พูดคุย:สมัคร สุนทรเวช

สมัคร สุนทรเวช เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สมัคร สุนทรเวช หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สมัคร สุนทรเวช เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สมัคร สุนทรเวช หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สมัคร สุนทรเวช เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สมัคร สุนทรเวช หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แก้

คุณสมัคร ยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการนะครับ ใครมาแก้บทความว่า คุณสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ระวังจะโดนแจ้งความกับ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พลตำรวจตรีพิชิตพล แจ่มโสภณ ผู้บังคับการ) หรือ สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (พันตำรวจเอกญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการ) นะครับ คุณ ผู้ใช้:Chan15, ผู้ใช้:NBALIVE2551 และคุณไอพี 61.19.227.12 ระวังตัวเอาไว้นะ !!! 89.149.244.184 21:54, 28 มกราคม 2551 (ICT)

กรุณาอย่าใช้วิกิพีเดียเพื่อสร้างความถูกต้องหรือการคุกคามทางกฎหมายต่อวิกิพีเดีย ชาววิกิพีเดีย หรือแม้แต่มูลนิธิวิกิมีเดีย เนื่องจากการคุกคามดังกล่าวจะไม่เป็นที่ยอมรับ และส่งผลให้ถูกบล็อกไม่ให้แก้ไขวิกิพีเดีย กะแค่เรื่องเป็นหรือไม่เป็นนายกก็สามารถเพิ่มลบข้อมูลได้ครับ (คุณจะแจ้งข้อหาอะไรมิทราบ) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 07:57, 29 มกราคม 2551 (ICT)

คุณออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา อาจจะไม่เคยทราบว่า มีคนเคยไปประกาศในพันธุ์ทิพย์ จะแจ้งความจับคนเขียนวิกิพีเดีย ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อต้นปีนี้ ครับ (ลองไปหาอ่านดู กระทู้ยังอยู่) 89.149.244.184 11:28, 29 มกราคม 2551 (ICT)

หมายถึงอันนี้หรือเปล่า [1] แล้วตกลง วันนี้ 29 มกราคม คุณสมัคร "เป็นนายก" หรือยังครับ ผมไม่ได้ติดตามข่าว --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 11:57, 29 มกราคม 2551 (ICT)

มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว --ปังคุง 18:08, 29 มกราคม 2551 (ICT)

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แล้วนะครับ ส่วนกรณีเนื้อหาของบทความไม่ถูกต้อง สามารถลงมือแก้ไขให้ถูกต้องได้เลยครับ ช่วยกันทำให้ถูกต้องจะมีประโยชน์กว่าครับผม :-) --PaePae | พูดคุย 18:10, 29 มกราคม 2551 (ICT)

มาช่วยอีกคนนึงครับ ถ้าใครเห็นว่าข้อความไหนในวิกิพีเดียไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขได้เลยครับ ไม่ต้องแจ้งตำรวจหรืออะไร และหากเห็นว่าไม่เหมาะสมต่อศีลธรรมหรือกฎหมายหรืออะไรยังไง มาแจ้งไว้ในหน้าพูดคุยครับ MuanN 19:23, 30 มกราคม 2551 (ICT)

มหาวิทยาลัย แก้

มหาวิทยาลัย/วิทยาลัย ชื่อ Bryanmt & Stration Institute ไม่มีในชิคาโกนะครับ ไม่แน่ใจว่าสะกดผิด หรือข้อมูลผิดครับ --Manop | พูดคุย 06:51, 29 มกราคม 2551 (ICT)

เจอข้อมูลแล้วครับ en:Bryant & Stratton College [2] แต่ก็ไม่มีในชิคาโก จริงๆ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 08:09, 29 มกราคม 2551 (ICT)


Bryant & Stratton College is a proprietary college with campuses in New York, Ohio, Virginia and Wisconsin. Founded in 1854, the college offers two-year programs at all campuses and four-year programs at select campuses. This school began as a business institute but now is an accredited degree-granting college. [1]

Bryant & Stratton College was founded in 1854 to provide practical workplace education, and was formerly known as Bryant and Stratton and Bryant & Stratton. http://www.bryantstratton.edu

หนังสือ แก้

ผมไม่ทราบว่าหนังสือ สมัคร สุนทรเวช พูด แต่งโดยคุณสมัครเองหรือว่าคนอื่นแต่ง จะได้ใส่ให้ถูกที่ ถ้าคนอื่นแต่งจะได้ย้ายลงไปที่แหล่งข้อมูลอื่น ช่วยตรวจสอบด้วยครับ หน้าปกหนังสือเป็นอย่างนี้ [3] --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 11:10, 30 มกราคม 2551 (ICT)

เอ! ไม่เป็นกลางเหรอ แก้

 ที่ว่า ไม่เป็นกลาง(หมายถึงบทความ)น่ะ ตรงไหนคะ บอกหนูหน่อย
   ป.ล. เจ้าเหนือหาก็ถูกแล้วนะ 
  Mu Mu Q

แก้คำผิดเพื่อความถูกต้องของภาษา แก้

ผมคิดว่าบรรทัดที่เขียนว่า "คุณสมัครเป็นนักการเมืองเก่าแก่" ควรจะแก้เป็น "คุณสมัครเป็นนักการเมืองแก่" จะถูกต้องกว่า เพราะคนแก่คือคนที่มีอายุเกิน 60 ปี ถ้าเป็นพนักงานของรัฐบาล รัฐบาลก็ให้หยุดพักผ่อนแล้ว นอกจากนั้นคำว่าเก่า ให้ความหมายว่าพ้นสมัย แต่ข้อเท็จจริงคือ คุณสมัครยังมีกิจกรรมทางการเมืองอยู่ ไม่น่าจะใช้คำว่า เก่าได้ ลงชื่อ จาตุรันต์ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.238.207 (พูดคุย | ตรวจ) 02:21, 13 เมษายน 2551 (ICT)

เก่าแก่ เป็นคำประสม หมายถึง มีมานาน มีมาแต่ก่อน ถ้าแยกออกเป็น เก่า และ แก่ มันจะกลายเป็นคนละความหมาย ดังนั้นใช้อย่างเดิมก็เหมาะสมอยู่แล้ว--ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 09:28, 13 เมษายน 2551 (ICT)

ย้ายเนื้อหา แก้

หัวข้อ "การออกมาขับไล่" ส่วนนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวบุคคล (ไม่ได้ไล่คนเดียวจริงไหมครับ) บทความนี้เป็นชีวประวัติของสมัคร สุนทรเวช ไม่ใช่เรื่องรัฐบาล ดังนั้นผมจึงย้ายส่วนนี้ไปไว้ที่บทความ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย แทนเพราะเกี่ยวข้องมากกว่า --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 18:42, 8 มิถุนายน 2551 (ICT)

เหตุการณ์ ตลอดปี 2519 ที่น่าจะ Add เข้าให้ทุกคนได้รู้ แก้

ตลอดปี 2519 สมัคร สุนทรเวช มีส่วนในการปลุกระดมม็อบฝ่ายขวาให้เกลียดชังนักศึกษาและนักประชาธิปไตย มีส่วนในการสนับสนุนวิทยุยานเกราะซึ่งปลุกระดมให้คนฆ่านักศึกษา และมีส่วนในการสนับสนุนให้ถนอมและประภาสกลับมาเพื่อสร้างสถานการณ์ความรุนแรง


29 มิ.ย. “ยานเกราะเป็นศูนย์บัญชาการให้นักเรียนอาชีวะเผาธรรมศาสตร์ ยานเกราะและ สมัคร เป็นพวกเดียวกัน” ประชาชาติ (ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ในบทความ 6 ตุลา มองว่าเป็นพวกเดียวกันด้วย)

5 ก.ค. “สมัครไปให้กำลังใจฝ่ายต่อต้านศูนย์นิสิตนักศึกษาขณะที่นิสิตนักศึกษาชุมนุมต่อต้านสหรัฐ” ดาวสยาม

1-7 ก.ค. “สมัครอ้างว่าโครงการบัณฑิตอาสาสมัครของป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บัณฑิตปลุกระดมชาวบ้าน” สยามจดหมายเหตุ

6 ก.ค. “สมัครคัดค้านการให้งบโครงการบัณฑิตอาสาของดร.ป๋วย ‘เพราะใช้ปลุกระดมชาวบ้าน’ ”ประชาธิปไตย

8-14 ก.ค. “วิทยุยานเกราะบอกให้ทหารกับกระทิงแดงเตรียมขจัดนักศึกษา” สยามจดหมายเหตุ

“นายกเสนีย์ และปลัดกระทรวงกลาโหมเตือนตำหนิวิทยุยานเกราะ แต่สมัครยังเลือกออกอากาศทางสถานีนี้ และ สนิทกับพันโทอุทร”

10 ก.ค. “นายกเสนีย์ตำหนิวิทยุยานเกราะว่ายุให้แตกแยก”ประชาชาติ

11 ก.ค. “สมัครไปให้กำลังใจกับประชาชนที่ชุมนุมสนับสนุนวิทยุยานเกราะ และชมวิทยุยานเกราะ/ พท. อุทาน .... สถานี มีประโยชน์เพราะเปิดโอกาสให้ประชาชนระบายความรู้สึกทางคลื่นวิทยุ ” ดาวสยาม

13-15 ก.ค. “สุธรรม แสงประทุม กล่าวหา สมัคร กับวิทยุยานเกราะว่า ก่อสถานการณ์ยั่วยุให้ปราบประชาชน” “โคทม อารียา ประธานสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าวว่า ยานเกราะ ยุให้ฆ่าฝ่ายตรงข้าม”อธิปัตย์

12-18 กค 19 “สมัครกล่าวว่าการที่นักศึกษาชุมนุมประท้วงการกลับมาของประภาสเท่ากับเป็นการฆ่าตัวตาย” สยามจดหมายเหตุ

23 ก.ค. “สมัครว่ามีคนไม่ปรารถนาดีที่มีอาวุธนับพันกระบอกเข้ามาในกรุงเทพฯ จากต่างแดนและค่ายอพยพ” ประชาชาติ

12 ส.ค. “รายงานว่าสมัครไปหาถนอมที่สิงคโปร์” “สมัครบอกว่าถนอมไม่ผิดข้อกล่าวหาฆ่าคนตาย เมื่อ 14 ตุลา” ดาวสยาม และ David Morell & Chai-anan Samudavanija 1981 “Political Conflict in Thailand”.Oelgeschlager, Gunn & Hain Publishers, Cambridge Massachusetts

12 ส.ค. “รายงานว่าสมัครไปปลอบใจถนอมที่สิงคโปร์ว่าโอกาสที่จะกลับไทยในอนาคตยังมี”ประชาชาติ “ส.ส. คนหนึ่งเสนอว่าการนำประภาสกลับเป็นแผนของพวก ขวาตกขอบ เพื่อปราบปรามฝ่ายซ้าย”

15 ส.ค. ตีพิมพ์รูปสมัครกับลูกเสือชาวบ้านวังสราญรมย์ ดาวสยาม

18 ส.ค. “สมัครพูดออกโทรทัศน์เกินมติคณะรัฐมนตรี พูดทำนองห้ามนักศึกษาประท้วงการกลับมาของประภาส นายก เสนีย์ไม่เห็นด้วย นายกบอกว่ามีการวางแผนนำประภาสกลับมาเพื่อสร้างสถานการณ์” “สมัคร และ ส.ส. พรรคชาติไทย ไปหาประภาส”ประชาชาติ

20 ส.ค. “สมัครไปหาประภาส แล้วพูดออกโทรทัศน์มีท่าที ‘ปราม’ คนต่อต้านประภาส”ประชาชาติ

22 ส.ค. “ยานเกราะขัดคำสั่งรัฐบาลและโจมตีนักศึกษาที่ประท้วงประภาส และกระทิงแดงโยนระเบิดเข้าธรรมศาสตร์ ตาย 2 บาดเจ็บ 36” ประชาชาติ ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541) เสนอว่า “ยานเกราะออกข่าวเหมือนเป็นกองบัญชาการพวกที่บุกเผาธรรมศาสตร์ตอนประภาสกลับมา”

24 ส.ค. “รัฐบาลแถลงว่ามีคนชักนำประภาสเข้ามาเพื่อก่อเรื่อง”ประชาชาติ

26 ส.ค.-1 ก.ย. “สมัครว่ายานเกราะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง” สยามจดหมายเหตุ

27 ส.ค. “สมัครว่ายานเกราะทำงานเพื่อช่วยชาติ” ประชาธิปไตย

27 ส.ค. “สมัครยานเกราะไม่ควรถูกปิด ยานเกราะเป็นวิทยุดีต้านคอมมิวนิสต์” ประชาชาติ

27 ส.ค. “สมัครไปพูดกับม็อบหน้าสถานียานเกราะ:- หนุน พท. อุทรและยานเกราะ ถ้าห้ามยานเกราะบ้านเมืองจะฉิบ หาย” ชาวไทย

28 ส.ค. “สุรินทร์ มาศดิตถ์ กล่าวหา ยานเกราะ ว่าเอาข้อมูลเท็จมาโจมตีตน” ประชาชาติ

29 ส.ค. “สมัครพูดว่ายานเกราะให้ประโยชน์แก่ปวงประชาในยามวิกฤต”ประชาธิปไตย

2 ก.ย. “สมัครพูดว่ามือที่สามทำงานในรูปแบบนิสิตนักศึกษา” สยามจดหมายเหตุ 2-8 ก.ย.

6 ก.ย. “สมัครเสนอว่าคอมมิวนิสต์ส่งกำลังติดอาวุธเข้ากรุงเทพฯ” ประชาธิปไตย

6 ก.ย. “สมัครพูดว่ารัฐบาลใช้นักศึกษาอาชีวะต่อต้านนักศึกษามหาวิทยาลัย” (ขณะนั้นเขาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการที่ กระทรวงมหาดไทย) “สมัครว่าลูกเสือชาวบ้านและวิทยุยานเกราะ ชมรมวิทยุเสรี สร้างความสามัคคีในการต่อต้านคอมมิวนิสต์” ชาวไทย

6 ก.ย. สมัครพูดว่า “รัฐบาลใช้อาชีวะต่อต้านนักศึกษา” “ยานเกราะรู้เท่าทันพวกปลุกระดมให้มวลชนวุ่นวาย แต่คนหวังร้ายต้องการปิดสถานี” “ลูกเสือชาวบ้านช่วยให้ชาติอยู่รอด สมัครเป็นสมาชิกและวิทยากรให้ลูกเสือชาวบ้าน” ประชาชาติ

7 ก.ย. “สมัครพูดว่า 14 ตุลา 16 ไม่ให้ประโยชน์อะไรกับบ้านเมือง” สยามรัฐ

11 ก.ย. “สมัครมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีวะ กลุ่มขวาจัดชุมนุมที่ไหนสมัครไปที่นั้น”ประชาชาติ

13 ก.ย. “สมัครพูดว่าจะมีเหตุนองเลือด” ประชาธิปไตย

15 กย “สมัครเสนอว่าคอมมิวนิสต์ส่งกำลังติดอาวุธเข้ากรุงเทพฯ สมัครพูดว่าจะมีเหตุนองเลือด”ประชาธิปไตย

19 ก.ย. ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541) เสนอว่า “ ยานเกราะแนะรัฐบาลให้ฆ่า นักศึกษา 30,000 คนเพื่อชาติ”

23 ก.ย. “สมัครบอกว่าเป็นรัฐมนตรีคนเดียวในพรรคประชาธิปัตย์ที่มีความเห็นว่าถนอมควรอยู่ในเมืองไทยต่อไป” Bangkok Post

23 ก.ย. “อาชีวะไล่ตีนักศึกษาที่ติดโปสเตอร์ต้านถนอม” สยามรัฐ

24 ก.ย. ในหนังสือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2541)เสนอว่า “สมัครว่าถนอมมีประโยชน์ต่อ บ้านเมือง”

4 ต.ค. “อาชีวะ กระทิงแดง ประชาชน ต่อต้านนักศึกษาและสนับสนุนสมัคร” ดาวสยาม

4 ต.ค. “สุรินทร์ มาศดิตถ์เตือนตำรวจอย่าหลงลมปากสมัคร” สยามรัฐ

4 ต.ค. “ตำรวจสนับสนุนสมัคร” ประชาธิปไตย

5 ต.ค. “คนที่ชุมนุมสนับสนุนสมัครกล่าวหาว่า สุรินทร์, ชวน, ดำรง และ วีระ เป็นคอมมิวนิสต์” สยามรัฐ

6 ต.ค. “ยานเกราะและชมรมวิทยุเสรีโจมตีนักศึกษาและระดมให้มวลชนไปจัดการกับนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ ก่อนหน้านี้นายกเสนีย์ห้ามวิทยุสร้างความแตกแยก”ประชาธิปไตย

6 ต.ค. “ยานเกราะเรียกประชุมลูกเสือชาวบ้านด่วน กลุ่มรักชาติเรียกร้องให้จัดการกับนักศึกษาและ ป๋วย อึ๊งภากรณ์” ดาวสยาม

6 ต.ค. “กลุ่มผู้รักชาติบุกทำเนียบร้องให้สมัครเป็นรัฐมนตรีอีกครั้ง” ไทยรัฐ

6 ต.ค. “วิทยุยานเกราะและสถานีในเครือข่ายออกอากาศเรียกร้องให้มีการ ‘ฆ่ามันฆ่ามัน!’ (นักศึกษา)” Bangkok Post

6 ต.ค. ลูกเสือชาวบ้านชุมนุมที่ลานพระรูปทรงม้าเรียกร้องให้แต่งตั้ง สมัคร และ สมบุญ เป็นรัฐมนตรี” สยามจดหมายเหตุ

6 ต.ค. วิทยุยานเกราะสด “บ่าย 6 ตุลา 19 สล้าง บุญนาค -ตำรวจคนหนึ่งที่นำกำลังบุกธรรมศาสตร์ – อวดว่า “ได้ฆ่าคนสำเร็จและมองการทุบตีคนจนพูดไม่ออกว่าเป็นเรื่องตลก” (มีเทป และดู Nation 5/10/2539 ดร. ธงชัย วินิจจะกูล)


หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 19

9 ต.ค. “สมัครคงจะได้ร่วมรัฐบาลหลังรัฐประหาร” “คณะปฏิรูปสั่งยึดเผาหนังสือ ซ้าย” สยามรัฐ

9 ต.ค. “วันที่ 6 ต.ค.ลูกเสือชาวบ้านชุมนุมล้อมทำเนียบรัฐบาลเรียกร้องให้ปลด/จับรัฐมนตรีคอมมิวนิสต์ และ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดาวสยาม

11 ตุลาคม 2519 เทป สมัคร สุนทรเวช พูดออกโทรทัศน์ช่อง 7

สมัครมองว่าหลัง 14 ตุลา 2516 เมืองไทยมีประชาธิปไตย “มากเกินไป” สมัครได้รับเชิญไป “ปฏิรูปสื่อมวลชน” หลังการทำรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลา เขาเล่าว่าเขามีบทบาทในการตัดสินว่า น.ส.พ.“ฉบับไหนควรจะออก และฉบับไหนไม่ควรจะออก” สมัครเสนอว่านักศึกษายิงออกมาจากธรรมศาสตร์ และเน้นว่า“ปฏิเสธไม่ได้” ดังนั้นการที่ตำรวจยิงเข้าไปในธรรมศาสตร์มีความชอบธรรม วิธีการของฝ่ายยึดอำนาจในวันที่ 6 ตุลา เป็นวิธีการ “นุ่มนวล” ไม่รังแกใคร ไม่จับใครโดยไม่มีข้อหา แต่ในความ “นุ่มนวล” ดังกล่าวพร้อมจะใช้ความรุนแรงกับ “ผู้มิดีมิร้าย” สมัครพูดต่อว่า 6 ตุลา “พิสูจน์” ว่านักศึกษาบางคนใช้ธรรมศาสตร์เพื่อสร้างความไม่พอใจกับคนไทยทุกคน และพวกนี้เป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์ โดยผู้บริหารสนับสนุนนักศึกษาเหล่านั้น

12 ต.ค. “สมัครพูดว่าทหารจำเป็นต้องยึดอำนาจ และอดีตรัฐมนตรีเช่นชวน และสุรินทร์เป็นผู้ก่อเหตุนองเลือดที่ ธรรมศาสตร์ ฝ่ายรัฐบาลมิได้กระทำต่อนักศึกษาเกินเหตุ” Bangkok Post

3 มี.ค. 2520 และ 6 ต.ค. 2520 สมัครในฐานะรัฐมนตรีมหาดไทยออกคำสั่งแบนหนังสือกว่า 200 เล่ม ในรายชื่อนั้นมีหนังสือของ ธีรยุทธ บุญมี, วิทยากร เชียงกูล, เสกสรร ประเสริฐกุล, ณรงค์ เพชรประเสริฐ, รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ปรีดี พนมยงค์, สุภา ศิริมานนท์, ทวี หมื่นนิกร, จูเลียส ไนยาเร ฯลฯ

เทป ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์พูดที่ Australia ปี 2520 “สมัครตามผมไปแก้ภาพพจน์ 6 ตุลา ในต่างประเทศ เสมอ” “ผู้ที่ทำจลาจลในวันที่ 6 ตุลา 19 ต่อรัฐบาลที่มีความชอบธรรมตามกฎหมายคือพวกกระทิงแดงลูกเสือชาวบ้านที่เรียกร้องให้นำนักการเมืองสองคนมาเป็นรัฐมนตรี”

3 มิ.ย. 2520 “รัฐมนตรีมหาดไทยสมัครไปสหรัฐ/ยุโรปเพื่อแก้ภาพพจน์เมืองไทยหลัง 6 ตุลา” Nation Review

4 มิ.ย. 2520 ที่ฝรั่งเศส (ในหนังสือ วีระ มุสิกพงศ์ 2521 “โหงว นั้ง ปัง” สันติ์วานา ผู้พิมพ์) สมัครพูดว่า “นักศึกษามีอาวุธและยิงออกมาจากธรรมศาสตร์ คนที่ถูกเผาและคนที่เผาไม่ใช่คนไทยแต่เป็นคนเวียดนามเพราะ เข้าไปพบหมาย่างในธรรมศาสตร์หลังเหตการณ์”

ในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย สมัคร สุนทรเวช ได้เดินทางไปต่างประเทศ “เพื่อแก้ภาพเหตุนองเลือด 6 ตุลา” และได้พูดว่า: (เกี่ยวกับคนที่ถูกแขวนคอและเผาหน้าธรรมศาสตร์) “เข้าใจว่าเป็นคนเวียดนามเองที่ถูกฆ่าตาย” ตอนนี้เราทราบว่าคนหนึ่งที่ถูกแขวนคอตายและเผาคือ วิชิตชัย อมรกุล นิสิตคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมัคร สารภาพใน สยามรัฐรายสัปดาห์ 25 มิ.ย.-1ก.ค. 2543 ว่าโยนแฟ้มเอกสาร 6 ตุลาใส่ Peggy Duff ที่อังกฤษ เมื่อมีการถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา

Nation Review 19 ก.ค. 2520 “สมัครกลับจากยุโรป ไม่พอใจที่นักศึกษาไทยในอังกฤษประท้วงตน และบอกว่าจะสอบสวนนักศึกษาทุนรัฐบาลที่เข้าร่วม”

เสนอล็อกบทความ แก้

ขอเสนอให้ล็อกบทความนี้ด้วยครับ และไม่ควรมีข้อความที่เป็นปัญหาขัดแย้งอยู่ด้วยครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry เซนิทสโมสร |

เห็นด้วยจ๊ะ และควรจะคงข้อความที่เป็นจริงและมีแหล่งอ้างอิงไว้ด้วยนะจ๊ะ ไม่ใช่พยายามบิดเบือนความเป็นจริงโดยการพยายามลบข้อความที่มีอ้างอิง--Blacknut 19:14, 14 กันยายน 2551 (ICT)

ทุกอย่างที่มีแหล่งอ้างอิงไม่ควรลบ เพื่อแสดงว่ามีเหตุการณ์เช่นนั้นจริง เว้นแต่มันไม่ใช่ประเด็นของบทความ ในเมื่อวิกิพีเดียไม่มีเซ็นเซอร์ คุณเซนิดก็ไม่ควรเซ็นเซอร์ข้อความที่ไม่ถูกใจเสียเอง --Octra Dagostino 19:45, 14 กันยายน 2551 (ICT)

อนิจกรรม-อสัญกรรม แก้

ช่วยดูบทความนายกคนอื่นที่เสียชีวิตแล้วด้วยนะครับว่าควรใช้คำอะไร เนื่องจากตอนนี้กล่องข้อมูลผู้นำประเทศ สามารถปรับแต่ง birth_title กับ death_title ได้แล้ว [4] ถ้าส่วนใหญ่ใช้คำไหนก็จะได้เปลี่ยนค่าปริยายของแม่แบบด้วย --octahedron80 14:01, 25 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

  • อนิจกรรม น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือ ทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
  • อสัญกรรม น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาหรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.
ที่มา : พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

ในกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช ณ วันที่ 24 พ.ย. 2552 มิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นควรใช้คำว่า ถึงแก่อนิจกรรม --Songkhla Railway 22:11, 24 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

กูเกิลกูรูมีคนแนะนำว่าให้ใช้ อสัญกรรม ยังไงแน่ครับ [5] ประเด็นผมอยู่ที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จะพิจารณาที่ไหนระหว่าง กำลังดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่ง จึงจะใช้คำว่าอสัญกรรมได้--octahedron80 14:37, 25 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

อดีตกษัตริย์ยังใช้คำว่า "สวรรคต" (ไม่อยู่ในราชบัลลังก์แล้ว) จึงน่าจะใช้หลักการเดียวกันกับอดีตผู้นำประเทศ ("อสัญกรรม") --Horus | พูดคุย 15:52, 25 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

เคยเป็นนายกรัฐมนตรีก็ใช้ "อสัญกรรม" ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องใช้เฉพาะขณะดำรงตำแหน่งอยู่ --เอ็มสกาย 20:50, 25 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

คิดไม่ออกบอกไม่ถูกแบบนี้ ผมใช้วิชามาร google ผลคือ 492 for "สมัครอสัญกรรม" 1,300 for "สมัครอนิจกรรม" + ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
[1] นายสมัครยังไม่ได้ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ปกติเครื่องราชชั้นนี้มีพระราชทานจำนวนน้อยมาก และอดีตนายกรัฐมนตรีบางท่านก็ได้ไปบ้าง ดังนั้นการไปดูอดีตนายกฯ อื่นๆ ก็ต้องดูเรื่องราชฯ ประกอบด้วย
[2] เหตุที่ควรใช้อสัญกรรมกับ รัฐมนตรีและประธานสภา หรือบุคคลสำคัญระดับสูง คงเป็นเพราะว่าถ้าเทียบกับระบบศักดินาเดิม บุคคลเหล่านี้เป็นเจ้าพระยานาหมื่น ควรแก่การยกย่องด้วยคำว่า อสัญกรรม
[3] ที่พูดกันมายืดยาวยังไม่อาจสรุป ต้องถามก่อนว่า ใช้ได้อย่างถูกต้องทั้งสองคำหรือไม่? หรือคำใดคำหนึ่งผิดอย่างแน่นอน? หรือผิดทั้งสองคำ? เกิด 4 ตัวเลือก คือ
ก. ใช้ไม่ได้ทั้งสองคำ
ข. อนิจกรรมเท่านั้น
ค. อสัญกรรมเท่านั้น
ง. ใช้ได้ทั้งสองคำ

--taweethaも 05:53, 26 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

ตอนผมเรียนแต่ก่อนเขาบอกนายกรัฐมนตรีให้ใช้อสัญกรรมครับ อย่างโรงเรียนกวดวิชาดาว้องเขาก็บอกว่าตำแหน่งสำคัญ จะใช้ว่าอสัญกรรม .... --Mda 9:18, 26 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

เรื่องใช้ไม่ได้ทั้งสองคำคงเป็นไปไม่ได้ครับ เพราะมีหลักประกันอยู่แล้วว่าเป็นนายก หรือไม่ก็ได้รับเครื่องราช --octahedron80 13:19, 26 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

เห็นควรใช้ อนิจกรรม เพราะ (1) นายสมัคร ยังไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า และ (2) นายสมัคร มิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ถึงแก่อนิจกรรม (ไม่ได้ถึงแก่อนิจกรรมในหน้าที่ราชการ) --Songkhla Railway 14:26, 26 พฤศจิกายน 2552 (ICT)
เมื่อวานดูรายการตาสว่าง อาจารย์วีระ แนะให้ใช้อสัญกรรม ดูคลิป ส่วนที่กล่าวว่าใช้อนิจกรรม (ในกรณียังไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า) เพราะไม่ได้อยู่ในหน้าที่ราชการ มีแหล่งข้อมูลไหนระบุเหรอครับ --Sry85 15:05, 26 พฤศจิกายน 2552 (ICT)
ขอบคุณมากครับสำหรับแหล่งข้อมูล ผมเองยอมรับครับว่า ณ ปัจจุบันยังไม่พบแหล่งข้อมูลไหนระบุลงไปตรง ๆ และในช่วง 50 ปีที่ผ่านมายังไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีท่านใดเสียชีวิตในขณะที่ไม่ได้เป็นนายกฯ แล้วและยังไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราช ป.จ. ไว้เพื่อเป็นกรณีให้เทียบเคียงได้เลยครับ
แต่เมื่อยังไม่มีประกาศของทางราชการออกมา ความเห็นของผม คงยึดตามที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุไว้นั่นแหละครับ

อสัญกรรม น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาหรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.
คำว่าดำรงตำแหน่ง ในทางกฎหมาย หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นครับ เพราะกฎหมายมีอีกคำคือ เคยดำรงตำแหน่ง ด้วยครับ --Songkhla Railway 17:38, 26 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

เข้าไปดูคลิป แต่ดูไม่ไหวครับ มันทั้งรายการยาวพอสมควร อีกทางหนึ่งที่น่าจะเป็นคำตอบชัดเจนคือ หนังสือจากสำนักพระราชวังตอนพระราชทานเพลิงศพ หรือ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ จะต้องเขียนไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าอนิจกรรม หรือ อสัญกรรม เอกสารนี้มันจะถูกนำมาใส่ในหนังสืองานศพด้วย ใครมีโอกาสโปรดไปหามาดูหน่อยก็ดีครับ --taweethaも 05:38, 27 พฤศจิกายน 2552 (ICT)
คงต้องรอดูในหมายรับสั่ง ว่าใช้คำว่าอนิจกรรม อย่างที่กล่าวกันหรือไม่นะครับ --Songkhla Railway 12:17, 27 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

  • ประทานโทษนะครับ คุณได้ยินมาว่า "ร. 7 เสด็จสวรรคต" หรือเปล่าครับ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็สละราชสมบัติแล้ว ทำไมจึงยังใช้ "สวรรคต" ในพระราชประวัติ --Horus | พูดคุย 08:20, 28 พฤศจิกายน 2552 (ICT)
ร. ๗ ทรงสละราชสมบัติ แต่หาได้สละฐานันดรศักดิ์ คำว่าสวรรคตตามพจนานุกรมใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น [6] จึงไม่น่าเกี่ยวกับกรณีนี้
อนึ่งสถานะของบุคคลมีสองประเภทใหญ่ คือได้มาโดยกำเนิด และได้มาภายหลัง... แล้วบางอย่างได้มาแล้วก็เสียไปได้ เรื่องจะใช้อสัญกรรมได้หรือไม่ ความจริงแล้วต้องย้อนไปยังระบบศักดินา แล้วถามว่า สมัคร เป็น เจ้าพระยานาหมื่นหรือหาไม่ ถ้าคิดว่าเขาเป็นเจ้าพระยานาหมื่นก็พึงใช้อสัญกรรม --taweethaも 08:29, 28 พฤศจิกายน 2552 (ICT)
ตอนที่ ร.7 สวรรคต ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาใช้คำว่า "ทิวงคต" นะครับ (ดูหน้า 2 ใน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/1770.PDF) --58.9.162.46 18:57, 28 พฤศจิกายน 2552 (ICT)
ทิวงคต (ราชา) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ). งั้นหมายความว่าขณะนั้นท่านไม่ทรงมีฉัตร ๗ ชั้น?--taweethaも 09:41, 3 ธันวาคม 2552 (ICT)
  • เจ้านายที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นพิเศษ เช่น สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น และใช้ทิวงคต ในกรณีรัชกาลที่ 7 หมายกำหนดการออกพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชปิตุลา เจ้าฟ้าฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ถ้าจะลองเทียบดูก็น่าจะใช้ทิวงคต
  • เมื่อมีการเชิญพระบรมอัฐิกลับสู่ประเทศไทย หมายกำหนดการออกพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชปิตุลา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นการถวายพระอิสริยยศกลับดังเดิม และใช้ สวรรคต ตั้งแต่นั้นมา
  • ถึงแม้ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จะทรงเศวตฉัตร 7 ชั้น ก็ใช้คำว่า สิ้นพระชนม์ ไม่ได้ใช้ว่า สวรรคต --58.8.231.138 11:46, 3 ธันวาคม 2552 (ICT)
แต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำ "สวรรคต" ไว้ดังข้างต้นนะครับ ว่าให้ใช้กับพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น พจนานุกรมผิด ใช้ได้ทั้งสองคำ หรือว่าต้องมีการตีความใดเป็นพิเศษอีกหรือเปล่าครับ??? --taweethaも 12:45, 3 ธันวาคม 2552 (ICT)
นอกประเด็นมากไปแล้วครับ ถ้าจะคุยเรื่องนี้ต่อ ยกไปคุยกันในหน้าอภิปราย ร.๗ ดีกว่า --octahedron80 14:29, 5 ธันวาคม 2552 (ICT)
ต่อที่ พูดคุย:ความตาย แล้วกันครับ ยกมา 7 คำ เอาให้แตกฉานกันไปเลย จะได้ไม่ต้องอภิปรายเป็นรายกรณีอีก --taweethaも 16:06, 5 ธันวาคม 2552 (ICT)

  • ถ้าอย่างนั้น "สวรรคต" ใช้กับกษัตริย์ "อสัญกรรม" ก็น่าจะใช้กับผู้นำประเทศเหมือนกันสิครับ --Horus | พูดคุย 10:26, 28 พฤศจิกายน 2552 (ICT)
สำหรับคนไทย อสัญกรรม ใช้กับผู้ที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครับ หากมิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ยังคงใช้คำว่าอสัญกรรมได้ในกรณีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ชั้น ป.จ. ในกรณีคุณสมัคร ไม่เข้าเกณฑ์ทั้งสองอย่าง คือ มิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วในขณะที่เสียชีวิต และไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ชั้น ป.จ.
อนึ่ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งทางการเมือง เมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว ไม่ถือว่าดำรงตำแหน่งนั้นแล้ว --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 158.108.150.242 (พูดคุย | ตรวจ) 11:19, 28 พฤศจิกายน 2552 (ICT)


คำว่าดำรงตำแหน่ง ในทางกฎหมาย หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นครับ เพราะกฎหมายมีอีกคำคือ เคยดำรงตำแหน่ง ด้วยครับ

— Songkhla Railway

สำหรับคนไทย อสัญกรรม ใช้กับผู้ที่เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครับ หากมิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ยังคงใช้คำว่าอสัญกรรมได้ในกรณีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ชั้น ป.จ. ในกรณีคุณสมัคร ไม่เข้าเกณฑ์ทั้งสองอย่าง คือ มิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วในขณะที่เสียชีวิต และไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ชั้น ป.จ.

อนึ่ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งทางการเมือง เมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว ไม่ถือว่าดำรงตำแหน่งนั้นแล้ว

— 158.108.150.242
  • ความเห็นทั้งสองนั้นชอบแล้ว ข้าพเจ้าเห็นด้วยในประเด็นเรื่องวลี "ดำรงตำแหน่ง" เพราะในการแปลกฎหมายนั้น "ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี" จะว่า "person holding/holder of the office of the Prime Minister" ส่วน "ผู้เคยดำรงตำแหน่ง..." จะว่า "person having holden/held the office..."
—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๒.๑๒.๐๓, ๑๘:๔๘ นาฬิกา (ICT)

ใช้ว่า "ถึงแก่อนิจกรรม" เพราะ

๑. ไม่ได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า

๒. ถึงเป็นนายกรัฐมนตรีก็พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว

ข้อมูลจากคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ราชาศัพท์ ราชบัณฑิตยสถาน

— ปิยะพงษ์ โพธิ์เย็น นักวรรณศิลป์ปฏิบัติการ

ข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บราชบัณฑิตยสถาน --58.8.102.52 02:16, 1 ธันวาคม 2552 (ICT)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ผมเริ่มสังเกตตั้งแต่การยกเรื่อง ร.7 ขึ้นมาแล้วครับ ค่อนข้างเห็นด้วย --octahedron80 05:17, 3 ธันวาคม 2552 (ICT)

ของในงาน แก้

ควรระบุในสารานุกรมหรือเปล่าครับ บทความประวัติคนอื่นไม่เห็นต้องระบุเลยว่าในงานแจกอะไรบ้าง --Horus | พูดคุย 20:39, 15 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

สำหรับของที่ระลึกในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ที่เครือญาติของนายสมัครจัดทำขึ้น เพื่อมอบแก่ผู้มาร่วมงาน ประกอบด้วยหนังสือที่ระลึก จำนวน 10,000 ชุด ประกอบด้วย หนังสือชีวประวัติ และผลงานของนายสมัคร มีชื่อเป็นพุทธศาสนสุภาษิตภาษาบาลีว่า รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ ซึ่งแปลว่า รูปกายสังขารย่อมแตกดับสลาย แต่ชื่อเสียงเกียรติคุณความดีหาแตกดับไปไม่ , หนังสือปกแข็ง รวมภาพพิธีสวดพระอภิธรรม พร้อมคำไว้อาลัยของบุคคลสำคัญ และ หนังสือรวมตำรับอาหาร ข้าวสำรับ ซึ่งเป็นเคล็ดลับสูตรเฉพาะของนายสมัคร จำนวน 52 รายการ ที่สำคัญคือ รายการที่ 14 โครงไก่ต้มฟัก ทั้งหมดบรรจุในถุงผ้าสีดำ หน้าถุงมีลายมือชื่อของนายสมัคร นอกจากนี้ ยังมอบวัตถุมงคล พระพุทธชนะมาร เนื้อสำริด ที่จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 สมัยที่นายสมัครดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ เจ้าแม่กวนอิม เนื้อผงด้วย

เช่นนั้นผมดึงเนื้อหากลับมาไว้ที่นี่ก็แล้วกันครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 02:09, 17 พฤศจิกายน 2553 (ICT)
กลับไปที่หน้า "สมัคร สุนทรเวช"