มนัสนิตย์ วณิกกุล
ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล (สกุลเดิม: ฮุนตระกูล ; 27 มกราคม พ.ศ. 2471 – 30 เมษายน พ.ศ. 2558) อดีตราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำนักราชเลขาธิการ และอดีตเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ โดยได้ถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทมาเป็นเวลานานกว่า 60 ปี
มนัสนิตย์ วณิกกุล | |
---|---|
เกิด | มนัสนิตย์ ฮุนตระกูล 27 มกราคม พ.ศ. 2471 |
เสียชีวิต | 30 เมษายน พ.ศ. 2558 (87 ปี) |
อาชีพ | นางสนองพระโอษฐ์ |
คู่สมรส | อาบบุญ วณิกกุล |
บุตร | 1 คน |
บิดามารดา | พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) คุณหญิงลิน ฮุนตระกูล |
ประวัติ
แก้ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุลเกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2471 เป็นบุตรคนที่สองจากทั้งหมดสามคนของพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) กับแพทย์หญิง คุณหญิงลิน ฮุนตระกูล (นามเดิม มากาเรต ลิน ซาเวียร์) ผู้เป็นธิดาของพระยาพิพัฒนโกษา (เศเลสติโน มารีอา ซาเวียร์) ชาวโปรตุเกสที่เป็นปลัดทูลฉลองกรมท่า (เทียบตำแหน่งปลัดกระทรวงต่างประเทศ)[1] หลุยส์ ซาเวียร์ บิดาของพระยาพิพัฒนโกษา มีพื้นเพมาจากมาเก๊าของโปรตุเกส ก่อนอพยพเข้ากรุงสยาม[2] ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์มีพี่น้องคือ กิตติรัต ฮุนตระกูล และคุณหญิงสาวิตรี โอสถานุเคราะห์
ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2475 คุณหญิงลินผู้มารดาได้ถึงแก่อนิจกรรมตั้งแต่ท่านผู้หญิงยังเล็กด้วยโรคไข้หวัดใหญ่[3] เมื่อท่านผู้หญิงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วได้ปฏิบัติงานสนองเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาตั้งแต่ปี 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ปี พ.ศ. 2522 ดำรงตำแหน่งรองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และในปี พ.ศ. 2543 เป็นราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ[4] นอกจากนี้ท่านผู้หญิงยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ โดยได้ถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทมาเป็นระยะเวลากว่า 60 ปี
ด้านครอบครัวท่านผู้หญิงมนัสนิตย์สมรสกับอาบบุญ วณิกกุล บุตรของ มหาอำมาตย์โท พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล) และคุณหญิงเอื้อม มีบุตรคือเกริก วณิกกุล กรรมการสภากาชาดไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและตุลาการ กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 5 (กฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและพลังงาน) อดีตประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อดีตรองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตผู้ทรงคุณวุฒิประจำธนาคารแห่งประเทศไทย สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมธินี วณิกกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีธิดาคือ ภามาศ วณิกกุล
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุลถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558 สิริอายุรวม 87 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 15.27 น. ณ ศาลาร้อยปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร[5] โดยงดการสวดพระอภิธรรม ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 17.12 น. โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถโดยเสด็จไปในการนี้ด้วย[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[9]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2547 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[12]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[13]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[14]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2527 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 2[15]
- บรูไน :
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปาดูกา เซอรี ไลลา จาซา ชั้นที่ 2[16]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นที่ 2[17]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 2[18]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของมนัสนิตย์ วณิกกุล[19][20][21] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "ธุรกิจบนถนนสีลม". หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2015.
- ↑ Combustões (19 July 2009). "Portuguese descendants in Thailand". 500anosportugaltailansda.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ 8 May 2019.
- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๙ หน้า ๓๒๘๒ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๕.
- ↑ "ทำเนียบผู้บริหาร". สำนักราชเลขาธิการ. 13 กุมภาพันธ์ 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2009.
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๒๖ วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙.
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๓ ข หน้า ๕๓ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒ ง หน้า ๕๐, ๗ มกราคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๔๘, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๙, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๘, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๗, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๔, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
- ↑ อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นางประมวลวินิจฉัย (สุดใจ สุวรรณทัต). พระนคร: โรงพิมพ์กองบัญชาการทหารสูงสุด. 1966. p. 4. OCLC 1281297658.
ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที 8 สิงหาคม 2509
- ↑ ธงทอง จันทรางศุ (9 มกราคม 2019). "จีนเก่าไหหลำ และจีนใหม่รัชดาฯ". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2022.
- ↑ บัณฑิต จุลาสัย (1 ธันวาคม 2005). "ซอย (พระยา) พิพัฒน์ (โกษา)". วารสารศิลปวัฒนธรรม. Vol. 27 no. 2. มติชน. pp. 48–51. ISSN 0125-3654.