การ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน (สเปน: Doña Carlota Joaquina; 25 เมษายน พ.ศ. 2318 - 7 มกราคม พ.ศ. 2373) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งสเปนเมื่อครั้งพระราชสมภพและหลังจากนั้นทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เป็นพระราชธิดาองค์โตในพระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปนกับเจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา และพระนางเป็นพระมเหสีในพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
การ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึช | |||||
ระหว่าง | 20 มีนาคม 1816 – 10 มีนาคม 1826 | ||||
สมเด็จพระราชินีแห่งบราซิล | |||||
ระหว่าง | 20 มีนาคม 1816 – 12 ตุลาคม 1822 | ||||
พระราชสมภพ | 25 เมษายน พ.ศ. 2318 ณ พระราชวังหลวงอารังฆูเอซ อารังฆูเอซ ประเทศสเปน | ||||
สวรรคต | 7 มกราคม พ.ศ. 2373 ณ พระราชวังหลวงเกลุช ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส (พระชนมายุ 54 พรรษา) | ||||
พระราชสวามี | พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส | ||||
พระราชบุตร | อิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งบรากังซา เจ้าชายฟรังซิชกู อังตอนียู เจ้าชายแห่งไบรา มารีอา อิซาเบลแห่งบรากังซา สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล อิงฟังตามารีอา ฟรังซิชกาแห่งบรากังซา อิงฟังตาอีซาแบล มารีอาแห่งบรากังซา พระเจ้ามีแกลแห่งโปรตุเกส อิงฟังตามารีอา ดา อาซุงเซาแห่งบรากังซา อิงฟังตาอานา ดึ ฌึซุช มารีอาแห่งบรากังซา | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | บูร์บง บรากังซา | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน | ||||
พระราชมารดา | เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา | ||||
ลายพระอภิไธย |
ช่วงต้นพระชนม์ชีพ
แก้เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาประสูติที่อารังฆูเอซ ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2318 ในระหว่างรัชกาลของพระอัยกา พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน เป็นพระราชบุตรและพระราชธิดาพระองค์โตในพระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน (ขณะนั้นดำรงเป็นเจ้าชาย) กับเจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา พระมเหสี พระราชบิดาของเจ้าหญิงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าการ์โลสที่ 3 กับเจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี พระมเหสี พระราชมารดาของเจ้าหญิงเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสโดยผ่านทางพระมารดาของเจ้าหญิงมาเรีย ลุยซา คือ เจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส พระสวามีของเจ้าหญิงหลุยส์ เอลิซาเบธคือ เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งปาร์มาเป็นพระอนุชาในพระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน พระสวามีในอนาคตของเจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาเป็นพระราชนัดดาในเจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งสเปน ซึ่งเป็นพระภคินีในพระเจ้าการ์โลสที่ 3 และดยุคแห่งปาร์มา
การนำไปสู่การอภิเษกสมรสของเจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาได้รับการจัดเตรียมโดยพระนางมาเรียนา วิกตอเรียและพระเจ้าการ์โลสที่ 3 ในช่วงหลังคริสต์ทศวรรษที่ 1770 เมื่อพระนางมาเรียนาเสด็จเยือนสเปนเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตในระหว่างความบาดหมางของทั้งสองประเทศ เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาต้องอภิเษกสมรสกับเจ้าชายที่ซึ่งในอนาคตคือ พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส(ในขณะนั้นทรงดำรงเป็นเจ้าชายแห่งโปรตุเกส)และพระปิตุลาของเจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินา เจ้าชายกาเบรียลแห่งสเปนทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งโปรตุเกสที่ซึ่งเป็นพระราชนัดดาในพระนางมาเรียนา วิกตอเรียเช่นกัน
อภิเษกสมรสและการลี้ภัย
แก้ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2328 อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการกับเจ้าชายฌูเอา เจ้าชายแห่งโปรตุเกส (อนาคตคือ พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส,บราซิลและอัลการ์วึ) พระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกสกับอดีตพระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
เจ้าหญิงทรงได้รับพระราชทานพระราชวังวิลลา วิโคซาในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2328 และในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2328 ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับศีลสมรสที่ห้องสวดมนต์ของพระราชวัง ในเวลาเดียวกัน เจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งโปรตุเกสพระขนิษฐาของเจ้าชายโจอาวทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายกาเบรียลแห่งสเปน ราชนิกุลในพระราชวงศ์สเปน ความพยายามที่จะให้สมนับกันระหว่างเจ้าชายโจอาวและเจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียซึ่งในเวลานั้นเจ้าหญิงทรงผิดนัดหนักขึ้น เจ้าชายโจอาวทรงเปรียบเทียบพระขนิษฐากับพระมเหสี พระองค์ทรงเขียนว่า "เจ้าหญิงทรงฉลาดมากและมีความยุติธรรมมาก ในขณะที่เธอมีเพียงน้อยนิด และพี่ชอบเธอมาก แต่พี่ไม่สามารถรักหล่อนได้อย่างเท่าเทียม" พระมเหสีของเจ้าชายทรงว่านอนสอนง่ายซึ่งทำให้พระนางทรงได้รับการก้าวก่ายจากสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียหลายครั้ง นอกจากนี้ความแตกต่างกันระหว่างพระชนมายุ(เจ้าชายโจอาวมีพระชนมายุ 18 พรรษา)ทำให้เจ้าชายทรงรู้สึกอึดอัดและวิตกกังวล เนื่องจากเจ้าหญิงคาร์ลอตายังทรงพระเยาว์มากทำให้การอภิเษกสมรสยังไม่สมบูรณ์และเจ้าชายโจอาวทรงเขียนว่า "นี่คือการมาถึงของเวลาเมื่อข้าเล่นกับเจ้าหญิงตลอด ด้วยวิธีการเหล่านี้ ข้าคิดว่าอีก 6 ปีต่อจากนี้ คงจะดีถ้าเธอเติบโตขึ้นกว่าในตอนที่เธอมาถึง" การอภิเษกสมรสยังไม่เสร็จสมบูรณ์จนกระทั่งวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2333
ในปีพ.ศ. 2331 เมื่อพระเชษฐาองค์โตในเจ้าชายโจอาวคือ เจ้าชายโจเซแห่งบราซิลสิ้นพระชนม์ ทำให้เจ้าชายโจอาวกลายเป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์อันดับหนึ่งในราชบัลลังก์ของพระราชมารดา จากนั้นทรงได้รับพระอิศริยยศ เจ้าชายแห่งบราซิล และ ดยุคแห่งบรากังซาองค์ที่ 15[1] ในระหว่างพ.ศ. 2331 ถึงพ.ศ. 2359 เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาทรงเป็นที่รู้จักกันในนาม เจ้าหญิงแห่งบราซิล เจ้าชายโจอาว พระสวามีทรงเป็นบุคคลที่มีพระเมตตา, เกียจคร้านและเข้ากันไม่ได้กับพระนาง แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์มีทายาทร่วมกัน 9 พระองค์ เพราะว่าทั้งคู่ทรงพระสิริโฉม มีการเล่าลือว่าโดยเฉพาะพระราชโอรสองค์สุดท้องมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากพระราชบิดา หลังจากมีพระประสูติกาลพระโอรสธิดา 9 พระองค์ทั้งสองพระองค์ทรงเริ่มประทับแยกกัน โดยพระสวามีประทับที่พระราชวังหลวงมาฟราและพระมเหสีประทับที่พระราชวังหลวงเกวลูซหรือพระราชวังรามัลเฮา มีการเล่าลือกันว่าพระนางทรงหลบหนีออกมาเพื่อสามารถสนุกสนานกับงานเลี้ยงที่มีการร่วมประเวณีอย่างสับสนปนเป
ในเวลานั้น การปฏิวัติฝรั่งเศสที่สับสนได้สร้างกระแสแห่งความหวาดกลัวแก่หลายๆพระราชวงศ์ในยุโรป การสั่งปลงพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสอย่างโหดเหี้ยมในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 โดยคณะปฏิวัติได้ทำให้เกิดการตอบสนองต่อนานาประเทศอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2336 โปรตุเกสลงนามสนธิสัญญาสันติภาพกับสเปน และในวันที่ 26 กันยายนดำเนินเป็นพันธมิตรกับบริเตนใหญ่ สนธิสัญญาทั้งสองได้มีพันธะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อต่อต้านคณะปฏิวัติฝรั่งเศสและตามมาด้วยการนำทหารโปรตุเกส 6,000 นายเข้าสู่สงครามแห่งพีเรนิส(พ.ศ. 2336 - พ.ศ. 2338) สงครามซึ่งเริ่มต้นด้วยการเข้าโจมตีแคว้นรูสซิลองของฝรั่งเศสและจบลงด้วยความปราชัยโดยกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสสามารถรุกล้ำสู่สเปนทางตะวันออกเฉียงเหนือได้ จากเหตุนี้ได้สร้างปัญหาที่ละเอียดอ่อนทางการทูตขณะที่โปรตุเกสไม่สามารถทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศสได้โดยไม่กระทบต่อความสัมพันธ์กับอังกฤษหรือบริเตนใหญ่ที่ซึ่งเป็นที่ซับซ้อนต่อความสนใจจากนานาประเทศ และดังนั้นจึงต้องแสวงหาความเป็นกลางที่ซึ่งเปราะบางและตึงเครียด[2][3]
หลังจากพ่ายแพ้สงคราม สเปนได้ยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับโปรตุเกสและเป็นสร้างสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาบาเซิล ด้วยอังกฤษมีแสนยานุภาพเกินกว่าฝรั่งเศสจะโจมตีโดยตรงได้ ฝรั่งเศสวางแผนที่จะจัดการกับโปรตุเกสซึ่งเป็นพันธมิตรกับอังกฤษ[4] ในปีพ.ศ. 2342 เจ้าชายโจอาวทรงปกครองรัฐบาลอย่างเป็นทางการในฐานะเจ้าชายผู้สำเร็จราชการในพระนามของพระราชมารดา[5]ที่ซึ่งในปีเดียวกันนายพลนโปเลียน โบนาปาร์ตได้กระทำการรัฐประหารเดือนบูร์แมร์ในฝรั่งเศสและคาดคั้นให้สเปนยื่นคำขาดแก่โปรตุเกสยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและส่งมอบประเทศเพื่อประโยชน์แก่นโปเลียน โดยเจ้าชายโจอาวทรงปฏิเสธความเป็นกลางของประเทศจึงสิ้นสุด กองทัพสเปนและฝรั่งเศสจึงโจมตีโปรตุเกสในปีพ.ศ. 2344 เกิดเป็นสงครามแห่งออเรนจ์(War of the Oranges) ความพ่ายแพ้ของโปรตุเกสทำให้ต้องทำสนธิสัญญาบาดาจอสและตามมาด้วยสนธิสัญญามาดริด โดยสเปนได้ผนวกโอลิเวนซาเป็นส่วนหนึ่งของสเปนและให้สัมปทานแก่ฝรั่งเศสเหนือดินแดนอาณานิคมของโปรตุเกส[6][7] ด้วยความสนใจในความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งหมดสงครามได้ถูกกำหนดด้วยการเคลื่อนไหวอย่างคลุมเคลือและข้อตกลงลับ โปรตุเกสเป็นฝ่ายที่อ่อนแอที่สุดไม่สามารถหลีกเลี่ยงการต่อสู้อันต่อเนื่องนี้ได้.[4] ในเวลาเดียวกันเจ้าชายโจอาว พระสวามีทรงต้องเผชิญหน้ากับศัตรูในประเทศของพระองค์เอง เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินา ซึ่งทรงมีความจงรักภักดีต่อสเปนบ้านเกิดของพระนางอย่างมาก เริ่มต้นด้วยความประหลาดใจซึ่งวัตถุประสงค์ของพระนางคือการพยายามถอดถอนพระสวามีและยึดพระราชอำนาจมาไว้ในพระหัตถ์ของพระนางเอง แต่แผนการของพระนางกลับล้มเหลวในปีพ.ศ. 2348 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สมเด็จพระราชินีนาถเสด็จออกจากราชสำนักไปประทับที่พระราชวังหลวงเกลุชในขณะที่เจ้าชายผู้สำเร็จราชการเสด็จออกไปประทับที่พระราชวังหลวงมาฟรา[8][9]
เจ้าชายผู้สำเร็จราชการทรงมีบทบาทอย่างเต็มที่ในเวลานี้ พระองค์ทรงหลอกฝรั่งเศสตลอดจนกระทั่งครั้งสุดท้ายทรงยอมจำนนแก่ฝรั่งเศส ไปที่ประเด็นของการแนะนำจากพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการประกาศสงครามสมมติระหว่างประเทศของตน แต่เจ้าชายผู้สำเร็จราชการกลับไม่ทรงกระทำตามแผนการของจักรพรรดินโปเลียนในระบบภาคพื้นทวีป(การสกัดกั้นอังกฤษ) การบุกเข้าโจมตีของกองทัพฝรั่งเศสนำโดย นายพลฌอง-อันดอเช ชูโนต์ต้องเผชิญกับความยากลำบาก ได้มาถึงหน้าประตูเมืองลิสบอนในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2350 พระราชวงศ์ได้ลี้ภัยออกจากโปรตุเกสไปยังบราซิลอันเนื่องมาจากการโจมตี กองเรือรบต้องเผชิญพายุถึงสองครั้งและกองเรือกระจัดกระจายบริเวณมาเดรา ในช่วงกลางของการเดินทางเจ้าชายโจอาวทรงเปลี่ยนพระทัยและตัดสินพระทัยเดินทางสู่ซัลวาดอร์,รัฐบาเยีย คงด้วยเหตุผลทางการเมือง โปรดให้ราษฎรท้องถิ่นของเมืองหลวงอาณานิคมแห่งแรกที่ซึ่งแสดงความไม่พอใจที่เสียสถานะเดิม ในขณะที่เรือพระที่นั่งที่มีเหล่าเจ้าหญิงประทับอยู่เดินทางตามเส้นทางเดิมสู่รีโอเดจาเนโร[10][11]
ในบราซิล
แก้ในขณะประทับอยู่ในบราซิล เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาทรงพอพระทัยในการประทับในฟาร์มใกล้กับชายหาดโบตาฟาโก ทรงเริ่มต้นดำรงพระชนม์ชีพโดยพยายามออกห่างจากพระสวามี[12] เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาทรงพยายามรับอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินแห่งอาณาจักรปกครองของสเปนในลาตินอเมริกา แผนการที่รู้จักกันในนาม ระบอบคาร์ล็อต(Carlotism) สเปนเองก็ถูกควบคุมโดยนโปเลียนและพระมหากษัตริย์สเปนทั้งพระราชบิดาของพระนางและพระอนุชา เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ทรงถูกควบคุมพระองค์ในฝรั่งเศส เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาทรงพิจารณาตนเองเป็นรัชทายาทแห่งพระราชวงศ์ของพระนางที่ถูกจับกุม การถูกกล่าวหาในแผนการของพระนางโดยส่งกองทัพไปยึดครองบัวโนสไอเรสและทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา พระนางทรงสถาปนาและให้เรียกพระนางเองว่า "สมเด็จพระราชินีนาถแห่งลาปลาตา"(Queen of La Plata) กองทัพผสมโปรตุเกส-บราซิล อย่างไรก็ตามได้ผนวกชายฝั่งตะวันออกของรีโอเดลาปลาตาในแคว้นคิสพลาตินา ที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิบราซิลหลังจากพ.ศ. 2365 และแยกตัวออกในปีพ.ศ. 2371 ในฐานะสาธารณรัฐอุรุกวัย
สมเด็จพระราชินี
แก้สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส พระราชมารดาของเจ้าชายโจอาวเสด็จสวรรคตในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2359 สิริพระชนมายุ 81 พรรษา พระสวามีจึงได้ครองราชย์สืบค่อในพระนาม พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสและพระนางจึงได้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เมื่อพระราชวงศ์โปรตุเกสได้เสด็จนิวัติโปรตุเกสในปีพ.ศ. 2364 หลังจากออกจากประเทศมานานถึง 14 ปี พระนางการ์โลตา โฆอากินาทรงพบกับประเทศซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมากนับตั้งแต่ออกเดินทาง ในปีพ.ศ. 2350 โปรตุเกสยังคงอยู่ในการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างมั่นคง กองทัพของนโปเลียนและทัศนะทางการเมืองได้ถูกควบคุมโดยกลุ่มคาดิซคอร์เตสในสเปนซึ่งได้นำแนวคิดการปฏิวัติมาสู่โปรตุเกส ในปีพ.ศ. 2363 เกิดการปฏิวัติเสรีนิยม พ.ศ. 2363ที่ตั้งต้นในโปร์ตู รัฐธรรมนูญโปรตุเกสคอร์เตสได้มีการบังคับใช้ และในปีพ.ศ. 2364 ได้นำมาซี่งรัฐธรรมนูญฉบับแรก สมเด็จพระราชินีทรงเป็นผู้นำในกลุ่มอนุรักษนิยมและทรงต้องการให้นักปฏิกิริยาฝ่ายขวาออกมาเคลื่อนไหว พระมหากษัตริย์ได้รับการปฏิญาณต่อรัฐธรรมนูญในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2365 ทรงยอมจำนนด้วยพระราชอำนาจที่หลากหลาย สมเด็จพระราชินีการ์โลตา โฆอากินาทรงปฏิเสธที่จะดำเนินการปฏิญาณตามพระราชสวามี และดังนั้นพระนางจึงถูกยึดพระราชอำนาจทางการเมืองและทรงถูกถอดถอนออกจากพระอิศริยยศ "สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส" รัฐธรรมนูญในทางเสรีนิยมที่ซึ่งให้พระมหากษัตริย์ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณได้มีผลบังคับใช้เพียงไม่กี่เดือน ไม่มีประชาชนหรือผู้ใดในโปรตุเกสสนับสนุนลัทธิเสรีนิยม และมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสมบูรณาญาสิทธิ์มากขึ้น พระนางการ์โลตา โฆอากินาทรงสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับพระราชโอรสองค์สุดท้อง เจ้าชายมีแกลแห่งโปรตุเกส ผู้ซึ่งทรงมีแนวคิดทางการเมืองแบบอนุรักษนิยมในแนวทางพระราชมารดา ทรงได้รับการสนับสนุนจากพระมารดา พระนางการ์โลตา โฆอากินา ให้ก่อการกบฏที่รู้จักในชื่อ วิลลาฟรานคาดา โดยมีความตั้งใจที่จะสถาปนาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระเจ้าโจอาวทรงเปลี่ยนพระทัยเห็นมาสนับสนุนพระโอรสเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นความปรารถนาสูงสุดในกลุ่มของพระราชินี สมัยแห่งสมบูรณาญาสิทธิ์ได้มีการฟื้นฟู พระราชอำนาจและพระอิศริยยศของสมเด็จพระราชินีได้รับการฟื้นคืนอีกครั้ง
เจ้าชายมีแกลทรงก่อการกบฏเมษายน หรือ Abrilada ต่อพระราชบิดาจากการสนับสนุนจากพระนางการ์โลตา โฆอากินา โดยกองทหารรักษาการณ์ในลิสบอนในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2367 กลุ่มกบฏได้อ้างว่าเพื่อต้องการกำจัดองค์กรฟรีเมสันและป้องกันพระมหากษัตริย์จากแผนการลอบปลงพระชนม์ของพวกฟรีเมสันที่ซึ่งทำการต่อต้านพระองค์ แต่พระเจ้าโจอาวกลับทรงถูกนำพระองค์มาเพื่อคุ้มครองในพระราชวังเบ็มโปสตา นักการเมืองจำนวนมากที่เป็นศัตรูกับเจ้าชายมีแกลยังคงถูกจับกุมอยู่ที่ไหนสักแห่ง พระประสงค์ของเจ้าชายทรงต้องการขู่ให้พระราชบิดาสละราชบัลลังก์ มีการตื่นตัวถึงสถานการณ์ คณะเจรจาฝ่ายทหารได้ควบคุมและเข้าไปยังพระราชวังเบ็มโปสตา ได้บอกให้พระมหากษัตริย์ไม่ให้ทำการต่อต้านมาก และได้ฟื้นฟูอิสรภาพของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม จากคำปรึกษาของคณะทูตที่เป็นมิตรกัน พระเจ้าโจอาวทรงแสร้งที่จะเสด็จประพาสเมืองคาซิเอส แต่ในความเป็นจริงพระองค์เสด็จไปหลบภัยในเรือรบของอังกฤษที่ซึ่งเทียบท่ารอพระองค์อยู่ พระองค์มีพระราชวินิจฉัยจากเรือเฮสเอ็มเอส วินเซอร์ คาสเซิลทรงกล่าวประณามพระโอรส มีพระบรมราชโองการปลดพระโอรสออกจากตำแหน่งสั่งการในกองทัพ และให้พระโอรสปล่อยนักโทษทางการเมือง เจ้าชายมีแกลทรงถูกเนรเทศ ด้วยการที่กลุ่มกบฏถูกกำจัด ทั้งกลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มสมบูรณาญาสิทธิ์ได้ออกมายังถนนเพื่อเฉลิมฉลองการดำรงอยู่ของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย[13] ในวันที่ 14 พฤษภาคม พระมหากษัตริย์เสด็จกลับพระราชวังเบ็มโปสตา มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสภารัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและทรงแสดงความเมตตาต่อผู้ที่เคยร่วมก่อการกบฏ แต่ก็ยังไม่มีการเตือนพระราชินีจากการก่อการสมคบคิด ตำรวจได้ค้นพบแผนการกบฏต่อไปในวันที่ 26 ตุลาคม และเป็นหลักฐานที่พระเจ้าโจอาวมีพระบัญชาให้จับกุมพระมเหสีโดยกักบริเวณแต่ในพระตำหนักที่พระราชวังหลวงเกลุช
พระเจ้าโจอาวทรงประทับที่พระราชวังเบ็มโปสตาและพระราชินีการ์โลตา โฆอากินาทรงประทับในพระราชวังหลวงเกลุช อย่างไรก็ตามพระนางทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างเงียบๆ พระนางกลายเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมและการฉลองพระองค์ที่แปลกประหลาดอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตามพระราชโอรสพระองค์โตของทั้งสองพระองค์ เจ้าชายเปโดรแห่งโปรตุเกส ซึ่งทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในบราซิล ทรงประกาศเอกราชบราซิลและราชาภิเษกในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2365 ด้วยพระอิศริยยศ "จักรพรรดิ" พระเจ้าโจอาวที่ 6 ทรงปฏิเสธที่จะยอมรับจนกระทั่งทรงถูกทำให้คล้อยตามโดยอังกฤษในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2368 พระเจ้าโจอาวที่ 6 เสด็จสวรรคตในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2369 พระนางทรงอ้างพระอาการประชวรของพระนางเองเพื่อปฏิเสธที่จะเข้าเฝ้าพระสวามีบนแท่นบรรทมเป็นครั้งสุดท้ายและมีข่าวลือว่าพระสวามีของพระนางทรงถูกวางยาพิษโดยองค์กรฟรีเมสัน
จักรพรรดิเปโดรแห่งบราซิลซึ่งได้กลายเป็น พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสโดยชอบธรรม แต่ทรงตระหนักว่าการประกอบพระราชกรณียกิจในทั้งสองประเทศนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พระจักรพรรดิเปโดรจึงทรงสละราชบัลลังก์โปรตุเกสแก่พระราชธิดาพระองค์โตเป็น สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกสและทรงหมั้นหมายพระราชธิดากับพระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายมีแกลแห่งโปรตุเกส ในระหว่างนั้น พระราชธิดาพระองค์หนึ่งในพระนางการ์โลตา โฆอากินา เจ้าหญิงอิซาเบล มาเรียแห่งโปรตุเกสได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนที่พระนางการ์โลตา โฆอากินา ผู้ซึ่งได้รับพระอิศริยยศ "สมเด็จพระพันปีหลวง" เพียงสองปีในรัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถซึ่งยังทรงพระเยาว์ พระปิตุลาซึ่งเป็นพระคู่หมั้นด้วยได้เสด็จมาถึงที่ยิบรอลตาร์จากนั้นเจ้าชายมีแกลไม่เพียงทรงกระทำการถอดถอนพระเชษฐภคินีออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกลับทรงประกาศพระองค์เแงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและทรงทำการถอดถอนพระราชินีนาถผู้เป็นพระนัดดาออกจากพระราชบัลลังก์
สมเด็จพระพันปีหลวงการ์โลตา โฆอากินาสิ้นพระชนม์ ณ พระราชวังหลวงเกลุช นอกซินทรา ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2373 ได้มีการประกาศว่าพระนางสิ้นพระชนม์ด้วยสาเหตุทางธรรมชาติแต่ในความเป็นจริงแล้วพระนางทรงก่ออัตวินิบาตกรรม สิริพระชนมายุ 54 พรรษา
การอภิเษกสมรสและทายาท
แก้อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปนทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสในปีพ.ศ. 2328 มีพระราชโอรส-ธิดาร่วมกัน 9 พระองค์ได้แก่
พระราชตระกูล
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Cronologia Período Joanino เก็บถาวร 2012-01-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Fundação Biblioteca Nacional, 2010. In Portugal.
- ↑ Strobel, Thomas. A "Guerra das Laranjas" e a "Questão de Olivença" num contexto internacional. GRIN Verlag, 2008, pp. 3–4. In Portuguese.
- ↑ Souza, Laura de Mello e. O sol e a sombra: política e administração na América portuguesa do século XVIII. Companhia das Letras, 2006, p. 394 In Portuguese.
- ↑ 4.0 4.1 Andrade, Maria Ivone de Ornellas de. "O reino sob tormenta". In: Marques, João et alii. Estudos em homenagem a João Francisco Marques, Volume I. Universidade do Porto, sd, pp. 137–144. In Portuguese.
- ↑ Amaral, Manuel. "João VI". In: Portugal – Dicionário Histórico, Corográfico, Heráldico, Biográfico, Bibliográfico, Numismático e Artístico, Volume III, 2000–2010, pp. 1051–1055. In Portuguese.
- ↑ "War of the Oranges". Encyclopædia Britannica. 2005.
- ↑ Vicente, António Pedro (2007). Guerra Peninsular: História de Portugal Guerras e Campanhas Militares [Peninsular War: History of Portuguese Wars and Military Campaigns] (ภาษาโปรตุเกส). Lisbon, Portugal: Academia Portuguesa da História/Quidnovi.
- ↑ Schwarcz, Lília Moritz; Azevedo, Paulo Cesar de & Costa, Angela Marques da. A longa viagem da biblioteca dos reis: do terremoto de Lisboa à independência do Brasil. Companhia das Letras, 2002, pp. 479–480. In Portuguese.
- ↑ Aclamação de d. João เก็บถาวร 2014-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Arquivo Nacional, 2003. In Portuguese.
- ↑ Pedreira e Costa, pp. 186–194
- ↑ Gomes, pp. 72–74; 82–100
- ↑ Pedreira e Costa, pp. 214–216
- ↑ Cardoso, pp. 269–271
- Azevedo, Francisca Nogueira de. Carlota Joaquina na Corte do Brasil. Rio de Janeiro: Civilização Brasileira, 2003.
- Azevedo, Francisca Nogueira de. Carlota Joaquina: cartas inéditas. Rio de Janeiro, Casa da Palavra, 2007.
- Cassotti, Marsilio. Carlota Joaquina - o Pecado Espanhol. Lisboa, A Esfera dos Livros, 2009.
- Cheke, Marcus. Carlota Joaquina: Queen of Portugal. London: Sidgwick & Jackson, 1947
- (Portuguese) Carlota Joaquina, a Rainha Intrigante; tradução de Gulnara Lobato de Morais Pereira. Rio de Janeiro: José Olympio, 1949.
- Lima, Oliveira. D. João VI no Brasil. Topbooks.
- Pereira, Sara Marques (1999), D. Carlota Joaquina e os Espelhos de Clio: Actuação Política e Figurações Historiográficas, Livros Horizonte, Lisboa, 1999.
- Pereira, Sara Marques (2008), D. Carlota Joaquina Rainha de Portugal, Livros Horizonte, Lisboa, 2008.
ก่อนหน้า | การ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ว่าง ตำแหน่งก่อนหน้า เจ้าหญิงมาเรียนา วิกตอเรียแห่งสเปน |
สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิลและอัลการ์วึ (20 มีนาคม พ.ศ. 2359 - 7 กันยายน พ.ศ. 2365) |
อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย | ||
บราซิลถอนตัวออกจากสหราชอาณาจักรและก่อตั้งจักรวรรดิบราซิล | สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึ (7 กันยายน พ.ศ. 2365 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2369) |
อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย |