย หรือ เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย ประสูติวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในชาร์ล อาเมดี ดยุกแห่งเนอมัวร์กับเอลีซาแบ็ตแห่งบูร์บง เจ้าหญิงเป็นพระปนัดดาในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับพระสนมของพระองค์คือ กาเบรียล เดสเทร่ส์ พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิงคือ เจ้าหญิงมารี ณานน์แห่งซาวอย ก่อนอภิเษกสมรสเจ้าหญิงทรงดำรงพระอิศริยยศ "มาดมัวแซล เดอ ออเมล" ซึ่งมาจากชื่อของรัฐดัชชีแห่งออเมลซึ่งเป็นดินแดนของพระราชบิดาของเจ้าหญิง

อภิเษกสมรสครั้งแรกและความขัดแย้งกับพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6

แก้
 
สมเด็จพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 แห่งโปรตุเกส

เนื่องมาฝรั่งเศสต้องการการสนับสนุนจากโปรตุเกสในการคานอำนาจสเปน พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงจัดการอภิเษกสมรสนี้ขึ้นระหว่างเจ้าหญิงมารี ฟรานซัวส์กับชนชั้นสูงของโปรตุเกส และครองราชบัลลังก์โปรตุเกสซึ่งก็คือ สมเด็จพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 แห่งโปรตุเกส กษัตริย์หนุ่มซึ่งประชวรและพระวรกายซีกซ้ายคล้ายจะเป็นอัมพาต

เจ้าหญิงมารี ฟรานซัวส์เสด็จออกจากท่าลาโรช โดยเรือ"วันโดเม" ฤดูร้อนปีพ.ศ. 2209 เจ้าหญิงมารี ฟรองซัวส์ เอลิซาเบธ เดอ ซาวอเอียเสด็จถึงกรุงลิสบอน เจ้าหญิงทรงปราบปลื้มที่จะได้ดำรงพระอิศริยยศสมเด็จพระราชินี พระนางไม่ทรงเชื่อเสียงเล่าลือที่ว่า ผู้กำลังจะเป็นพระสวามีนั้นทรงอ้วน ทรงไร้สมรรถภาพและสติปัญญาทึบ ฝูงชนได้กรูเข้าไปต้อนรับว่าที่พระราชินีของพวกเขา เจ้าหญิงทรงต้องผิดหวังเพราะพระเจ้าอัลฟองโซไม่ทรงมาต้อนรับพระนางแต่กลับประทับอยู่ในพระราชวัง เนื่องจากไม่ประสงค์ที่จะเข้าพิธีอภิเษกสมรส ซึ่งพระเจ้าอัลฟองโซทรงจำยอมอภิเษกสมรสเพราะว่า ไม่ทรงปรารถนาให้เจ้าชายเปโดร ผู้เป็นพระอนุชาที่เป็นที่รักใคร่ของราษฎรขึ้นมาสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์

พระเจ้าอัลฟองโซทรงพยายามลบเลือนข่าวลือที่ว่า พระองค์ทรงไร้สมรรถภาพโดยการประทับอยู่กับหญิงโสเภณีและทรงแสวงหาเด็กที่ละม้ายคล้ายพระองค์มาอ้างว่าเป็นบุตรนอกสมรสและทรงพาเด็กผู้นั้นเข้าในวงการสังคมด้วย เมื่อเจ้าหญิงเสด็จมาถึง คณะบาทหลวงได้เกลี้ยกล่อมให้พระองค์ไปพบพระพักตร์เจ้าหญิง เมื่อพระเจ้าอัลฟองโซเสด็จมาถึงเรือใหญ่ พระนางจึงเชื่อในคำเล่าลือว่าเป็นจริง พระสวามีในอนาคตทรงอ้วนมาก พระเจ้าอัลฟองโซทรงกลัวการเป็นหวัดมากพระองค์สวมฉลองพระองค์กันหนาวทับกันหลายๆชั้นซึ่งแต่ละชุดไม่เข้ากันเลย และพระเจ้าอัลฟองโซไม่ทรงพอพระทัยว่าที่พระมเหสีของพระองค์

อย่างไรก็ตาม พระราชพิธีอภิเษกสมรสได้ถูกจัดขึ้นในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2209 โดย เจ้าหญิงมารี ฟรองซัวส์ เอลิซาเบธ เดอ ซาวอเอีย ต้องเปลี่ยนพระนามเป็น เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกา อิซาเบล เดอ ซาวอย และดำรงพระอิศริยยศสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส หลังการอภิเษกสมรส พระเจ้าอัลฟองโซไม่เสด็จไปพบพระนางเลย พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะมอบเงินค่าใช้จ่ายในราชสำนักให้แก่สมเด็จพระราชินีและยังปฏิเสธไม่มอบเงินสินสอดห้าหมื่นฟรังก์ที่ทรงสัญญาว่าจะมอบให้ในวันอภิเษกสมรส จึงมีผู้เห็นว่าพระนางมาเรีย ฟรานซิสกาทรงสะอึกสะอื้นเสียงดังอยู่บ่อยครั้ง พระเจ้าอัลฟองโซแทบไม่เคยย่างพระบาทไปพบพระมเหสีเลยสักครั้ง ขณะที่พระอนุชาเสด็จมาไต่ถามสุขทุกข์หลายครั้ง พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาจึงหันมาสนิทสนมกับพระอนุชาของพระสวามีแทน และบางคนกล่าวว่าทรงสนิทสนมมากเกินไป ต่อมาเกิดสงครามฟื้นฟูโปรตุเกสขึ้นอีกครั้ง พระเจ้าอัลฟองโซทรงดำเนินนโยบายผิดพลาดทำให้ความนิยมตกต่ำ

แต่เนื่องจากพระเจ้าอัลฟองโซและพระมเหสียังไม่ทรงมีบุตร ทำให้หลายคนตากถกเถียงเรื่องนี้ ทำให้พระเจ้าอัลฟองโซจำต้องแก้ไขเหตุการณ์นี้ มีรายงานว่าพระองค์จะให้ข้าราชบริพารคนสนิทในที่ประทับของพระองค์มีเพศสัมพันธ์กับพระราชินีแทนพระองค์เอง และถ้าพระนางทรงพระครรภ์ก็จะสามารถกำจัดพระราชอำนาจของพระอนุชาได้ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2210 พระเจ้าอัลฟองโซทรงเชื้อเชิญพระนางมาเรีย ฟรานซิสกามาเยือนที่พระตำหนักในกลางดึก โดยมีข้าราชบริพารคนสนิทสองคนอยู่ด้วย ซึ่งผิดหลักธรรมเนียมโบราณที่ว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชประสงค์ที่จะหลับนอนกับพระมเหสี พระองค์จะต้องเป็นฝ่ายไปประทับที่ตำหนักของพระมเหสี โดยมีเหล่านางสนองพระโอษฐ์อยู่ใกล้ๆ แต่แผนการของพระองค์ต้องล้มเหลวเพราะพระราชินีสงสัยว่าพระสวามีมีแผนการบางอย่างในพระทัย พระนางจึงปฏิเสธที่จะเสด็จไปยังที่ประทับของพระสวามี เป็นเหตุให้พระเจ้าอัลฟองโซทรงกุมดาบ พร้อมพระพักตร์แดงก่ำด้วยความโกรธ พระองค์สาบานว่า หากพระราชินีไม่เสด็จมาด้วยความสมัครใจภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง พระองค์จะเสด็จไปลากพระราชินีมาที่แท่นบรรทมด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็มีรับสั่งให้มหาดเล็ก 4 คนไปกุมตัวพระนางมายังที่ประทับ

ในที่สุดพระนางมาเรีย ฟรานซิสกาก็สิ้นความอดทน วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2210 พระนางจึงเสด็จไปประทับที่คอนแวนต์แห่งหนึ่ง และส่งข่าวไปทูลพระเจ้าอัลฟองโซทราบว่าพระนางถือว่าการอภิเษกสมรสถือเป็นโมฆะ เนื่องจากไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศเกินขึ้นหลังจากการอภิเษกสมรสผ่านไป 16 เดือน ทันทีที่พระเจ้าอัลฟองโซทรงได้รับหนังสืบฉบับนั้น พระองค์ก็เสด็จไปคอนแวนต์เพื่อจับกุมพระราชินี แต่เจ้าชายเปโดรพร้อมด้วยทหารได้เสด็จมาและทรงปฏิญาณว่าจะปกป้องพระราชินีทุกวิถีทาง ทำให้พระเจ้าอัลฟองโซจำต้องเสด็จกลับไป ขณะถึงพระราชวังพระองค์ได้ถูกจับกุมเป็นนักโทษและยอมรับในการไต่สวนว่าพระองค์ไร้สมรรถภาพ บิชอปแห่งลิสบอนจึงประกาศให้การอภิเษกสมรสถือเป็นโมฆะ

เมื่อพระราชินีทรงมีหนังสือถึงสภานิติบัญญัติ โดยทรงขอเสด็จกลับภูมิลำเนาพร้อมสินเดิมก่อนอภิเษกสมรส สมาชิกสภาทุกคนได้เดินทางมาและขอร้องไม่ให้พระนางจากแผ่นดินนี้ พวกเขาขอร้องให้พระนางอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเปโดรและประทับอยู่ในฐานะพระราชินีของตน ซึ่งทุกคนต่างชื่นชมในความสามารถของพระนางที่กระทำการรัฐประหารด้วยสติปัญญา จากนั้นสมาชิกสภาได้ไปขอร้องให้เจ้าชายเปโดรอภิเษกสมรสกับพระราชินี ซึ่งพระองค์ก็ยินดีแต่ทรงปฏิเสธที่จะครองราชย์ตราบใดที่พระเชษฐายังมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์จะทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาและเจ้าชายเปโดรได้ก่อรัฐประหารรัฐบาลของลูอิส เดอ วาสคอนเซลอส เคานท์ที่ 3 แห่งคาสเตโล เมลฮอร์ ซึ่งสนับสนุนพระเจ้าอัลฟองโซ

พระเจ้าอัลฟองโซทรงถูกกักกันอย่างสมพระเกียรติ พอพระองค์ทราบว่าการอภิเษกสมรสถือเป็นโมฆะและพระมเหสีอภิเษกสมรสใหม่กับเจ้าชายเปโดร พระองค์ตรัสว่า "อา...ดีแล้ว! ไม่มีอะไรให้สงสัยเลยว่า อีกไม่ช้าน้องชายที่น่าสงสารของข้าจะต้องเสียใจเหมือนกับข้า ที่เกลือกกลั้วกับนังผู้หญิงฝรั่งเศสน่าเบื่อคนนี้"[1]

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 และสวรรคต

แก้
 
สมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
สมเด็จพระราชินีมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งโปรตุเกส

พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายเปโดรอย่างสมพระทัย โดยที่ยังคงเป็นสตรีที่ทรงอำนาจสูงสุดในโปรตุเกส อีก 9 เดือนหลังอภิเษกสมรสพระนางมีพระประสูติกาลพระราชธิดาหนึ่งพระองค์ในปีพ.ศ. 2212 พระนามว่า เจ้าหญิงอิซาเบล ลุยซาแห่งเบย์รา แม้จะทรงเกษมสำราญแต่พระนางไม่เคยให้อภัยอดีตพระสวามี และทรงเพลิดเพลินกับการประจานอดีตพระสวามีตลอดเวลา พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาทรงเขียนจดหมายไปถึงพระขนิษฐาว่า "หลังจากที่พระองค์ดื่มเหล้าจนเมาตามนิสัย ก็ล้มพระเศียรทิ่มอ่างน้ำ หากไม่มีใครมาพบและดึงพระองค์ขึ้นมาก็คงจมน้ำสวรรคตไปแล้ว ถึงจะอยู่เยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน พระองค์ก็ยังรอดชีวิตอยู่ได้ เพียงแค่นั้นก็เป็นเหตุผลมากพอที่จะทำให้เราวิตกกังวล และเสี่ยงต่อการถูกศัตรูมุ่งร้าย"[2] ชาวโปรตุเกสหลายคนรู้สึกกังวลไม่ต่างจากพระราชินีมากนัก พวกเขากลัวว่าพระเจ้าอัลฟองโซจะเสด็จหนีออกจากที่คุมขัง และรวบรวมอดีตขุนนางที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากนั้นชำระโทษผู้ที่ปลดพระองค์ออกจากบัลลังก์และนำประเทศสู่ความหายนะ

เจ้าชายเปโดรทรงให้พระเชษฐาเสวยสุราอย่างหนัก ดัวยหวังว่าพระเชษฐาจะสวรรคตจากการดื่มสุรา อย่างไรก็ดี วันหนึ่งพระเจ้าอัลฟองโซได้ปฏิญาณว่าจะไม่ทรงแตะต้องเครื่องดื่มมึนเมาอีก สร้างความขุ่นเคืองแก่คณะรัฐบาลมาก เอกอัครราชทูตแห่งซาวอยเขียนเล่าว่า ผู้ตวบคุมพระเจ้าอัลฟองโซที่นับถือคริสต์นิกายเยซูอิต พูดถึงการฟื้นฟูสุขภาพของพระเจ้าอัลฟองโซว่า "เป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างเห็นได้ชัด"[3]

ทว่าสุดท้ายพระเจ้าอัลฟองโซกลับสวรรคตด้วยพระกระยาหารมิใช่สุรา พระองค์มีพระวรกายใหญ่มากขึ้น พระองค์แทบจะเสด็จออกจากพระแท่นไม่ไหว จากรายงานบางฉบับบอกว่า การเสด็จดำเนินกลายเป็นเรื่องทุกข์ทรมาน หลังจากทรงถูกจองจำเป็นเวลา 15 ปี พระองค์ก็สิ้นพระชนม์เดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2226 เนื่องจากเส้นพระโลหิตในสมองแตก ขณะมีพระชนมายุ 40 พรรษา

เจ้าชายเปโดรจึงได้ครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเกส และทรงสถาปนาเจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาเป็นสมเด็จพระราชินี เนื่องจากพระนางทรงมีแต่พระราชธิดาทำให้พระเจาเปโดรทรงเกรงว่าราชวงศ์บราแกนซาจะสูญสิ้น เพราะพระองค์ทรงต้องการรัชทายาทที่เป็นชาย หลังจากที่พระเจ้าอัลฟองโซเสด็จสวรรคตเพียง 4 เดือน พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาก็เสด็จสวรรคตในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226 มีพระชนมายุเพียง 37 พรรษาเท่านั้น พระเจ้าเปโดรที่ 2 ได้อภิเษกสมรสใหม่กับ เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก และมีพระราชโอรสสืบราชวงศ์ต่อไป ส่วนเจ้าหญิงอิซาเบล ลุยซาพระธิดาเพียงพระองค์เดียวของพระนางมาเรีย ฟรานซิสกาก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียง 21 พรรษา

พระบรมศพของพระนางเดิมได้ถูกฝังที่ คอนแวนต์แห่งฟรานซ์ชินฮาส และต่อมาในปีพ.ศ. 2455 ได้ถูกย้ายไปฝังร่วมกับพระราชวงศ์บราแกนซาที่มหาวิหารเซา วิเซนเต เดอ ฟอรา

รัชทายาท

แก้
  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
  เจ้าหญิงอิซาเบล ลุยซา โจเซฟาแห่งเบย์รา 16696 มกราคม
พ.ศ. 2212
169022 ตุลาคม
พ.ศ. 2233
เตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย ผู้เป็นพระญาติ แต่แผนการต้องล้มเหลวเพราะความขัดแย้งระหว่างราชสำนักทั้งสอง เจ้าหญิงเอลิซาเบธ หลุยซาสิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียง 21 พรรษาปราศจากรัชทายาท

พระราชตระกูล

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. ฟิลิปเป ดยุคแห่งเนมัวส์
 
 
 
 
 
 
 
8. จาคส์ ดยุคแห่งเนมัวส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. โคลดีน เดอ บรอส
 
 
 
 
 
 
 
4. อองรีที่ 1 ดยุคแห่งเนมัวส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เออร์คอลที่ 2 เดอ เอสเต ดยุคแห่งเฟอร์เรรา
 
 
 
 
 
 
 
9. แอนนา เดอ เอสเต ดัสเชสแห่งเนมัวส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงเรอเนแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
2. ชาร์ลส์ อมาเดอุส ดยุคแห่งเนมัวส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. โคลด ดยุคแห่งออเมล
 
 
 
 
 
 
 
10. ชาร์ลส์ ดยุคแห่งออเมล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. หลุยส์ เดอ บรีเซ
 
 
 
 
 
 
 
5. แอนน์ เดอ ลอร์เรน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เรเน มาควิสแห่งเอลบลัฟ
 
 
 
 
 
 
 
11. มารี เดอ ลอร์เรน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. หลุยส์ เดอ รูกซ์
 
 
 
 
 
 
 
1. มาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. สมเด็จพระเจ้าแอนโทนแห่งนาวาร์
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. สมเด็จพระราชินีนาถโจนที่ 3 แห่งนาวาร์
 
 
 
 
 
 
 
6. ซีซาร์ ดยุคแห่งเวนโดเม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. แอนโทน เดอ เอสเต
 
 
 
 
 
 
 
13. กาเบรียล เดสเทร่ส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. ฟรังซ้วส์ บาโบ เดอ ลา โบดายซิเอ
 
 
 
 
 
 
 
3. เอลิซาเบธ เดอ บูร์บง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. นิโคลัส ดยุคแห่งเมอร์ซัวส์
 
 
 
 
 
 
 
14. ฟิลิปเป เอ็มมานูเอล ดยุคแห่งเมอร์ซัวส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. ดัสเชสโจนแห่งซาวอย
 
 
 
 
 
 
 
7. ฟรังซัวส์ เดอ ลอร์เรน ดัสเชสแห่งเวนโดเม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. เซบาสเตียน ดยุคแห่งเพนทีฟเร
 
 
 
 
 
 
 
15. มารี เดอ ลักเซมเบิร์ก ดัสเชสแห่งเพนทีฟเร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. มารี เดอ โบแคร์
 
 
 
 
 
 

พระอิศริยยศ

แก้
  • 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2209 : มาดมัวแซล เดอ ออเมล
  • 2 สิงหาคม พ.ศ. 2209 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2211 : สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
  • 24 มีนาคม พ.ศ. 2211 - 2 เมษายน พ.ศ. 2211 : ท่านหญิงมาเรีย ฟรานซิสกา เดอ บราแกนซา
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2211 - 12 กันยายน พ.ศ. 2226 : ดัสเชสแห่งเบจา
  • 12 กันยายน พ.ศ. 2226 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226 : สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ

อ้างอิง

แก้
  1. Gribble,Poltugal, p 66
  2. Gribble,Poltugal, p 67
  3. Gribble,Poltugal, p 68
ก่อนหน้า มารี ฟร็องซวซแห่งซาวอย ถัดไป
เจ้าหญิงหลุยซาแห่งเมดินา-ซิโดเนีย    
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
(2 สิงหาคม พ.ศ. 2209 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2211)
  เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอยในการอภิเษกสมรสครั้งที่สอง
เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอยในการอภิเษกสมรสครั้งแรก    
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
(12 กันยายน พ.ศ. 2226 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226)
  เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก